มหาจัตตารีสกสูตร บาลี-ไทย และมรรคสามัคคี

เมื่อได้ฟังคำของครูบาจารย์ที่ไม่เคยพบหน้าอย่างหลวงพ่อชาพูดถึง มรรคสามัคคี เช่นเทศนาที่แฮมสเตทวิหาร ในอังกฤษ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ก็ทำให้นึกว่าคำว่า มรรคสามัคคี นี้มีที่มาในพระไตรปิฎกบ้างหรือเปล่าหรือว่าเป็นคำที่พระสายวัดป่าพูดกันต่อๆ มา แล้วก็ได้มาอ่าน มหาจัตตารีสกสูตร ก็ได้พบคำว่า อริยมคฺคสมงฺคิโน  ซึ่งพระไตรปิฎกภาษาไทยแปลว่า พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค  ก็เข้าใจว่านี่คงเป็นที่มาของคำว่า มรรคสามัคคี ตามที่ครูบาอาจารย์ได้พูดถึงกัน เมื่อผมเทียบคำบาลี-ไทย เสร็จจึงได้นำมาลงไว้ในกระทู้นี้หวังว่าอาจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจครับ หากมีข้อผิดพลาดอันใดก็ขอให้ผู้รู้บาลีช่วยแนะนำด้วยครับ  

---------------------

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ขอความนอบน้อม จงมีแด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

        พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
มหาจตฺตารีสกสุตฺตํ    มหาจัตตารีสกสูตร
[๒๕๒]   เอวมฺเม   สุตํ       [๒๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
เอกํ  สมยํ  ภควา  สาวตฺถิยํ  วิหรติ   เชตวเน   อนาถปิณฺฑิกสฺส   อาราเม   ฯ     สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
ตตฺร   โข   ภควา  ภิกฺขู อามนฺเตสิ   ภิกฺขโวติ  ฯ      สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภทนฺเตติ  เต  ภิกฺขู  ภควโต  ปจฺจสฺโสสุ ํ  ฯ    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ
ภควา    เอตทโวจ       พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า
อริยํ   โว   ภิกฺขเว   สมฺมาสมาธึ   เทสิสฺสามิ  สอุปนิสํ   สปริกฺขารํ       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิ  ของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ แก่เธอทั้งหลาย
ตํ   สุณาถ   สาธุกํ  มนสิกโรถ  ภาสิสฺสามีติ  ฯ    พวกเธอจงฟังสัมมาสมาธินั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป
เอวมฺภนฺเตติ   โข   เต   ภิกฺขู   ภควโต   ปจฺจสฺโสสุ ํ ฯ
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
[๒๕๓]   ภควา    เอตทโวจ      [๒๕๓] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
กตโม   จ   ภิกฺขเว   อริโย   สมฺมาสมาธิ    สอุปนิโส     สปริกฺขาโร    
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็  สัมมาสมาธิ ของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ เป็นไฉน
เสยฺยถีทํ         กล่าวคือ
สมฺมาทิฏฺฐิ    สัมมาทิฐิ
สมฺมาสงฺกปฺโป          สัมมาสังกัปปะ
สมฺมาวาจา          สัมมาวาจา
สมฺมากมฺมนฺโต          สัมมากัมมันตะ
สมฺมาอาชีโว    สัมมาอาชีวะ
สมฺมาวายาโม      สัมมาวายามะ
สมฺมาสติ     สัมมาสติ
ยา  โข  ภิกฺขเว  อิเมหิ  สตฺตงฺเคหิ  จิตฺตสฺส  เอกคฺคตา  ปริกฺขตา      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล
อยํ  วุจฺจติ  ภิกฺขเว  อริโย  สมฺมาสมาธิ   สอุปนิโส  อิติปิ   สปริกฺขาโร อิติปีติ ๑- ฯ
    เรียกว่า  สัมมาสมาธิ ของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง ฯ
[๒๕๔]   ตตฺร  ภิกฺขเว  สมฺมาทิฏฺฐิ  ปุพฺพงฺคมา  โหติ  ฯ    [๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
กถญฺจ ภิกฺขเว   สมฺมาทิฏฺฐิ   ปุพฺพงฺคมา   โหติ   ฯ  
    ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร
มิจฺฉาทิฏฺฐึ  มิจฺฉาทิฏฺฐีติ  ปชานาติ    คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิว่ามิจฉาทิฐิ
สมฺมาทิฏฺฐึ    สมฺมาทิฏฺฐีติ   ปชานาติ   ฯ    รู้จักสัมมาทิฐิว่าสัมมาทิฐิ
สาสฺส   โหติ  สมฺมาทิฏฺฐิ ฯ    ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
[๒๕๕]   กตมา   จ  ภิกฺขเว  มิจฺฉาทิฏฺฐิ  ฯ    [๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน
    คือ ความเห็นดังนี้ว่า
นตฺถิ  ทินฺนํ    ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล
นตฺถิ  ยิฏฺฐํ    ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล
นตฺถิ  หุตํ     สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
นตฺถิ  สุกตทุกฺกฏานํ   กมฺมานํ   ผลํ   วิปาโก    ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี
นตฺถิ  อยํ  โลโก     โลกนี้ไม่มี
นตฺถิ  ปโร  โลโก     โลกหน้าไม่มี
นตฺถิ  มาตา     มารดาไม่มีคุณ
นตฺถิ  ปิตา     บิดาไม่มีคุณ
นตฺถิ  สตฺตา    โอปปาติกา      สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี
นตฺถิ  โลเก    สมณพฺราหฺมณา   สมฺมคฺคตา สมฺมาปฏิปนฺนา  เย   อิมญฺจ   โลกํ   ปรญฺจ   โลกํ   สยํ   อภิญฺญา  สจฺฉิกตฺวา ปเวเทนฺตีติ
    สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี
อยํ   ภิกฺขเว   มิจฺฉาทิฏฺฐิ ฯ    นี้มิจฉาทิฐิ ฯ
[๒๕๖]   กตมา   จ   ภิกฺขเว   สมฺมาทิฏฺฐิ   ฯ    [๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน
สมฺมาทิฏฺฐึปหํ  ภิกฺขเว    ทฺวยํ    วทามิ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ
อตฺถิ    ภิกฺขเว    สมฺมาทิฏฺฐิ  สาสวา  ปุญฺญภาคิยา    อุปธิเวปกฺกา    สัมมาทิฐิ  ที่ยังเป็นสาสวะ  เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
อตฺถิ    ภิกฺขเว    สมฺมาทิฏฺฐิ  อริยา  อนาสวา   โลกุตฺตรา มคฺคงฺคา ฯ

