คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13
เสริมเล็กน้อย จากบทความที่ MC มาริโอ้ นำมาตั้งทู้...
"...คำว่า “สงกรานต์” เป็นคำที่ไทยเราหยิบยืมมาจากภาษาสันสกฤตว่า “สงฺกฺรานฺติ” แปลว่า คติหรือการจากไปของดวงอาทิตย์หรือดาวพระเคราะห์ดวงอื่นจากราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่ง..."
ถ้าเป็นภาษาบาลี ก็มาจาก คำว่า สงฺกนฺตํ แปลว่า "การก้าวล่วงพ้นไปด้วยดี" ครับ ก็หมายถึงการที่ดวงอาทิตย์ ก้าวล่วงพ้นจากราศีมีนไปด้วยดี นั่นเองแล
ตรงท้ายๆ บอกว่า "....ในพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทยในปัจจุบัน อันเป็นพื้นที่เครือข่ายทางวัฒนธรรมของล้านนามาก่อน โดยล้านนาจะนับรอบปีเร็วกว่าพื้นที่ทางภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบันราวสองเดือน...."
ไม่ราวไม่เรอวละครับ สองเดือนเต็มๆเอาไปเลย !!
เดือนลอยกระทง (ประมาณ พฤศจิกายน) เรียกว่า "เดือนยี่" (หลายคน คงคุ้นเคยกับคำว่า "ยี่เป็ง" นั่นแหละครับ เดือน 12 วันขึ้น 15 ค่ำ หรือวันลอยกระทงหละ คนเหนือว่า "วันยี่เป็ง"
เดือนก่อนหน้านั้น (ตุลาคม) เป็น "เดือนอ้าย" ถัดจากเดือนลอยกระทงก็นับไปเรื่อยๆเป็นเดือน 3 เดือน 4....
อย่างตอนนี้ วันนี้ ก็เป็น แรม 13 ค่ำ เดือน 7 เหนือ ครับ ^^
"...คำว่า “สงกรานต์” เป็นคำที่ไทยเราหยิบยืมมาจากภาษาสันสกฤตว่า “สงฺกฺรานฺติ” แปลว่า คติหรือการจากไปของดวงอาทิตย์หรือดาวพระเคราะห์ดวงอื่นจากราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่ง..."
ถ้าเป็นภาษาบาลี ก็มาจาก คำว่า สงฺกนฺตํ แปลว่า "การก้าวล่วงพ้นไปด้วยดี" ครับ ก็หมายถึงการที่ดวงอาทิตย์ ก้าวล่วงพ้นจากราศีมีนไปด้วยดี นั่นเองแล
ตรงท้ายๆ บอกว่า "....ในพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทยในปัจจุบัน อันเป็นพื้นที่เครือข่ายทางวัฒนธรรมของล้านนามาก่อน โดยล้านนาจะนับรอบปีเร็วกว่าพื้นที่ทางภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบันราวสองเดือน...."
ไม่ราวไม่เรอวละครับ สองเดือนเต็มๆเอาไปเลย !!
เดือนลอยกระทง (ประมาณ พฤศจิกายน) เรียกว่า "เดือนยี่" (หลายคน คงคุ้นเคยกับคำว่า "ยี่เป็ง" นั่นแหละครับ เดือน 12 วันขึ้น 15 ค่ำ หรือวันลอยกระทงหละ คนเหนือว่า "วันยี่เป็ง"
เดือนก่อนหน้านั้น (ตุลาคม) เป็น "เดือนอ้าย" ถัดจากเดือนลอยกระทงก็นับไปเรื่อยๆเป็นเดือน 3 เดือน 4....
อย่างตอนนี้ วันนี้ ก็เป็น แรม 13 ค่ำ เดือน 7 เหนือ ครับ ^^
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 14
🌷 วันนี้เป็นวันสงกรานต์ปีใหม่ไทย
ขอส่งพรพระอันเป็นมงคล
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง
ขอสรรพมงคลจงมีแก่ท่าน
รักขันตุ สัพพะเทวะตา
ขอเหล่าเทวดาจงรักษาท่าน
สัพพะพุทธานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า
สัพพะธัมมานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม
สัพพะสังฆานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต.
