ใครเป็นแฟนคลับของ “จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท” ยกมือขึ้นเลย!!! ใครรู้บ้าง? กว่าจะเป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นชุด “สิงโตนอกคอก” เล่มนี้ นักเขียนคนเก่งเธอเอาเรื่องราวมาจากไหนและเป็นมาอย่างไร? ทำอย่างไรเธอถึงสร้างผลงานอันยอดเยี่ยมจนคณะกรรมการซีไรต์ต้องยกตำแหน่งสุดยอดประจำปี 2560 ให้ไปครอง เราลองมาทำความรู้จักกับวิธีการเล่าเรื่องแบบอุปมานิทัศน์ (Allegory) ที่เป็นการเล่าเรื่องแนวทาบเทียบ เพื่อสะท้อนภาพสังคมในความเป็นจริง ผ่านงานเขียนอันหลอกลวง(แนวแฟนตาซี) ที่พูดถึงคนนอก(สังคม) คนใน(สังคม) และคนดี(ของสังคม) ว่ามีที่มาอย่างไรบ้าง?
สำหรับเวทีการเสวนาในครั้งนี้ เป็นการพูดคุยกับนักเขียนซีไรต์คนล่าสุด “จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท” (ผมขออนุญาตเรียกเธอว่าน้องลี้) นักเขียนซีไรต์อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ของวงวรรณกรรมไทย ทำความรู้จักกับเธอผ่านการสัมภาษณ์จากนักเขียนมือรางวัล ผู้เป็นเจ้าภาพของเวทีนี้ คุณบุญศักดิ์ ปัญจสุนทร ข้าราชการนักเขียนประจำหอสมุดแห่งชาติ ที่วงการวรรณกรรมรู้จักกันดีในนามของ “ละเวง ปัญจสุนทร” (ผมขออนุญาตเรียกว่าพี่ละเวง) โดยงานในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน NLT Edutainment ครั้งที่ 5 ที่จัดโดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี เมื่อวันพุธที่ 4 เมษายน 2561 โดยรายละเอียดที่น่าสนใจมีดังนี้
คุณกนกอร ศักดาเดช ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ
(รายละเอียดจากเวทีเสวนาในครั้งนี้ ผมจดเป็นบันทึกช่วยจำย่อ (จดเลคเชอร์) แล้วจึงนำมาเรียบเรียงใหม่ โดยมีการคัดสรรตัดย่อเพื่อเขียนสรุปเป็นประเด็น ดังนั้นถ้ามีรายละเอียดประการใดที่ผิดพลาด หรือคาดเคลื่อนผิดไปจากที่ท่านวิทยากรพูด ผมก็ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)
จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท
พี่ละเวง - น้องลี้ได้รางวัลซีไรต์จากหนังสือรวมเรื่องสั้นชุด “สิงโตนอกคอก” ถือว่าเป็นผลงานเล่มแรกเลยใช่ไหม?
น้องลี้ – สำหรับรวมเรื่องสั้นชุด “สิงโตนอกคอก” ถือว่าเป็นผลงานเล่มแรก สำหรับผลงานเล่มที่สองคือ “วันหนึ่งความทรงจำจะทำให้คุณแตกสลาย” แต่จริงๆ แล้วได้เขียนเรื่อง “วันหนึ่งความทรงจำฯ” ก่อน
-น้องลี้เรียนจบจากสาขารัสเซียศึกษา ที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พี่ละเวง – ถามน้องลี้ว่าอายุยังน้อยอยู่ แล้วมาเขียนหนังสือได้อย้างไร? มีที่มาที่ไปอย่างไรบ้าง?
