การถ่ายภาพด้วยนกพิราบ

.

.
.


ตอนช่วงปลายศตวรรษที่ผ่านมา
กิจการการบินยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นพัฒนา
ชาวเยอรมันชื่อ Julius Neubronner
ได้ยื่นขอสิทธิบัตรสำหรับสิ่งประดิษฐ์ชิ้นใหม่
ซึ่งเป็นกล้องขนาดเล็กที่สามารถติดตั้งไว้
ที่หน้าอก/ลำตัวของนกพิราบ
เพื่อให้นกบินได้/ถ่ายภาพจากทางอากาศได้

Julius Neubronner  คือ
เภสัชกรที่ใช้งานนกพิราบ
เพื่อรับคำสั่งส่งยาไปส่งยังสถานพักฟื้นผู้ป่วย
ที่ตั้งอยู่ใกล้ Kronberg ใกล้กับ  Frankfurt
Apothecary เภสัชกร หรือ ผู้ผลิตยา
มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า  Pharmacist
ในหลายประเทศที่พูดภาษาเยอรมัน เช่น เยอรมนี ออสเตรียและสวิสเซอร์แลนด์
Pharmacies ยังคงเรียกกันว่า Apothecaries
 
ครอบครัวของ Julius Neubronner
เป็นเภสัชกรมา 2 ชั่วอายุคนแล้ว
ซึ่งพ่อของท่านสืบทอดธุรกิจต่อจากปู่ของท่าน
ในสมัยนั้น
นกพิราบสื่อสารถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย
ในการส่งข้อความและอุปกรณ์ชิ้นเล็ก ๆ
พ่อของ Julius Neubronner
จึงมีความคิดที่จะใช้นกพิราบ
เพื่อรับใบสั่งยาจากสถานพักฟื้นผู้ป่วย
และส่งยาไปให้โดยเร็ว
มีการรับส่งยาโดยวิธีนี้ต่อเนื่อง
มานานกว่าครึ่งศตวรรษ
จนกระทั่งสถานพักฟื้นผู้ป่วยแห่งนั้นปิดตัวลง

..
Julius Neubronner
.


อยู่มาวันหนึ่ง Julius Neubronner  
ได้ปล่อยนกพิราบตัวหนึ่ง
เพื่อให้มันบินออกไปทำธุระเร่งด่วน
แต่มันก็ไม่ได้บินกลับมา
เมื่อหลายวันผ่านไป
นกพิราบก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะกลับมาอีก
Julius Neubronner จึงสันนิษฐานว่า
นกพิราบบินหายไปหรือถูกจับได้
และถูกฆ่าโดยนักล่าแล้ว
อีกหนึ่งเดือนต่อมา
นกพิราบสื่อสารตัวที่หายไปก็ปรากฏตัวขึ้นมา
โดยบินกลับมายังรังของ Julius Neubronner
นกพิราบมีสภาพว่าถูกขุนเลี้ยงมาอย่างดี
ทำให้  Julius Neubronner
เกิดความคิดแวบเข้ามาว่า
นกพิราบบินไปที่ไหน
และใครเป็นคนเลี้ยงนกพิราบในตอนนั้น

Julius Neubronner  จึงตัดสินใจว่า
จะเริ่มต้นติดตามการบินของนกพิราบว่า
มันบินไปที่ไหนบ้าง  
สภาพแวดล้อมรอบตัวนกเป็นอย่างใดบ้าง

ความจริงที่เปิดเผยในภายหลัง
อะไรเกิดขึ้นกับนกพิราบของ Julius Neubronner
ที่ไม่กลับมาหาเจ้าของเป็นเวลาหนึ่งเดือน
แล้วกลับมาพร้อมสภาพอ้วนพีเต็มที่

ความจริงก็คือ นกพิราบตัวนี้บินหลงทางไปที่  Wiesbaden
ที่ห่างจากรังเดิมราว 20 กิโลเมตร
และมันก็ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี
จากหัวหน้าพ่อครัวร้านอาหารแห่งหนึ่ง
.
.

