[CR] เดินเท้าเที่ยวหนึ่งวันที่ตรอกเข้าเม่า

ตรอกข้าวเม่า


เป็นครั้งแรกในการรีวิว และยืมแอคเคาท์เพื่อนมารีวิว555 ด้วยความที่ว่าไปเจอการโปรโมทการท่องเที่ยวโดยชุมชนมา เลยลองหาดูในกูเกิ้ลดูเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชน ก็ไปเจอชุมชนตรอกข้าวเม่า และสนใจชุมชนนี้ก็เลยลองหาข้อมูลและดูในกูเกิ้ลแม็พว่าแถวนั้นมีอะไรบ้าง และก็ตัดสินใจหาวันเที่ยวเลยจ้าาา และวันที่ไปก็ไปแบบงงๆ คือไม่รู้ว่าชุมชนอยู่ตรงไหน พอค้นหาในกูเกิ้ลแม็พก็ไม่ขึ้นชุมชนตรอกข้าวเม่า แต่ขึ้นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชนตรอกข้าวเม่า ก็เลยคิดว่าน่าจะจุดเดียวกัน เลยไปตามนั้น

รูปแผนที่นะคะ


ประวัติคร่าวๆนะคะ ชุมชนตรอกข้าวเม่า เป็นชุมชนที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ซึ่งแต่เดิม ที่นี่เป็นหมู่บ้านมีสวนเรียกกันว่า บ้านข้าวเม่า เพราะเกือบทุกหลังคาเรือนทำข้าวเม่าขาย  จึงได้ไปจดทะเบียนว่า ชุมชนตรอกข้าวเม่า  โดยทางชุมชนตรอกข้าวเม่าได้ทำการสั่งซื้อข้าวจากทางบางขุนศรีซึ่งจะบรรทุกเรือมาส่งถึงบ้านชุมชนตรอกข้าวเม่า


พอไปถึง ตัวพิพิธภัณฑ์อยู่ในวัดสุทธาวาส แต่ประเด็นคือที่จอดรถเต็มจ้าาาา เลยขับออกมาวนหาที่จอดด้านนอก สรุปได้ที่จอดตรงสถานีรถไฟธนบุรี ก็เลยเดินเล่นตรงสถานีรถไฟธนบุรีเลย เคยอ่านเจอว่าสถานีรถไฟธนบุรีสมัยก่อนเป็นสถานีบางกอกน้อย แต่นายสถานีเล่าให้ฟังว่าตรงนี้เป็นสถานีที่มาตั้งใหม่ ส่วนสถานีบางกอกน้อยจริงๆที่เป็นส่วนหนึ่งในฉากภาพยนตร์เรื่องคู่กรรมนั้นอยู่ในโรงพยาบาลศิริราช นายสถานีแนะนำให้นั่งรถสองแถวแดงเข้าไปในโรงพยาบาลเลย เลยตัดสินใจค่อยไปสุดท้ายละกัน ไปที่ใกล้ๆก่อน
นี่เป็นรูปที่สถานีรถไฟธนบุรีค่ะ


ตรงข้ามสถานีรถไฟเป็นตลาด ก็เลยไปลองเดินดู
รูปที่ตลาดนะคะ


หลังจากนั้นก็เดินไปที่พิพิธภัณฑ์ที่เจอแต่แรกแล้ว แต่ที่จอดเต็ม555 โดยใช้เวลาเดิน5นาที
นี่คือรูปตอนที่เดินมาถึงแล้วนะคะ


ส่วนประวัติพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชนตรอกข้าวเม่าก็คือ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อน โดยคนในชุมชนได้นำมาบริจาคให้ทางพิพิธภัณฑ์ เช่น ดาบญี่ปุ่นโบราณ เนื่องจากสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ทหารญี่ปุ่นได้หนีมาหลบอยู่ภายในชุมชน บางบ้านจึงมีดาบญี่ปุ่นเก็บไว้
ส่วนนี่คือรูปดาบญี่ปุ่นที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ และรูปภายในพิพิธภัณฑ์


หลังจากนั้นเราก็เดินออกจากพิพิธภัณฑ์ เพื่อไปยังในตัวชุมชน โดยเดินเข้าทางด้านหลังชุมชน ซึ่งอยู่ด้านหลังของพิพิธภัณฑ์นั่นเอง
รูปร้านค้าที่คนในชุมชนขายเองค่ะ


ส่วนรูปนี้เป็นรูปหน้าบ้านของประธานชุมชนค่ะ


ตอนที่มานี้โชคดีมากค่ะ เพราะมาเจอกรุ๊ปทัวร์ที่มาลงพอดี เลยได้ดูวิธีการทำข้าวเม่าหมี่ เพราะปกติ ชุมชนนี้เลลิกทำไปแล้ว แต่ก็จะมีบางบ้านทำอยู่ ถ้ามีการจ้าง แต่จะไม่ทำทุกวัน เพราะการทำข้าวเม่าหมี่นั้นมีค่าใช้จ่าย แต่ประเด็นคือ ทำแล้วไม่รู้จะไปขายที่ไหน เลยทำเฉพาะแค่ทัวร์ลงหรือ สั่งได้ค่ะ ถ้านักท่องเที่ยววอคอินเข้ามาจะไม่เจอนะคะ ยกเว้นว่าโชคดีจริงๆ

ประธานชุมชนบอกว่า ข้าวเม่าหมี่เป็นของว่างรสเยี่ยมที่อุดมไปด้วยสารอาหารและยังเป็นขนมแห่งวัฒนธรรมอีกด้วย  สืบเนื่องมาจากสมัยก่อนชุมชน
ผลิตข้าวเม่าเผื่อส่งออกอยู่แล้ว แต่ต่อมาทำข้าวเม่าหมี่เพื่อให้ลูกหลานได้กิน เพราะลูกหลานจะได้ไม่ต้องซื้อขนมกิน จนกลายมาเป็นที่มาของของว่างนี้