น้องลี้ – จริงๆ แล้วเริ่มเขียนตั้งแต่อายุ 12 ขวบ จำได้ว่าช่วงปิดเทอมป.6 จะขึ้น ม.1 เริ่มเขียนในช่วงนั้น ประมาณปี 2548 ซึ่งเป็นช่วงที่หนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ กำลังดังแล้ว
-แล้วช่วงนั้นในบ้านเราเริ่มมีงานเขียนแนวแฟนตาซีบ้างแล้ว เห็นเด็กไทยมีผลงานเขียนแนวแฟนตาซีได้ตีพิมพ์ตอนเขาอายุประมาณ 17-18 ปี เราก็คิดว่าอยากจะมีผลงานตีพิมพ์อย่างเขาบ้าง จึงรู้ว่าเราไม่ต้องรอให้เรียนจบปริญญาก่อนก็สามารถเขียนงานของเราเองได้
-ดังนั้นจึงเริ่มเขียนตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา โดยมีแรงบันดาลใจจากแฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นหลัก
-ตอนเด็กจำได้ว่าชอบอ่านหนังสือทุกแนว นิยายรักก็อ่านได้ สืบสวนสอบสวนก็อ่านได้ ได้อ่านงานของแดน บราวน์ด้วย งานบางเล่มของไทยที่เป็นงานวรรณกรรมก็อ่านได้ แต่ว่าพอโตมาได้อ่านหนังสือน้อยลง
-ดังนั้นเส้นทางการเขียนจึงเริ่มต้นมาจากการที่เห็นผลงานของเด็กคนอื่น ที่อายุไม่มากก็ได้ตีพิมพ์แล้ว น้องลี้จึงเริ่มเขียนบ้าง แล้วก็คิดว่าการเขียนเป็นงานอดิเรกของเรา เพราะงานเขียนไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มเติมเลย ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรที่แพงๆ ก็เขียนได้
-ต่างจากการวาดรูป ที่เราจะต้องมีอุปกรณ์เฉพาะเช่น พู่กัน , มีสี , มีจานสี , มีเฟรม, มีกระดาษฮาร์ต ฯลฯ แต่งานเขียนแค่มีกระดาษเปล่าและปากกาก็เขียนได้แล้ว บางคนแค่นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ก็เขียนได้เช่นกัน
-น้องลี้เริ่มต้นจากเขียนงานลงในเว็บเด็กดีก่อน และก็มีเอาเรื่องลงในเว็บต่างๆ ด้วย เคยส่งเรื่องที่เขียนให้สำนักพิมพ์พิจารณาเหมือนกัน แต่ในช่วงแรกๆ ก็ถูกปฏิเสธตลอด
-หลังจากนั้นจึงหันมาหาเวทีประกวดงานเขียนต่างๆ โดยเขียนส่งประกวดไปเรื่อยๆ แล้วก็ได้รางวัลมาเรื่อยๆ ตลอด จึงพอมีผลงานเป็นที่รู้จักบ้าง
-ที่ผ่านมา รู้ว่าการปฏิเสธเรื่องของสำนักพิมพ์ในบ้านเรา เขาจะรอให้ครบ 3 เดือนก่อนจึงจะส่งอีเมล์ปฏิเสธกลับมาหาเรา ดังนั้นถ้าเราส่งเรื่องไปแล้วมันเงียบๆ ตลอด ก็แสดงได้เลยว่างานของเราน่าจะถูกปฏิเสธแน่
พี่ละเวง – ในสมัยนี้ยังดีที่รอแค่ 3 เดือน ก็รู้แล้วว่าเรื่องที่ส่งไปจะได้พิมพ์หรือไม่ได้พิมพ์ ในสมัยก่อนต้องรอนานมาก ขนาดแค่รอให้บรรณาธิการอ่านยังต้องต่อคิวรอประมาณ 2-3 ปีเลย กว่าจะได้รับการพิจารณา แล้วกว่าจะได้ลงผลงานต้องต่อคิวเขาอีก เรียกว่านานมากกว่าที่ผลงานจะได้ลงสักเรื่องหนึ่ง
-ในช่วงนี้มีนักเขียนหญิงเป็นคนรุ่นใหม่หลายคน อยากจะถามน้องลี้ว่าจริงไหม? ที่เขาว่ากันว่าการเป็นนักเขียนต้องมีพรสวรรค์ที่ดี เป็นเรื่องจริงหรือไม่?
