สวัสดีแฟนละครหนึ่งด้าวฟ้าเดียวทุกท่านค่ะ 😊😊
๏๏ ปกติเจ้าของกระทู้จะเป็นผู้อ่านมากกว่าผู้เขียน แต่เผอิญวันนี้ได้ทราบข่าวจากเพจวารสารเมืองโบราณเรื่องการจัดกิจกรรมบางกอกศึกษา ในหัวข้อที่น่าสนใจ คาดว่าจะเกิดประโยชน์กับหลายท่านที่กำลังติดตามละครเรื่องนี้อยู่ เลยนำมาประชาสัมพันธ์ให้ทราบกันค่ะ ๏๏
๏๏ เจ้าของกระทู้ได้คัดลอกข้อความมาจากทางเพจ รายละเอียดต่าง ๆ ตามนี้นะคะ
⏬⏬⏬⏬⏬⏬⏬⏬⏬
☀ วารสารเมืองโบราณและเครือข่าย ขอเชิญชวนทุกท่านทำความรู้จักโคลงกลบท ในกิจกรรมบางกอกศึกษา ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๑
"ไขกลบท ขานกลกานท์ ในงานวรรณกรรม"
☀ วันเสาร์ที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ ศาลาเลื่อนศักดิ์ เจียมอุดม ทิศใต้ของอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราม วรมหาวิหาร หรือวัดโพธิ์ ท่าเตียน กรุงเทพมหานคร
☀ เข้าฟังฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
สามารถมาลงทะเบียนหน้างานได้ตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐ น. เป็นต้นไป
🌸🌸 ช่วงต้น (๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.) : พูดคุยกับ “วรรณวรรธน์” เจ้าของบทประพันธ์ “หนึ่งด้าวฟ้าเดียว” ซึ่งถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์และออกอากาศอยู่ในขณะนี้ ร่วมด้วย “ดร.เสาวณิต วิงวอน” ผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณคดีไทย อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เจ้าของผลงานมากมาย อาทิ จารึกวัดพระเชตุพน : ภูมิปัญญาไทยกับการจัดการความรู้ในสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และ ปฐมสมโพธิวัดตองปุ : ความสัมพันธ์ระหว่างจิตรกรรมกับวรรณกรรมพุทธประวัติ เป็นต้น
🌸🌸 ช่วงปลาย (๑๖.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.) : ออกเดินสำรวจจารึกกลบทคำกลอนที่ระเบียงรอบพระอุโบสถวัดโพธิ์ ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ เช่น วิสิโลกฉันท์ มาณะวะกะฉันท์ กลบทพยัฆค่ามห้วย กลบทพินประสานสาย กลบทเสือซ่อนเล็บ กลบทบัวบานกลีบขยาย และกลบทถอยหลังเข้าคลอง เป็นต้น จารึกกลบทคำกลอนเหล่านี้ ประดับอยู่ทั้งที่ระเบียงชั้นนอก ระเบียงชั้นใน และศาลารายรอบพระมณฑป นำสำรวจโดย “วรรณวรรธน์” และ “ดร.เสาวณิต วิงวอน”
๏๏ หมายเหตุ ๏๏
📓📓 “กลบท” เป็นการประดิษฐ์คิดค้นคำประพันธ์ให้มีลักษณะที่แปลกออกไป สามารถนำมาแต่งเป็น “กล” ได้ทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย กลบทถือเป็นเครื่องแสดงสติปัญญาและปฏิภาณไหวพริบของกวีที่จะพลิกแพลงให้มีลักษณะพิเศษ ทั้งยังฝึกเชาวน์ปัญญาในการถอดรหัสกลที่ซ่อนเอาไว้
กลบทสามารถจำแนกได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ
๑) กลอักษร เป็นการบังคับใช้พยัญชนะเสียงเดียวกันตลอดบาทและซ้ำคำ สองคำแรกของทุกบาท
๒) กลแบบ เป็นการซ่อนรูปคำประพันธ์และการเพิ่มลักษณะบังคับบางอย่าง เช่น การอ่านสลับไปมาหรืออ่านตามทิศทางต่าง ๆ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ซ่อนเอาไว้
📖📖 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองบรรณาธิการวารสารเมืองโบราณ ๐๒ ๒๘๑ ๑๙๘๘ หรือ ๐๙๙ ๗๕๑ ๖๔๖๐ 📖📖
🍀🍀 แผนผังวัดโพธิ์ จุดที่วงกลมไว้คือบริเวณที่จัดกิจกรรมค่ะ 🍀🍀
🙏🙏 ขอขอบคุณเพจวารสารเมืองโบราณ มา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ 🙏🙏
