งงการกระจายแสงของสีท้องฟ้าครับ

กระทู้คำถาม
1. เราเห็นแสงที่รอดจากการกระเจิงแล้ววิ่งเข้าตาเรา หรือ เราเห็นแสงที่มันกระเจิงอยู่ในอากาศครับ


ถ้าเราเห็นแสงที่วิ่งเข้ามา

ตอนเย็น สีม่วง น้ำเงิน เขียว กระเจิง หมด เหลือแค่ เหลือง แดง วิ่งเข้าตาเราเลยเห็นท้องฟ้าเป็นสี ส้มๆแดงๆ อันนี้ถูกแล้ว

ส่วนตอนเช้า สีม่วง น้ำเงิน กระจาย มีแค่ เหลือง แดง เขียว เข้าตาเรา แล้วทำไมเราไม่เห็นสีพวกนี้ผสมกันครับ ทำไมเห็นเป็นสีฟ้า ที่มาจาก สีน้ำเงิน+เขียว

2. ท้องฟ้าสีม่วงตอนเย็น เกิดได้ยังไงครับ มีแค่สีม่วงกระเจิงเราเลยเห็นสีม่วงหรือ เพราะ มีสีม่วงเข้าตาเรา แต่ถ้าขนาดสีม่วงยังไม่กระเจิง สีอื่นๆก็ต้องเข้าตาเราได้ แล้วทำไมเราไม่เห็นเป็นสีขาวครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
1. เราเห็นแสงที่รอดจากการกระเจิงแล้ววิ่งเข้าตาเรา หรือ เราเห็นแสงที่มันกระเจิงอยู่ในอากาศครับ
ถ้าเราเห็นแสงที่วิ่งเข้ามาตอนเย็น สีม่วง น้ำเงิน เขียว กระเจิง หมด เหลือแค่ เหลือง แดง
วิ่งเข้าตาเราเลยเห็นท้องฟ้าเป็นสี ส้มๆแดงๆ อันนี้ถูกแล้ว

คือในตอนกลางวัน  ที่เราเห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้า  นั่นคือเราจะเห็นแสงย่านสีฟ้าที่กำลังกระเจิงอยู่ครับ
ส่วนแแสงสีอื่นก็ผ่านลงมาได้หมดถึงพื้นดิน  เพียงแต่แสงย่านสีฟ้าจะกระเจิงมากเป็นพิเศษ
มันคือการกระเจิงแบบ Rayleigh scattering  โดยมี % การกระเจิงเกือบ 25%


ส่วนตอนเช้า สีม่วง น้ำเงิน กระจาย มีแค่ เหลือง แดง เขียว   เข้าตาเรา แล้วทำไมเราไม่เห็นสีพวกนี้ผสมกันครับ
ทำไมเห็นเป็นสีฟ้า ที่มาจาก สีน้ำเงิน+เขียว

การที่มันไม่ผสมกันจนออกเป็นสีขาว  ก็เพราะว่าในมุมมองของเรา นั้น  แสงในย่านเหลือง แดง
มันสามารถเดินทางผ่านมาเข้าตาเราได้มากกว่า  มันจึงโดดเด่นไงครับ  การผสมสีจะเกิดได้ต่อเมื่อ
แสงทุกย่านกระเจิงเท่า ๆ กัน  และเดินทางมาเข้าตาเราในความโดดเด่นเท่ากัน


2. ท้องฟ้าสีม่วงตอนเย็น เกิดได้ยังไงครับ มีแค่สีม่วงกระเจิงเราเลยเห็นสีม่วงหรือ เพราะ มีสีม่วงเข้าตาเรา
แต่ถ้าขนาดสีม่วงยังไม่กระเจิง สีอื่นๆก็ต้องเข้าตาเราได้ แล้วทำไมเราไม่เห็นเป็นสีขาวครับ

ท้องฟ้าสีม่วงในตอนเย็น ๆ  เกิดจากแสงย่านสีแดงไปสะท้อนกับพวก Aerosols (ละอองลอย) ในบรรยากาศชั้นบน
ทำให้เกิดการ mix จะหว่างแสงสีแดง กับ แสงย่านสีฟ้า (ที่กระเจิงไปก่อนหน้านี้แล้ว)  เกิดเป็นแสงสีม่วงได้ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่