น้องลี้ – สำหรับคนที่พูดเรื่องพรสวรรค์เป็นคนที่ไม่เคยประสบความสำเร็จเลย คือเขามองแค่ผลลัพธ์เท่านั้น มองแค่ฉากหน้า มองแค่ความสวยงามภายนอกเท่านั้น เขาไม่มองเลยว่ากว่าจะได้ต้นฉบับมา มันต้องผ่านการทำงานหนักมากขนาดไหน มันจึงไม่ใช่เรื่องของพรสวรรค์แน่
พี่ละเวง – คืองานเขียนมันไม่ใช่อะไรที่จะเอามาโชว์ให้ดูกันได้ ถ้าเล่นกีตาร์อาจจะเล่นโชว์บนเวทีได้ แต่จะให้นักเขียนไปเขียนโชว์บนเวทีคงไม่ได้แน่ ดังนั้นคนทั่วไปจึงไม่มีทางรู้เลยว่านักเขียนต้องทำงานหนักขนาดไหน
น้องลี้ – คือในชีวิตจริงเราสามารถโชว์สิ่งที่สวยงามได้ แต่เราไม่สามารถโชว์ความยากลำบากให้คนอื่นดูได้ คงไม่มีนักเขียนคนไหนเอาต้นฉบับที่ถูกแก้ไขจนเลอะมาโชว์ให้ดูแน่ หรือคงไม่มีนักเขียนคนไหนปริ้นท์อีเมล์ที่ถูกปฏิเสธทั้งหมดมาโชว์ให้เราดูแน่ คนทั่วไปจึงโชว์แต่สิ่งที่สวยงามอย่างเดียว
พี่ละเวง – คือนักเขียนบางคนถึงขนาดต้องบนบานศาลกล่าว (คำกริยา = ขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ) เพื่อให้ผลงานของตัวเองได้ลงนิตยสาร เพราะว่าในสมัยก่อนมันยากมากกว่าที่จะมีผลงานของเราปรากฎในนิตยสารได้
-แต่สำหรับนักเขียนบางคนก็มีผลงานได้เร็ว คือได้รับการตีพิมพ์เร็วก็มี มันก็ขึ้นอยู่กับนักเขียนแต่ละคนด้วย ซึ่งขั้นตอนการพิจารณาเรื่องเหล่านี้ คนอ่านไม่มีทางจะได้เห็น จึงไม่รู้ว่านักเขียนมีความยากลำบากขนาดไหน
น้องลี้ – คือว่าฉากหน้ามันดูสวยงามมาก มันเหมือนเป็นพรสวรรค์ที่เราได้รับมา แต่จริงๆ แล้วถ้ามองจากจุดเริ่มต้นจนมาถึงจุดที่อยู่ได้ในวันนี้ มันคือการวิ่งมาราธอนชัดๆ มันต้องผ่านเส้นทางอันยาวไกลที่ยากลำบากมาก่อนที่จะเข้ามาสู่เส้นชัย แต่คนทั่วไปจะมองแค่ตอนที่เราผ่านเส้นชัยไปแล้วเท่านั้น
พี่ละเวง – ขอถามว่างานเขียนแนววายคืออะไร?
น้องลี้ – สำหรับงานเขียนแนววาย น้องลี้จะใช้นามปากกาว่า “ร เรือในมหาสมุท” ซึ่งนามปากกานี้ในสมัยก่อนใช้กับงานเขียนเรื่องสยองขวัญด้วย
-สำหรับเรื่อง “วันหนึ่งความทรงจำจะทำให้คุณแตกสลาย” เล่มนี้เป็นงานที่เอาแนววรรณกรรมมาประสานกับแนววาย
-สำหรับนิยายวายหรือยาโออิ (Yaoi) เป็นนิยายที่เล่าถึงความสัมพันธ์ของผู้ชายกับผู้ชาย จะออกแนวเดียวกับเรื่องเกย์ แต่มันไม่ใช่เรื่องเกย์จริงๆ คือคนที่เป็นเกย์มาอ่านก็ไม่ชอบ แต่มันถูกเขียนขึ้นมาเพื่อให้เด็กผู้หญิงอ่าน คือมันไม่ได้สะเทือนโลกแห่งความเป็นจริงเลย มันเป็นเรื่องแต่งล้วนๆ
-สำหรับนิยายวายแนวชายรักชายนี้ เหมือนเป็นทางออกให้แก่นักอ่านที่เป็นผู้หญิง คือเดิมเขาอ่านนิยายรักทั่วไป ที่มีความรักระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง แต่มันมีความรู้สึกว่าตัวละครผู้หญิง(ตัวนางเอก) มันอ่อนแอเกินไป , ถูกกระทำตลอด , ถูกกดขี่ตลอด , จะทำอะไรก็ต้องให้ผู้ชาย(พระเอก)ทำให้ตลอด ฯลฯ ในเรื่องจึงกลายเป็นว่าผู้ชายแข็งแรงแล้วผู้หญิงอ่อนแอ ทำให้นักอ่านผู้หญิงบางคนจึงไม่ชอบตัวละครผู้หญิง(นางเอก) ในเรื่อง พอเป็นนิยายวายจึงไม่มีตัวละครผู้หญิง(นางเอก) เลย มีแต่ตัวละครผู้ชาย จึงไม่มีตัวละครผู้หญิงที่ถูกกระทำเลย
