ทุกครั้งที่ดูภาพยนตร์อะนิเมชันของสตูดิโอจิบลิ (Studio Ghibli) เมื่อตัวอักษรเครดิตค่อยๆ เลื่อนขึ้นพร้อมการบรรเลงของดนตรี เราจะรู้สึกเหมือนถูกปลอบประโลมใจด้วยความหวังและแสงสว่าง ความรู้สึกแบบนี้ทำให้เราคิดเสมอว่าโชคดีเหลือเกินที่เกิดและเติบโตทันดูหนังของ ‘พวกเขา’
‘พวกเขา’ ที่เราหมายถึง คือชายชาวญี่ปุ่นสองคนผู้ให้กำเนิดและอยู่เบื้องหลังสตูดิโอจิบลิ แต่ความจริงที่น่าเศร้าไปสักหน่อยก็คือ ขณะที่โลกรู้จักชื่อของ ฮายาโอะ มิยาซากิ (Hayao Miyazaki) ทว่าใครหลายคนกลับเพิ่งรู้จักชื่อของชายอีกคนที่ชื่อ ‘อิซาโอะ ทากาฮาตะ’ (Isao Takahata) เมื่อวันที่เขาสิ้นใจลงจนกลายเป็นข่าวดังเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
ชายที่ดูเหมือนว่าจะอยู่ในเงาของมิยาซากิผู้นี้ แท้จริงแล้ว ผลงานของเขาไม่เคยหลบอยู่ในเงาของใครแต่อย่างใด
Grave of the Fireflies (1988), Only Yesterday (1991), Pom Poko (1994), My Neighbors the Yamadas (1999), The Tale of Princess Kaguya (2013) คือส่วนหนึ่งของหนังในการดูแล กำกับ และเขียนบทโดยทากาฮาตะ ซึ่งตามรสนิยมส่วนตัว ทั้งหมดที่ว่ามานี้คือรายชื่อหนังของสตูดิโอจิบลิที่เรารัก และเสียน้ำตาให้กับมันมากเป็นพิเศษทั้งสิ้น
“ผมไม่อยากทำหนังแบบเดียวกับเขา” อิซาโอะ ทากาฮาตะ เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อครั้งหนึ่ง “ถ้าเปรียบเป็นการต่อสู้แบบซูโม่ ผมอยากจะสู้ในแต่ละยกบนสนามที่แตกต่าง ผมคิดว่าเราสามารถทำอะนิเมชั่นญี่ปุ่นให้ดีกว่านี้ และตอบสนองผู้ชมชาวญี่ปุ่นได้”
ทากาฮาตะ และ มิยาซากิ เป็นทั้งเพื่อนรักและคู่แข่งในการทำงานตลอดมา ทั้งสองเริ่มต้นความสัมพันธ์จากการเป็นเพื่อนร่วมงานที่บริษัท Toei Animation สมัยที่ทากาฮาตะเป็นรุ่นพี่ที่เชี่ยวชาญในงานกำกับและเขียนบท ส่วนมิยาซากิเป็นรุ่นน้องที่รับบทอะนิเมเตอร์ตัวหลัก ความสัมพันธ์ของทั้งสองแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นหลังลาออกจากบริษัทเพื่อมาลุยทำอะนิเมชั่นชื่อ Pippi Longstocking (1971) ด้วยกัน ซึ่งแม้โปรเจกต์นั้นจะล้มพับไปกลางทาง แต่ก็ทำให้ทั้งสองได้กลายเป็นคู่หูในการทำอะนิเมชั่นญี่ปุ่นอีกหลายเรื่องในเวลาต่อมา
หลังจากนั้นไม่นาน มิยาซากิก็ได้โอกาสในการกำกับมังงะของตัวเอง Nausicaä of the Valley of the Wind (1984) และเมื่อมันประสบความสำเร็จ ก็นำพาเขามาสู่การชักชวนทากาฮาตะและเพื่อนอีกสองคน ให้มาร่วมก่อตั้ง ‘สตูดิโอจิบลิ’ ในปี 1985 นับจากจุดนั้น วิธีการทำงานของทั้งสองคนก็ไม่ใช่การร่วมทำหนังเรื่องเดียวกันอีกต่อไป แต่ต่างคนต่างเขียนและกำกับกันคนละเรื่อง ตามวิถีของตัวเอง
