ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 6
1. อย่างแรกคือฟอลคอนไม่เคยเรียกร้องให้ฝรั่งเศสยกกองทหารขนาดใหญ่เข้ามาในภาคกลางครับ
จากหลักฐานจดหมายที่ฟอลคอนให้บาทหลวงตาชารด์ส่งถึงพระอธิกรณ์ เดอ ลา แชส (François d'Aix de la Chaise) พระอธิกรณ์ (confessor) ประจำพระองค์พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ มีเนื้อหาตอนหนึ่งระบุว่าให้ฝรั่งเศสส่งทหารมารักษาและประจำการที่สงขลาซึ่งสมเด็จพระนารายณ์ทรงตั้งพระทัยจะพระราชทานให้ฝรั่งเศสตั้งสถานีการค้า เพื่อให้ฝรั่งเศสใช้เป็นฐานที่มั่นต่อไป ส่วนสิ่งที่ฟอลคอนร้องขอจริงๆ คือชาวฝรั่งเศส ๖๐-๗๐ คน เพื่อให้จัดเขามาอยู๋ในระบบราชการของอยุทธยาและอยู่ในบังคับบัญชาของเขา เพื่อใช้คนกลุ่มนี้ค่อยๆ เปลี่ยนพลเมืองเป็นศาสนาคริสต์จากเบื้องบน
แต่ว่าฝรั่งเศสไม่ต้องการได้สงขลาและหวังสูงกว่าที่ฟอลคอนเสนอ จึงให้ยกกองทหารภายใต้บังคับบัญชาของนายพลเดส์ฟาร์ฌส์เข้ามาพร้อมกับคณะทูตของลาลูแบร์ โดยมีจุดประสงค์หลักในการเรียกร้องขอเมืองท่าบางกอกและมะริดที่มีความสำคัญมากกว่าจากสมเด็จพระนารายณ์และให้กองทหารเหล่านี้เข้าไปตั้งมั่นในเมืองทั้งสองให้ได้ (ซึ่งหากการเจรจาไม่เป็นผล เดส์ฟาร์ฌส์ได้รับคำสั่งมาว่าให้ "โจมตีและยึดไว้ด้วยกำลัง")
ทั้งนี้เพราะฝรั่งเศสในตอนนั้นกำลังต้องการแสวงหาเมืองท่าที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นฐานการค้าเพื่อฟื้นฟูการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสที่ย่ำแย่จนต้องปิดตัวไปแล้วครั้งหนึ่งขึ้นมาใหม่ แต่ไม่ได้มีจุดประสงค์ในการตีเมืองละโว้หรืออยุทธยาในตอนนั้น (ตราบใดที่ฝรั่งเศสยังเห็นว่าฟอลคอนสามารถเป็นผู้สนองผลประโยชน์ให้ฝรั่งเศสในสยามได้ และหากฟอลคอนตายไปแล้วฝรั่งเศสก็มีคำสั่งให้ทหารกลุ่มนี้ดำเนินการอื่นๆ ต่อไปในสยามเพื่อรักษาผลประโยชน์ของฝรั่งเศส ซึ่งมีหลักฐานว่าหวังผลสูงสุดจนถึงจะเอาสยามเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส โดยจะอาศัยกำลังชุดใหม่ที่ยกมาภายหลัง แต่เพราะเกิดรัฐประหารขึ้น ฝรั่งเศสจึงเลิกล้มเรื่องนี้ไป)