    สัมมาทิฐิ  ของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ  เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
[๒๕๗]   กตมา   จ   ภิกฺขเว  สมฺมาทิฏฺฐิ  สาสวา  ปุญฺญภาคิยา  อุปธิเวปกฺกา    ฯ    [๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ  ที่ยังเป็นสาสวะ  เป็นส่วนแห่งบุญ  ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน
    คือ ความเห็นดังนี้ว่า
อตฺถิ   ทินฺนํ    ทานที่ให้แล้ว มีผล
อตฺถิ   ยิฏฺฐํ    ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
อตฺถิ   หุตํ    สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
อตฺถิ  สุกตทุกฺกฏานํ   กมฺมานํ   ผลํ   วิปาโก    ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว มีอยู่
อตฺถิ  อยํ  โลโก    โลกนี้มี
อตฺถิ  ปโร โลโก    โลกหน้ามี
อตฺถิ   มาตา    มารดามีคุณ
อตฺถิ   ปิตา      บิดามีคุณ
อตฺถิ  สตฺตา  โอปปาติกา    สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
อตฺถิ  โลเก    สมณพฺราหฺมณา    สมฺมคฺคตา    สมฺมาปฏิปนฺนา   เย   อิมญฺจ  โลกํ   ปรญฺจ   โลกํ   สยํ   อภิญฺญา   สจฺฉิกตฺวา   ปเวเทนฺตีติ
    สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ   ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่
อยํ  ภิกฺขเว สมฺมาทิฏฺฐิ สาสวา ปุญฺญภาคิยา อุปธิเวปกฺกา ฯ
    นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
[๒๕๘]   กตมา  จ  ภิกฺขเว  สมฺมาทิฏฺฐิ   อริยา   อนาสวา  โลกุตฺตรา  มคฺคงฺคา    ฯ

