ห้องเพลงคนรากหญ้า *พักยกการเมือง* มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม..มีแต่เสียง 26/04/2018 "บ้านศาลในป่าแหว่ง กลับไม่ได้ไปไม่ถึง"

กระทู้คำถาม
สวัสดีทุกๆท่านครับ วันนี้ MC จะพาทุกท่านมามองบ้านพักผู้พิพากษาที่ตีนดอยสุเทพที่ชาวบ้านเขาเรียกกันว่าหมู่บ้านป่าแหว่งกันดูบ้างครับ

เรามาดูสภาพบ้านตอนปัจจุบันที่ใกล้จะแล้วเสร็จกันก่อน


สวยงาม ดูแพง น่าอยู่จากเงินภาษีประชาชนล้วนๆ จากภาพที่เห็นหากสร้างเสร็จพร้อมอยู่ยังต้องได้รับการประดับประดา ให้ดูหรูดูดียิ่งขึ้นให้สมศักดิ์ศรีผู้อยู่ และเพรียบพร้อมกับสาธารณูปโภคต่างๆที่จะตามเข้ามา

คราวนี้เรามาดูภาพถ่ายทางอากาศกันบ้าง ตั้งแต่ปี 2557 เมื่อเทียบกับปี 2561 (ปัจจุบัน) เราจะเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าเพราะอะไรชาวบ้านถึงเรียกบริเวณอาคารชุด 9 แห่งและบ้านพักตุลาการ 45 หลัง นี้ว่าบ้านป่าแหว่ง



จากภาพสองภาพนี้ จะเห็นชัดเจนว่าเป็นพื้นที่ป่าสีเขียวมาก่อน ยังมองไม่ออกว่าเป็นป่าเสื่อมโทรมตรงไหน แม้ว่าศาลจะอ้างว่าได้พื้นที่นี้มาโดยชอบธรรมแล้วและได้มีการขออนุญาตใช้ที่ราชพัสดุจากกรมธนารักษ์อย่างถูกต้อง แต่ขอให้ทุกท่านอย่ามองข้ามคำว่าควรสร้างหรือไม่ควรสร้างเป็นที่ตั้งมากกว่า

ในส่วนของเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพยืนยันว่า "สิ่งก่อสร้างที่รุกล้ำเข้าไปในเขตป่าดั้งเดิมนั้น แม้จะเป็นที่ราชพัสดุ แต่ก็ไม่ใช่พื้นที่ป่าเสื่อมโทรม" ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ อธิบายเพิ่มเติมว่า พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมนั้น คือแนวพื้นที่ราบที่ปัจจุบันได้กลายเป็นพื้นที่ของสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ไปแล้ว และรวมถึงพื้นที่บางส่วนของโครงการสร้างอาคารที่ทำการของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ในพื้นที่ราบด้านล่าง ไม่ใช่ส่วนบ้านพักตุลาการที่อยู่บนริมดอยสุเทพที่สร้างทัศนอุดจาด




ในทางกลับกันเมื่อเรามองกลับในมุมของชาวบ้านถูกที่กระทำโดยกฎหมายของรัฐ ครั้งถูกขับไล่ให้ออกจากพื้นที่ชายป่าแม้ว่าเคยอยู่ เคยทำกินมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่-ปู่ย่าตายาย ตามนโยบายทวงคืนผืนป่าที่ คสช. ประกาศไว้เมื่อก้าวสู่อำนาจในปี 2557 ซึ่งกำหนดว่าจะคืนผืนป่าให้ได้ 40% ตามแผนแม่บท ซึ่งดูจะย้อนแย้งกันในตัวเอง แม้ว่าภายใต้ยุทธศาสตร์ทวงคืนผืนป่าของ คสช. และแผนแม่บทนี้ ระบุว่า จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ ผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่ดินทำกิน ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่เดิม แต่ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์หนาหูว่าผู้ที่ตกเป็นเป้าและได้รับผลกระทบจากนโยบายดังกล่าวกลับเป็นชาวบ้านในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ และยิ่งทำให้คำว่า “ควร” หรือ “ไม่ควร” กับได้รับอนุญาตมาอย่างถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง นำมาเปรียบเทียบกันยิ่งขึ้นว่าควรจะเลือกอันไหน และนำมาซึ่งคำถามตามมาว่าทำไมผู้พิพากษาอยู่ร่วมกับผืนป่าได้ แต่ชาวบ้านที่อยู่กับผืนป่ามาตลอดชีวิต ทำไมพวกเขาถึงอยู่ไม่ได้

"บ้านศาลในป่าแหว่ง กลับไม่ได้ไปไม่ถึง" นั่นจึงหมายความว่า ไม่อาจยุติและรื้อถอนโครงการได้เพราะจะถูกคู่สัญญาฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย และจะถูกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินดำเนินการหาผู้รับผิดชอบตามกฎหมาย แต่จะไปต่อนั้นก็ล้วนถูกกระแสสังคมและคนในพื้นที่ร่วมกันต่อต้าน ศาลจะอยู่ได้อย่างปกติสุขได้อย่างไร ในเมื่อมีคนคอยทวงถามความชอบธรรมของผู้ที่มีอำนาจตัดสินผิดชอบของประชาชนอยู่ทุกๆวัน



รัฐบาลจะหาทางออกกับเรื่องนี้ได้อย่างไร?



ขอบพระคุณรูปภาพ และข้อมูลประกอบกระทู้จาก BBC News
http://www.bbc.com/thai/thailand-43708707





ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ

1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม

กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน  ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น





ชีวิตสัมพันธ์ - รวมศิลปินในโครงการ "ใครรักป่า ยกมือขึ้น" (Official MV)

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่