ตัวเลขผู้สูงวัยชาวญี่ปุ่นก่อเหตุอาชญากรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นมาก เหตุเพื่อต้องการไปใช้ชีวิตในคุก หลังจากมีชีวิตอยู่ตามลำพัง เปรียบคุกเป็นสถานที่ที่ให้ความรู้สึกเหมือนบ้านมากกว่า
เว็บไซต์บิสเนสอินไซเดอร์ มีรายงานน่าสนใจโดยอ้างอิงจาก บลูมเบิร์ก เปิดเผยเกี่ยวกับเรื่องของคุกในประเทศญี่ปุ่น ที่เปรียบเหมือนสวรรค์สำหรับคนสูงวัย โดยกลุ่มผู้สูงอายุเหล่านี้ยอมทำความผิดเพื่อให้ถูกจับเข้าไปอยู่ในคุก โดยสาเหตุเพราะความเหงา
รายงานเผยว่า ประเทศญี่ปุ่นมีอัตราประชากรสูงอายุมากที่สุดในโลก โดยมากกว่า 1 ใน 4 ของพลเมืองชาวญี่ปุ่น มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ทว่าเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศญี่ปุ่นเกิดเทรนด์ที่ไม่คาดคิดขึ้น โดยพบว่ามีผู้สูงวัยในประเทศญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยที่ยอมทำเรื่องผิดกฎหมาย เพื่อให้ได้ไปใช้ชีวิตบั้นปลายในคุก สถิติผู้สูงอายุก่ออาชญากรรมเพิ่มสูงขึ้นเป็น 4 เท่า ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา และ 1 ใน 5 ของนักโทษในคุกเป็นผู้สูงอายุ นักโทษสูงอายุส่วนมากเป็นเพศหญิง นอกจากนี้คดีอาชญากรรมที่มีผู้สูงวัยเป็นคนก่อเหตุส่วนมาก ยังมักเป็นคดีความผิดเล็ก ๆ อาทิ การลักขโมยของในร้านค้า
ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ มีสาเหตุมาจากความยากลำบากในการดูแลประชากรผู้สูงอายุในญี่ปุ่น มีตัวเลขผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นที่ต้องใช้ชีวิตอาศัยตามลำพังเพิ่มขึ้นมากว่า 600 เปอร์เซ็นต์ ระหว่างปี พ.ศ. 2528-2558 ขณะที่ข้อมูลในปีที่ผ่านมา ทางรัฐบาลทราบว่า ผู้สูงอายุที่ก่อเหตุลักขโมยของในร้านค้า มีจำนวนมากกกว่าครึ่งที่อาศัยอยู่โดยลำพัง และ 40 เปอร์เซ็นต์ของพวกเขาเผยว่า เขาไม่มีครอบครัว หรือคนที่สามารถพูดคุยได้ด้วยเลย ด้วยเหตุผลเช่นนี้เอง จึงทำให้พวกเขาคิดว่า คุกเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
ด้าน ยูมิ มูระนากะ หัวหน้าผู้คุมเรือนจำหญิงอิวากุนิ เปิดเผยว่า "พวกเขาอาจจะมีบ้าน มีครอบครัว แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขามีสถานที่ที่ให้ความรู้สึกเหมือนบ้านอย่างแท้จริง"
ด้านนักโทษหญิงผู้สูงอายุ ได้เผยสัมภาษณ์ว่า พวกเธอรู้สึกว่าคุกเป็นเหมือนบ้านมากกว่าข้างนอก และนี่คือตัวอย่างบทสัมภาษณ์นักโทษหญิงผู้สูงอายุในเรือนจำ
- นางเอ็น (นามสมมุติ) อายุ 80 ปี ก่อเหตุขโมยหนังสือ อาหารว่าง และพัดลมมือถือ โทษจำคุก 3 ปี 2 เดือน
"ฉันต้องอยู่คนเดียวทุกวัน ฉันเหงามาก ๆ แม้สามีจะทิ้งเงินไว้ให้ฉันมากมายและใคร ๆ ก็บอกว่าฉันโชคดี แต่เงินไม่ใช่สิ่งที่ฉันต้องการหรือทำให้ฉันมีความสุขได้ ฉันมีความสุขกับชีวิตในคุกมากกว่า มีผู้คนอยู่รอบ ๆ ตลอดเวลา อยู่ที่นี่ ฉันไม่รู้สึกเหงาหรือโดดเดี่ยว ตอนที่ฉันถูกปล่อยตัวออกไปรอบที่ 2 ฉันสัญญาว่าจะไม่กลับมาที่นี่อีก แต่เมื่อฉันออกไปจริง ๆ ฉันกลับรู้สึกคิดถึงชีวิตภายในนั้น"
- นางสาว เอ (นามสมมุติ) อายุ 67 ปี ก่อเหตุขโมยเสื้อผ้า โทษจำคุก 2 ปี 3 เดือน
"ฉันขโมยของมากกว่า 20 ครั้ง เสื้อผ้าทั้งหมดที่ขโมยไม่มีตัวไหนราคาแพงเลย ส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าลดราคาตามถนน เพราะสิ่งที่ฉันต้องการไม่ใช่เงิน สามีของฉันให้การสนับสนุนด้วย เขียนจดหมายมาหาบ่อยครั้ง แต่ลูกชาย 2 คนโกรธ ส่วนหลาน ๆ ไม่ทราบว่าฉันมาอยู่ในคุก คิดว่าไปอยู่บ้านพักคนชรา"