    [๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิ  ของพระอริยะ  ที่เป็นอนาสวะ  เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน
ยา  โข   ภิกฺขเว       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันใดแล
อริยจิตฺตสฺส       ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก  
อนาสวจิตฺตสฺส      มีจิตหาอาสวะมิได้  
อริยมคฺคสมงฺคิโน      พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค  
อริยมคฺคํ  ภาวยโต
    เจริญอริยมรรคอยู่
ปญฺญา         นั้นคือ  ปัญญา
ปญฺญินฺทฺริยํ    ปัญญินทรีย์
ปญฺญาผลํ       ปัญญาพละ
ธมฺมวิจยสมฺโพชฺฌงฺโค       ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
สมฺมาทิฏฺฐิ       ความเห็นชอบ
มคฺคงฺคํ  
    องค์แห่งมรรค
อยํ   ภิกฺขเว  สมฺมาทิฏฺฐิ  อริยา  อนาสวา  โลกุตฺตรา มคฺคงฺคา ฯ
    นี้แล สัมมาทิฐิ  ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
โส  มิจฺฉาทิฏฺฐิยา  ปหานาย   วายมติ       ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฐิ
สมฺมาทิฏฺฐิยา   อุปสมฺปทาย   ฯ    เพื่อบรรลุสัมมาทิฐิ
สฺวาสฺส   โหติ  สมฺมาวายาโม   ฯ
    ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
โส   สโต   มิจฺฉาทิฏฺฐึ  ปชหติ     ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาทิฐิได้
สโต  สมฺมาทิฏฺฐึ  อุปสมฺปชฺช   วิหรติ   ฯ      มีสติบรรลุสัมมาทิฐิอยู่
สาสฺส   โหติ  สมฺมาสติ  ฯ
    สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ
อิติสฺสิเม  ตโย  ธมฺมา  สมฺมาทิฏฺฐึ     อนุปริธาวนฺติ     อนุปริวตฺตนฺติ      ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้  ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาทิฐิของภิกษุนั้น
เสยฺยถีทํ  สมฺมาทิฏฺฐิ สมฺมาวายาโม สมฺมาสติ ฯ
    กล่าวคือ สัมมาทิฐิ   สัมมาวายามะ  สัมมาสติ ฯ
[๒๕๙]   ตตฺร  ภิกฺขเว  สมฺมาทิฏฺฐิ  ปุพฺพงฺคมา  โหติ  ฯ    [๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
กถญฺจ  ภิกฺขเว     สมฺมาทิฏฺฐิ     ปุพฺพงฺคมา     โหติ    ฯ
    ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร
มิจฺฉาสงฺกปฺปํ  มิจฺฉาสงฺกปฺโปติ      ปชานาติ      คือภิกษุรู้จักมิจฉาสังกัปปะว่า มิจฉาสังกัปปะ
สมฺมาสงฺกปฺปํ   สมฺมาสงฺกปฺโปติ ปชานาติ ฯ     รู้จักสัมมาสังกัปปะว่าสัมมาสังกัปปะ ฯ
สาสฺส โหติ สมฺมาทิฏฺฐิ ฯ
    ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
[๒๖๐]   กตโม   จ   ภิกฺขเว  มิจฺฉาสงฺกปฺโป  ฯ  
    [๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาสังกัปปะเป็นไฉน
กามสงฺกปฺโป    คือ ความดำริในกาม
พฺยาปาทสงฺกปฺโป    ดำริในพยาบาท
วิหึสาสงฺกปฺโป
    ดำริในความเบียดเบียน
อยํ  ภิกฺขเว มิจฺฉาสงฺกปฺโป ฯ
    นี้มิจฉาสังกัปปะ ฯ
[๒๖๑]   กตโม  จ  ภิกฺขเว  สมฺมาสงฺกปฺโป  ฯ
      [๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน
สมฺมาสงฺกปฺปํปหํ  ภิกฺขเว    ทฺวยํ    วทามิ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เรากล่าวสัมมาสังกัปปะเป็น ๒ อย่าง คือ
อตฺถิ   ภิกฺขเว   สมฺมาสงฺกปฺโป  สาสโว  ปุญฺญภาคิโย     อุปธิเวปกฺโก    สัมมาสังกัปปะ ที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
อตฺถิ     ภิกฺขเว     สมฺมาสงฺกปฺโป  
อริโย อนาสโว  โลกุตฺตโร มคฺคงฺโค ฯ    สัมมาสังกัปปะ ของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
[๒๖๒]   กตโม  จ  ภิกฺขเว  สมฺมาสงฺกปฺโป  สาสโว  ปุญฺญภาคิโย  อุปธิเวปกฺโก       ฯ  

