Back to basic, back to ‘Chiang Mai’ inside Sla Lanna
at The Traditional Wisdom Lanna School
...ผมอยากให้ช่วยกันอนุรักษ์งานศิลปะพื้นเมือง
ของพวกนี้ถ้าเราไม่ช่วยกันอนุรักษ์
มันก็จะหายไป...
จตุพล สิงห์อ่อนแก้ว
ครูสอนวิชากลองสะบัดชัย
โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา จ.เชียงใหม่
‘เชียงใหม่’ ในวันนี้ คุณนึกถึงอะไร วัดสไตล์ล้านนา สัมผัสสายหมอกบนภูเขาสูง หรือชีวิตไนท์ไลฟ์ในเขตเมือง ถ้าคุณหวังจะได้เจอเรื่องราวเหล่านี้ในเรื่องราวต่อจากนี้ คุณอาจต้องผิดหวัง แต่ถ้าคุณอยากสัมผัสความเป็นล้านนาอย่างแท้จริง ได้โปรดตามเรามา แล้วคุณจะรู้ว่า เชียงใหม่ยังมีอะไรให้ ‘สัมผัส’ อีกเยอะ
ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางเหนือไม่ถึงครึ่งชั่วโมง เป็นที่ตั้งของ ‘โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา’ ในภาษากลาง ‘โฮงเฮียน’ ก็คือ ‘โรงเรียน’ นั่นล่ะ แค่ได้ยินคำว่า โรงเรียน หลายคนคงขยาด แต่เดี๋ยวก่อน ลองเปิดใจสักนิด หากคุณยังไม่ได้ลองเข้าไปที่ ‘โฮงเฮียน’ แห่งนี้ อย่าเพิ่งรีบหนีกลับล่ะ แล้วคุณจะรู้ว่า เชียงใหม่ยังมีอะไรให้น่าค้นหาอีกเยอะ
โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ก่อตั้งเมื่อพ.ศ. 2543 เพื่อรวบรวมองค์ความรู้จากพ่อครูแม่ครู และปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อทำการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิมให้กับลูกหลาน และผู้สนใจในท้องถิ่น ได้เกิดการเรียนรู้และ สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาต่างๆ อีกทั้งยังเป็นแหล่งพัฒนาองค์ความรู้ท้องถิ่นที่มีอยู่ให้มีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้คนรุ่นใหม่สามารถสืบสานความรู้ที่บรรพบุรุษได้สั่งสมมาให้คงอยู่อย่างต่อเนื่องต่อไป
แค่คุณมาที่โฮงเฮียนแห่งนี้ที่เดียว คุณจะได้สัมผัสกับความเป็นล้านนาแทบจะทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น กลองสะบัดชัย ฟ้องพื้นเมือง ฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง ภาษาล้านนา ดนตรีพื้นเมือง จักรสาน แต่งคร่าว-ซอ ฟ้อนพื้นเมือง ทำตุง-โคม ของเล่นเด็กพื้นบ้าน ทอผ้า การปั้น แกะสลัก และวิชาด้านสล่าเมือง เป็นต้น
เริ่มต้นที่
‘วิชากลองสะบัดชัย’ สอนโดยนายจตุพล สิงห์อ่อนแก้ว หรือครูฟอร์ด ครูหนุ่มรุ่นใหม่ที่ใช้เวลาช่วงปิดภาคเรียนในมหาวิทยาลัย มาสอนกลองสะบัดชัยแก่เด็กๆ ด้วยหวังว่าจะเป็นการเผยแพร่ศิลปะดังกล่าวให้แก่เด็กรุ่นใหม่ได้ช่วยสืบสานกันต่อไป