-ดังนั้นนิยายวายจึงช่วยกำจัดจุดที่นักอ่านผู้หญิงไม่พอใจออกไป จึงตอบสนองความต้องการของนักอ่านผู้หญิงได้อย่างดี
พี่ละเวง – อ่านรวมเรื่องสั้นชุด “สิงโตนอกคอก” แล้วรู้สึกว่าสนุกมาก คือในสมัยก่อนถ้าเป็นงานซีไรต์แล้วคนจะรู้สึกว่าอ่านยาก อ่านไม่สนุก ซึ่งมันไม่ใช่ความผิดของตัวงานเลย เพราะว่างานแต่ละชิ้นมันมีต้นทุนที่แตกต่างกัน งานแต่ละชิ้นสร้างออกมาด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน และเพราะว่าทุกคนมีรสนิยมการอ่านที่แตกต่างกันด้วย
-สำหรับ “สิงโตนอกคอก” นี้ รู้สึกว่าเป็นงานที่อ่านสนุก เป็นงานป๊อปที่ขายได้ด้วย อยากจะรู้ว่าน้องลี้ให้คำจำกัดความว่าเป็นงานเขียนในแนวไหน?
น้องลี้ – สำหรับรวมเรื่องสั้นชุด “สิงโตนอกคอก” นี้ ต้องบอกว่าเป็นงานแนวแฟนตาซีดิสโทเปีย เป็นงานที่พูดถึงสถานที่หรือเมืองที่อาจจะสมบูรณ์แบบอย่างหนึ่ง แต่ก็มีความแปลกประหลาดอยู่ในดินแดนนั้นด้วย แล้วมีตัวละครเอกที่จะต่อต้านโดยไม่อาจจะอยู่ในสถานที่แห่งนั้นได้
-ในเรื่องเป็นการพูดถึงเรื่องการปกครอง และการสร้างโลกเพื่ออยู่ร่วมกัน ที่ถือว่าเป็นงานแนวดิสโทเปีย
-เคยดูหนังเรื่อง “แมร์รี่อิสแฮบปี้” ของ เต๋อ นวพล ที่ถือว่าเป็นงานแนวดิสโทเปียของไทย แต่เป็นดิสโทเปียในสเกลที่เล็กลงมาหน่อย
พี่ละเวง – ขอลงรายละเอียดในเรื่องสั้นทั้ง 9 เรื่องในชุดสิงโตนอกคอก ว่าแต่ละเรื่องมีที่มาอย่างไรบ้าง? สำหรับเรื่องสั้นเรื่องแรกชื่อ “จะขอรับผิดทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว” เป็นเรื่องสั้นยอดเยี่ยมนายอินทร์อะวอร์ด ปี 2558
น้องลี้ - เป็นเรื่องเล่าถึงสถานที่ที่ไม่มีอยู่จริงบนโลกนี้ แต่ในเรื่องจะพูดถึงบุคคลที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์โลก เช่น อริส โตเติ้ล เพื่อที่จะทำให้คนอ่านรู้สึกว่าเป็นเหมือนเรื่องจริง
-ภาพความหนาวเหน็บในเรื่อง เอามาจากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กองทัพของฮิตเลอร์ (กองทัพนาซี เยอรมัน) บุกเข้ามาถึงเมืองเลนินกราด หรือเมืองเซ้นต์ ปีเตอร์เบิร์ก โดยในเหตุการณ์ช่วงนี้มีหนังสือที่พูดถึงจุดมากหลายเล่ม โดยทุกคนที่รอดจากเหตุการณ์นี้ต่างก็มีเรื่องเล่าเป็นของตัวเอง เราจึงเขียนในลักษณะของคนที่รอดชีวิตมาได้เป็นผู้เล่าเรื่องนี้
-ในเรื่องสะท้อนถึงความอึด ความอดทนของคนรัสเซีย ที่ต้องต่อสู้กับความหนาวเย็นมาโดยตลอด
อย่างไร > กว่าจะเป็น > “สิงโตนอกคอก”
ใครเป็นแฟนคลับของ “จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท” ยกมือขึ้นเลย!!! ใครรู้บ้าง? กว่าจะเป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นชุด “สิงโตนอกคอก” เล่มนี้ นักเขียนคนเก่งเธอเอาเรื่องราวมาจากไหนและเป็นมาอย่างไร? ทำอย่างไรเธอถึงสร้างผลงานอันยอดเยี่ยมจนคณะกรรมการซีไรต์ต้องยกตำแหน่งสุดยอดประจำปี 2560 ให้ไปครอง เราลองมาทำความรู้จักกับวิธีการเล่าเรื่องแบบอุปมานิทัศน์ (Allegory) ที่เป็นการเล่าเรื่องแนวทาบเทียบ เพื่อสะท้อนภาพสังคมในความเป็นจริง ผ่านงานเขียนอันหลอกลวง(แนวแฟนตาซี) ที่พูดถึงคนนอก(สังคม) คนใน(สังคม) และคนดี(ของสังคม) ว่ามีที่มาอย่างไรบ้าง?
