นิยายที่เขียนโดย ทมยันตี มักจะเป็นนวนิยายสะท้อนสังความจริง เช่น พิษสวาท,ล่า,คู่กรรม 2 ,ประกาศิตเงินตรา นวนิยายเหล่านี้ถูกสร้างเป็นละครน้อยมาก เพราะเลี่ยงถูกเป็นเป้าหมายของเหล่านักการเมืองในชีวิตจริง มันทำลายภาพพจน์ภาพลักษณ์ของนักการเมือง ถ้าจะทำละครเหล่านี้ต้องดูสถานการณ์ก่อนว่าประเทศไทยอยู่ยุครัฐบาลไหน ยอมรับความจริง ได้บางเรื่องมั้ย
นอกจากนิยายของทมยันตี ที่ทำเป็นละครแล้ว ยังมีละครของผลงานนักประพันธ์อื่นๆ เช่น คฑาหัส บุษประเกศ (จิตสังหารภาคแรก [ยังจำฉากตอนท้ายเรื่องได้ที่พระเอกแฉความชั่วร้ายตัวร้าย ที่สร้างภาพเป็นนักการเมืองน้ำดี],เหนือเมฆ 2 [โดนแบนเต็ม]), ละครค่ายยูม่า สมัยนั้น เช่น เสือ 11 ตัว (เนื้อหาสะท้อนด้านมืด จรรยาบรรณ ตำรวจ) , คนของแผ่นดิน (เผด็จการทหาร ฆ่าประชาชน เรื่องศาสนา) , ฝนตกขี้หมูไหล คนอะไรมาพบกัน (เรื่องฟอกเงิน เรื่องร้ายๆทั้งหมด เพราะเงินตัวเดียว ทำให้คนฆ่ากันตาย)
ละครเกมเกียรติยศ (สะท้อนจรรยาบรรณทนายความ) ,เสราดารัล (ช่อง 3 น่าจะคืนลิขสิทธิ์ให้ จข.บทประพันธ์แล้ว เนื่องจากสถานการณ์ภาคใต้ ศาสนา ไม่เอื้ออำนวย มีผลกระทบความมั่นคง) ,จินตปาตี (สะท้อนการเมืองปัจจุบัน) ,สารวัตรใหญ่ (เวอร์ชั่นลิขิต เอกมงคล ถูกตัดฉากที่สะท้อนถึงการคอรัปชั่นวงการตำรวจ แต่ก็ฉายจนจบ เวอร์ชั่น เอส กันตพงศ์ กับ เปรี้ยว ทัศนียา อีกนานมากมั้ยจะได้ฉาย)
อยากทราบว่า ทำไมละครสะท้อนการเมือง,ตำรวจ,ทนาย,กฏหมาย ถึงสร้างเป็นละครน้อยมาก ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าประเทศไทยอยู่ยุครัฐบาลไหนจริงรึเปล่า ?
ทำไมละครสะท้อนสังคม พวกการเมือง อาชีพข้าราชการ กฏหมายไทย ถึงมีโอกาสทำน้อยมาก ถ้าจะทำแนวนี้ต้องดูสถานการณ์ก่อนรึเปล่า ?
นอกจากนิยายของทมยันตี ที่ทำเป็นละครแล้ว ยังมีละครของผลงานนักประพันธ์อื่นๆ เช่น คฑาหัส บุษประเกศ (จิตสังหารภาคแรก [ยังจำฉากตอนท้ายเรื่องได้ที่พระเอกแฉความชั่วร้ายตัวร้าย ที่สร้างภาพเป็นนักการเมืองน้ำดี],เหนือเมฆ 2 [โดนแบนเต็ม]), ละครค่ายยูม่า สมัยนั้น เช่น เสือ 11 ตัว (เนื้อหาสะท้อนด้านมืด จรรยาบรรณ ตำรวจ) , คนของแผ่นดิน (เผด็จการทหาร ฆ่าประชาชน เรื่องศาสนา) , ฝนตกขี้หมูไหล คนอะไรมาพบกัน (เรื่องฟอกเงิน เรื่องร้ายๆทั้งหมด เพราะเงินตัวเดียว ทำให้คนฆ่ากันตาย)
ละครเกมเกียรติยศ (สะท้อนจรรยาบรรณทนายความ) ,เสราดารัล (ช่อง 3 น่าจะคืนลิขสิทธิ์ให้ จข.บทประพันธ์แล้ว เนื่องจากสถานการณ์ภาคใต้ ศาสนา ไม่เอื้ออำนวย มีผลกระทบความมั่นคง) ,จินตปาตี (สะท้อนการเมืองปัจจุบัน) ,สารวัตรใหญ่ (เวอร์ชั่นลิขิต เอกมงคล ถูกตัดฉากที่สะท้อนถึงการคอรัปชั่นวงการตำรวจ แต่ก็ฉายจนจบ เวอร์ชั่น เอส กันตพงศ์ กับ เปรี้ยว ทัศนียา อีกนานมากมั้ยจะได้ฉาย)
อยากทราบว่า ทำไมละครสะท้อนการเมือง,ตำรวจ,ทนาย,กฏหมาย ถึงสร้างเป็นละครน้อยมาก ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าประเทศไทยอยู่ยุครัฐบาลไหนจริงรึเปล่า ?