ขอให้มีความสุขความเจริญรุ่งเรือง
คิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางที่ดีที่งามแล้ว
ก็ขอให้สำเร็จสมปรารถนาทุกประการเทอญ 🌷
🌷 วันนี้เป็นวันสงกรานต์ปีใหม่ไทย
ขอส่งพรพระอันเป็นมงคล
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง
ขอสรรพมงคลจงมีแก่ท่าน
รักขันตุ สัพพะเทวะตา
ขอเหล่าเทวดาจงรักษาท่าน
สัพพะพุทธานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า
สัพพะธัมมานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม
สัพพะสังฆานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต.
ขอให้มีความสุขความเจริญรุ่งเรือง
คิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางที่ดีที่งามแล้ว
ก็ขอให้สำเร็จสมปรารถนาทุกประการเทอญ 🌷
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
การ์ตูนการเมือง
ห้องเพลงคนรากหญ้า *พักยกการเมือง* มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม..มีแต่เสียง 13/04/2018 "สงกรานต์-เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไทย"
สวัสดีวันปีใหม่ไทย และสุขสันต์เทศกาลสงกรานต์ทุกท่านครับ ขอให้ทุกคนมีความสุขกับครอบครัว เพื่อนสนิทมิตรสหาย ไร้เภทภัยด้วยประการทั้งปวงและเดินทางเที่ยวสงกรานต์โดยปลอดภัยทุกท่านครับผม
วันนี้อาจมาก่อนเวลาเล็กน้อยเพราะ MC กำลังจะขับรถกลับบ้านหลังจากไปเล่นสงกรานต์มา และคงไม่ลงรายละเอียดเกี่ยวกับวันสงกรานต์มากนักนะครับ MC เห็นบทความนี้น่าสนใจดี ชื่อบทความว่า “อำนาจ” เปลี่ยน “วันขึ้นปีใหม่” เปลี่ยน? ของคุณศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ จากมติชนรายสัปดาห์ จึงได้ขอตัดบทความบางส่วนที่กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงวันปีใหม่ไทยจากวันสงกรานต์มาเป็นวันที่ 1 เมษายน และเปลี่ยนมาใช้ตามหลักสากลคือ 1 มกราคมของทุกปีครับ
https://www.matichonweekly.com/culture/article_20045
ช่วงทศวรรษ 2480 ประเทศสยามภายหลังผ่านเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ตรงกับช่วงที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรก (16 ธันวาคม พ.ศ.2481-1 สิงหาคม พ.ศ.2487)
และคาบเกี่ยวกับเหตุการณ์ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ซึ่งก็คือส่วนหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลจอมพล ป. ก้าวขึ้นมาพร้อมกับ “ลัทธิชาตินิยม”
มีการประกาศสิ่งที่เรียกว่า “รัฐนิยม” 12 ฉบับ ในช่วงระยะเวลาเพียง 4 ปี คือระหว่างปี พ.ศ.2482-2485
“รัฐนิยม” ที่ว่าก็คือประกาศของทางการ เกี่ยวกับรูปแบบการปฏิบัติทางวัฒนธรรมของประชาชนที่จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นชาติอันมีอารยธรรม ซึ่งเป็นแนวทางที่กำหนดขึ้นเพื่อปรับปรุงแก้ไขวัฒนธรรมบางอย่างของชาติ สำหรับให้ใช้เป็นหลักให้ประชาชนได้ยึดถือปฏิบัติ
(ขอบพระคุณภาพจากคุณระกำอบน้ำผึ้ง สมาชิก pantip ครับ)
ซึ่งก็ครอบคลุมตั้งแต่ การเปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม มาเป็น ไทย อย่างที่ใช้ต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้ (ฉบับที่ 1 ประกาศวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2482)