การที่ฝรั่งเศสยกทหารเข้ามาทำให้ฟอลคอนไม่พอใจมากเพราะว่ามีแต่จะทำให้เขาถูกเพ่งเล็งโดยคนอยุธยามากขึ้น โดยเฉพาะพระเพทราชาที่มีหลักฐานระบุว่าคัดค้านการยกกองทหารเข้าไปในบางกอก แต่สมเด็จพระนารายณ์ทรงมีพระบรมราชานุญาตแต่โดยดี มีการวิเคราะห์ว่าพระองค์ต้องการอาศัยทหารฝรั่งเศสกลุ่มนี้ให้เป็นประโยชน์ในการคานอำนาจทั้งภายนอกและภายใน ภายนอกคือให้เป็นเกราะป้องกันพวกดัตช์ ภายในคือให้คานอำนาจกับกลุ่มขุนนางไทยฝ่ายปกครอง โดยให้ประจำที่บางกอกซึ่งอยู่ไม่ไกลจากอยุทธยา ทั้งนี้พระองค์ไม่มีทางยอมให้ฝรั่งเศสเข้าไปอยู่ได้ถ้าพระองค์ไม่ทรงมั่นพระทัยว่าทรงคุมทหารกลุ่มนี้ไว้ในอำนาจได้
อย่างไรก็ตามการให้กองทหารฝรั่งเศสเข้ามาครองเมืองท่าสำคัญ รวมถึงมีหลักฐานถึงความประพฤติที่ไม่เรียบร้อยของชาวฝรั่งเศสกลุ่มนี้ทำให้พลเมืองทั่วไปเกิดความหวาดระแวงไม่ไว้วางใจ และเป็นเหตุสำคัญที่ถูกใช้เป็นข้ออ้างในการก่อรัฐประหารยึดอำนาจสมเด็จพระนารายณ์ในที่สุดครับ
2. เดส์ฟาร์ฌส์ยกกองทหารออกจากฝรั่งเศสทั้งหมด 636 นาย (ซึ่งจำนวนแค่นี้ฝรั่งเศสประเมินว่าสามารถยึดบางกอกกับมะริดได้) แต่ตายเสียกลางทางเหลือ 493 นาย พอมาถึงสยามทหารกว่าครึ่งก็ล้มป่วยจากการเดินทาง หลายคนก็ไม่คุ้นกับสภาพอากาศเมืองร้อนจนเจอกับพิษไข้และไข้มาเลเรีย เดส์ฟาร์ฌส์มีกองทหารที่พร้อมรบจริงๆ ราว 200 กว่าคนเท่านั้น ไม่อยู่ในสภาพจะไปยึดเมืองอะไรได้ในตอนนั้น
นอกจากนี้ทางไทยกลับพยายามทำให้กองทหารฝรั่งเศสกลุ่มนี้อ่อนกำลังลงกว่าเดิมอีก (ซึ่งหลักฐานฝรั่งเศสบางชิ้นอ้างว่าพระเพทราชาหรืออาจเป็นสมเด็จพระนารายณ์ที่อยู่เบื้องหลังกดดันฟอลคอนซึ่งมีอำนาจลดน้อยลงให้ยอมปฏิบัติตาม) เริ่มแรกตั้งแต่ที่บังคับให้ฝรั่งเศสที่รักษาป้อมบางกอกต้องยอมให้มีทหารไทยและชาติอื่นๆ เข้าไปรักษาป้อมร่วมด้วยซึ่งฝรั่งเศสไม่พอใจมาก ต่อมาหน่วยทหารปืนใหญ่ของฝรั่งเศส (ซึ่งฝรั่งเศสไม่ได้ตั้งใจให้ประจำในสยาม และตั้งใจใช้เป็นกำลังยึดป้อมบางกอกถ้าการเจรจาไม่เป็นผล) ซึ่งมีอาวุธรุ่นใหม่จำนวนมากเช่นปืนครกปืนลูกแตก ก็ถูกดึงไปเป็นทหารของสมเด็จพระนารายณ์เพื่อให้สอนวิธียิงปืนใหญ่ให้สยาม จนทหารฝรั่งเศสเช่นพันตรีโบชองระแวงขึ้นว่าว่าสยามจะคิดทำร้ายในภายหลัง (ภายหลังสยามก็นำปืนใหญ่เหล่านี้ไปยิงถล่มป้อมบางกอกที่พวกฝรั่งเศสตั้งมั่นอยู่)
เดือนมกราคม ค.ศ. 1688 ฟอลคอนสั่งให้ เดอ บรูอ็อง (De Bruan) นำทหาร 150 คนไปรักษาเมืองมะริดทั้งที่ฝรั่งเศสคิดว่าควรจะอยู่รวมกัน
