!SPOILER ALERT!
.
.
.
.
.
จากเวปไซต์ของ WHO ในปี 2016 ได้มีการประมาณว่าเด็กกว่า 250 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 43 ในประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลางไม่สามารถที่จะมีพัฒนาการอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งพัฒนาการเด็กในช่วง 0 ถึง 8 ปีแรกของชีวิต (Early Childhood Development) เปรียบเสมือนเป็นเข็มทิศของชีวิตที่จะกำหนดพัฒนาการของเด็กในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย สังคม พหุปัญญา และกล้ามเนื้อการเคลื่อนไหว
เพราะว่าในช่วงนี้เองการเจริญของสมองจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว และยังมีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเช่นกันนอกจากนี้ยังถือเป็นพื้นฐานของการสร้างสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีตลอดทั้งชีวิต หัวใจหลักของการดูแเด็กในช่วงนี้ได้แก่ การให้เด็กได้อยู่ในสถานที่ปลอดภัย มีอาหารเพียงพอต่อความต้องการ ป้องกันจากภยันตราย เปิดโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัว ระบบรองรับความรู้สึกของเด็ก และการกระตุ้นพัฒนาการอย่างเหมาะสม
Childhood ของ Margreth Olin ได้พาเราไปสำรวจชีวิตปฐมวัยของเด็กกลุ่มหนึ่งก่อนเข้าโรงเรียน พวกเขาได้ใช้ช่วงแรกของชีวิตในสถานรับเลี้ยงเด็กที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน มันไม่ใช่เช่นเดียวภาพทรงจำของเราที่เคยผ่านมายี่สิบปีก่อน ผู้ดูแลเด็กแห่งนี้ปล่อยให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ มีตั้งแต่ร้องเพลงศาสนา คิดบทและแสดงละคร หาไม้ในป่า จำลองนักข่าว ฝังศพลูกนก เหลาไม้ ทาสี กินดิน หญ้า หรือแม้แต่มด ภาพยนตร์ตัดสลับกับการทำไม้เดินสองขาและตุ๊กตาม้าของกลุ่มเด็กที่กำลังจะจากบ้านหลังนี้
ความงดงามของภาพยนตร์ที่จับจองและดำเนินเรื่องราวแบบ observational cinema หลายคนอาจไม่คุ้นเคยกับความนิ่งเงียบของมัน แถมเราเองยังแปลกใจเสียด้วยซ้ำที่ทาง Documentary Club เลือกสารคดีที่มีวิธีการถ่ายทำตัดต่อเช่นนี้มา เรียกได้ว่าท้าทายคนดูอยู่ไม่น้อย
การได้เฝ้าดูกิจกรรมที่ผู้ใหญ่มองว่าหาแก่นสารไม่ได้ แต่จากงานวิจัยทางประสาทวิทยาหลายชิ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ก็ได้พิสูจน์แล้วว่าช่วงเวลาที่เด็กละเล่นที่ดูเหมือนไม่มีประโยชน์นี่เองมีส่วนในการสร้างตัวตนของเราอย่างสำคัญยิ่ง
น่าประหลาดใจไม่น้อยที่ช่วงชีวิตที่เราเองก็แทบจำอะไรไม่ได้ แต่เรียกได้ว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อไม่แพ้กับตอนเลือกเรียนมหาวิทยาลัย หรือไม่แน่อาจสำคัญมากกว่าเสียด้วยซ้ำ ใน Early Childhood ที่สำคัญเพราะเป็นช่วงพัฒนาเซลล์สมอง แต่ตอนแอดมิชชั่นสำคัญเพราะสังคมภายนอกสร้างบรรยากาศกดดันให้กับนักเรียนจนคิดไปว่ามันคือการตัดสินชีวิต