Julius Neubronne หลงใหลในการถ่ายภาพ
และเป็นช่างสร้างกล้องถ่ายรูปมือสมัครเล่นด้วย
จึงทำให้สร้างกล้องถ่ายภาพขนาดเล็ก
ที่มีตัวกลัองกับชิ้นส่วนประกอบส่วนใหญ่
ทำด้วยอลูมีเนียมพร้อมฟิล์มขาวดำ
มีน้ำหนักเบา ขนาดที่พอเหมาะกับการรัด
ไว้ที่หน้าอก/ตัวของนกพิราบ
ระบบนิวเมติกในกล้องจะกดชัตเตอร์
ตามช่วงจังหวะ/ระยะเวลา
ที่นกพิราบขยับปีกตามที่กำหนดไว้
และม้วนฟิล์มซึ่งจะเคลื่อนที่ไปพร้อมกับชัตเตอร์
ทำให้ถ่ายภาพได้ถึง 30 ภาพ/ครั้ง
ในการขึ้นบินแต่ละครั้ง
อุปกรณ์ทั้งหมดมีน้ำหนักไม่เกิน 75 กรัม
ซึ่งเป็นน้ำหนักสูงสุดที่นกพิราบได้ฝึกไว้
ในการขนส่งยาไปสู่สถานที่ต้องการได้
กล้องถ่ายภาพจึงติดกับตัวนก
ขึ้นไปถ่ายภาพกลางอากาศได้
หลังจากที่นกพิราบบินกลับรังแล้ว
ก็จะถอดกล้องถ่ายภาพพร้อมกับนำฟิล์มขาวดำ
ไปทำการล้างอัดภาพตามกรรมวิธียุคก่อน

ภาพที่นกพิราบถ่ายออกมาดีมาก
จนทำให้   Julius Neubronner  
คิดวิธีถ่ายภาพในรูปแบบที่แตกต่างกัน
ด้วยการสร้างระบบที่มีเลนส์ 2 เลนส์
ที่ชี้ไปในทิศทางตรงกันข้ามกัน
ซึ่งต่อมาก็นำหลักการนี่มาพัฒนา
เป็นกล้องถ่ายภาพสามมิติ
โดยภาพถ่ายที่นำมาซ้อนกันบางส่วน
จะดูเสมือนเป็นภาพถ่ายสามมิติ
ซึ่งต้องใช้กล้องชนิดหนึ่งส่องดูภาพ
จึงเห็นเป็นภาพสามมิติ

ในที่สุด Julius  Neubronner
ได้ยื่นขอรับสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์นี้
แต่สำนักงานสิทธิบัตรปฏิเสธคำร้องในครั้งแรก
อ้างว่าอุปกรณ์ถ่ายภาพทางอากาศเป็นไปไม่ได้
เพราะไม่เชื่อว่านกพิราบจะสามารถแบกรับ
รับน้ำหนักของตัวกล้องกับฟิล์มได้
แต่เมื่อ  Julius Neubronner  
ได้นำเสนอภาพถ่ายโดยนกพิราบ
พร้อมการสาธิตการถ่ายภาพให้ดูเป็นคัวอย่าง
ทำให้ได้รับสิทธิบัตรในปี 1908
.
.
Aerial photograph of Frankfurt
.
.
Aerial photograph of Schlosshotel Kronberg
.
.



Julius Neubronner
ได้จัดแสดงภาพถ่ายของตนหลายแห่ง
ตามนิทรรศการการถ่ายภาพนานาชาติ
หลายแห่งที่ท่านได้รับรางวัลจำนวนมาก
ครั้งหนึ่ง ในงานนิทรรศภาพถ่ายที่ Dresden
ขณะที่ผู้ชมกำลังเฝ้าดูนกพิราบ
ที่ถ่ายภาพต่าง ๆ ทางอากาศ
เมื่อนกพิราบบินลงมาแล้วพร้อมกับฟิล์มภาพถ่าย
ท่านก็ให้บริการล้างอัดภาพถ่ายให้เป็นภาพโปสการ์ด
ที่ผู้สนใจภาพถ่ายสามารถซื้อหาได้ทันที
โดยท่านจะนำรถเคลื่อนที่พร้อมห้องมืดล้างอัดภาพได้เลย
กับรังนกพิราบที่ฝึกหัดให้บินเข้ารังเคลื่อนที่ไปใช้ในงานนี้

วิธีการถ่ายภาพแบบนี้ถูกปรับให้เข้ากับ
การนำไปใช้งานในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
ซึ่งเยอรมันนีใช้ในสงครามกับฝรั่งเศสก่อน
เพราะถ้าใช้เครื่องบินถ่ายภาพแล้ว
พวกข้าศึกจะระมัดระวังและสังเกตเห็นได้
แต่ถ้าใช้นกพิราบจะไม่สร้างความสนใจให้กับฝ่ายศัตรู
จึงสามารถถ่ายภาพสถานที่ของข้าศึก
จากพื้นที่ใกล้ชิดกว่าได้และเห็นได้ชัดเจนกว่า
รวมทั้งนกพิราบไม่แยแสกับพื้นที่สู้รบกันในสนามรบ