เดือนกุมภาพันธ์ ฟอลคอนสั่งให้นายพลเดส์ฟาร์ฌส์ส่งทหารอีก 50 นายนำโดยซูอาร์ต (Suart) และแซงต์-มารี (Saint-Marie) ไปประจำบนเรือที่ชื่อละโว้กับสยามโดยอ้างว่าให้ไปปราบโจรสลัดจีนในอ่าวไทย และมีอีกคำสั่งหนึ่งคือให้ไปโจมตีเรือสินค้าของอังกฤษที่เดินทางมาจากมะนิลาและให้ไปถล่มสถานีการค้าของอังกฤษที่มัทราสซึ่งแข็งแกร่งมากด้วยซึ่งเท่ากับการส่งทหารฝรั่งเศสชุดนี้ไปตาย เรื่องนี้จึงกลายเป็นคำสั่งที่แปลกประหลาดมากจนทำให้ฝรั่งเศสหลายคนเชื่อว่าฟอลคอนถูกบงการหรือกดดันอยู่เบื้องหลัง
เดือนมีนาคม เรือทั้งสองออกไปจากเมืองไทย (แต่ไม่ได้ไปรบกับพวกอังกฤษแม้ฟอลคอนจะสั่ง) ฟอลคอนออกคำสั่งให้ทหารมูสเกอร์แตร์ชาวสยามสามหน่วยที่ประจำอยู่ที่บางกอกรวมถึงผู้บังคับบัญชาชาวฝรั่งเศสขึ้นไปที่ละโว้ และยังให้ส่งทหารอีก 50 คนไปทำหน้าที่เป็นทหารรักษาพระองค์อยู่ที่เมืองละโว้ด้วย (ซึ่งก็มีทหารไทยในบังคับพระเพทราชามากเหมือนกัน) เดส์ฟาร์ฌส์เหลือทหารในบังคับที่ป้อมบางกอกแค่ราว 200 คน ซึ่งล้มป่วยเป็นส่วนใหญ่และป้อมบางกอกก็ยังสร้างไม่เสร็จ ในช่วงนี้พระเพทราชาได้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
ปลายเดือนฟอลคอนเรียกเดส์ฟาร์ฌส์ขึ้นมาที่ละโว้แล้วสั่งให้ยกกองทหารขึ้นมาโดยอ้างว่าให้ปราบกบฏพระเพทราชากับพระปีย์ ให้ยึดพระคลังหลวง แล้วยกพระอนุชาซึ่งเป็นรัชทายาทที่ถูกต้องขึ้นครองราชย์ เดส์ฟาร์ฌส์จึงกลับไปบางกอกสามารถเอาทหารขึ้นมาได้แค่ 70 นายกับทหารสัญญาบัตรอีก 5 นาย (ไม่ใช่ 800 อย่างในละคร) และยกขึ้นมาในเดือนเมษายน
แต่พอมาถึงอยุทธยากลับเห็นสถานการณ์ผิดปกติ เมื่อไปปรึกษากับพระสังฆราช เดอ เมเตลโลโปลิส (Évêque de Métellopolis) ประมุขมิสซังสยาม พระอธิการ เดอ ลิยอนน์ และเมอซิเออร์เวเรต์ (Veret) หัวหน้าสถานีการค้าบริษัทอินเดียตะวันออกฝรั่งเศส ทุกคนต่างทักท้วงไม่ให้เดส์ฟาร์ฌส์ขึ้นไป โดยชี้แจงให้เห็นถึงสถานการณ์ผิดปกติต่างๆ ในเวลานั้น รวมถึงชี้แจงว่าสิ่งที่ฟอลคอน “อ้าง” เป็นเรื่องหลอกลวงที่ต้องการทหารฝรั่งเศสขึ้นไปคุ้มกันตนเองที่กำลังอ่อนแอเท่านั้น (เพราะมีหลักฐานว่าอำนาจฟอลคอนลดน้อยลงไปมาก แต่ยังแสดงตัวต่อฝรั่งเศสว่ามีอำนาจอยู่ตามเดิม นอกจากนี้ฟอลคอนไม่เคยสนิทกับพระอนุชาเลย และมีหลักฐานว่าพระอนุชาองค์เล็กเป็นศัตรูกับฝรั่งเศส) และการขึ้นไปลพบุรีจะไม่เกิดผลดีต่อฝรั่งเศสแต่อย่างใด นอกจากนี้ระยะนั้นมีข่าวลือแพร่หลายว่าสมเด็จพระนารายณ์สวรรคตไปแล้ว เดส์ฟาร์ฌส์จึงยกทหารกลับไปบางกอกและไม่ยกกลับมาอีกเลย แม้ฟอลคอนจะส่งคนมาหว่านล้อมอีกหลายครั้งก็ตาม
