ที่จริงเล่มนี้ออกมาตั้งแต่ช่วงงานหนังสือ และวางจำหน่ายแบบทั่วไปตั้งแต่ 29 มี.ค. แล้วล่ะครับ
แต่พอดีว่าลืม มานึกขึ้นได้ไม่กี่วันก่อนก็เลยเพิ่งจะได้สั่งซื้อผ่านทางเว็บ animag ไป
การจัดส่งค่อนข้างรวดเร็วครับ สั่งคืนวันนี้ วันถัดไปจัดส่งให้เลย
ก่อนอื่นเลยจะเห็นว่าทางเอ พลัส ใช้ชื่อเรื่องว่า "กองบินแม่มด 501 STRIKE WITCHES"
บางคนอาจจะแปลกใจว่าจะเรียกกองบินด้วยชื่อนี้รึ?
ตรงคำว่ากองบินแม่มดเนี่ยเป็นเพียงแค่ชื่อเรื่องเท่านั้นครับ เนื้อหาภายในเล่มจะใช้คำว่า "กองบินร่วมที่ 501"
ดังนั้น สบายใจได้
สำหรับการรีวิวจะแยกเป็นสองส่วนคือ
1.การแปล
รวมถึงการเขียนทับศัพท์ การสื่อความ ความถูกต้อง
2.เนื้อหาของนิยาย
มีอะไรที่ต่างจากฉบับอนิเมะบ้าง ดูอนิเมะมาแล้ว มาอ่านนิยายอีกจะยังสนุกอยู่หรือไม่
------------------------------------------------
1.การแปล
เล่มนี้ผู้แปลเป็นคนละคนกับภาคกองบินส่วนเกินทั้ง 3 เล่ม ที่ทางเอ พลัส ได้ตีพิมพ์ออกมาก่อนหน้านี้นะครับ
แต่ก็ยังรู้สึกได้ว่าทางสำนักพิมพ์ยังรักษามาตรฐานการแปลเดิมเอาไว้อยู่
1.1) ชั้นยศ
คำแปลชั้นยศของทางเอ พลัส มีการแบ่งแยกตามเหล่าทัพเดิมที่ตัวละครสังกัด (แต่จะไม่มีคำว่าหญิงในคำแปลยศ อาจเพื่อให้กระชับขึ้น)
การแปลยศแยกตามเหล่าทัพถือว่าถูกต้อง เพราะว่ายศในต้นฉบับเนี่ยภาษาญี่ปุ่นจะไม่มีคำเรียกแยกตามเหล่าทัพเหมือนของไทย
แถมเวลาเขียนยศภาษาอังกฤษ Official เองก็เหมาเป็น ยศ ทอ. ทั้งหมดอีก
จึงต้องเป็นหน้าที่ของผู้แปลที่จะต้องมาเทียบชั้นยศเอาเอง
เช่น ถ้าต้นฉบับให้ยศร้อยตรีมา แล้วตัวละครสังกัดเดิมเป็น ทอ. ก็ต้องเทียบให้เป็นยศเรืออากาศตรี
อีกอย่างที่น่าชื่นชมคือ เทียบยศกุนโซ (軍曹) ของโยชิกะ ได้ถูกต้องนั่นก็คือ "จ่าเอก"
เนื่องจากยศชั้นประทวนของจักรวรรดิญี่ปุ่น (หรือในเรื่องคือฟุโซ) สมัยนั้นจะมีการจัดลำดับชั้นยศต่างจากไทย
ของไทยจะเป็น พลทหาร -> นายสิบ (ตรี โท เอก) -> จ่านายสิบ (ตรี โท เอก)
ญี่ปุ่น พลทหาร (ชั้นสอง ชั้นหนึ่ง อาวุโส) -> นายสิบ (ตรี โท เอก) -> จ่าสิบเอก