สำหรับเวทีการเสวนาในครั้งนี้ เป็นการพูดคุยกับนักเขียนซีไรต์คนล่าสุด “จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท” (ผมขออนุญาตเรียกเธอว่าน้องลี้) นักเขียนซีไรต์อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ของวงวรรณกรรมไทย ทำความรู้จักกับเธอผ่านการสัมภาษณ์จากนักเขียนมือรางวัล ผู้เป็นเจ้าภาพของเวทีนี้ คุณบุญศักดิ์ ปัญจสุนทร ข้าราชการนักเขียนประจำหอสมุดแห่งชาติ ที่วงการวรรณกรรมรู้จักกันดีในนามของ “ละเวง ปัญจสุนทร” (ผมขออนุญาตเรียกว่าพี่ละเวง) โดยงานในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน NLT Edutainment ครั้งที่ 5 ที่จัดโดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี เมื่อวันพุธที่ 4 เมษายน 2561 โดยรายละเอียดที่น่าสนใจมีดังนี้
(รายละเอียดจากเวทีเสวนาในครั้งนี้ ผมจดเป็นบันทึกช่วยจำย่อ (จดเลคเชอร์) แล้วจึงนำมาเรียบเรียงใหม่ โดยมีการคัดสรรตัดย่อเพื่อเขียนสรุปเป็นประเด็น ดังนั้นถ้ามีรายละเอียดประการใดที่ผิดพลาด หรือคาดเคลื่อนผิดไปจากที่ท่านวิทยากรพูด ผมก็ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)
พี่ละเวง - น้องลี้ได้รางวัลซีไรต์จากหนังสือรวมเรื่องสั้นชุด “สิงโตนอกคอก” ถือว่าเป็นผลงานเล่มแรกเลยใช่ไหม?
น้องลี้ – สำหรับรวมเรื่องสั้นชุด “สิงโตนอกคอก” ถือว่าเป็นผลงานเล่มแรก สำหรับผลงานเล่มที่สองคือ “วันหนึ่งความทรงจำจะทำให้คุณแตกสลาย” แต่จริงๆ แล้วได้เขียนเรื่อง “วันหนึ่งความทรงจำฯ” ก่อน
-น้องลี้เรียนจบจากสาขารัสเซียศึกษา ที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พี่ละเวง – ถามน้องลี้ว่าอายุยังน้อยอยู่ แล้วมาเขียนหนังสือได้อย้างไร? มีที่มาที่ไปอย่างไรบ้าง?
