ราชกิจฯ เผย ให้ขยายอายุเกษียณราชการจาก 60 ปี เป็น 63 ปี โดยใช้เวลาเปลี่ยนผ่าน 6 ปี ขยับครั้งละปี 3 ครั้ง เว้นหน่วยงานที่ต้องใช้ศักยภาพทางร่างกาย
วันนี้ (9 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวยางานว่า เว็บราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ ลงประกาศ ณ วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยมีเรื่องน่าสนใจในเล่มที่ 5 ว่าด้วยแผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านสังคม ซึ่งมีจำนวน 277 หน้า
โดยเนื้อหาดังกล่าวอยู่ในหน้า 34 ในแผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ 2 กลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคม ข้อ 3. การเสริมสร้างศักยภาพผู้สูงอายุในการทำงาน กิจกรรมที่ 1 ที่ระบุให้ขยายอายุเกษียณราชการจาก 60 ปี เป็น 63 ปี (โดยใช้เวลา 6 ปี) เพื่อเป็นต้นแบบในการขยายเวลาการทำงานและค่อยๆ ขยายเวลาเป็น 2 ปี ขยาย 1 ปี เพื่อจะไม่กระทบต่อการจ้างงานคนรุ่นใหม่ที่ทดแทนคนที่เกษียณอายุ โดยไม่ครอบคลุมหน่วยงานที่ต้องใช้ศักยภาพทางร่างกาย
สำหรับวิธีการกำหนดให้ 1. ศึกษาความเหมาะสมของตำแหน่งที่จะมีการขยายอายุเกษียณ และ 2. แก้ไขพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญให้ขยายอายุเกษียณราชการเป็น 63 ปี ผู้รับผิดชอบหลัก คือ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) มีเป้าหมายคือ ข้าราชการ, พนักงาน, รัฐวิสาหกิจ และ เจ้าหน้าที่ของรัฐเกษียณอายุที่ 63 ปี ในปี 2567 และมีตัวชี้วัดเป็นข้าราชการ, พนักงาน, รัฐวิสาหกิจ และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีศักยภาพมีอายุเกษียณเพิ่มขึ้น 1 ปี ในทุกๆ 2 ปี กระทั่งปี 2567
ข่าวจาก : MGR Online
https://mgronline.com/politics/detail/9610000035382
รัฐยืดอายุเกษียณราชการเป็น 63 ปี ใช้เวลาเปลี่ยนผ่าน 6 ปี โดยขยับครั้งละปี 3 ครั้ง
ราชกิจฯ เผย ให้ขยายอายุเกษียณราชการจาก 60 ปี เป็น 63 ปี โดยใช้เวลาเปลี่ยนผ่าน 6 ปี ขยับครั้งละปี 3 ครั้ง เว้นหน่วยงานที่ต้องใช้ศักยภาพทางร่างกาย
วันนี้ (9 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวยางานว่า เว็บราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ ลงประกาศ ณ วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยมีเรื่องน่าสนใจในเล่มที่ 5 ว่าด้วยแผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านสังคม ซึ่งมีจำนวน 277 หน้า
โดยเนื้อหาดังกล่าวอยู่ในหน้า 34 ในแผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ 2 กลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคม ข้อ 3. การเสริมสร้างศักยภาพผู้สูงอายุในการทำงาน กิจกรรมที่ 1 ที่ระบุให้ขยายอายุเกษียณราชการจาก 60 ปี เป็น 63 ปี (โดยใช้เวลา 6 ปี) เพื่อเป็นต้นแบบในการขยายเวลาการทำงานและค่อยๆ ขยายเวลาเป็น 2 ปี ขยาย 1 ปี เพื่อจะไม่กระทบต่อการจ้างงานคนรุ่นใหม่ที่ทดแทนคนที่เกษียณอายุ โดยไม่ครอบคลุมหน่วยงานที่ต้องใช้ศักยภาพทางร่างกาย
สำหรับวิธีการกำหนดให้ 1. ศึกษาความเหมาะสมของตำแหน่งที่จะมีการขยายอายุเกษียณ และ 2. แก้ไขพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญให้ขยายอายุเกษียณราชการเป็น 63 ปี ผู้รับผิดชอบหลัก คือ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) มีเป้าหมายคือ ข้าราชการ, พนักงาน, รัฐวิสาหกิจ และ เจ้าหน้าที่ของรัฐเกษียณอายุที่ 63 ปี ในปี 2567 และมีตัวชี้วัดเป็นข้าราชการ, พนักงาน, รัฐวิสาหกิจ และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีศักยภาพมีอายุเกษียณเพิ่มขึ้น 1 ปี ในทุกๆ 2 ปี กระทั่งปี 2567
ข่าวจาก : MGR Online
https://mgronline.com/politics/detail/9610000035382