3. ทหารฝรั่งเศสแค่ 70 คน ถ้ายอมขึ้นไปที่ละโว้ตามที่ฟอลคอนขอก็ไม่ต่างอะไรกับการฆ่าตัวตายครับ ซึ่งตอนที่เดส์ฟาร์ฌส์ไปปรึกษากับพวกบาทหลวงมิสซัง ยังได้คำตอบว่าถ้าคิดขึ้นไปจริงคงถูกคนของพระเพทราชา (ในเวลานั้นมีหลักฐานว่าเรียกระดมผู้คนจำนวนมากในเส้นทางอยุทธยา-ละโว้) ดักลอบโจมตีระหว่างล่องเรือขึ้นไปอย่างง่ายดาย และต่อให้ขึ้นไปได้ก็อาจถูกลอบวางเพลิงที่พักซึ่งทำด้วยไม้ไผ่และตั้งอยู่นอกเมืองในตอนกลางคืน ไม่ต่างจากตอนที่ชาวเมืองมะริดเคยวางเพลิงที่พักของชาวอังกฤษในเมืองซึ่งมี 70 คนเหมือนกัน และผลคือชาวอังกฤษในเมืองมะริดถูกฆ่าล้างครัวครับ
จากหลักฐานจดหมายที่ฟอลคอนให้บาทหลวงตาชารด์ส่งถึงพระอธิกรณ์ เดอ ลา แชส (François d'Aix de la Chaise) พระอธิกรณ์ (confessor) ประจำพระองค์พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ มีเนื้อหาตอนหนึ่งระบุว่าให้ฝรั่งเศสส่งทหารมารักษาและประจำการที่สงขลาซึ่งสมเด็จพระนารายณ์ทรงตั้งพระทัยจะพระราชทานให้ฝรั่งเศสตั้งสถานีการค้า เพื่อให้ฝรั่งเศสใช้เป็นฐานที่มั่นต่อไป ส่วนสิ่งที่ฟอลคอนร้องขอจริงๆ คือชาวฝรั่งเศส ๖๐-๗๐ คน เพื่อให้จัดเขามาอยู๋ในระบบราชการของอยุทธยาและอยู่ในบังคับบัญชาของเขา เพื่อใช้คนกลุ่มนี้ค่อยๆ เปลี่ยนพลเมืองเป็นศาสนาคริสต์จากเบื้องบน
แต่ว่าฝรั่งเศสไม่ต้องการได้สงขลาและหวังสูงกว่าที่ฟอลคอนเสนอ จึงให้ยกกองทหารภายใต้บังคับบัญชาของนายพลเดส์ฟาร์ฌส์เข้ามาพร้อมกับคณะทูตของลาลูแบร์ โดยมีจุดประสงค์หลักในการเรียกร้องขอเมืองท่าบางกอกและมะริดที่มีความสำคัญมากกว่าจากสมเด็จพระนารายณ์และให้กองทหารเหล่านี้เข้าไปตั้งมั่นในเมืองทั้งสองให้ได้ (ซึ่งหากการเจรจาไม่เป็นผล เดส์ฟาร์ฌส์ได้รับคำสั่งมาว่าให้ "โจมตีและยึดไว้ด้วยกำลัง")