วิธีการถ่ายภาพด้วยนกพิราบของ  Julius Neubronner
ก็ยังมีการใช้งานในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2  ด้วย
กองทัพนาซีเยอรมันได้พัฒนากล้องถ่ายรูปด้วยนกพิราบ
ที่สามารถถ่ายภาพได้ถึง 200 ภาพต่อเที่ยว

เช่นเดียวกับกองทัพโซเวียตรัสเซีย
ก็ยังใช้กล้องถ่ายภาพด้วยนกพิราบกับฐานที่มั่นนาซีเยอรมันนี
แม้แต่ กองทัพฝรั่งเศสก็ยังอ้างว่า
พวกตนก็ยังมีกล้องถ่ายภาพด้วยนกพิราบ
และวิธีการในการปรับใช้งานจากแนวหลังของพวกศัตรู
ด้วยการใช้สุนัขที่ผ่านการฝึกอบรมในการถ่ายภาพด้วย

ขณะเดียวกันในช่วงเวลานี้ Christian Adrian Michel
ผู้สร้างนาฬิกาสัญชาติสวิสก็ยังได้สร้าง
กล้องถ่ายรูปพาโนรามาและกลไกตั้งเวลาในการกดชัตเตอร์
การถ่ายภาพด้วยนกพิราบยังมีการใช้งานถึงปลายยุค 70
และ CIA ได้พัฒนากล้องถ่ายภาพโดยนกพิราบ
โดยยังคงหลักการและวิธีการตามแนวคิดแรกเริ่ม
รวมทั้งมีการใช้กล้องถ่ายภาพประเภทนี้ผูกติดกับหมากับแมวด้วย

ในพื้นที่สู้รบที่ต้องการจะถ่ายภาพด้วยนกพิราบ
จะมีการฝึกนกพิราบถ่ายภาพให้เคยชิน/บินกลับมายังรังใหม่ที่เคลื่อนที่ได้
ด้วยการให้นกพิราบเดินทางไปพร้อมกับรังเคลื่อนที่
แล้วฝึกให้นกพิราบบินกลับมาเข้ายังรังเคลื่อนที่
โดยอาจจะใช้การแบกขนด้วยสุนัข(ให้เคยชินกับจำกลิ่นสุนัขได้)
หรือด้วยรถบรรทุกที่ออกแบบไว้โดยเฉพาะ

ทุกวันนี้ การถ่ายภาพทางอากาศถูกแทนที่โดยเครื่องบิน ดาวเทียม
และเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็ถูกแทนที่ด้วยโดรนที่ราคาไม่แพงมากนัก
แต่แนวคิดการถ่ายภาพด้วยนกพิราบของ Julius Neubronner
ที่วางรากฐานไว้ยังคงมีอยู่จนถึงทุกวันนี้

.
.
.
Aerial photographs of Dresden
.

รถห้องมืดที่ใช้ล้างอัดภาพถ่ายขาวดำ
และรังนกพิราบเคลื่อนที่ ในปี 1909
.
.
.
.
.
.
กล้องถ่ายภาพ 2 เลนส์ของนกพิราบ
.
.
กล้องถ่ายภาพ 3 มิติ กับ อุปกรณ์ดูภาพ 3 มิติ
.
.
กล้องถ่ายภาพของ CIA
.


เรียบเรียง/ที่มา


http://bit.ly/2r6oQls
http://bit.ly/2HZFain
.
เพิ่มเติม

.
.

.


Doppel-Sport Panoramic Camera
สร้างขึ้นในปี 1912  โดย Julius Neubronner
ที่ Kronberg ใน Germany เพื่อใช้ถ่ายภาพ
ทางอากาศด้วยนกพิราบ(สายลับจำเป็น)
Julius Neubronner ได้ทำแผ่นพับอธิบายกระบวนการถ่ายภาพนี้ในปี 1909
กล้องถ่ายภาพนี้จะใช้ผูกติดกับลำตัวนกพิราบ
เพื่อทำหน้าที่เป็นสายลับสอดแนมถ่ายภาพกองทัพฝรั่งเศส
บริเวณฐานที่มั่น/ที่ตั้งทหารฝรั่งเศส
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1

แม้ว่าคุณภาพของภาพถ่ายยังจัดว่าไม่ดีมากนัก
แต่ระบบกล้องที่ติดหน้าอกของนกพิราบ
เป็นแบบ pneumatic
ที่ถ่วงเวลาถ่ายภาพด้วย swing lens
ภาพจากกล้อง Doppel-Sport
จะมีขนาดภาพ 3 ซม. x 8 ซม
ซึ่งพอสังเกตสถานที่ตั้งจำนวนกองกำลัง
ปืนใหญ่ และยานพาหนะได้


เรียบเรียง/ที่มา

http://bit.ly/2Ko9dOT

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่