         [๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะ ที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน
เนกฺขมฺมสงฺกปฺโป          คือ ความดำริในเนกขัมมะ
อพฺยาปาทสงฺกปฺโป    ดำริในความไม่พยาบาท
อวิหึสาสงฺกปฺโป  
       ดำริในความไม่เบียดเบียน
อยํ   ภิกฺขเว   สมฺมาสงฺกปฺโป   สาสโว  ปุญฺญภาคิโย อุปธิเวปกฺโก ฯ
    นี้สัมมาสังกัปปะ  ที่ยังเป็นสาสวะ  เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
[๒๖๓]   กตโม   จ   ภิกฺขเว  สมฺมาสงฺกปฺโป  อริโย  อนาสโว  โลกุตฺตโร  มคฺคงฺโค  ฯ  

    [๒๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ  เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน
โย  โข  ภิกฺขเว      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันใดแล
อริยจิตฺตสฺส      ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก
อนาสวจิตฺตสฺส      มีจิตหาอาสวะมิได้
อริยมคฺคสมงฺคิโน      พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค
อริยมคฺคํ  ภาวยโต  
    เจริญอริยมรรคอยู่
ตกฺโก         นั้นคือ ความตรึก
วิตกฺโก    ความวิตก
สงฺกปฺโป       ความดำริ
อปฺปนา       ความแน่ว
พฺยปฺปนา       ความแน่
เจตโส อภินิโรปนา      ความปักใจ
วจีสงฺขาโร  ๑-
    วจีสังขาร
อยํ  ภิกฺขเว  สมฺมาสงฺกปฺโป  อริโย  อนาสโว  โลกุตฺตโร  มคฺคงฺโค  ฯ
    นี้แล สัมมาสังกัปปะ  ของพระอริยะ  ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
โส   มิจฺฉาสงฺกปฺปสฺส    ปหานาย     วายมติ    ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาสังกัปปะ
สมฺมาสงฺกปฺปสฺส  อุปสมฺปทาย    ฯ    เพื่อบรรลุสัมมาสังกัปปะ
สฺวาสฺส   โหติ   สมฺมาวายาโม   ฯ
    ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
โส   สโต  มิจฺฉาสงฺกปฺปํ   ปชหติ      ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาสังกัปปะได้
สโต   สมฺมาสงฺกปฺปํ   อุปสมฺปชฺช   วิหรติ   ฯ    มีสติบรรลุสัมมาสังกัปปะอยู่ ฯ
สาสฺส   โหติ  สมฺมาสติ  ฯ
    สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ
อิติสฺสิเม   ตโย  ธมฺมา  สมฺมาสงฺกปฺปํ  อนุปริธาวนฺติ    อนุปริวตฺตนฺติ    ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาสังกัปปะ ของภิกษุนั้น
เสยฺยถีทํ   สมฺมาทิฏฺฐิ   สมฺมาวายาโม  สมฺมาสติ ฯ
    กล่าวคือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ฯ


[๒๖๔]   ตตฺร  ภิกฺขเว  สมฺมาทิฏฺฐิ  ปุพฺพงฺคมา  โหติ  ฯ



(ดูข้อ ๒๖๔ ต่อในคอมเม้นที่ ๑ นะครับ)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่