ทั้งนี้เพราะฝรั่งเศสในตอนนั้นกำลังต้องการแสวงหาเมืองท่าที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นฐานการค้าเพื่อฟื้นฟูการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสที่ย่ำแย่จนต้องปิดตัวไปแล้วครั้งหนึ่งขึ้นมาใหม่ แต่ไม่ได้มีจุดประสงค์ในการตีเมืองละโว้หรืออยุทธยาในตอนนั้น (ตราบใดที่ฝรั่งเศสยังเห็นว่าฟอลคอนสามารถเป็นผู้สนองผลประโยชน์ให้ฝรั่งเศสในสยามได้ และหากฟอลคอนตายไปแล้วฝรั่งเศสก็มีคำสั่งให้ทหารกลุ่มนี้ดำเนินการอื่นๆ ต่อไปในสยามเพื่อรักษาผลประโยชน์ของฝรั่งเศส ซึ่งมีหลักฐานว่าหวังผลสูงสุดจนถึงจะเอาสยามเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส โดยจะอาศัยกำลังชุดใหม่ที่ยกมาภายหลัง แต่เพราะเกิดรัฐประหารขึ้น ฝรั่งเศสจึงเลิกล้มเรื่องนี้ไป)
การที่ฝรั่งเศสยกทหารเข้ามาทำให้ฟอลคอนไม่พอใจมากเพราะว่ามีแต่จะทำให้เขาถูกเพ่งเล็งโดยคนอยุธยามากขึ้น โดยเฉพาะพระเพทราชาที่มีหลักฐานระบุว่าคัดค้านการยกกองทหารเข้าไปในบางกอก แต่สมเด็จพระนารายณ์ทรงมีพระบรมราชานุญาตแต่โดยดี มีการวิเคราะห์ว่าพระองค์ต้องการอาศัยทหารฝรั่งเศสกลุ่มนี้ให้เป็นประโยชน์ในการคานอำนาจทั้งภายนอกและภายใน ภายนอกคือให้เป็นเกราะป้องกันพวกดัตช์ ภายในคือให้คานอำนาจกับกลุ่มขุนนางไทยฝ่ายปกครอง โดยให้ประจำที่บางกอกซึ่งอยู่ไม่ไกลจากอยุทธยา ทั้งนี้พระองค์ไม่มีทางยอมให้ฝรั่งเศสเข้าไปอยู่ได้ถ้าพระองค์ไม่ทรงมั่นพระทัยว่าทรงคุมทหารกลุ่มนี้ไว้ในอำนาจได้
อย่างไรก็ตามการให้กองทหารฝรั่งเศสเข้ามาครองเมืองท่าสำคัญ รวมถึงมีหลักฐานถึงความประพฤติที่ไม่เรียบร้อยของชาวฝรั่งเศสกลุ่มนี้ทำให้พลเมืองทั่วไปเกิดความหวาดระแวงไม่ไว้วางใจ และเป็นเหตุสำคัญที่ถูกใช้เป็นข้ออ้างในการก่อรัฐประหารยึดอำนาจสมเด็จพระนารายณ์ในที่สุดครับ
2. เดส์ฟาร์ฌส์ยกกองทหารออกจากฝรั่งเศสทั้งหมด 636 นาย (ซึ่งจำนวนแค่นี้ฝรั่งเศสประเมินว่าสามารถยึดบางกอกกับมะริดได้) แต่ตายเสียกลางทางเหลือ 493 นาย พอมาถึงสยามทหารกว่าครึ่งก็ล้มป่วยจากการเดินทาง หลายคนก็ไม่คุ้นกับสภาพอากาศเมืองร้อนจนเจอกับพิษไข้และไข้มาเลเรีย เดส์ฟาร์ฌส์มีกองทหารที่พร้อมรบจริงๆ ราว 200 กว่าคนเท่านั้น ไม่อยู่ในสภาพจะไปยึดเมืองอะไรได้ในตอนนั้น