กลองสะบัดชัย มีมานานแล้วหลายศตวรรษ สมัยก่อนใช้ตียามออกศึกสงครามเพื่อเป็นสิริมงคล และเป็นขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อสู้ให้ได้ชัยชนะ ทำนองที่ใช้ในการตีกลองสะบัดชัยโบราณมี 3 ทำนอง คือ ชัยเภรี ชัยดิถี และชนะมาร การตีกลองสะบัดชัยเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะพบเห็นในขบวนแห่หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้านในระยะหลังโดยทั่วไป ลีลาในการตีมีลักษณะโลดโผนเร้าใจมีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ศอก เข่า ศีรษะ ประกอบในการตี
ฟ้อนเจิง เป็นการร่ายรำตามกระบวนท่าจากแบบแผนที่แสดงออกถึงศิลปะในการต่อสู้ของชาย ซึ่งท่ารำนั้นมีทั้งท่าที่ผู้รำแต่ละคนจะใช้ความสามารถเฉพาะตัวในการพลิกแพลงให้ดูสวยงามไม่ว่าจะเป็น ฟ้อนเจิงไม้ค้อน เจิงหอก เจิงดาบ หรือเจิงมือ
การฝึกฟ้อนเจิงจะเริ่มจากการหัดเดินเท้า คือ ย่างเท้าให้มีกระบวนท่าเสียก่อน โดยฝึกย่างไปตามขุมเจิง คือ ผังหรือตำแหน่งที่กำหนด ซึ่งมักจะปักไม้ ฝังก้อนอิฐหรือหินไว้ตามตำแหน่งที่ถูกต้อง การย่างจะต้องไปตามขุมทั้งในจังหวะรับและหนี พร้อมกันนั้นจะต้องวาดมือออกไปให้สัมพันธ์กับเท้าที่ก้าวอยู่ให้สมดุลและเพื่อความสวยงาม
ดอกไม้ไหว ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงดอกไม้ที่กำลังไหวไปตามแรงลม หากแต่หมายถึง เครื่องประดับที่ทำจากแผ่นทองเหลือง มีจุดเริ่มต้นจากการไปวัดในวันบุญใหญ่ของคนสมัยก่อน ที่นิยมนำดอกไม้นานาชนิดที่ปลูกไว้ภายในบริเวณบ้าน ธูป เทียน ใส่สวย (กรวย) ที่ทำมาจากใบตอง ใส่สลุงเงิน (ขันเงิน) ไปทำบุญที่วัด หญิงสาวชาวล้านนาที่ไว้ผมยาวจะเกล้ามวยผมให้สวยงามและจะนำดอกไม้มาเหน็บกับมวยผมตอนไปวัด เพื่อเป็นการบูชาหัวและเพื่อเวลาก้มหัวจะเป็นการบูชาพระพุทธเจ้า สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องการบูชา ‘ขวัญ’ ของคนในกลุ่มชาวไต-ลาว
ปัจจุบันดอกไม้ไหวนิยมใช้ประดับในการแสดงต่างๆ มากกกว่าการที่จะเหน็บดอกไม้ไหวไปวัด ดอกไม้ไหวโลหะมีหลายแบบแต่ที่นิยมมักจะทำดอกที่เป็นช่อ เช่น ช่อดอกเอื้อง ดอกจำปา ดอกสะบันงา ดอกพิกุล เป็นต้น
การทำดอกไม้ไหว (ดอกพุตตาล)
อุปกรณ์: แผ่นทองเหลือง 5*5 นิ้ว (สำเร็จรูปจากร้าน) เข็มร้อยมาลัย และลวดทองเหลือง
วิธีการทำ:
1. ตัดกระดาษออกเป็นขนาด 3*3 ซม.