ด้วยความเหลื่อมล้ำของระดับชั้นยศนี้เลยทำให้การแปลยศในสมัยก่อนของอนิเมะมีการแปลคลาดเคลื่อนจากยศสิบเอก กลายเป็นสิบโทอยู่บ่อย ๆ
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือเคโรโระที่กลายเป็นสิบโท แทนที่จะเป็นสิบเอก
ดังนั้นยศกุนโซของโยชิกะจึงแปลออกมาได้เป็นสิบเอก เมื่อนำไปเทียบกับยศทหารเรือจึงเทียบเท่ายศ จ่าเอก
ข้อมูลเสริม - ชั้นยศของวิทช์
จาก Eye Catch หรือภาพตัดเข้าช่วงโฆษณาใน Brave Witches
จะมีตอนหนึ่งเป็นการอธิบายเกี่ยวกับชั้นยศของวิทช์เอาไว้
เนื่องจากวิทช์มีอายุในการรับราชการการที่สั้นกว่าคนทั่วไปคือ เมื่ออายุ 20 ปี แล้ว ส่วนมากพลังเวทมนตร์จะเสื่อมลง ทำให้ไม่สามารถต่อสู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องเกษียณไปเมื่ออายุเข้าสู่วัยผู้ใหญ่
ดังนั้นยศต่ำสุดที่วิทช์จะได้รับเมื่อเข้าประจำการก็คือยศสิบเอก จ่าเอก และจ่าอากาศเอก
โดยส่วนมากแล้วจะได้เลื่อนยศสูงสุดไม่เกินพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก เพราะว่ามักจะเกษียณไปก่อนที่จะได้ยศสูงขึ้น
หรือไม่ก็ไม่มีตำแหน่งที่มีอัตรานายพลให้ย้ายไปลงได้ ยกเว้นหนึ่งคนที่ได้ยศนายพลก็คือ พลอากาศโทหญิงอดอลฟีเน กัลลันด์
1.2) การแปลชื่อประเทศ
โดยรวมแล้วถือว่าแปลได้ดีมาก รวมถึงคำที่ใช้นำหน้าชื่อประเทศเพื่อบอกให้ทราบถึงลักษณะการปกครองด้วย
และสำนักพิมพ์นี้ก็แปลชื่อของโรมัญญาได้อย่างถูกต้อง
1.3 การเขียนทับศัพท์ชื่อตัวละคร
โดยรวมค่อนข้างพอใจ เพราะมีการอิงตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศของราชบัณฑิตยสถาน
ยกเว้นชื่อของบาร์คฮอร์นที่ผมรู้สึกว่าน่าจะใช้แกร์ทรูดมากกว่า เกอร์ทรูด
เหตุผลคือ
- การแปลใน booklet ของ TIGA ใช้ชื่อแกร์ทรูด
- ชื่อคาตากานะของบาร์คฮอร์นคือ ゲルトルート จึงน่าจะออกเสียงเป็นแกร์ทรูดมากกว่าเกอร์ทรูด
- จากตัวอย่างในหลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถาน สระ -er ในภาษาเยอรมัน ถ้าไม่ได้อยู่ท้ายคำจะทับศัพท์เป็น แ-ร์