## แก้ไขคำผิด ##
ขอเชิญชวนไปทำความรู้จักโคลงกลบท กับคุณวรรณวรรธน์ ที่วัดโพธิ์กันค่ะ
๏๏ ปกติเจ้าของกระทู้จะเป็นผู้อ่านมากกว่าผู้เขียน แต่เผอิญวันนี้ได้ทราบข่าวจากเพจวารสารเมืองโบราณเรื่องการจัดกิจกรรมบางกอกศึกษา ในหัวข้อที่น่าสนใจ คาดว่าจะเกิดประโยชน์กับหลายท่านที่กำลังติดตามละครเรื่องนี้อยู่ เลยนำมาประชาสัมพันธ์ให้ทราบกันค่ะ ๏๏
๏๏ เจ้าของกระทู้ได้คัดลอกข้อความมาจากทางเพจ รายละเอียดต่าง ๆ ตามนี้นะคะ
⏬⏬⏬⏬⏬⏬⏬⏬⏬
☀ วารสารเมืองโบราณและเครือข่าย ขอเชิญชวนทุกท่านทำความรู้จักโคลงกลบท ในกิจกรรมบางกอกศึกษา ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๑
"ไขกลบท ขานกลกานท์ ในงานวรรณกรรม"
☀ วันเสาร์ที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ ศาลาเลื่อนศักดิ์ เจียมอุดม ทิศใต้ของอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราม วรมหาวิหาร หรือวัดโพธิ์ ท่าเตียน กรุงเทพมหานคร
☀ เข้าฟังฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
สามารถมาลงทะเบียนหน้างานได้ตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐ น. เป็นต้นไป
🌸🌸 ช่วงต้น (๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.) : พูดคุยกับ “วรรณวรรธน์” เจ้าของบทประพันธ์ “หนึ่งด้าวฟ้าเดียว” ซึ่งถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์และออกอากาศอยู่ในขณะนี้ ร่วมด้วย “ดร.เสาวณิต วิงวอน” ผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณคดีไทย อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เจ้าของผลงานมากมาย อาทิ จารึกวัดพระเชตุพน : ภูมิปัญญาไทยกับการจัดการความรู้ในสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และ ปฐมสมโพธิวัดตองปุ : ความสัมพันธ์ระหว่างจิตรกรรมกับวรรณกรรมพุทธประวัติ เป็นต้น
🌸🌸 ช่วงปลาย (๑๖.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.) : ออกเดินสำรวจจารึกกลบทคำกลอนที่ระเบียงรอบพระอุโบสถวัดโพธิ์ ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ เช่น วิสิโลกฉันท์ มาณะวะกะฉันท์ กลบทพยัฆค่ามห้วย กลบทพินประสานสาย กลบทเสือซ่อนเล็บ กลบทบัวบานกลีบขยาย และกลบทถอยหลังเข้าคลอง เป็นต้น จารึกกลบทคำกลอนเหล่านี้ ประดับอยู่ทั้งที่ระเบียงชั้นนอก ระเบียงชั้นใน และศาลารายรอบพระมณฑป นำสำรวจโดย “วรรณวรรธน์” และ “ดร.เสาวณิต วิงวอน”
๏๏ หมายเหตุ ๏๏
📓📓 “กลบท” เป็นการประดิษฐ์คิดค้นคำประพันธ์ให้มีลักษณะที่แปลกออกไป สามารถนำมาแต่งเป็น “กล” ได้ทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย กลบทถือเป็นเครื่องแสดงสติปัญญาและปฏิภาณไหวพริบของกวีที่จะพลิกแพลงให้มีลักษณะพิเศษ ทั้งยังฝึกเชาวน์ปัญญาในการถอดรหัสกลที่ซ่อนเอาไว้
กลบทสามารถจำแนกได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ
๑) กลอักษร เป็นการบังคับใช้พยัญชนะเสียงเดียวกันตลอดบาทและซ้ำคำ สองคำแรกของทุกบาท
๒) กลแบบ เป็นการซ่อนรูปคำประพันธ์และการเพิ่มลักษณะบังคับบางอย่าง เช่น การอ่านสลับไปมาหรืออ่านตามทิศทางต่าง ๆ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ซ่อนเอาไว้
📖📖 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองบรรณาธิการวารสารเมืองโบราณ ๐๒ ๒๘๑ ๑๙๘๘ หรือ ๐๙๙ ๗๕๑ ๖๔๖๐ 📖📖
🍀🍀 แผนผังวัดโพธิ์ จุดที่วงกลมไว้คือบริเวณที่จัดกิจกรรมค่ะ 🍀🍀
🙏🙏 ขอขอบคุณเพจวารสารเมืองโบราณ มา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ 🙏🙏
## แก้ไขคำผิด ##