2. จินตนาการว่าดอกไม้มีลักษณะแบบไหน ไม่มีการวาดออกแบบไว้ก่อน
3. ตัดเป็นกลีบให้เท่าๆ กันทั้ง 4 ด้าน
4. ขึ้นลาย (ขูดลายกลีบดอกไม้)
5. ดุนกลีบดอกไม้มีการงอตามลักษณะกลีบ ดอกไม้ (เทคนิคส่วนตัวแล้วแต่ตัวศิลปินจะทำ)
6. ทำสปริง – ใช้ลวดทองเหลืองพันกับเข็ม
7. เจาะรูตรงกลางกลีบดอกไม้
8. ประกอบโดยการเรียงกลีบนอกสุดหมุนเข้าไปในสุด
9. หากจะใส่เพชรหรือพลอย ภายในดอกเพื่อความสวยงามแล้วแต่ความชอบส่วนบุคคล
10. หากจะเข้าก้านต้องทำให้ครบทั้ง 5 ดอก
11. พันด้วยลวดให้เข้ากัน ใส่ก้านทองเหลือง บีบด้านหน้าให้แคบลง
12. จะได้ 1 ช่อ อาจจะเพิ่มเติมด้วยใบแล้วแต่บุคคล
เขียนลายเครื่องเขิน ‘เครื่องเขิน’ เป็นงานหัตถศิลป์ของชาวล้านนา ได้รับอิทธิพลมาจากไทเขิน เป็นภาชนะที่มีโครงเป็นเครื่องจักสานหรือไม้ เคลือบทาด้วยยางรักเพื่อความคงทน กันน้ำ และความชื้น ทั้งเป็นการเพิ่มความสวยงามวิจิตรแก่พื้นผิวของภาชนะ โดยจะทารักซ้ำหลายชั้น ชั้นสุดท้ายจะเป็นการตกแต่งให้เกิดความสวยงาม เช่น การเขียนลวดลาย การปิดทอง หรือการขุดผิวให้เป็นร่องลึก แล้วฝังรักสีที่ต่างกันเป็นลวดลายสวยงาม
นอกจากนี้ยังมีวิชา
วาดภาพล้านนา ครูจะสอนนักเรียนวาดลายลงบนกระดาษก่อนเพื่อฝึกมือ ลายที่สอน เช่น ลายนก ลายกิ่งไม้ เป็นต้น เมื่อชำนาญแล้ว จึงให้นักเรียนวาดลงบนจ้อง (ร่ม) คันเล็ก เป็นลำดับถัดมา วิชานี้เด็กๆ เข้าเรียนกันเยอะ คุยเล่นกับครูอย่างสนุกสนาน ฝีมือแต่ละคนต้องบอกเลยว่าไม่ธรรมดาจริงๆ
วิชา
ฟ้อนเมือง
วิชา
ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ โดยจุดเด่นของวิชานี้ก็คือ ครูจะสอนกระบวนการตั้งแต่การเตรียมวัตถุ การต้มวัตถุดิบจากธรรมชาติ (เช่น การต้มเปลือกไม้ให้ออกมาได้สีต่างๆ โดยที่นี่จะเน้นสีที่ทำมาจากธรรมชาติ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีอันตรายต่อสุขภาพผิว) จนถึงขั้นตอนการย้อมที่ปราศจากการใช้สารเคมี
วิชา
ประวัติศาสตร์ล้านนา
วิชา ภาษาล้านนา
หลังจากเรียนวิชาล้านนาจนหนำใจแล้ว อย่าลืมแวะ พิพิธภัณฑ์ ที่อยู่ด้านในสุดสักหน่อย ที่นี่จัดแสดงประวัติภูมิปัญญาท้องถิ่น เครื่องมือช่าง ของโบราณของชาวล้านนา ฯลฯ ไว้ให้เราได้เสริมความรู้อย่างเนืองแน่น
เรียกได้ว่า สามารถใช้เวลาอยู่ที่โฮงเฮียนแห่งนี้ได้ทั้งวัน แถมยังไม่ต้องห่วงเรื่องปากท้อง ตอนเที่ยงหิวๆ ก็มีร้านก๋วยเตี๋ยวหน้าเรือนสำนักงาน แถมราคายังสบายกระเป๋า
หรือบ่ายๆ หากอยากดื่มกาแฟ ก็มีร้านคาเฟ่ 'กาแฟสืบสาน' อยู่กลางลาน มีที่นั่งพักเป็นแคร่ไม้ไผ่ อยากมาชิลๆ ชมบรรยากาศเรือนไม้ล้านนา เคล้าเสียงกลองสะบัดชัย ชมการฝึกฟ้อนของเด็กๆ ก็ได้บรรยากาศไปอีกแบบ แถมไม่ต้องกลัวว่าจะเสียเงินเยอะหากต้องอยู่ทั้งวัน เพราะที่นี่เข้าชมฟรี แถมวิชาที่สอนทุกอย่างก็ฟรีทั้งหมด (ยกเว้นวิชาพิเศษที่เป็นคอร์สเฉพาะ เปิดเป็นบางเดือน ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าอุปกรณ์ ราคา 1,500 บาท) แบบนี้แล้ว มาเชียงใหม่คราวหน้าก็อย่าพลาดแล้วกัน
[CR] Back to basic, back to Chiang Mai inside 'Sla Lanna'
at The Traditional Wisdom Lanna School
ของพวกนี้ถ้าเราไม่ช่วยกันอนุรักษ์
มันก็จะหายไป...