http://www.royin.go.th/wp-content/uploads/2015/03/2374_6329.pdf
1.4) ทับศัพท์ชื่อของนิวรอยได้อย่างถูกต้อง
เพราะส่วนมากมักจะเห็นคนเขียนทับศัพท์ชื่อนิวรอยว่า นิวรอยด์ เหมือนกับแอนดรอยด์
แต่เมื่อมาพิจารณาถึงชื่อที่ทางต้นฉบับใช้นั่นก็คือ Neuroi แล้ว จะเห็นว่าไม่มี d อยู่ท้ายคำ จึงไม่มีความจำเป็นต้องใส่ ด.เด็ก การันต์
ดังนั้น ถือว่าทาง เอ พลัสจึงแปลชื่อนี้ออกมาได้ถูกต้อง
1.5) คำอธิบายเชิงอรรถ
มีคำอธิบายเชิงอรรถพวกชื่อเฉพาะและศัพท์เทคนิค
แต่ก็ยังรู้สึกว่ามีบางคำที่น่าจะอธิบายเพิ่มเติมแต่ก็ไม่ได้ถูกเขียนอธิบายเอาไว้อยู่บ้าง
1.6) มีพิมพ์ผิดอยู๋บ้างเล็กน้อย
อย่างเรื่องของปี จะเห็นว่ามีอยู๋จุดหนึ่ง ตรงช่วงที่เล่าถึงการพบกันของโยชิกะและมิโอะ ในเล่มพิมพ์ว่าปี 1973
ซึ่งผมว่าต้องผิดแน่ ๆ เพราะเวลาในเรื่องจะเกิดขึ้นช่วงเดียวกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ในอนิเมะจะอยู่ที่ปี 1944-1945
ดังนั้นปี 1973 นี่ น่าจะหมายถึง 1943 มากกว่า เพราะว่าถ้า 1973 เวลาถือว่าห่างกันพอสมควร น่าจะเป็นช่วงปลายสงครามเวียดนามแล้ว
นอกจากนี้ก็มีการพิมพ์ยศผิดออกมาให้เห็นบ้าง เช่น ใช้คำว่าร้อยอากาศเอก ผู้ตรวจทานอาจจะเกิดความสับสนเพราะว่าต้องตรวจยศสามเหล่าทัพเลยอาจมีหลุดไปบ้าง หรือการใส่ยศนาวาอากาศตรีเข้ามาทั้ง ๆ ที่ไม่มีตัวละครใน 501 ที่มียศนี้อยู่
1.7) การแปลชื่ออาวุธและ สไตรเกอร์ ยูนิต
โดยส่วนมากชื่ออาวุธทางนี้จะใช้ตามต้นฉบับคือ ใส่ภาษาอังกฤษลงไปเลย จึงไม่มีปัญหาอะไร เช่น MG42, Boys
แต่ชื่อสไตรเกอร์ยูนิตของโยชิกะกับมิโอะซึ่งมีต้นแบบมาจากเครื่องบินขับไล่แบบที่ 22 ซีโร่ เนี่ย ทางนี้ใช้ชื่อว่า
"สไตรเกอร์รุ่น 22 ประเภทศูนย์" ซึ่งอ่านแล้วมันค่อนข้างแปลก
เพราะซีโร่น่าจะเขียนทับศัพท์ไปเลย เนื่องจากเป็นชื่อรุ่นของเครื่องบิน ไม่ใช่แบบที่ หรือ Type
ผมว่าน่าจะลองใช้เป็น "สไตรเกอร์แบบที่ 22 ซีโร่" แทนน่าจะดีกว่า
*ตรงนี้ คห.3 ให้ข้อมูลเสริมมาว่า ถ้าเป็นชื่อทางการของเครื่องซีโร่จะใช้ว่า เรย์ชิคิ
