รบกวนสอบถามเกี่ยวกับเรื่องการเล่นคำในโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน รวมถึงการประพันธ์รูปแบบอื่นๆ
เช่น นิยาย เรื่องสั้น การเขียนคำโฆษณา ฯลฯ
ตอนเด็กๆ เคยเรียนเกี่ยวกับโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน แล้วเจอคำที่แปลกๆ
คือ เข้าใจว่าผู้ประพันธ์ตั้งใจประดิษฐ์คำขึ้นมาใหม่ หรือใส่ลูกเล่นในคำต่างๆ
------------------------------------------------------------------------
ยกตัวอย่างเช่น
"เลิกล้างห่างโยชน์ประโยชน์น้อย ล้างถอยหมดอนาถสะอาดวิ่น
ร้างลาพาจากหากใจหมิ่น ประวัติสาดสิ้นสุดแสงแรงอดีต"
สิ่งที่เราอยากจะยกประเด็นสอบถาม คือ ในการประพันธ์ต่างๆ
เช่น "เลิกร้าง" เขียนเป็น "เลิกล้าง"
"ประวัติศาสตร์" เขียนเป็น "ประวัติสาด"
"ร้างรา" เขียนเป็น "ร้างลา"
โดยผู้ประพันธ์ตั้งใจเขียนแบบนี้ ต้องการเล่นคำแบบนี้ เป็นเจตนาส่วนบุคคล ไม่ใช่การสะกดคำผิด
เหล่านี้...มันมีความอ่อนไหว (sensitive) ต่อการถกเถียงว่า ...คำนี้สะกดผิด เพราะเขียนไม่ตรงกับที่กำหนดไว้ตามพจนานุกรม
บลา...บลา... อะไรประมาณนี้ค่ะ มันมีประเด็นถกเถียงอะไรมั้ยคะ??
ถ้าเราจำไม่ผิด เราเห็นโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน จะมีการสะกดคำที่ไม่ตรงกับที่บัญญัติไว้อยู่ไม่น้อย เจอบ่อยๆ นะคะ
(หรือเราจำผิดไปเอง??? ก็ต้องขออภัยด้วยค่ะ)
เราเข้าใจว่าเป็นลูกเล่นทางภาษา เป็นการตั้งใจของผู้ประพันธ์ในการเล่นคำ เหมือนมีคนบอกว่า
ภาษามันดิ้นได้ มันประยุกต์ได้ มันผสมผสานได้ เกิดคำใหม่ๆ ขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็มีประเด็นตรงข้ามที่นักอนุรักษ์บอกว่า
มันทำให้ภาษาวิบัติ สะกดผิด หรืออื่นๆ ฯลฯ
เพราะฉะนั้น มันมีการถกเถียงอะไรยังไงมั้ยคะ เรื่องการเจตนาเล่นคำ โดยสะกดต่างจากพจนานุกรมบัญญัติไว้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ในกรณีต่อมา ถ้าการเล่นคำแบบนี้ ไปใช้ในการประพันธ์รูปแบบอื่นๆ เช่น การเขียนคำโฆษณา/ประชาสัมพันธ์
การเขียนเพลง ฯลฯ
หรือการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ที่ไม่ใช่ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน
ประเด็นเรื่องการสะกดคำผิด (โดยเจตนาเล่นคำ มันมีประเด็นอะไรเป็นที่ถกเถียงมั้ยคะ?)
เช่น คำว่า "รักสามเส้า" เคยมีการเล่นคำ โดยเขียนเป็น "รักสามเศร้า"
ซึ่งเราก็เข้าใจว่าเป็นการเล่นคำ ไม่ได้ตั้งใจสะกดผิด
แต่ก็ได้ยินกระแสมาบ้างว่า การเขียนคำแบบนี้ มันอาจจะทำให้หลายคนเข้าใจผิด และสะกดคำนี้ผิดๆ ต่อไป ??
--------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามท่านที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ นักภาษาศาสตร์หรือศิลปิน นักประพันธ์
เค้ามีกฎเกณฑ์ มีข้อสรุป หรือมีข้อถกเถียงกันยังไงมั้ยคะ?