การทำช้าวเม่าหมี่นั้น ต้องนำข้าวเม่าที่คั่วจนพองแล้วมาคลุกผสมกับกุ้งแห้งทอด เต้าหู้ทอด ถั่วลิสง กระเทียม และปรุงรสด้วยน้ำตาล น้ำปลา และพริกไทย แค่นี้ก็สามารถอร่อยและได้คุณค่าทางสารอาหารแล้วค่ะ

ที่นี่ยังมีทำขนมอื่นด้วยนะคะ เช่น กระยาสารท เนื่องจากทางชุมชนในสมัยก่อนมีการผลิตข้าวเม่าเป็นหลัก ทางชุมชนจึงได้คิดแปรรูปเป็นของว่างชนิดอื่นเพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริม มีการทำที่ไม่ยาก เพียงแค่มี ข้าวเม่า ข้าวตอก มะพร้าว ถั่วลิสง และงา กวนกับน้ำตาลจนจับเป็นก้อน ก็จะได้กระสาทรที่หอมอร่อย
แต่ว่าครั้งนี้ไม่ได้ทำค่ะ เพราะคนเยอะ กระยาสารทต้องใช้พื้นที่ในการทำ ใช้เวลาทำนานและร้อนมาก กลัวจะกระเด็นโดนนักท่องเที่ยวค่ะ

รูปวัตถุดิบของข้าวเม่าหมี่ค่ะ

รูปข้าวเม่าหมี่ที่ทำเสร็จแล้วค่ะ

ส่วนรูปนี้เป็นข้าวเม่ารางค่ะ

ได้ชิมลอดช่องโรยข้าวเม่ารางด้วยค่ะ ซึ่งข้าวเม่ารางจะกรอบๆคล้ายป็อปคอร์น พอโรยในลอดช่องแล้วอร่อยมากค่ะ

รูปกรุ๊ปทัวร์ที่มาลงค่ะ


ข้าวเม่าหมี่ถือเป็นของดีชุมชนนนี้นะคะ อยากให้ทุกคนได้ชิมจริงๆค่ะ อร่อยมากๆค่ะ


หลังจากร่วมแจมกับทัวร์ที่มาลงแล้ว ทั้งกินและชม ก็เดินออกมาเพื่อเดินไปยัง วัดใหม่ยายมอญหรือวัดอมรทายิการาม เพื่อสักการะพระพุทธรูปประจำวัดที่อยู่คู่ชุมชนมาอย่างยาวนาน
ประวัติวัดคร่าวๆนะคะ เนื่องจากไม่ทราบชื่อและประวัติผู้สร้าง ส่วนชื่อเดิมก็ชื่อว่า วัดยายมอญ จึงสัญนิฐานว่า อุบาสิกามีนามว่า อมร คงจะเป็นผู้ที่ยกที่ดินให้และสร้างวัด จึงได้เรียกตามชื่อผู้สร้าง ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น วัดอมรทายิการาม ซึ่งก็ยังคงมีความหมายตามชื่อเดิม

รูปวัดใหม่ยายมอญค่ะ


พอไหว้วัดพระและชมวัดเสร็จ ก็เดินออกมาหน้าวัด รอสองแถวแดงเพื่อไป สถานีรถไฟบางกอกน้อย ซึ่งสถานีรถไฟบางกอกน้อยนี้ตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช และอยูติดริมแม่น้ำ ส่วนสถานีรถไฟธนบุรีเป็นสถานีที่มาตั้งใหม่ค่ะ แต่ห่างกันไม่ไกลนะคะ

สถานีรถไฟบางกอกน้อยนั้น เป็นสถานีที่ถูกระเบิดในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และยังเป็นส่วนหนึ่งในฉากภาพยนตร์เรื่องคู่กรรม ( โกโบริ - อังศุมาลิน )

พอมาถึง คือลงรถสองแถวปุ๊ปเจอทางเข้าเลย แต่!!!!! ปิดซ่อมแซมค่าาาาาาาา แต่ยังดีได้เดินดูรอบๆและถ่ายรูปมาได้บ้าง

รูปบริเวณรอบๆสถานีรถไฟบางกอกน้อยค่ะ


++++++++ คำแนะนำ ++++++++
ควรโทรแจ้งที่เบอร์นี้ก่อนถ้าต้องการทำกิจกรรมในชุมชน เช่น เรียนทำขนม เป็นต้น
เบอร์โทร = 0855613960


++++++++ การเดินทาง ++++++++
รถยนต์ส่วนตัว : ถนนจรัญสนิทวงศ์/ถนนบรมราชชนนี - ถนนอิสรภาพ/ถนนอรุณอมรอินทร์/ถนนสุทธาวาส
                     โดยสามารถจอดรถที่ตลาดรถไฟธนบุรี และวัดสุทธาวาส
เรือ              : ลงที่ท่ารถไฟและเดินต่อ/นั่งสองแถว/นั่งวินมอเตอร์ไซค์
รถสาธารณะ   : สายรถประจำทาง 19  57  81  146  149  169   ปอ91  ปอ177  ปอ157  ลงที่ ร.พ.ศิริราช และเดินต่อ/นั่งสองแถว/นั่งวินมอเตอร์ไซค์
ชื่อสินค้า:   ชุมชนตรอกเข้าเม่าและสถานที่ใกล้เคียง
คะแนน:     
**CR - Consumer Review : ผู้เขียนรีวิวนี้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง ไม่มีผู้สนับสนุนให้สินค้าหรือบริการฟรี และผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในการเขียนรีวิว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่