ถ้าหากต้นฉบับใช้ชื่อทางการแบบนี้ล่ะก็ ถือว่าผู้แปล แปลได้ถูกต้องโดยยึดตามการเรียกของต้นฉบับโดยไม่ต้องแก้ไขใด ๆ แล้วครับ*
------------------------------------------------
2.เนื้อหาของนิยาย
สำหรับผู้ที่เคยดูอนิเมะมาแล้ว อาจจะไม่สนใจ คิดว่าเนื้อหาคงเหมือน ๆ กัน
ท่านคิดผิดแล้วล่ะครับ
เนื้อหาในนิยายมีตอนที่ไม่ได้ปรากฏในอนิเมะด้วย และเนื้อหาในอนิเมะบางส่วนก็ไม่ได้ปรากฏในนิยายนะ
ดังนั้นแล้วจึงต้อง
อ่านนิยาย และดูอนิเมะควบคู่กัน
ยกตัวอย่าง
- ในช่วงแรกของนิยายจะไม่ได้เน้นการตัดสินใจออกเดินทางเพื่อไปพบพ่อที่น่าจะเสียชีวิตไปแล้วของโยชิกะมาก
แต่จะเน้นไปที่การออกรบกับนิวรอยครั้งแรกของโยชิกะมากกว่า
- หลังจากที่โยชิกะเข้าประจำการที่ 501 แล้ว ในอนิเมะจะค่อย ๆ นำเสนอความสัมพันธ์ของโยชิกะกับลีเน่ผ่านการฝึกของทั้งคู่ก่อน
แต่ในนิยาย บทหลังจากที่โยชิกะเข้าประจำการแล้วคือ เธอเคยออกรบร่วมกับคนอื่น ๆ ในกองบินนี้มาได้สักระยะแล้ว แต่ก็ยังไม่เก่ง และเป็นเพื่อนกับลีเน่เรียบร้อยไปแล้ว
- บทคุณจิ้งจอก ซึ่งเป็นบทถัดมาหลังจากที่โยชิกะเข้าประจำการใน บน.ร่วม 501 เองก็ไม่มีในอนิเมะ
ดังนั้นแล้ว อย่าเพิ่งรีบตัดสินว่านิยายเล่มนี้จะมีเนื้อหาซ้ำกับอนิเมะ
แนะนำให้ซื้อมาอ่านกันครับ ทุกท่านจะได้อ่านเรื่องราวที่ไม่เคยพบเจอในอนิเมะมาก่อนแน่นอน
แล้วไม่ใช่แค่สั้น ๆ ด้วยนะ แต่เป็นทั้งบทหลายสิบหน้าเลยล่ะ
ให้ 4.5 / 5 ไปเลย ตัดคะแนนส่วนที่พิมพ์ผิดและการแปลชื่อเฉพาะออกไปบ้าง แต่โดยรวมแล้วเป็นที่น่าพึงพอใจมาก
---------------------------------------------------------------------
[CR] Review นิยาย Strike Witches ฉบับที่ 1 ของ สนพ. A-Plus (เอพลัส)
แต่พอดีว่าลืม มานึกขึ้นได้ไม่กี่วันก่อนก็เลยเพิ่งจะได้สั่งซื้อผ่านทางเว็บ animag ไป
การจัดส่งค่อนข้างรวดเร็วครับ สั่งคืนวันนี้ วันถัดไปจัดส่งให้เลย
ก่อนอื่นเลยจะเห็นว่าทางเอ พลัส ใช้ชื่อเรื่องว่า "กองบินแม่มด 501 STRIKE WITCHES"
บางคนอาจจะแปลกใจว่าจะเรียกกองบินด้วยชื่อนี้รึ?