การเรียกชื่อชาวไทย ด้วยการไม่ให้เรียกชื่อคนในประเทศไทยตามเชื้อชาติ และความนิยมของผู้ถูกเรียก หรือแบ่งแยกคนไทยออกเป็นหลายหมู่เหล่า (ฉบับที่ 3 ประกาศวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2482)
พร้อมกันนั้นยังมีการบังคับให้ภาคภูมิใจในหนังสือและภาษาไทย (ฉบับที่ 9 ประกาศวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2483), บังคับเรื่องการแต่งกายของประชาชนชาวไทย อย่างการห้ามนุ่งแต่เพียงกางเกงชั้นใน หรือไม่ใส่เสื้อ ให้แต่งกายตามแบบสากลนิยม (ฉบับที่ 10 ประกาศวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2484) เป็นต้น
ช่วงเวลาที่มีการประกาศรัฐนิยมทั้ง 12 ฉบับ จึงเป็นช่วงที่จอมพล ป. ท่านกำลังเปลี่ยนรัฐ “สยาม” ที่ยังคงมีกลิ่นฟุ้งของธรรมเนียมรัฐจารีตแบบอุษาคเนย์โบราณ ให้กลายเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ที่เรียกว่าประเทศ “ไทย” อย่างเต็มตัว
ภาพจอมพล ป.พิบูลสงคราม
และถึงแม้ว่า “ประกาศ ให้ใช้ วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่” จะไม่ถูกประกาศเป็น “รัฐนิยม” แต่ก็ประกาศใช้ในช่วงเวลาที่อยู่ระหว่างการออกรัฐนิยมทั้ง 12 ฉบับ ซึ่งเป็นช่วงประกอบสร้างรัฐไทยให้เป็นรัฐสมัยใหม่
ข้อความบางส่วนในประกาศที่ว่า “…นานาอารยประเทศทั้งปวง ตลอดถึงประเทศใหญ่ๆ ทางปลายบูรพทิศนี้ ได้นิยมใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นต้นปีใหม่…” ก็แสดงให้เห็นเป็นอย่างดีว่า การเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับรัฐนิยม คือสร้างความเป็นอารยะ (ตามอย่างมาตรฐานตะวันตก) ให้กับประเทศไทย
ก่อนหน้าที่รัฐบาลของจอมพล ป. จะประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ให้เป็นอย่างปัจจุบันนี้ ประเทศไทย (ที่สืบเนื่องมาจากประเทศสยาม) ถือเอาวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นต้นปีใหม่ของทุกปี
ที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าวจึงทำให้ปี พ.ศ.2483 ของประเทศไทยมีไม่ครบ 12 เดือน เพราะได้ตัดเอาเดือนมกราคม-มีนาคม ซึ่งนับเป็นสามเดือนสุดท้ายปี พ.ศ.2483 ตามธรรมเนียมการนับปีเดิม มาเป็นสามเดือนแรกของปี พ.ศ.2484 แทน ด้วยเหตุผลอย่างนี้ พ.ศ.2483 ของประเทศไทย จึงเป็นปีที่มีจำนวนเดือนน้อยเพียง 9 เดือนเท่านั้น
อันที่จริงแล้ว สยามเองก็เพิ่งจะมานับวันที่ 1 เมษายน เป็นขึ้นปีใหม่เอาเมื่อเรือน พ.ศ.2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 เท่านั้นเอง โดยก่อนหน้านั้นสยามใช้นับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนห้า ซึ่งตรงกับวัน “มหาสงกรานต์” และนับเป็นวันเปลี่ยนรอบนักษัตร เป็นวันขึ้นปีใหม่มาก่อน
คำว่า “สงกรานต์” เป็นคำที่ไทยเราหยิบยืมมาจากภาษาสันสกฤตว่า “สงฺกฺรานฺติ” แปลว่า คติหรือการจากไปของดวงอาทิตย์หรือดาวพระเคราะห์ดวงอื่นจากราศีหนึ่ง ไปสู่อีกราศีหนึ่ง ดังนั้นเฉพาะการ