แต่ความเงียบงันของถ่วงท่าที่สงบนิ่งของภาพยนตร์ก็ก่อเกิดความหมายแฝงเร้น ภาษาประดิษฐ์เฉพาะที่ฟังไม่ได้ศัพท์ ใบหน้าอ่อนเยาว์และดวงตาอันสดใสไร้เดียงสาของพวกเขา ถูกนำเสนอในช่วงแรกเป็นชุดต่อเนื่องกัน ประหนึ่งเป็นการพาคนดูท่องยานย้อนเวลากลับไปในอดีตอีกครั้ง เท่านั้นไม่พอนี่เองยังถือเป็นการท่องเที่ยวไปในจิตวิญญาณ ค้นหาความสงบในใจที่เรียกร้องธรรมชาติบริสุทธิ์มาตลอด ดังคำพูดของเด็กหกเจ็ดชวบคนหนึ่งที่ทำเราทึ่งอยู่เหมือนกัน เขาวิพากย์วิจารณ์ถึงสังคมปล่อยมลพิษและละเลยธรรมชาติ หรือในตอนท้ายที่มีเด็กพูดเหน็บแนมอย่างน่าเศร้าว่าการได้เข้าโรงเรียนดูน่าตื่นเต้น ที่อีกมุมหนึ่งมันคือการโดนจับยัดเข้าถึงขยะ
ข้อสังเกตคือว่าภาพความไร้เดียงสาของเด็กน้อยในช่วงเริ่มของหนังที่ตัดมาต่อๆกัน ช่วงแรกเราก็เพลิดเพลินกับความน่ารักของพวกเขา แต่สักพักก็เกิดความเบื่อหน่ายขึ้นมา เราค้นพบว่าจริงๆแล้ว ความที่เราชอบเด็กน้อยมันผิวเผินมากๆ พอเราเข้าไปในโลกของเขาจริงๆ ไปนั่งดูกิจกรรมของพวกเขา เสมือนหนึ่งเป็นสมาชิกของพวกเขา เราก็จะเริ่มใช้ตรรกะของผู้ใหญ่ เราเริ่มรำคาญ จนอาจจะเผลอหลับไปเมื่อทนไม่ได้กับโลกของเด็ก บางทีเราอาจจะเป็นพวกชอบเสพความละอ่อนเยาว์วัย มากกว่าการพยายามทำความเข้าใจพวกเข้าอย่างจริงจัง
ใน Early Childhood Development ของ Unicef เขียนไว้อย่างชัดเจนว่าช่วงเวลาสามขวบครึ่งถึงห้าขวบ จะช่างพูดช่างถาม กล้าลงไม้ลงมือ แสดงละครด้วยความรู้สึก ชอบเล่นกับเพื่อน แต่ในบางครั้งก็ละเลยที่จะแบ่งปันได้เพราะยังสนใจตนเองอยู่บ้าง การช่วยเหลือให้เด็กได้ฝึกทักษะการใช้มือละเอียดอ่อเช่นการเย็บปักถักร้อย สร้างงานศิลปะดังในภาพยนต์เป็นสิ่งที่ควรทำ นอกจากนี้ก็พัฒนาทักษะอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง เช่นการอ่าน ภาษา พูดคุย และร้องเพลง ให้เด็กได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นด้วยการแบ่งปันและช่วยเหลือ
ส่วนในวัยที่ตัวละครหลักที่กำลังจะออกไปเผชิญโลกในโรงเรียนชั้นประถมอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ห้าถึงแปดขวบ จะเริ่มฉงนสงสัยในผู้คนรอบตัว และเริ่มเข้าใจโลกมากขึ้น มีความมั่นใจในการใช้ภาษาในการแสดงความรู้สึก นี่เองจึงควรเริ่มให้เด็กเรียนรู้การแก้ปัญหา และการเป็นทีมเวิร์คเหมือนในภาพยนตร์ที่เด็กทำ thesis ก่อนจบออกจากสถานรับเลี้ยงด้วยการทำโชว์การแสดงหุ่นเชิด ให้กับเด็กทีอายุน้อยกว่าชม หรือการที่เขาสามารถใช้ไม้เดินสองขาได้ ของเล่นที่เขาสร้างขึ้นเองตั้งแต่การไปหาไม้ในป่าจนถึงทาสี อันแสดงถึงว่าสถานที่แห่งนี้ที่บ่มเพาะให้เด็กสามารถมีก้าวย่างอันมั่นคงของชีวิตในช่วงนี้ได้
การจากลาในตอนท้าย ทำให้เรารู้เลยว่างานของผู้ดูแลเด็กในที่แห่งนี้ไม่ใช่แค่หน้าทีหรือภาระ แต่นี่คืองานที่ทำด้วยหัวใจ น้ำตาของชายวัยกลางคน เคราสีเทา แสดงถึงสายสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น หาใช่สิ่งที่ฉาบฉวย แต่กลับซึมลึกและมีความหมายถึงความปรารถนาดีที่ต้องการส่งมอบความเป็นมนุษย์ให้กับเด็กน้อยเหล่านั้น ผู้ที่กำลังจะออกจากอ้อมอกอันปลอดภัยของเขา แต่อย่างน้อยเขาก็มั่นใจว่าเด็กๆ เหล่านี้พร้อมจะเผชิญกับโลกกว้างที่อันตรายเสียยิ่งกว่ามีดที่ใช้ทำไม้เดินหรือเข็มที่เอาไว้ทำตุ๊กตา
Childhood (Margreth Olin, 90 min, 2017)
.