ตรงคำว่ากองบินแม่มดเนี่ยเป็นเพียงแค่ชื่อเรื่องเท่านั้นครับ เนื้อหาภายในเล่มจะใช้คำว่า "กองบินร่วมที่ 501"
ดังนั้น สบายใจได้
สำหรับการรีวิวจะแยกเป็นสองส่วนคือ
1.การแปล
รวมถึงการเขียนทับศัพท์ การสื่อความ ความถูกต้อง
2.เนื้อหาของนิยาย
มีอะไรที่ต่างจากฉบับอนิเมะบ้าง ดูอนิเมะมาแล้ว มาอ่านนิยายอีกจะยังสนุกอยู่หรือไม่
------------------------------------------------
1.การแปล
เล่มนี้ผู้แปลเป็นคนละคนกับภาคกองบินส่วนเกินทั้ง 3 เล่ม ที่ทางเอ พลัส ได้ตีพิมพ์ออกมาก่อนหน้านี้นะครับ
แต่ก็ยังรู้สึกได้ว่าทางสำนักพิมพ์ยังรักษามาตรฐานการแปลเดิมเอาไว้อยู่
1.1) ชั้นยศ
คำแปลชั้นยศของทางเอ พลัส มีการแบ่งแยกตามเหล่าทัพเดิมที่ตัวละครสังกัด (แต่จะไม่มีคำว่าหญิงในคำแปลยศ อาจเพื่อให้กระชับขึ้น)
การแปลยศแยกตามเหล่าทัพถือว่าถูกต้อง เพราะว่ายศในต้นฉบับเนี่ยภาษาญี่ปุ่นจะไม่มีคำเรียกแยกตามเหล่าทัพเหมือนของไทย
แถมเวลาเขียนยศภาษาอังกฤษ Official เองก็เหมาเป็น ยศ ทอ. ทั้งหมดอีก
จึงต้องเป็นหน้าที่ของผู้แปลที่จะต้องมาเทียบชั้นยศเอาเอง
เช่น ถ้าต้นฉบับให้ยศร้อยตรีมา แล้วตัวละครสังกัดเดิมเป็น ทอ. ก็ต้องเทียบให้เป็นยศเรืออากาศตรี
อีกอย่างที่น่าชื่นชมคือ เทียบยศกุนโซ (軍曹) ของโยชิกะ ได้ถูกต้องนั่นก็คือ "จ่าเอก"
เนื่องจากยศชั้นประทวนของจักรวรรดิญี่ปุ่น (หรือในเรื่องคือฟุโซ) สมัยนั้นจะมีการจัดลำดับชั้นยศต่างจากไทย
ของไทยจะเป็น พลทหาร -> นายสิบ (ตรี โท เอก) -> จ่านายสิบ (ตรี โท เอก)
ญี่ปุ่น พลทหาร (ชั้นสอง ชั้นหนึ่ง อาวุโส) -> นายสิบ (ตรี โท เอก) -> จ่าสิบเอก
ด้วยความเหลื่อมล้ำของระดับชั้นยศนี้เลยทำให้การแปลยศในสมัยก่อนของอนิเมะมีการแปลคลาดเคลื่อนจากยศสิบเอก กลายเป็นสิบโทอยู่บ่อย ๆ
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือเคโรโระที่กลายเป็นสิบโท แทนที่จะเป็นสิบเอก
ดังนั้นยศกุนโซของโยชิกะจึงแปลออกมาได้เป็นสิบเอก เมื่อนำไปเทียบกับยศทหารเรือจึงเทียบเท่ายศ จ่าเอก
ข้อมูลเสริม - ชั้นยศของวิทช์
จาก Eye Catch หรือภาพตัดเข้าช่วงโฆษณาใน Brave Witches
จะมีตอนหนึ่งเป็นการอธิบายเกี่ยวกับชั้นยศของวิทช์เอาไว้
เนื่องจากวิทช์มีอายุในการรับราชการการที่สั้นกว่าคนทั่วไปคือ เมื่ออายุ 20 ปี แล้ว ส่วนมากพลังเวทมนตร์จะเสื่อมลง ทำให้ไม่สามารถต่อสู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องเกษียณไปเมื่ออายุเข้าสู่วัยผู้ใหญ่