ถ้าว่ากันที่ลายเส้นและสไตล์ อิซาโอะ ทากาฮาตะ ได้รับอิทธิพลจากอะนิเมเตอร์ฝรั่งเศสอย่าง Paul Grimault และผู้กำกับหนังยุค French New Wave อย่าง Jean-Luc Godard และ Frederic Back เป็นอย่างมาก ด้วยความที่เขาเรียนจบมาด้านวรรณกรรมฝรั่งเศส ซึ่งอิทธิพลนี้จะเห็นได้ชัดจากเอกลักษณ์ของเขาที่มักเลือกใช้ลายเส้นแบบหยาบๆ หวัดๆ แบบสองมิติ แต่กลับถ่ายทอดออกมาดูละเอียดอ่อนราวกับเป็นสามมิติได้
แต่ถ้าว่ากันด้วยประเด็นและเส้นเรื่อง สำหรับเรา หนังของคุณลุงมิยาซากิเปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ส่องสว่าง พาเราออกไปสู่โลกภายนอกอันกว้างใหญ่ ให้ความหวังและโลดแล่นด้วยจินตนาการ แต่หนังของคุณลุงทากาฮาตะนั้นกลับชวนให้เรามองลึกเข้าไปข้างในตัวเองและโลกความเป็นจริงนั้น เปรียบเสมือนดวงจันทร์ ‘อบอุ่น เศร้าโศก แต่ยังไม่สิ้นไร้ความงดงามของชีวิต’
หลังจากทำให้เราจดจำรสขมของสงคราม (รวมทั้งน้ำตาเราเอง) และรสหวานจากกล่องลูกอมรสผลไม้กล่องนั้นไปได้ตลอดกาลในหนัง Grave of the Fireflies (1988) ทากาฮาตะก็ยังเลือกที่จะเล่าเรื่องความเป็นจริงและปัญหาที่เกิดขึ้นบนโลกในทุกวัน ผ่านเรื่องราวอะนิเมชั่นที่ดูเหมือนจะแฟนตาซีอย่างทานุกิที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อมและถิ่นฐานของตัวเองในหนัง Pom Poko (1994)
หลังจากดราม่าจัดๆ ทากาฮาตะก็หันมาเล่าเรื่องเบาลงที่ว่าด้วยเรื่องข้างในจิตใจเราเอง ในหนังแสนเรียบง่ายอย่าง Only Yesterday (1991) ที่เล่าเรื่องแสนธรรมดาของสาววัยกลางคนซึ่งเดินทางกลับบ้านเกิดช่วงวันหยุดแล้วหวนนึกถึงวันวานของครอบครัวและความรักสมัยที่เธอยังเป็นเด็กนักเรียน ซึ่งชวนให้คนดูอย่างเราเกิดคำถามต่อชีวิตมากมาย
จากตัวเอง แล้วก็มาถึงเรื่องครอบครัว สถาบันที่ใกล้ชิดกับตัวตนมากที่สุด ทากาฮาตะยกเรื่องราวป่วนๆ บ้าๆ ชวนขบขันของครอบครัวอลเวงมาเล่าเป็นเรื่องสั้นๆ ต่อกันคล้ายการ์ตูนช่องในหนังเรื่อง My Neighbors the Yamadas (1999) ดูเผินๆ เหมือนไม่มีอะไรมากกว่าความตลกโปกฮา แต่ยังไม่วายแฝงแนวคิดที่ลึกซึ้งจากกลอนไฮกุญี่ปุ่นเรื่องชีวิตคู่และครอบครัวเอาไว้อย่างอยู่หมัด
ภาพยนตร์อะนิเมชั่นเรื่องสุดท้ายก่อนการเกษียณอายุจากสตูดิโอจิบลิของทากาฮาตะ คือการหยิบยกเรื่องเล่าพื้นบ้านโบราณของญี่ปุ่นอย่างเจ้าหญิงกระบอกไม้ไผ่มาเล่าใหม่ในหนังชื่อ The Tale of Princess Kaguya (2013) ซึ่งไม่เพียงแค่ลายเส้นที่สวยมากจนหลายคนเอาไปเปรียบกับงานศิลปะอิมเพรสชั่นนิสต์ แต่การตีความที่ลึกลงไปถึงความรู้สึกข้างในของชีวิตเจ้าหญิง โดยเฉพาะซีนระเบิดพลังเพียงไม่กี่นาทีนั้นมันช่างงดงาม และตัดตรงเข้าสู่ก้นบึ้งหัวใจของคนดูอย่างเราได้เฉียบขาดจริงๆ
ยังไม่นับบทเพลงประกอบที่ตราตรึง ซึ่งเป็นหนึ่งในความหมกมุ่นของทากาฮาตะ ทำให้ภาพยนตร์ของเขามอบรสชาติที่เราหาจากหนังของใครอื่นไม่ได้
“This earth is a good place, not because there is eternity,” he said. “All must come to an end in death. But in a cycle, repeated over and over, there will always be those who come after us.”