.
.
.
.
จากเวปไซต์ของ WHO ในปี 2016 ได้มีการประมาณว่าเด็กกว่า 250 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 43 ในประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลางไม่สามารถที่จะมีพัฒนาการอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งพัฒนาการเด็กในช่วง 0 ถึง 8 ปีแรกของชีวิต (Early Childhood Development) เปรียบเสมือนเป็นเข็มทิศของชีวิตที่จะกำหนดพัฒนาการของเด็กในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย สังคม พหุปัญญา และกล้ามเนื้อการเคลื่อนไหว
เพราะว่าในช่วงนี้เองการเจริญของสมองจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว และยังมีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเช่นกันนอกจากนี้ยังถือเป็นพื้นฐานของการสร้างสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีตลอดทั้งชีวิต หัวใจหลักของการดูแเด็กในช่วงนี้ได้แก่ การให้เด็กได้อยู่ในสถานที่ปลอดภัย มีอาหารเพียงพอต่อความต้องการ ป้องกันจากภยันตราย เปิดโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัว ระบบรองรับความรู้สึกของเด็ก และการกระตุ้นพัฒนาการอย่างเหมาะสม
Childhood ของ Margreth Olin ได้พาเราไปสำรวจชีวิตปฐมวัยของเด็กกลุ่มหนึ่งก่อนเข้าโรงเรียน พวกเขาได้ใช้ช่วงแรกของชีวิตในสถานรับเลี้ยงเด็กที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน มันไม่ใช่เช่นเดียวภาพทรงจำของเราที่เคยผ่านมายี่สิบปีก่อน ผู้ดูแลเด็กแห่งนี้ปล่อยให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ มีตั้งแต่ร้องเพลงศาสนา คิดบทและแสดงละคร หาไม้ในป่า จำลองนักข่าว ฝังศพลูกนก เหลาไม้ ทาสี กินดิน หญ้า หรือแม้แต่มด ภาพยนตร์ตัดสลับกับการทำไม้เดินสองขาและตุ๊กตาม้าของกลุ่มเด็กที่กำลังจะจากบ้านหลังนี้
ความงดงามของภาพยนตร์ที่จับจองและดำเนินเรื่องราวแบบ observational cinema หลายคนอาจไม่คุ้นเคยกับความนิ่งเงียบของมัน แถมเราเองยังแปลกใจเสียด้วยซ้ำที่ทาง Documentary Club เลือกสารคดีที่มีวิธีการถ่ายทำตัดต่อเช่นนี้มา เรียกได้ว่าท้าทายคนดูอยู่ไม่น้อย
การได้เฝ้าดูกิจกรรมที่ผู้ใหญ่มองว่าหาแก่นสารไม่ได้ แต่จากงานวิจัยทางประสาทวิทยาหลายชิ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ก็ได้พิสูจน์แล้วว่าช่วงเวลาที่เด็กละเล่นที่ดูเหมือนไม่มีประโยชน์นี่เองมีส่วนในการสร้างตัวตนของเราอย่างสำคัญยิ่ง
น่าประหลาดใจไม่น้อยที่ช่วงชีวิตที่เราเองก็แทบจำอะไรไม่ได้ แต่เรียกได้ว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อไม่แพ้กับตอนเลือกเรียนมหาวิทยาลัย หรือไม่แน่อาจสำคัญมากกว่าเสียด้วยซ้ำ ใน Early Childhood ที่สำคัญเพราะเป็นช่วงพัฒนาเซลล์สมอง แต่ตอนแอดมิชชั่นสำคัญเพราะสังคมภายนอกสร้างบรรยากาศกดดันให้กับนักเรียนจนคิดไปว่ามันคือการตัดสินชีวิต