ดังนั้นยศต่ำสุดที่วิทช์จะได้รับเมื่อเข้าประจำการก็คือยศสิบเอก จ่าเอก และจ่าอากาศเอก
โดยส่วนมากแล้วจะได้เลื่อนยศสูงสุดไม่เกินพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก เพราะว่ามักจะเกษียณไปก่อนที่จะได้ยศสูงขึ้น
หรือไม่ก็ไม่มีตำแหน่งที่มีอัตรานายพลให้ย้ายไปลงได้ ยกเว้นหนึ่งคนที่ได้ยศนายพลก็คือ พลอากาศโทหญิงอดอลฟีเน กัลลันด์
1.2) การแปลชื่อประเทศ
โดยรวมแล้วถือว่าแปลได้ดีมาก รวมถึงคำที่ใช้นำหน้าชื่อประเทศเพื่อบอกให้ทราบถึงลักษณะการปกครองด้วย
และสำนักพิมพ์นี้ก็แปลชื่อของโรมัญญาได้อย่างถูกต้อง
1.3 การเขียนทับศัพท์ชื่อตัวละคร
โดยรวมค่อนข้างพอใจ เพราะมีการอิงตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศของราชบัณฑิตยสถาน
ยกเว้นชื่อของบาร์คฮอร์นที่ผมรู้สึกว่าน่าจะใช้แกร์ทรูดมากกว่า เกอร์ทรูด
เหตุผลคือ
- การแปลใน booklet ของ TIGA ใช้ชื่อแกร์ทรูด
- ชื่อคาตากานะของบาร์คฮอร์นคือ ゲルトルート จึงน่าจะออกเสียงเป็นแกร์ทรูดมากกว่าเกอร์ทรูด
- จากตัวอย่างในหลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถาน สระ -er ในภาษาเยอรมัน ถ้าไม่ได้อยู่ท้ายคำจะทับศัพท์เป็น แ-ร์
http://www.royin.go.th/wp-content/uploads/2015/03/2374_6329.pdf
1.4) ทับศัพท์ชื่อของนิวรอยได้อย่างถูกต้อง
เพราะส่วนมากมักจะเห็นคนเขียนทับศัพท์ชื่อนิวรอยว่า นิวรอยด์ เหมือนกับแอนดรอยด์
แต่เมื่อมาพิจารณาถึงชื่อที่ทางต้นฉบับใช้นั่นก็คือ Neuroi แล้ว จะเห็นว่าไม่มี d อยู่ท้ายคำ จึงไม่มีความจำเป็นต้องใส่ ด.เด็ก การันต์
ดังนั้น ถือว่าทาง เอ พลัสจึงแปลชื่อนี้ออกมาได้ถูกต้อง
1.5) คำอธิบายเชิงอรรถ
มีคำอธิบายเชิงอรรถพวกชื่อเฉพาะและศัพท์เทคนิค
แต่ก็ยังรู้สึกว่ามีบางคำที่น่าจะอธิบายเพิ่มเติมแต่ก็ไม่ได้ถูกเขียนอธิบายเอาไว้อยู่บ้าง
1.6) มีพิมพ์ผิดอยู๋บ้างเล็กน้อย
อย่างเรื่องของปี จะเห็นว่ามีอยู๋จุดหนึ่ง ตรงช่วงที่เล่าถึงการพบกันของโยชิกะและมิโอะ ในเล่มพิมพ์ว่าปี 1973
ซึ่งผมว่าต้องผิดแน่ ๆ เพราะเวลาในเรื่องจะเกิดขึ้นช่วงเดียวกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ในอนิเมะจะอยู่ที่ปี 1944-1945
ดังนั้นปี 1973 นี่ น่าจะหมายถึง 1943 มากกว่า เพราะว่าถ้า 1973 เวลาถือว่าห่างกันพอสมควร น่าจะเป็นช่วงปลายสงครามเวียดนามแล้ว