น้องลี้ – จริงๆ แล้วเริ่มเขียนตั้งแต่อายุ 12 ขวบ จำได้ว่าช่วงปิดเทอมป.6 จะขึ้น ม.1 เริ่มเขียนในช่วงนั้น ประมาณปี 2548 ซึ่งเป็นช่วงที่หนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ กำลังดังแล้ว
-แล้วช่วงนั้นในบ้านเราเริ่มมีงานเขียนแนวแฟนตาซีบ้างแล้ว เห็นเด็กไทยมีผลงานเขียนแนวแฟนตาซีได้ตีพิมพ์ตอนเขาอายุประมาณ 17-18 ปี เราก็คิดว่าอยากจะมีผลงานตีพิมพ์อย่างเขาบ้าง จึงรู้ว่าเราไม่ต้องรอให้เรียนจบปริญญาก่อนก็สามารถเขียนงานของเราเองได้
-ดังนั้นจึงเริ่มเขียนตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา โดยมีแรงบันดาลใจจากแฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นหลัก
-ตอนเด็กจำได้ว่าชอบอ่านหนังสือทุกแนว นิยายรักก็อ่านได้ สืบสวนสอบสวนก็อ่านได้ ได้อ่านงานของแดน บราวน์ด้วย งานบางเล่มของไทยที่เป็นงานวรรณกรรมก็อ่านได้ แต่ว่าพอโตมาได้อ่านหนังสือน้อยลง
-ดังนั้นเส้นทางการเขียนจึงเริ่มต้นมาจากการที่เห็นผลงานของเด็กคนอื่น ที่อายุไม่มากก็ได้ตีพิมพ์แล้ว น้องลี้จึงเริ่มเขียนบ้าง แล้วก็คิดว่าการเขียนเป็นงานอดิเรกของเรา เพราะงานเขียนไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มเติมเลย ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรที่แพงๆ ก็เขียนได้
-ต่างจากการวาดรูป ที่เราจะต้องมีอุปกรณ์เฉพาะเช่น พู่กัน , มีสี , มีจานสี , มีเฟรม, มีกระดาษฮาร์ต ฯลฯ แต่งานเขียนแค่มีกระดาษเปล่าและปากกาก็เขียนได้แล้ว บางคนแค่นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ก็เขียนได้เช่นกัน
-น้องลี้เริ่มต้นจากเขียนงานลงในเว็บเด็กดีก่อน และก็มีเอาเรื่องลงในเว็บต่างๆ ด้วย เคยส่งเรื่องที่เขียนให้สำนักพิมพ์พิจารณาเหมือนกัน แต่ในช่วงแรกๆ ก็ถูกปฏิเสธตลอด
-หลังจากนั้นจึงหันมาหาเวทีประกวดงานเขียนต่างๆ โดยเขียนส่งประกวดไปเรื่อยๆ แล้วก็ได้รางวัลมาเรื่อยๆ ตลอด จึงพอมีผลงานเป็นที่รู้จักบ้าง
-ที่ผ่านมา รู้ว่าการปฏิเสธเรื่องของสำนักพิมพ์ในบ้านเรา เขาจะรอให้ครบ 3 เดือนก่อนจึงจะส่งอีเมล์ปฏิเสธกลับมาหาเรา ดังนั้นถ้าเราส่งเรื่องไปแล้วมันเงียบๆ ตลอด ก็แสดงได้เลยว่างานของเราน่าจะถูกปฏิเสธแน่
พี่ละเวง – ในสมัยนี้ยังดีที่รอแค่ 3 เดือน ก็รู้แล้วว่าเรื่องที่ส่งไปจะได้พิมพ์หรือไม่ได้พิมพ์ ในสมัยก่อนต้องรอนานมาก ขนาดแค่รอให้บรรณาธิการอ่านยังต้องต่อคิวรอประมาณ 2-3 ปีเลย กว่าจะได้รับการพิจารณา แล้วกว่าจะได้ลงผลงานต้องต่อคิวเขาอีก เรียกว่านานมากกว่าที่ผลงานจะได้ลงสักเรื่องหนึ่ง
-ในช่วงนี้มีนักเขียนหญิงเป็นคนรุ่นใหม่หลายคน อยากจะถามน้องลี้ว่าจริงไหม? ที่เขาว่ากันว่าการเป็นนักเขียนต้องมีพรสวรรค์ที่ดี เป็นเรื่องจริงหรือไม่?