ครูสอนวิชากลองสะบัดชัย
โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา จ.เชียงใหม่
‘เชียงใหม่’ ในวันนี้ คุณนึกถึงอะไร วัดสไตล์ล้านนา สัมผัสสายหมอกบนภูเขาสูง หรือชีวิตไนท์ไลฟ์ในเขตเมือง ถ้าคุณหวังจะได้เจอเรื่องราวเหล่านี้ในเรื่องราวต่อจากนี้ คุณอาจต้องผิดหวัง แต่ถ้าคุณอยากสัมผัสความเป็นล้านนาอย่างแท้จริง ได้โปรดตามเรามา แล้วคุณจะรู้ว่า เชียงใหม่ยังมีอะไรให้ ‘สัมผัส’ อีกเยอะ
ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางเหนือไม่ถึงครึ่งชั่วโมง เป็นที่ตั้งของ ‘โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา’ ในภาษากลาง ‘โฮงเฮียน’ ก็คือ ‘โรงเรียน’ นั่นล่ะ แค่ได้ยินคำว่า โรงเรียน หลายคนคงขยาด แต่เดี๋ยวก่อน ลองเปิดใจสักนิด หากคุณยังไม่ได้ลองเข้าไปที่ ‘โฮงเฮียน’ แห่งนี้ อย่าเพิ่งรีบหนีกลับล่ะ แล้วคุณจะรู้ว่า เชียงใหม่ยังมีอะไรให้น่าค้นหาอีกเยอะ
โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ก่อตั้งเมื่อพ.ศ. 2543 เพื่อรวบรวมองค์ความรู้จากพ่อครูแม่ครู และปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อทำการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิมให้กับลูกหลาน และผู้สนใจในท้องถิ่น ได้เกิดการเรียนรู้และ สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาต่างๆ อีกทั้งยังเป็นแหล่งพัฒนาองค์ความรู้ท้องถิ่นที่มีอยู่ให้มีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้คนรุ่นใหม่สามารถสืบสานความรู้ที่บรรพบุรุษได้สั่งสมมาให้คงอยู่อย่างต่อเนื่องต่อไป
แค่คุณมาที่โฮงเฮียนแห่งนี้ที่เดียว คุณจะได้สัมผัสกับความเป็นล้านนาแทบจะทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น กลองสะบัดชัย ฟ้องพื้นเมือง ฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง ภาษาล้านนา ดนตรีพื้นเมือง จักรสาน แต่งคร่าว-ซอ ฟ้อนพื้นเมือง ทำตุง-โคม ของเล่นเด็กพื้นบ้าน ทอผ้า การปั้น แกะสลัก และวิชาด้านสล่าเมือง เป็นต้น
เริ่มต้นที่ ‘วิชากลองสะบัดชัย’ สอนโดยนายจตุพล สิงห์อ่อนแก้ว หรือครูฟอร์ด ครูหนุ่มรุ่นใหม่ที่ใช้เวลาช่วงปิดภาคเรียนในมหาวิทยาลัย มาสอนกลองสะบัดชัยแก่เด็กๆ ด้วยหวังว่าจะเป็นการเผยแพร่ศิลปะดังกล่าวให้แก่เด็กรุ่นใหม่ได้ช่วยสืบสานกันต่อไป