ในหนังสือเก่า หลายครั้งเราจะพบคำว่า “ตรุษสงกรานต์” คำว่า “ตรุษ” คำคำนี้มีรากมาจากภาษาสันสกฤตเช่นเดียวกันคือคำว่า “ตฺรุฏ” หมายถึงการ “ตัด” พูดง่ายๆ ก็คือ คำว่า “ตรุษสงกรานต์” หมายถึงการที่ดวงอาทิตย์โคจร (คำนี้เป็นคำทางโหราศาสตร์ เพราะที่จริงแล้วพระอาทิตย์ไม่ได้โคจร โลกของเราต่างหากที่กำลังโคจรอยู่ทุกขณะจิต) ผ่านจากราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่ง หนึ่งปีจึงมีตรุษสงกรานต์ 12 ครั้ง แต่ครั้งที่สำคัญที่สุดคือ เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีน (มีนาคม) เข้าสู่ราศีเมษ (เมษายน) เป็นนับเป็น “วันขึ้นปีใหม่” จึงเรียกกันว่า “มหาสงกรานต์” นั่นเอง
การนับวันขึ้นปีใหม่อย่างนี้เป็นคติพราหมณ์ฮินดู แปลว่าไม่ใช่ของพื้นเมืองสยาม หรือแม้กระทั่งอุษาคเนย์ทั้งแผ่นผืนภูมิภาคมาแต่เดิม เพราะเป็นของอิมพอร์ตเข้ามาใหม่พร้อมกับศาสนาจากอินเดียต่างหาก อย่างไรก็ตาม สยามประเทศไทย (โดยรัฐ และราชสำนัก) ก็นับวันขึ้นปีใหม่อย่างนี้มาจนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 5
ส่วนสาเหตุที่รัชกาลที่ 5 ทรงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ให้ตรงกับวันที่ 1 เมษายน แทนนั้น คงเป็นไปเพื่อความสะดวก เพราะเป็นการนับตามปฏิทินแบบสุริยคติ ซึ่งใช้กันตามอย่างนานาอารยประเทศในสมัยนั้น (และจวบจนปัจจุบันนี้) เช่นเดียวกัน
เรื่องของเรื่องมีอยู่ใน พระบรมราชโองการที่เรียกว่า “ประกาศให้ใช้วันอย่างใหม่” เมื่อวันพฤหัสบดี เดือนสี่ แรมสิบสองค่ำ ปีชวดสัมฤทธิศก จุลศักราช 1250 ตรงกับวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2431 (ถ้านับอย่างปัจจุบันจะตรงกับ พ.ศ.2432)
เนื่องจากในพระบรมราชโองการฉบับนี้ มีข้อความระบุตั้งตอนต้นเลยว่า “…ข้อ 1 ให้ตั้งวิธีการนับปีเดือนตามปฏิทินสุริยคติกาลดังว่าต่อไปนี้เป็นปีปรกติ 365 วัน ปีอธิกสุรทิน 366 วัน ให้ใช้ศักราชตามปี…”
แน่นอนว่าแต่เดิมสยามใช้วิธีการนับปีเดือนตามปฏิทินแบบจันทรคติ ซึ่งเป็นคติตามแบบศาสนาผีพื้นเมือง
วิธีนับเดือนปี เดือนแรกของปีคือ “เดือนอ้าย” ซึ่งตรงกับช่วงเวลาประมาณเดือน “ธันวาคม” ตามปฏิทินแบบอธิกสุรทินแบบที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากคำว่า “อ้าย” ในภาษาไทย เป็นทั้งคำเรียงลำดับ และนับคำนวณ แปลว่า “หนึ่ง” หรือ “แรก”
ดังนั้น แต่ดั้งเดิมชาวสยามจึงนับช่วงเวลาประมาณเดือนธันวาคมเป็นช่วงเริ่มต้นของรอบปีใหม่ รอบฤดูกาลใหม่ ซึ่งจะเป็นช่วงฤดูน้ำหลาก
แต่สถานการณ์ดังกล่าวก็เป็นเพียงสภาพการณ์เฉพาะของกลุ่มคนที่อยู่ทางแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยาและเครือข่าย ทางภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบันเท่านั้นนะครับ
ในพื้นที่บริเวณอื่นซึ่งได้รับผลกระทบของลมมรสุม ซึ่งยังผลให้เกิดการปรากฏการณ์ทางธรรมชาติไม่เหมือนกัน และมีรอบของฤดูกาลแตกต่างกันก็จะนับรอบปี และรอบฤดูกาลแตกต่างออกไปอีกต่างหาก
ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ ในพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทยในปัจจุบัน อันเป็นพื้นที่เครือข่ายทางวัฒนธรรมของล้านนามาก่อน โดยล้านนาจะนับรอบปีเร็วกว่าพื้นที่ทางภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบันราวสองเดือน
สุขสันต์วันปีใหม่ไทย และต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ครับผม