เรื่องการเจตนาเล่นคำ โดยสะกดคำไม่ตรงกับที่บัญญัติไว้ในพจนานุกรม เราสงสัยเรื่องนี้มานานแล้วค่ะ
ขอบคุณค่ะ
สอบถามเรื่องการเล่นคำในการประพันธ์ต่างๆ โดยสะกดคำไม่ตรงกับพจนานุกรม
เช่น นิยาย เรื่องสั้น การเขียนคำโฆษณา ฯลฯ
ตอนเด็กๆ เคยเรียนเกี่ยวกับโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน แล้วเจอคำที่แปลกๆ
คือ เข้าใจว่าผู้ประพันธ์ตั้งใจประดิษฐ์คำขึ้นมาใหม่ หรือใส่ลูกเล่นในคำต่างๆ
------------------------------------------------------------------------
ยกตัวอย่างเช่น
"เลิกล้างห่างโยชน์ประโยชน์น้อย ล้างถอยหมดอนาถสะอาดวิ่น
ร้างลาพาจากหากใจหมิ่น ประวัติสาดสิ้นสุดแสงแรงอดีต"
สิ่งที่เราอยากจะยกประเด็นสอบถาม คือ ในการประพันธ์ต่างๆ
เช่น "เลิกร้าง" เขียนเป็น "เลิกล้าง"
"ประวัติศาสตร์" เขียนเป็น "ประวัติสาด"
"ร้างรา" เขียนเป็น "ร้างลา"
โดยผู้ประพันธ์ตั้งใจเขียนแบบนี้ ต้องการเล่นคำแบบนี้ เป็นเจตนาส่วนบุคคล ไม่ใช่การสะกดคำผิด
เหล่านี้...มันมีความอ่อนไหว (sensitive) ต่อการถกเถียงว่า ...คำนี้สะกดผิด เพราะเขียนไม่ตรงกับที่กำหนดไว้ตามพจนานุกรม
บลา...บลา... อะไรประมาณนี้ค่ะ มันมีประเด็นถกเถียงอะไรมั้ยคะ??
ถ้าเราจำไม่ผิด เราเห็นโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน จะมีการสะกดคำที่ไม่ตรงกับที่บัญญัติไว้อยู่ไม่น้อย เจอบ่อยๆ นะคะ
(หรือเราจำผิดไปเอง??? ก็ต้องขออภัยด้วยค่ะ)
เราเข้าใจว่าเป็นลูกเล่นทางภาษา เป็นการตั้งใจของผู้ประพันธ์ในการเล่นคำ เหมือนมีคนบอกว่า
ภาษามันดิ้นได้ มันประยุกต์ได้ มันผสมผสานได้ เกิดคำใหม่ๆ ขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็มีประเด็นตรงข้ามที่นักอนุรักษ์บอกว่า
มันทำให้ภาษาวิบัติ สะกดผิด หรืออื่นๆ ฯลฯ
เพราะฉะนั้น มันมีการถกเถียงอะไรยังไงมั้ยคะ เรื่องการเจตนาเล่นคำ โดยสะกดต่างจากพจนานุกรมบัญญัติไว้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ในกรณีต่อมา ถ้าการเล่นคำแบบนี้ ไปใช้ในการประพันธ์รูปแบบอื่นๆ เช่น การเขียนคำโฆษณา/ประชาสัมพันธ์
การเขียนเพลง ฯลฯ
หรือการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ที่ไม่ใช่ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน
ประเด็นเรื่องการสะกดคำผิด (โดยเจตนาเล่นคำ มันมีประเด็นอะไรเป็นที่ถกเถียงมั้ยคะ?)
เช่น คำว่า "รักสามเส้า" เคยมีการเล่นคำ โดยเขียนเป็น "รักสามเศร้า"
ซึ่งเราก็เข้าใจว่าเป็นการเล่นคำ ไม่ได้ตั้งใจสะกดผิด
แต่ก็ได้ยินกระแสมาบ้างว่า การเขียนคำแบบนี้ มันอาจจะทำให้หลายคนเข้าใจผิด และสะกดคำนี้ผิดๆ ต่อไป ??
--------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามท่านที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ นักภาษาศาสตร์หรือศิลปิน นักประพันธ์
เค้ามีกฎเกณฑ์ มีข้อสรุป หรือมีข้อถกเถียงกันยังไงมั้ยคะ?
เรื่องการเจตนาเล่นคำ โดยสะกดคำไม่ตรงกับที่บัญญัติไว้ในพจนานุกรม เราสงสัยเรื่องนี้มานานแล้วค่ะ
ขอบคุณค่ะ