นอกจากนี้ก็มีการพิมพ์ยศผิดออกมาให้เห็นบ้าง เช่น ใช้คำว่าร้อยอากาศเอก ผู้ตรวจทานอาจจะเกิดความสับสนเพราะว่าต้องตรวจยศสามเหล่าทัพเลยอาจมีหลุดไปบ้าง หรือการใส่ยศนาวาอากาศตรีเข้ามาทั้ง ๆ ที่ไม่มีตัวละครใน 501 ที่มียศนี้อยู่
1.7) การแปลชื่ออาวุธและ สไตรเกอร์ ยูนิต
โดยส่วนมากชื่ออาวุธทางนี้จะใช้ตามต้นฉบับคือ ใส่ภาษาอังกฤษลงไปเลย จึงไม่มีปัญหาอะไร เช่น MG42, Boys
แต่ชื่อสไตรเกอร์ยูนิตของโยชิกะกับมิโอะซึ่งมีต้นแบบมาจากเครื่องบินขับไล่แบบที่ 22 ซีโร่ เนี่ย ทางนี้ใช้ชื่อว่า
"สไตรเกอร์รุ่น 22 ประเภทศูนย์" ซึ่งอ่านแล้วมันค่อนข้างแปลก
เพราะซีโร่น่าจะเขียนทับศัพท์ไปเลย เนื่องจากเป็นชื่อรุ่นของเครื่องบิน ไม่ใช่แบบที่ หรือ Type
ผมว่าน่าจะลองใช้เป็น "สไตรเกอร์แบบที่ 22 ซีโร่" แทนน่าจะดีกว่า
*ตรงนี้ คห.3 ให้ข้อมูลเสริมมาว่า ถ้าเป็นชื่อทางการของเครื่องซีโร่จะใช้ว่า เรย์ชิคิ
ถ้าหากต้นฉบับใช้ชื่อทางการแบบนี้ล่ะก็ ถือว่าผู้แปล แปลได้ถูกต้องโดยยึดตามการเรียกของต้นฉบับโดยไม่ต้องแก้ไขใด ๆ แล้วครับ*
------------------------------------------------
2.เนื้อหาของนิยาย
สำหรับผู้ที่เคยดูอนิเมะมาแล้ว อาจจะไม่สนใจ คิดว่าเนื้อหาคงเหมือน ๆ กัน
ท่านคิดผิดแล้วล่ะครับ
เนื้อหาในนิยายมีตอนที่ไม่ได้ปรากฏในอนิเมะด้วย และเนื้อหาในอนิเมะบางส่วนก็ไม่ได้ปรากฏในนิยายนะ
ดังนั้นแล้วจึงต้องอ่านนิยาย และดูอนิเมะควบคู่กัน
ยกตัวอย่าง
- ในช่วงแรกของนิยายจะไม่ได้เน้นการตัดสินใจออกเดินทางเพื่อไปพบพ่อที่น่าจะเสียชีวิตไปแล้วของโยชิกะมาก
แต่จะเน้นไปที่การออกรบกับนิวรอยครั้งแรกของโยชิกะมากกว่า
- หลังจากที่โยชิกะเข้าประจำการที่ 501 แล้ว ในอนิเมะจะค่อย ๆ นำเสนอความสัมพันธ์ของโยชิกะกับลีเน่ผ่านการฝึกของทั้งคู่ก่อน
แต่ในนิยาย บทหลังจากที่โยชิกะเข้าประจำการแล้วคือ เธอเคยออกรบร่วมกับคนอื่น ๆ ในกองบินนี้มาได้สักระยะแล้ว แต่ก็ยังไม่เก่ง และเป็นเพื่อนกับลีเน่เรียบร้อยไปแล้ว
- บทคุณจิ้งจอก ซึ่งเป็นบทถัดมาหลังจากที่โยชิกะเข้าประจำการใน บน.ร่วม 501 เองก็ไม่มีในอนิเมะ
ดังนั้นแล้ว อย่าเพิ่งรีบตัดสินว่านิยายเล่มนี้จะมีเนื้อหาซ้ำกับอนิเมะ
แนะนำให้ซื้อมาอ่านกันครับ ทุกท่านจะได้อ่านเรื่องราวที่ไม่เคยพบเจอในอนิเมะมาก่อนแน่นอน
แล้วไม่ใช่แค่สั้น ๆ ด้วยนะ แต่เป็นทั้งบทหลายสิบหน้าเลยล่ะ
ให้ 4.5 / 5 ไปเลย ตัดคะแนนส่วนที่พิมพ์ผิดและการแปลชื่อเฉพาะออกไปบ้าง แต่โดยรวมแล้วเป็นที่น่าพึงพอใจมาก
---------------------------------------------------------------------