- นางสาว โอ (นามสมมุติ) อายุ 78 ปี ก่อเหตุขโมยเครื่องดื่มชูกำลัง กาแฟ ชา ข้าวปั้น และมะม่วง โทษจำคุก 1 ปี 5 เดือน
"คุกเปรียบเหมือนโอเอซิสสำหรับฉัน เป็นสถานที่ที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และสบายใจ ฉันไม่ได้มีอิสระที่นี่ แต่ที่นี่ไม่มีสิ่งที่ทำให้ฉันต้องกังวล มีผู้คนมากมายให้พูดคุย เจ้าหน้าที่ให้อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการมาให้กินวันละ 3 มื้อ"
อย่างไรก็ตาม การดูแลนักโทษเรือนจำมีค่าใช้จ่ายมากกว่า 6.3 แสนบาทต่อปี นอกจากนี้นักโทษสูงอายุยังเพิ่มค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ให้สูงขึ้น อันได้แก่ค่าใช้จ่ายในการดูแลพิเศษ และค่าบริการทางการแพทย์ ทั้งนี้ทางเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเรือนจำยังรู้สึกว่าตัวเองต้องรับผิดชอบหน้าที่เป็นพยาบาลดูแลผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น
ทางด้านรัฐบาลญี่ปุ่นพยายามที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ โดยการปรับปรุงระบบสวัสดิการผู้สูงอายุ รวมไปถึงการจัดตั้งบริการด้านสังคม แต่ก็ดูเหมือนว่าสถิติการก่ออาชกรรมโดยผู้สูงอายุ ยังไม่มีทีท่าว่าจะหมดลงไปในเร็ววันนี้
"ชีวิตในคุกไม่ง่าย แต่สำหรับบางคน ชีวิตภายนอกนั้นแย่ยิ่งกว่า" ทาเคชิ อิซุมารุ นักสังคมสงเคราะห์ กล่าว
ข่าวจาก : กระปุกดอทคอม
https://hilight.kapook.com/view/171756
คนสูงวัยชาวญี่ปุ่นสุดเหงา ยอมทำผิดแลกชีวิตในคุก รู้สึกเหมือนบ้านมากกว่า
ตัวเลขผู้สูงวัยชาวญี่ปุ่นก่อเหตุอาชญากรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นมาก เหตุเพื่อต้องการไปใช้ชีวิตในคุก หลังจากมีชีวิตอยู่ตามลำพัง เปรียบคุกเป็นสถานที่ที่ให้ความรู้สึกเหมือนบ้านมากกว่า
เว็บไซต์บิสเนสอินไซเดอร์ มีรายงานน่าสนใจโดยอ้างอิงจาก บลูมเบิร์ก เปิดเผยเกี่ยวกับเรื่องของคุกในประเทศญี่ปุ่น ที่เปรียบเหมือนสวรรค์สำหรับคนสูงวัย โดยกลุ่มผู้สูงอายุเหล่านี้ยอมทำความผิดเพื่อให้ถูกจับเข้าไปอยู่ในคุก โดยสาเหตุเพราะความเหงา
รายงานเผยว่า ประเทศญี่ปุ่นมีอัตราประชากรสูงอายุมากที่สุดในโลก โดยมากกว่า 1 ใน 4 ของพลเมืองชาวญี่ปุ่น มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ทว่าเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศญี่ปุ่นเกิดเทรนด์ที่ไม่คาดคิดขึ้น โดยพบว่ามีผู้สูงวัยในประเทศญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยที่ยอมทำเรื่องผิดกฎหมาย เพื่อให้ได้ไปใช้ชีวิตบั้นปลายในคุก สถิติผู้สูงอายุก่ออาชญากรรมเพิ่มสูงขึ้นเป็น 4 เท่า ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา และ 1 ใน 5 ของนักโทษในคุกเป็นผู้สูงอายุ นักโทษสูงอายุส่วนมากเป็นเพศหญิง นอกจากนี้คดีอาชญากรรมที่มีผู้สูงวัยเป็นคนก่อเหตุส่วนมาก ยังมักเป็นคดีความผิดเล็ก ๆ อาทิ การลักขโมยของในร้านค้า
ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ มีสาเหตุมาจากความยากลำบากในการดูแลประชากรผู้สูงอายุในญี่ปุ่น มีตัวเลขผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นที่ต้องใช้ชีวิตอาศัยตามลำพังเพิ่มขึ้นมากว่า 600 เปอร์เซ็นต์ ระหว่างปี พ.ศ. 2528-2558 ขณะที่ข้อมูลในปีที่ผ่านมา ทางรัฐบาลทราบว่า ผู้สูงอายุที่ก่อเหตุลักขโมยของในร้านค้า มีจำนวนมากกกว่าครึ่งที่อาศัยอยู่โดยลำพัง และ 40 เปอร์เซ็นต์ของพวกเขาเผยว่า เขาไม่มีครอบครัว หรือคนที่สามารถพูดคุยได้ด้วยเลย ด้วยเหตุผลเช่นนี้เอง จึงทำให้พวกเขาคิดว่า คุกเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
ด้าน ยูมิ มูระนากะ หัวหน้าผู้คุมเรือนจำหญิงอิวากุนิ เปิดเผยว่า "พวกเขาอาจจะมีบ้าน มีครอบครัว แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขามีสถานที่ที่ให้ความรู้สึกเหมือนบ้านอย่างแท้จริง"
ด้านนักโทษหญิงผู้สูงอายุ ได้เผยสัมภาษณ์ว่า พวกเธอรู้สึกว่าคุกเป็นเหมือนบ้านมากกว่าข้างนอก และนี่คือตัวอย่างบทสัมภาษณ์นักโทษหญิงผู้สูงอายุในเรือนจำ
- นางเอ็น (นามสมมุติ) อายุ 80 ปี ก่อเหตุขโมยหนังสือ อาหารว่าง และพัดลมมือถือ โทษจำคุก 3 ปี 2 เดือน
"ฉันต้องอยู่คนเดียวทุกวัน ฉันเหงามาก ๆ แม้สามีจะทิ้งเงินไว้ให้ฉันมากมายและใคร ๆ ก็บอกว่าฉันโชคดี แต่เงินไม่ใช่สิ่งที่ฉันต้องการหรือทำให้ฉันมีความสุขได้ ฉันมีความสุขกับชีวิตในคุกมากกว่า มีผู้คนอยู่รอบ ๆ ตลอดเวลา อยู่ที่นี่ ฉันไม่รู้สึกเหงาหรือโดดเดี่ยว ตอนที่ฉันถูกปล่อยตัวออกไปรอบที่ 2 ฉันสัญญาว่าจะไม่กลับมาที่นี่อีก แต่เมื่อฉันออกไปจริง ๆ ฉันกลับรู้สึกคิดถึงชีวิตภายในนั้น"
- นางสาว เอ (นามสมมุติ) อายุ 67 ปี ก่อเหตุขโมยเสื้อผ้า โทษจำคุก 2 ปี 3 เดือน
"ฉันขโมยของมากกว่า 20 ครั้ง เสื้อผ้าทั้งหมดที่ขโมยไม่มีตัวไหนราคาแพงเลย ส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าลดราคาตามถนน เพราะสิ่งที่ฉันต้องการไม่ใช่เงิน สามีของฉันให้การสนับสนุนด้วย เขียนจดหมายมาหาบ่อยครั้ง แต่ลูกชาย 2 คนโกรธ ส่วนหลาน ๆ ไม่ทราบว่าฉันมาอยู่ในคุก คิดว่าไปอยู่บ้านพักคนชรา"
- นางสาว โอ (นามสมมุติ) อายุ 78 ปี ก่อเหตุขโมยเครื่องดื่มชูกำลัง กาแฟ ชา ข้าวปั้น และมะม่วง โทษจำคุก 1 ปี 5 เดือน
"คุกเปรียบเหมือนโอเอซิสสำหรับฉัน เป็นสถานที่ที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และสบายใจ ฉันไม่ได้มีอิสระที่นี่ แต่ที่นี่ไม่มีสิ่งที่ทำให้ฉันต้องกังวล มีผู้คนมากมายให้พูดคุย เจ้าหน้าที่ให้อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการมาให้กินวันละ 3 มื้อ"
อย่างไรก็ตาม การดูแลนักโทษเรือนจำมีค่าใช้จ่ายมากกว่า 6.3 แสนบาทต่อปี นอกจากนี้นักโทษสูงอายุยังเพิ่มค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ให้สูงขึ้น อันได้แก่ค่าใช้จ่ายในการดูแลพิเศษ และค่าบริการทางการแพทย์ ทั้งนี้ทางเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเรือนจำยังรู้สึกว่าตัวเองต้องรับผิดชอบหน้าที่เป็นพยาบาลดูแลผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น
ทางด้านรัฐบาลญี่ปุ่นพยายามที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ โดยการปรับปรุงระบบสวัสดิการผู้สูงอายุ รวมไปถึงการจัดตั้งบริการด้านสังคม แต่ก็ดูเหมือนว่าสถิติการก่ออาชกรรมโดยผู้สูงอายุ ยังไม่มีทีท่าว่าจะหมดลงไปในเร็ววันนี้
"ชีวิตในคุกไม่ง่าย แต่สำหรับบางคน ชีวิตภายนอกนั้นแย่ยิ่งกว่า" ทาเคชิ อิซุมารุ นักสังคมสงเคราะห์ กล่าว
ข่าวจาก : กระปุกดอทคอม
https://hilight.kapook.com/view/171756