นอกจากนี้ทางไทยกลับพยายามทำให้กองทหารฝรั่งเศสกลุ่มนี้อ่อนกำลังลงกว่าเดิมอีก (ซึ่งหลักฐานฝรั่งเศสบางชิ้นอ้างว่าพระเพทราชาหรืออาจเป็นสมเด็จพระนารายณ์ที่อยู่เบื้องหลังกดดันฟอลคอนซึ่งมีอำนาจลดน้อยลงให้ยอมปฏิบัติตาม) เริ่มแรกตั้งแต่ที่บังคับให้ฝรั่งเศสที่รักษาป้อมบางกอกต้องยอมให้มีทหารไทยและชาติอื่นๆ เข้าไปรักษาป้อมร่วมด้วยซึ่งฝรั่งเศสไม่พอใจมาก ต่อมาหน่วยทหารปืนใหญ่ของฝรั่งเศส (ซึ่งฝรั่งเศสไม่ได้ตั้งใจให้ประจำในสยาม และตั้งใจใช้เป็นกำลังยึดป้อมบางกอกถ้าการเจรจาไม่เป็นผล) ซึ่งมีอาวุธรุ่นใหม่จำนวนมากเช่นปืนครกปืนลูกแตก ก็ถูกดึงไปเป็นทหารของสมเด็จพระนารายณ์เพื่อให้สอนวิธียิงปืนใหญ่ให้สยาม จนทหารฝรั่งเศสเช่นพันตรีโบชองระแวงขึ้นว่าว่าสยามจะคิดทำร้ายในภายหลัง (ภายหลังสยามก็นำปืนใหญ่เหล่านี้ไปยิงถล่มป้อมบางกอกที่พวกฝรั่งเศสตั้งมั่นอยู่)
เดือนมกราคม ค.ศ. 1688 ฟอลคอนสั่งให้ เดอ บรูอ็อง (De Bruan) นำทหาร 150 คนไปรักษาเมืองมะริดทั้งที่ฝรั่งเศสคิดว่าควรจะอยู่รวมกัน
เดือนกุมภาพันธ์ ฟอลคอนสั่งให้นายพลเดส์ฟาร์ฌส์ส่งทหารอีก 50 นายนำโดยซูอาร์ต (Suart) และแซงต์-มารี (Saint-Marie) ไปประจำบนเรือที่ชื่อละโว้กับสยามโดยอ้างว่าให้ไปปราบโจรสลัดจีนในอ่าวไทย และมีอีกคำสั่งหนึ่งคือให้ไปโจมตีเรือสินค้าของอังกฤษที่เดินทางมาจากมะนิลาและให้ไปถล่มสถานีการค้าของอังกฤษที่มัทราสซึ่งแข็งแกร่งมากด้วยซึ่งเท่ากับการส่งทหารฝรั่งเศสชุดนี้ไปตาย เรื่องนี้จึงกลายเป็นคำสั่งที่แปลกประหลาดมากจนทำให้ฝรั่งเศสหลายคนเชื่อว่าฟอลคอนถูกบงการหรือกดดันอยู่เบื้องหลัง
เดือนมีนาคม เรือทั้งสองออกไปจากเมืองไทย (แต่ไม่ได้ไปรบกับพวกอังกฤษแม้ฟอลคอนจะสั่ง) ฟอลคอนออกคำสั่งให้ทหารมูสเกอร์แตร์ชาวสยามสามหน่วยที่ประจำอยู่ที่บางกอกรวมถึงผู้บังคับบัญชาชาวฝรั่งเศสขึ้นไปที่ละโว้ และยังให้ส่งทหารอีก 50 คนไปทำหน้าที่เป็นทหารรักษาพระองค์อยู่ที่เมืองละโว้ด้วย (ซึ่งก็มีทหารไทยในบังคับพระเพทราชามากเหมือนกัน) เดส์ฟาร์ฌส์เหลือทหารในบังคับที่ป้อมบางกอกแค่ราว 200 คน ซึ่งล้มป่วยเป็นส่วนใหญ่และป้อมบางกอกก็ยังสร้างไม่เสร็จ ในช่วงนี้พระเพทราชาได้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
ปลายเดือนฟอลคอนเรียกเดส์ฟาร์ฌส์ขึ้นมาที่ละโว้แล้วสั่งให้ยกกองทหารขึ้นมาโดยอ้างว่าให้ปราบกบฏพระเพทราชากับพระปีย์ ให้ยึดพระคลังหลวง แล้วยกพระอนุชาซึ่งเป็นรัชทายาทที่ถูกต้องขึ้นครองราชย์ เดส์ฟาร์ฌส์จึงกลับไปบางกอกสามารถเอาทหารขึ้นมาได้แค่ 70 นายกับทหารสัญญาบัตรอีก 5 นาย (ไม่ใช่ 800 อย่างในละคร) และยกขึ้นมาในเดือนเมษายน