แต่ความเงียบงันของถ่วงท่าที่สงบนิ่งของภาพยนตร์ก็ก่อเกิดความหมายแฝงเร้น ภาษาประดิษฐ์เฉพาะที่ฟังไม่ได้ศัพท์ ใบหน้าอ่อนเยาว์และดวงตาอันสดใสไร้เดียงสาของพวกเขา ถูกนำเสนอในช่วงแรกเป็นชุดต่อเนื่องกัน ประหนึ่งเป็นการพาคนดูท่องยานย้อนเวลากลับไปในอดีตอีกครั้ง เท่านั้นไม่พอนี่เองยังถือเป็นการท่องเที่ยวไปในจิตวิญญาณ ค้นหาความสงบในใจที่เรียกร้องธรรมชาติบริสุทธิ์มาตลอด ดังคำพูดของเด็กหกเจ็ดชวบคนหนึ่งที่ทำเราทึ่งอยู่เหมือนกัน เขาวิพากย์วิจารณ์ถึงสังคมปล่อยมลพิษและละเลยธรรมชาติ หรือในตอนท้ายที่มีเด็กพูดเหน็บแนมอย่างน่าเศร้าว่าการได้เข้าโรงเรียนดูน่าตื่นเต้น ที่อีกมุมหนึ่งมันคือการโดนจับยัดเข้าถึงขยะ
ข้อสังเกตคือว่าภาพความไร้เดียงสาของเด็กน้อยในช่วงเริ่มของหนังที่ตัดมาต่อๆกัน ช่วงแรกเราก็เพลิดเพลินกับความน่ารักของพวกเขา แต่สักพักก็เกิดความเบื่อหน่ายขึ้นมา เราค้นพบว่าจริงๆแล้ว ความที่เราชอบเด็กน้อยมันผิวเผินมากๆ พอเราเข้าไปในโลกของเขาจริงๆ ไปนั่งดูกิจกรรมของพวกเขา เสมือนหนึ่งเป็นสมาชิกของพวกเขา เราก็จะเริ่มใช้ตรรกะของผู้ใหญ่ เราเริ่มรำคาญ จนอาจจะเผลอหลับไปเมื่อทนไม่ได้กับโลกของเด็ก บางทีเราอาจจะเป็นพวกชอบเสพความละอ่อนเยาว์วัย มากกว่าการพยายามทำความเข้าใจพวกเข้าอย่างจริงจัง
ใน Early Childhood Development ของ Unicef เขียนไว้อย่างชัดเจนว่าช่วงเวลาสามขวบครึ่งถึงห้าขวบ จะช่างพูดช่างถาม กล้าลงไม้ลงมือ แสดงละครด้วยความรู้สึก ชอบเล่นกับเพื่อน แต่ในบางครั้งก็ละเลยที่จะแบ่งปันได้เพราะยังสนใจตนเองอยู่บ้าง การช่วยเหลือให้เด็กได้ฝึกทักษะการใช้มือละเอียดอ่อเช่นการเย็บปักถักร้อย สร้างงานศิลปะดังในภาพยนต์เป็นสิ่งที่ควรทำ นอกจากนี้ก็พัฒนาทักษะอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง เช่นการอ่าน ภาษา พูดคุย และร้องเพลง ให้เด็กได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นด้วยการแบ่งปันและช่วยเหลือ
ส่วนในวัยที่ตัวละครหลักที่กำลังจะออกไปเผชิญโลกในโรงเรียนชั้นประถมอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ห้าถึงแปดขวบ จะเริ่มฉงนสงสัยในผู้คนรอบตัว และเริ่มเข้าใจโลกมากขึ้น มีความมั่นใจในการใช้ภาษาในการแสดงความรู้สึก นี่เองจึงควรเริ่มให้เด็กเรียนรู้การแก้ปัญหา และการเป็นทีมเวิร์คเหมือนในภาพยนตร์ที่เด็กทำ thesis ก่อนจบออกจากสถานรับเลี้ยงด้วยการทำโชว์การแสดงหุ่นเชิด ให้กับเด็กทีอายุน้อยกว่าชม หรือการที่เขาสามารถใช้ไม้เดินสองขาได้ ของเล่นที่เขาสร้างขึ้นเองตั้งแต่การไปหาไม้ในป่าจนถึงทาสี อันแสดงถึงว่าสถานที่แห่งนี้ที่บ่มเพาะให้เด็กสามารถมีก้าวย่างอันมั่นคงของชีวิตในช่วงนี้ได้
การจากลาในตอนท้าย ทำให้เรารู้เลยว่างานของผู้ดูแลเด็กในที่แห่งนี้ไม่ใช่แค่หน้าทีหรือภาระ แต่นี่คืองานที่ทำด้วยหัวใจ น้ำตาของชายวัยกลางคน เคราสีเทา แสดงถึงสายสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น หาใช่สิ่งที่ฉาบฉวย แต่กลับซึมลึกและมีความหมายถึงความปรารถนาดีที่ต้องการส่งมอบความเป็นมนุษย์ให้กับเด็กน้อยเหล่านั้น ผู้ที่กำลังจะออกจากอ้อมอกอันปลอดภัยของเขา แต่อย่างน้อยเขาก็มั่นใจว่าเด็กๆ เหล่านี้พร้อมจะเผชิญกับโลกกว้างที่อันตรายเสียยิ่งกว่ามีดที่ใช้ทำไม้เดินหรือเข็มที่เอาไว้ทำตุ๊กตา