กลองสะบัดชัย มีมานานแล้วหลายศตวรรษ สมัยก่อนใช้ตียามออกศึกสงครามเพื่อเป็นสิริมงคล และเป็นขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อสู้ให้ได้ชัยชนะ ทำนองที่ใช้ในการตีกลองสะบัดชัยโบราณมี 3 ทำนอง คือ ชัยเภรี ชัยดิถี และชนะมาร การตีกลองสะบัดชัยเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะพบเห็นในขบวนแห่หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้านในระยะหลังโดยทั่วไป ลีลาในการตีมีลักษณะโลดโผนเร้าใจมีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ศอก เข่า ศีรษะ ประกอบในการตี
ฟ้อนเจิง เป็นการร่ายรำตามกระบวนท่าจากแบบแผนที่แสดงออกถึงศิลปะในการต่อสู้ของชาย ซึ่งท่ารำนั้นมีทั้งท่าที่ผู้รำแต่ละคนจะใช้ความสามารถเฉพาะตัวในการพลิกแพลงให้ดูสวยงามไม่ว่าจะเป็น ฟ้อนเจิงไม้ค้อน เจิงหอก เจิงดาบ หรือเจิงมือ
การฝึกฟ้อนเจิงจะเริ่มจากการหัดเดินเท้า คือ ย่างเท้าให้มีกระบวนท่าเสียก่อน โดยฝึกย่างไปตามขุมเจิง คือ ผังหรือตำแหน่งที่กำหนด ซึ่งมักจะปักไม้ ฝังก้อนอิฐหรือหินไว้ตามตำแหน่งที่ถูกต้อง การย่างจะต้องไปตามขุมทั้งในจังหวะรับและหนี พร้อมกันนั้นจะต้องวาดมือออกไปให้สัมพันธ์กับเท้าที่ก้าวอยู่ให้สมดุลและเพื่อความสวยงาม
ดอกไม้ไหว ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงดอกไม้ที่กำลังไหวไปตามแรงลม หากแต่หมายถึง เครื่องประดับที่ทำจากแผ่นทองเหลือง มีจุดเริ่มต้นจากการไปวัดในวันบุญใหญ่ของคนสมัยก่อน ที่นิยมนำดอกไม้นานาชนิดที่ปลูกไว้ภายในบริเวณบ้าน ธูป เทียน ใส่สวย (กรวย) ที่ทำมาจากใบตอง ใส่สลุงเงิน (ขันเงิน) ไปทำบุญที่วัด หญิงสาวชาวล้านนาที่ไว้ผมยาวจะเกล้ามวยผมให้สวยงามและจะนำดอกไม้มาเหน็บกับมวยผมตอนไปวัด เพื่อเป็นการบูชาหัวและเพื่อเวลาก้มหัวจะเป็นการบูชาพระพุทธเจ้า สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องการบูชา ‘ขวัญ’ ของคนในกลุ่มชาวไต-ลาว
ปัจจุบันดอกไม้ไหวนิยมใช้ประดับในการแสดงต่างๆ มากกกว่าการที่จะเหน็บดอกไม้ไหวไปวัด ดอกไม้ไหวโลหะมีหลายแบบแต่ที่นิยมมักจะทำดอกที่เป็นช่อ เช่น ช่อดอกเอื้อง ดอกจำปา ดอกสะบันงา ดอกพิกุล เป็นต้น
การทำดอกไม้ไหว (ดอกพุตตาล)
อุปกรณ์: แผ่นทองเหลือง 5*5 นิ้ว (สำเร็จรูปจากร้าน) เข็มร้อยมาลัย และลวดทองเหลือง
วิธีการทำ:
1. ตัดกระดาษออกเป็นขนาด 3*3 ซม.
