ขอออกตัวไว้ก่อนว่า ปกติแล้วแทบจะไม่มีโอกาสชมละครโทรทัศน์มากนัก ดังนั้นจึงไม่ค่อยคุ้นชินกับขนบบางประการของละครโทรทัศน์ ซึ่งบทความนี้เกิดจากมีผู้สนใจอยากให้เขียนถึงละครเรื่องนี้ กอปรกับความโด่งดังอันเป็นกระแสของละครก็มีผลให้อยากพิสูจน์ด้วยตาตัวเอง การไล่ดูย้อนหลังจึงเกิดขึ้นหลังจากละครก็ได้จบไปแล้ว ซึ่งกระแสของละครตอนนี้ก็เริ่มซาลงไปแล้ว ดังนั้นบทความนี้ขอเขียนเป็นเหมือนบทบันทึกกึ่งวิเคราะห์มากกว่าจะเป็นการวิจารณ์ถึงละครเรื่องนี้ครับ
บุพเพสนนิวาส เล่าเรื่องราวของ เกศสุรางค์ นักโบราณคดีในยุคปัจจุบัน ที่ประสบอุบัติเหตุจนวิญญานหลุดลอยไป เธอพบกับ วิญญานของ แม่หญิงการะเกด หญิงสาวในอยุธยาในรัชสมัยของพระนารายณ์ ที่ถูกมนต์กฤษณกาลีลงโทษให้ต้องตายเนื่องจากการฆาตกรรมที่แม่หญิงการะเกดได้กระทำไว้
ซึ่งแม่หญิงการะเกดได้ขอให้เกศสุรางค์เข้าไปอยู่ในร่างไว้วิญญานของเธอ เพื่อทำความดีเพื่อแสดงให้ผู้คนเห็นว่า แม่หญิงการะเกดก็เป็นคนดีคนหนึ่งเหมือนกัน
“การย้อนเวลากลับไปสำรวจประวัติศาสตร์ของเกศสุรางค์” นั้นไม่ต่างกับ “การศึกษาอดีตของนักประวัติศาสตร์”
แต่การที่เกศสุรางค์เข้าไปสิงร่างของแม่หญิงการะเกด แล้วช่วยเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของแม่การะเกดให้เป็นคนที่ดีขึ้น
มองในแง่นี้มันคือ “การกลับไปเปลี่ยนประวัติอันเลวร้ายให้กลายเป็นดี โดยเกศสุรางค์ที่เป็นนักโบราณคดี”
ซึ่งก็อาจจะอุปมาอุปไมยถึง “การกลับไปแก้ไขประวัติศาสตร์อันเลวร้ายในราชสำนักไทยที่มีการแก่งแย่งชิงอำนาจของขุนนางในสมัยพระนารายณ์ให้ดูดีขึ้นมาโดยนักเขียนที่จบโบราณคดีอย่าง “รอมแพง” ที่เป็นผู้แต่งเรื่อง”
แต่การจะเปรียบเทียบในแง่นี้มันก็ไม่ถูกต้องนัก นั่นก็เพราะนี่คือ “ละครอิงประวัติศาสตร์” แถมเรื่องราวการย้อนเวลาก็เป็นเรื่องเหนือจริง ดังนั้นเรื่องราวที่เกิดในละครก็ถูกป่าวประกาศโดยตัวของมันเองอยู่แล้วว่าไม่ใช่เรื่องจริง (อันที่จริงประวัติศาสตร์นั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถบอกได้เต็มปากว่าเป็นเรื่องจริงอยู่แล้ว)
ดังนั้นนี่คือเรื่องราวแฟนตาซีที่อ้างอิงบางส่วนของเรื่องจริงในมุมมองของผู้เขียนเท่านั้น
[CR] <<< *** บุพเพสันนิวาส *** เกศสุรางค์และฟอลคอน กับการรักษาอำนาจของคนนอก >>> (เปิดเผยเนื้อหาสำคัญ)
บุพเพสนนิวาส เล่าเรื่องราวของ เกศสุรางค์ นักโบราณคดีในยุคปัจจุบัน ที่ประสบอุบัติเหตุจนวิญญานหลุดลอยไป เธอพบกับ วิญญานของ แม่หญิงการะเกด หญิงสาวในอยุธยาในรัชสมัยของพระนารายณ์ ที่ถูกมนต์กฤษณกาลีลงโทษให้ต้องตายเนื่องจากการฆาตกรรมที่แม่หญิงการะเกดได้กระทำไว้
ซึ่งแม่หญิงการะเกดได้ขอให้เกศสุรางค์เข้าไปอยู่ในร่างไว้วิญญานของเธอ เพื่อทำความดีเพื่อแสดงให้ผู้คนเห็นว่า แม่หญิงการะเกดก็เป็นคนดีคนหนึ่งเหมือนกัน
“การย้อนเวลากลับไปสำรวจประวัติศาสตร์ของเกศสุรางค์” นั้นไม่ต่างกับ “การศึกษาอดีตของนักประวัติศาสตร์”
แต่การที่เกศสุรางค์เข้าไปสิงร่างของแม่หญิงการะเกด แล้วช่วยเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของแม่การะเกดให้เป็นคนที่ดีขึ้น
มองในแง่นี้มันคือ “การกลับไปเปลี่ยนประวัติอันเลวร้ายให้กลายเป็นดี โดยเกศสุรางค์ที่เป็นนักโบราณคดี”
ซึ่งก็อาจจะอุปมาอุปไมยถึง “การกลับไปแก้ไขประวัติศาสตร์อันเลวร้ายในราชสำนักไทยที่มีการแก่งแย่งชิงอำนาจของขุนนางในสมัยพระนารายณ์ให้ดูดีขึ้นมาโดยนักเขียนที่จบโบราณคดีอย่าง “รอมแพง” ที่เป็นผู้แต่งเรื่อง”
แต่การจะเปรียบเทียบในแง่นี้มันก็ไม่ถูกต้องนัก นั่นก็เพราะนี่คือ “ละครอิงประวัติศาสตร์” แถมเรื่องราวการย้อนเวลาก็เป็นเรื่องเหนือจริง ดังนั้นเรื่องราวที่เกิดในละครก็ถูกป่าวประกาศโดยตัวของมันเองอยู่แล้วว่าไม่ใช่เรื่องจริง (อันที่จริงประวัติศาสตร์นั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถบอกได้เต็มปากว่าเป็นเรื่องจริงอยู่แล้ว)
ดังนั้นนี่คือเรื่องราวแฟนตาซีที่อ้างอิงบางส่วนของเรื่องจริงในมุมมองของผู้เขียนเท่านั้น