แต่พอมาถึงอยุทธยากลับเห็นสถานการณ์ผิดปกติ เมื่อไปปรึกษากับพระสังฆราช เดอ เมเตลโลโปลิส (Évêque de Métellopolis) ประมุขมิสซังสยาม พระอธิการ เดอ ลิยอนน์ และเมอซิเออร์เวเรต์ (Veret) หัวหน้าสถานีการค้าบริษัทอินเดียตะวันออกฝรั่งเศส ทุกคนต่างทักท้วงไม่ให้เดส์ฟาร์ฌส์ขึ้นไป โดยชี้แจงให้เห็นถึงสถานการณ์ผิดปกติต่างๆ ในเวลานั้น รวมถึงชี้แจงว่าสิ่งที่ฟอลคอน “อ้าง” เป็นเรื่องหลอกลวงที่ต้องการทหารฝรั่งเศสขึ้นไปคุ้มกันตนเองที่กำลังอ่อนแอเท่านั้น (เพราะมีหลักฐานว่าอำนาจฟอลคอนลดน้อยลงไปมาก แต่ยังแสดงตัวต่อฝรั่งเศสว่ามีอำนาจอยู่ตามเดิม นอกจากนี้ฟอลคอนไม่เคยสนิทกับพระอนุชาเลย และมีหลักฐานว่าพระอนุชาองค์เล็กเป็นศัตรูกับฝรั่งเศส) และการขึ้นไปลพบุรีจะไม่เกิดผลดีต่อฝรั่งเศสแต่อย่างใด นอกจากนี้ระยะนั้นมีข่าวลือแพร่หลายว่าสมเด็จพระนารายณ์สวรรคตไปแล้ว เดส์ฟาร์ฌส์จึงยกทหารกลับไปบางกอกและไม่ยกกลับมาอีกเลย แม้ฟอลคอนจะส่งคนมาหว่านล้อมอีกหลายครั้งก็ตาม
3. ทหารฝรั่งเศสแค่ 70 คน ถ้ายอมขึ้นไปที่ละโว้ตามที่ฟอลคอนขอก็ไม่ต่างอะไรกับการฆ่าตัวตายครับ ซึ่งตอนที่เดส์ฟาร์ฌส์ไปปรึกษากับพวกบาทหลวงมิสซัง ยังได้คำตอบว่าถ้าคิดขึ้นไปจริงคงถูกคนของพระเพทราชา (ในเวลานั้นมีหลักฐานว่าเรียกระดมผู้คนจำนวนมากในเส้นทางอยุทธยา-ละโว้) ดักลอบโจมตีระหว่างล่องเรือขึ้นไปอย่างง่ายดาย และต่อให้ขึ้นไปได้ก็อาจถูกลอบวางเพลิงที่พักซึ่งทำด้วยไม้ไผ่และตั้งอยู่นอกเมืองในตอนกลางคืน ไม่ต่างจากตอนที่ชาวเมืองมะริดเคยวางเพลิงที่พักของชาวอังกฤษในเมืองซึ่งมี 70 คนเหมือนกัน และผลคือชาวอังกฤษในเมืองมะริดถูกฆ่าล้างครัวครับ
แสดงความคิดเห็น
ถามเรื่องบุพเพสันนิวาส เกี่ยวกับประวัติศาสตร์อยุธยา สมัยพระนารายณ์ ตอนที่ฟอลคอนให้นายพลเดอฟาสนำทหารมาบุกสยาม
1. ตอนที่ให้ทหารมานั้น คือแค่มาตีละโว้เฉยๆ หรือ ต้องการยึดสยามเลยครับ ?
2. ตอนนั้นนายพลเดอฟาสนำทหารฝรั่งเศสมาเท่าไหร่ ?
3. แล้วถ้ายับยั้งการส่งทารไม่สำเร็จแล้วต้องสู้รบกันจริงๆ คิดว่าอยุธยาพอสู้ได้ไหม ฝรั่งเศสอาจมีอาวุธที่เหนือกว่า แต่คิดว่าคงเหนือกว่าไม่มาก อีกอย่างทหารในอยุธยาก็มีเยอะอยู่แล้ว ?
ตามนั้นครับ