น้องลี้ – สำหรับคนที่พูดเรื่องพรสวรรค์เป็นคนที่ไม่เคยประสบความสำเร็จเลย คือเขามองแค่ผลลัพธ์เท่านั้น มองแค่ฉากหน้า มองแค่ความสวยงามภายนอกเท่านั้น เขาไม่มองเลยว่ากว่าจะได้ต้นฉบับมา มันต้องผ่านการทำงานหนักมากขนาดไหน มันจึงไม่ใช่เรื่องของพรสวรรค์แน่
พี่ละเวง – คืองานเขียนมันไม่ใช่อะไรที่จะเอามาโชว์ให้ดูกันได้ ถ้าเล่นกีตาร์อาจจะเล่นโชว์บนเวทีได้ แต่จะให้นักเขียนไปเขียนโชว์บนเวทีคงไม่ได้แน่ ดังนั้นคนทั่วไปจึงไม่มีทางรู้เลยว่านักเขียนต้องทำงานหนักขนาดไหน
น้องลี้ – คือในชีวิตจริงเราสามารถโชว์สิ่งที่สวยงามได้ แต่เราไม่สามารถโชว์ความยากลำบากให้คนอื่นดูได้ คงไม่มีนักเขียนคนไหนเอาต้นฉบับที่ถูกแก้ไขจนเลอะมาโชว์ให้ดูแน่ หรือคงไม่มีนักเขียนคนไหนปริ้นท์อีเมล์ที่ถูกปฏิเสธทั้งหมดมาโชว์ให้เราดูแน่ คนทั่วไปจึงโชว์แต่สิ่งที่สวยงามอย่างเดียว
พี่ละเวง – คือนักเขียนบางคนถึงขนาดต้องบนบานศาลกล่าว (คำกริยา = ขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ) เพื่อให้ผลงานของตัวเองได้ลงนิตยสาร เพราะว่าในสมัยก่อนมันยากมากกว่าที่จะมีผลงานของเราปรากฎในนิตยสารได้
-แต่สำหรับนักเขียนบางคนก็มีผลงานได้เร็ว คือได้รับการตีพิมพ์เร็วก็มี มันก็ขึ้นอยู่กับนักเขียนแต่ละคนด้วย ซึ่งขั้นตอนการพิจารณาเรื่องเหล่านี้ คนอ่านไม่มีทางจะได้เห็น จึงไม่รู้ว่านักเขียนมีความยากลำบากขนาดไหน
น้องลี้ – คือว่าฉากหน้ามันดูสวยงามมาก มันเหมือนเป็นพรสวรรค์ที่เราได้รับมา แต่จริงๆ แล้วถ้ามองจากจุดเริ่มต้นจนมาถึงจุดที่อยู่ได้ในวันนี้ มันคือการวิ่งมาราธอนชัดๆ มันต้องผ่านเส้นทางอันยาวไกลที่ยากลำบากมาก่อนที่จะเข้ามาสู่เส้นชัย แต่คนทั่วไปจะมองแค่ตอนที่เราผ่านเส้นชัยไปแล้วเท่านั้น
พี่ละเวง – ขอถามว่างานเขียนแนววายคืออะไร?
น้องลี้ – สำหรับงานเขียนแนววาย น้องลี้จะใช้นามปากกาว่า “ร เรือในมหาสมุท” ซึ่งนามปากกานี้ในสมัยก่อนใช้กับงานเขียนเรื่องสยองขวัญด้วย
-สำหรับเรื่อง “วันหนึ่งความทรงจำจะทำให้คุณแตกสลาย” เล่มนี้เป็นงานที่เอาแนววรรณกรรมมาประสานกับแนววาย
-สำหรับนิยายวายหรือยาโออิ (Yaoi) เป็นนิยายที่เล่าถึงความสัมพันธ์ของผู้ชายกับผู้ชาย จะออกแนวเดียวกับเรื่องเกย์ แต่มันไม่ใช่เรื่องเกย์จริงๆ คือคนที่เป็นเกย์มาอ่านก็ไม่ชอบ แต่มันถูกเขียนขึ้นมาเพื่อให้เด็กผู้หญิงอ่าน คือมันไม่ได้สะเทือนโลกแห่งความเป็นจริงเลย มันเป็นเรื่องแต่งล้วนๆ
