กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ได้จัดกิจกรรมสรงน้ำพระบรมธาตุและเทพนพเคราะห์ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2561 เพื่อเริ่มต้นปีใหม่ไทยด้วยความเป็นสิริมงคลตามแบบแผนประเพณีที่ดีงาม โดยอัญเชิญพระธาตุประดิษฐานในพระกรัณฑ์ (พบในพระกรัณฑ์ก้านพระรัศมีพระพุทธสิหิงค์) และเทวดานพเคราะห์ 9 องค์ มาให้ประชาชนได้สรงน้ำและกราบไหว้บูชาขอพร ทั้งนี้ แต่ละคนเมื่อเกิดมาจะมีเทวดานพเคราะห์ประจำวันเกิดและในแต่ละช่วงชีวิตเทวดานพเคราะห์จะหมุนเวียนเข้าเสวยอายุ กำหนดปีการเสวยอายุตามกำลังของเทวดาแต่ละองค์ ซึ่งจะส่งผลร้ายหรือดีต่อมนุษย์ขึ้นอยู่กับประเภทของเทวดานพเคราะห์ว่า เป็นฝ่ายบาปเคราะห์หรือศุภเคราะห์ หรือความเข้ากันได้หรือไม่กับเทวดาประจำวันเกิด
นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า เทพนพเคราะห์มีต้นกำเนิดมาจากโหราศาสตร์ฮินดูที่นับถือพระสุริยเทพ (พระอาทิตย์) ซึ่งมีเทพบริวารอีก 8 องค์ รวมเป็น 9 องค์ ถือว่าเป็นเทพที่ปกปักรักษาชีวิตของประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย ประกอบด้วย พระอาทิตย์ ทรงราชสีห์ เป็นเทพนพเคราะห์ที่มีอำนาจเหนือกว่าเทพนพเคราะห์ทั้งปวง พระจันทร์ ทรงม้า พระอังคาร ทรงมหิงสา พระพุธ ทรงคชสาร พระพฤหัสบดี ทรงกวาง พระศุกร์ ทรงโค พระเสาร์ ทรงพยัคฆ์ พระราหู ทรงพญาครุฑ และพระเกตุ ทรงนาค สำหรับประติมากรรมเทพนพเคราะห์ชุดนี้หล่อขึ้นตามแบบเทพนพเคราะห์ของไทย มีลักษณะการแต่งกายคล้ายคลึงกับภาพเทวรูปในสมุดไทยหมวดตำราภาพเทวรูปไสยาศาสตร์ เล่มที่ 70 สำนักหอสมุดแห่งชาติ ที่สันนิษฐานว่าเป็นรูปแบบของเจ้าฟ้าอิศราพงศ์ และคล้ายคลึงกับภาพจิตรกรรมเทพบนบานประตูหน้าต่างด้านในของพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) ที่เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ทรงร่วมในการควบคุมการก่อสร้างเช่นกัน
ทั้งนี้ วันที่ 12 เม.ย. เวลา 09.09 น. กรมศิลปากรกำหนดจัดพิธีบวงสรวงสมโภชน์ ณ.ศาลาสำราญมุขมาตย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นอกจากนี้ ได้จัดนิทรรศการพิเศษเรื่อง “เทพนพเคราะห์” เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและหลักการบูชาเทวดาที่เสวยอายุตามหลักโหราศาสตร์ ความพิเศษของประติมากรรมชุดนี้ คือ สามารถถ่ายทอดรูปแบบของเทพนพเคราะห์ให้ออกมาเป็นประติมากรรมแบบลอยตัว แสดงท่าทาง และลักษณะของเทพนพเคราะห์ได้อย่างสมจริงและมีชีวิตชีวา โดยยังคงรักษาเอกลักษณ์ และลักษณะของเทพแต่ละองค์ไว้ได้อย่างสมบูรณ์
งานนี้น่าสนใจนะครับ ถ้าใครได้ไปทำบุญสงฆ์น้ำพระพุทธสิหิงค์ที่ท้องสนามหลวงช่วงสงกรานต์ปีนี้ ลองแวะเข้าไปร่วมสรงน้ำพระและชมนิทรรศการ ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ 12-14 เม.ย.2561 เวลา 09.00-16.00 น. น่าจะได้สาระความรู้ใหม่ๆ และได้ทำบุญสะเดาะเคราะห์ไปในตัวด้วย
12-14 เม.ย.นี้ มาสรงน้ำพระบรมธาตุและ 9 เทพนพเคราะห์ เพื่อความเป็นสิริมงคลรับปีใหม่แบบไทยๆ กันดีกว่า
นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า เทพนพเคราะห์มีต้นกำเนิดมาจากโหราศาสตร์ฮินดูที่นับถือพระสุริยเทพ (พระอาทิตย์) ซึ่งมีเทพบริวารอีก 8 องค์ รวมเป็น 9 องค์ ถือว่าเป็นเทพที่ปกปักรักษาชีวิตของประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย ประกอบด้วย พระอาทิตย์ ทรงราชสีห์ เป็นเทพนพเคราะห์ที่มีอำนาจเหนือกว่าเทพนพเคราะห์ทั้งปวง พระจันทร์ ทรงม้า พระอังคาร ทรงมหิงสา พระพุธ ทรงคชสาร พระพฤหัสบดี ทรงกวาง พระศุกร์ ทรงโค พระเสาร์ ทรงพยัคฆ์ พระราหู ทรงพญาครุฑ และพระเกตุ ทรงนาค สำหรับประติมากรรมเทพนพเคราะห์ชุดนี้หล่อขึ้นตามแบบเทพนพเคราะห์ของไทย มีลักษณะการแต่งกายคล้ายคลึงกับภาพเทวรูปในสมุดไทยหมวดตำราภาพเทวรูปไสยาศาสตร์ เล่มที่ 70 สำนักหอสมุดแห่งชาติ ที่สันนิษฐานว่าเป็นรูปแบบของเจ้าฟ้าอิศราพงศ์ และคล้ายคลึงกับภาพจิตรกรรมเทพบนบานประตูหน้าต่างด้านในของพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) ที่เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ทรงร่วมในการควบคุมการก่อสร้างเช่นกัน
ทั้งนี้ วันที่ 12 เม.ย. เวลา 09.09 น. กรมศิลปากรกำหนดจัดพิธีบวงสรวงสมโภชน์ ณ.ศาลาสำราญมุขมาตย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นอกจากนี้ ได้จัดนิทรรศการพิเศษเรื่อง “เทพนพเคราะห์” เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและหลักการบูชาเทวดาที่เสวยอายุตามหลักโหราศาสตร์ ความพิเศษของประติมากรรมชุดนี้ คือ สามารถถ่ายทอดรูปแบบของเทพนพเคราะห์ให้ออกมาเป็นประติมากรรมแบบลอยตัว แสดงท่าทาง และลักษณะของเทพนพเคราะห์ได้อย่างสมจริงและมีชีวิตชีวา โดยยังคงรักษาเอกลักษณ์ และลักษณะของเทพแต่ละองค์ไว้ได้อย่างสมบูรณ์
งานนี้น่าสนใจนะครับ ถ้าใครได้ไปทำบุญสงฆ์น้ำพระพุทธสิหิงค์ที่ท้องสนามหลวงช่วงสงกรานต์ปีนี้ ลองแวะเข้าไปร่วมสรงน้ำพระและชมนิทรรศการ ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ 12-14 เม.ย.2561 เวลา 09.00-16.00 น. น่าจะได้สาระความรู้ใหม่ๆ และได้ทำบุญสะเดาะเคราะห์ไปในตัวด้วย