2. จินตนาการว่าดอกไม้มีลักษณะแบบไหน ไม่มีการวาดออกแบบไว้ก่อน
3. ตัดเป็นกลีบให้เท่าๆ กันทั้ง 4 ด้าน
4. ขึ้นลาย (ขูดลายกลีบดอกไม้)
5. ดุนกลีบดอกไม้มีการงอตามลักษณะกลีบ ดอกไม้ (เทคนิคส่วนตัวแล้วแต่ตัวศิลปินจะทำ)
6. ทำสปริง – ใช้ลวดทองเหลืองพันกับเข็ม
7. เจาะรูตรงกลางกลีบดอกไม้
8. ประกอบโดยการเรียงกลีบนอกสุดหมุนเข้าไปในสุด
9. หากจะใส่เพชรหรือพลอย ภายในดอกเพื่อความสวยงามแล้วแต่ความชอบส่วนบุคคล
10. หากจะเข้าก้านต้องทำให้ครบทั้ง 5 ดอก
11. พันด้วยลวดให้เข้ากัน ใส่ก้านทองเหลือง บีบด้านหน้าให้แคบลง
12. จะได้ 1 ช่อ อาจจะเพิ่มเติมด้วยใบแล้วแต่บุคคล
เขียนลายเครื่องเขิน ‘เครื่องเขิน’ เป็นงานหัตถศิลป์ของชาวล้านนา ได้รับอิทธิพลมาจากไทเขิน เป็นภาชนะที่มีโครงเป็นเครื่องจักสานหรือไม้ เคลือบทาด้วยยางรักเพื่อความคงทน กันน้ำ และความชื้น ทั้งเป็นการเพิ่มความสวยงามวิจิตรแก่พื้นผิวของภาชนะ โดยจะทารักซ้ำหลายชั้น ชั้นสุดท้ายจะเป็นการตกแต่งให้เกิดความสวยงาม เช่น การเขียนลวดลาย การปิดทอง หรือการขุดผิวให้เป็นร่องลึก แล้วฝังรักสีที่ต่างกันเป็นลวดลายสวยงาม
นอกจากนี้ยังมีวิชา วาดภาพล้านนา ครูจะสอนนักเรียนวาดลายลงบนกระดาษก่อนเพื่อฝึกมือ ลายที่สอน เช่น ลายนก ลายกิ่งไม้ เป็นต้น เมื่อชำนาญแล้ว จึงให้นักเรียนวาดลงบนจ้อง (ร่ม) คันเล็ก เป็นลำดับถัดมา วิชานี้เด็กๆ เข้าเรียนกันเยอะ คุยเล่นกับครูอย่างสนุกสนาน ฝีมือแต่ละคนต้องบอกเลยว่าไม่ธรรมดาจริงๆ
วิชา ฟ้อนเมือง
วิชา ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ โดยจุดเด่นของวิชานี้ก็คือ ครูจะสอนกระบวนการตั้งแต่การเตรียมวัตถุ การต้มวัตถุดิบจากธรรมชาติ (เช่น การต้มเปลือกไม้ให้ออกมาได้สีต่างๆ โดยที่นี่จะเน้นสีที่ทำมาจากธรรมชาติ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีอันตรายต่อสุขภาพผิว) จนถึงขั้นตอนการย้อมที่ปราศจากการใช้สารเคมี
วิชา ประวัติศาสตร์ล้านนา
วิชา ภาษาล้านนา
หลังจากเรียนวิชาล้านนาจนหนำใจแล้ว อย่าลืมแวะ พิพิธภัณฑ์ ที่อยู่ด้านในสุดสักหน่อย ที่นี่จัดแสดงประวัติภูมิปัญญาท้องถิ่น เครื่องมือช่าง ของโบราณของชาวล้านนา ฯลฯ ไว้ให้เราได้เสริมความรู้อย่างเนืองแน่น
เรียกได้ว่า สามารถใช้เวลาอยู่ที่โฮงเฮียนแห่งนี้ได้ทั้งวัน แถมยังไม่ต้องห่วงเรื่องปากท้อง ตอนเที่ยงหิวๆ ก็มีร้านก๋วยเตี๋ยวหน้าเรือนสำนักงาน แถมราคายังสบายกระเป๋า
หรือบ่ายๆ หากอยากดื่มกาแฟ ก็มีร้านคาเฟ่ 'กาแฟสืบสาน' อยู่กลางลาน มีที่นั่งพักเป็นแคร่ไม้ไผ่ อยากมาชิลๆ ชมบรรยากาศเรือนไม้ล้านนา เคล้าเสียงกลองสะบัดชัย ชมการฝึกฟ้อนของเด็กๆ ก็ได้บรรยากาศไปอีกแบบ แถมไม่ต้องกลัวว่าจะเสียเงินเยอะหากต้องอยู่ทั้งวัน เพราะที่นี่เข้าชมฟรี แถมวิชาที่สอนทุกอย่างก็ฟรีทั้งหมด (ยกเว้นวิชาพิเศษที่เป็นคอร์สเฉพาะ เปิดเป็นบางเดือน ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าอุปกรณ์ ราคา 1,500 บาท) แบบนี้แล้ว มาเชียงใหม่คราวหน้าก็อย่าพลาดแล้วกัน