-สำหรับนิยายวายแนวชายรักชายนี้ เหมือนเป็นทางออกให้แก่นักอ่านที่เป็นผู้หญิง คือเดิมเขาอ่านนิยายรักทั่วไป ที่มีความรักระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง แต่มันมีความรู้สึกว่าตัวละครผู้หญิง(ตัวนางเอก) มันอ่อนแอเกินไป , ถูกกระทำตลอด , ถูกกดขี่ตลอด , จะทำอะไรก็ต้องให้ผู้ชาย(พระเอก)ทำให้ตลอด ฯลฯ ในเรื่องจึงกลายเป็นว่าผู้ชายแข็งแรงแล้วผู้หญิงอ่อนแอ ทำให้นักอ่านผู้หญิงบางคนจึงไม่ชอบตัวละครผู้หญิง(นางเอก) ในเรื่อง พอเป็นนิยายวายจึงไม่มีตัวละครผู้หญิง(นางเอก) เลย มีแต่ตัวละครผู้ชาย จึงไม่มีตัวละครผู้หญิงที่ถูกกระทำเลย
-ดังนั้นนิยายวายจึงช่วยกำจัดจุดที่นักอ่านผู้หญิงไม่พอใจออกไป จึงตอบสนองความต้องการของนักอ่านผู้หญิงได้อย่างดี
พี่ละเวง – อ่านรวมเรื่องสั้นชุด “สิงโตนอกคอก” แล้วรู้สึกว่าสนุกมาก คือในสมัยก่อนถ้าเป็นงานซีไรต์แล้วคนจะรู้สึกว่าอ่านยาก อ่านไม่สนุก ซึ่งมันไม่ใช่ความผิดของตัวงานเลย เพราะว่างานแต่ละชิ้นมันมีต้นทุนที่แตกต่างกัน งานแต่ละชิ้นสร้างออกมาด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน และเพราะว่าทุกคนมีรสนิยมการอ่านที่แตกต่างกันด้วย
-สำหรับ “สิงโตนอกคอก” นี้ รู้สึกว่าเป็นงานที่อ่านสนุก เป็นงานป๊อปที่ขายได้ด้วย อยากจะรู้ว่าน้องลี้ให้คำจำกัดความว่าเป็นงานเขียนในแนวไหน?
น้องลี้ – สำหรับรวมเรื่องสั้นชุด “สิงโตนอกคอก” นี้ ต้องบอกว่าเป็นงานแนวแฟนตาซีดิสโทเปีย เป็นงานที่พูดถึงสถานที่หรือเมืองที่อาจจะสมบูรณ์แบบอย่างหนึ่ง แต่ก็มีความแปลกประหลาดอยู่ในดินแดนนั้นด้วย แล้วมีตัวละครเอกที่จะต่อต้านโดยไม่อาจจะอยู่ในสถานที่แห่งนั้นได้
-ในเรื่องเป็นการพูดถึงเรื่องการปกครอง และการสร้างโลกเพื่ออยู่ร่วมกัน ที่ถือว่าเป็นงานแนวดิสโทเปีย
-เคยดูหนังเรื่อง “แมร์รี่อิสแฮบปี้” ของ เต๋อ นวพล ที่ถือว่าเป็นงานแนวดิสโทเปียของไทย แต่เป็นดิสโทเปียในสเกลที่เล็กลงมาหน่อย
พี่ละเวง – ขอลงรายละเอียดในเรื่องสั้นทั้ง 9 เรื่องในชุดสิงโตนอกคอก ว่าแต่ละเรื่องมีที่มาอย่างไรบ้าง? สำหรับเรื่องสั้นเรื่องแรกชื่อ “จะขอรับผิดทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว” เป็นเรื่องสั้นยอดเยี่ยมนายอินทร์อะวอร์ด ปี 2558
น้องลี้ - เป็นเรื่องเล่าถึงสถานที่ที่ไม่มีอยู่จริงบนโลกนี้ แต่ในเรื่องจะพูดถึงบุคคลที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์โลก เช่น อริส โตเติ้ล เพื่อที่จะทำให้คนอ่านรู้สึกว่าเป็นเหมือนเรื่องจริง
-ภาพความหนาวเหน็บในเรื่อง เอามาจากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กองทัพของฮิตเลอร์ (กองทัพนาซี เยอรมัน) บุกเข้ามาถึงเมืองเลนินกราด หรือเมืองเซ้นต์ ปีเตอร์เบิร์ก โดยในเหตุการณ์ช่วงนี้มีหนังสือที่พูดถึงจุดมากหลายเล่ม โดยทุกคนที่รอดจากเหตุการณ์นี้ต่างก็มีเรื่องเล่าเป็นของตัวเอง เราจึงเขียนในลักษณะของคนที่รอดชีวิตมาได้เป็นผู้เล่าเรื่องนี้
-ในเรื่องสะท้อนถึงความอึด ความอดทนของคนรัสเซีย ที่ต้องต่อสู้กับความหนาวเย็นมาโดยตลอด