“โลกนี้เป็นสถานที่ที่ดี ไม่ใช่เพราะมันเป็นอมตะ, ทุกสิ่งในโลกต้องไปสู่จุดจบคือความตาย แต่ในวัฏจักรของความตายที่ซ้ำแล้วซ้ำเล่านั้น ย่อมมีใครบางคนที่เกิดขึ้นตามหลังเรามาเสมอ”
แด่ อิซาโอะ ทากาฮาตะ (October 29, 1935 – April 5, 2018)
ด้วยความระลึกถึงและขอบคุณ
เขียนโดย สลิลา
https://www.facebook.com/MyOwnPrivateFilm/
ที่มาข้อมูล:
http://studio-ghibli.wikia.com/wiki/Isao_Takahata
https://www.japantimes.co.jp/culture/2018/04/06/films/isao-takahatas-gentle-spirit-enriched-world-japanese-animation/#.WsouwFoxWhB
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Isao_Takahata
Not Only Yesterday, เรื่องราวที่จะไม่เป็นแค่วันวาน ของ อิซาโอะ ทากาฮาตะ หนึ่งในผู้ก่อตั้งสตูดิโอจิบลิผู้ล่วงลับ
ทุกครั้งที่ดูภาพยนตร์อะนิเมชันของสตูดิโอจิบลิ (Studio Ghibli) เมื่อตัวอักษรเครดิตค่อยๆ เลื่อนขึ้นพร้อมการบรรเลงของดนตรี เราจะรู้สึกเหมือนถูกปลอบประโลมใจด้วยความหวังและแสงสว่าง ความรู้สึกแบบนี้ทำให้เราคิดเสมอว่าโชคดีเหลือเกินที่เกิดและเติบโตทันดูหนังของ ‘พวกเขา’
‘พวกเขา’ ที่เราหมายถึง คือชายชาวญี่ปุ่นสองคนผู้ให้กำเนิดและอยู่เบื้องหลังสตูดิโอจิบลิ แต่ความจริงที่น่าเศร้าไปสักหน่อยก็คือ ขณะที่โลกรู้จักชื่อของ ฮายาโอะ มิยาซากิ (Hayao Miyazaki) ทว่าใครหลายคนกลับเพิ่งรู้จักชื่อของชายอีกคนที่ชื่อ ‘อิซาโอะ ทากาฮาตะ’ (Isao Takahata) เมื่อวันที่เขาสิ้นใจลงจนกลายเป็นข่าวดังเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
ชายที่ดูเหมือนว่าจะอยู่ในเงาของมิยาซากิผู้นี้ แท้จริงแล้ว ผลงานของเขาไม่เคยหลบอยู่ในเงาของใครแต่อย่างใด
Grave of the Fireflies (1988), Only Yesterday (1991), Pom Poko (1994), My Neighbors the Yamadas (1999), The Tale of Princess Kaguya (2013) คือส่วนหนึ่งของหนังในการดูแล กำกับ และเขียนบทโดยทากาฮาตะ ซึ่งตามรสนิยมส่วนตัว ทั้งหมดที่ว่ามานี้คือรายชื่อหนังของสตูดิโอจิบลิที่เรารัก และเสียน้ำตาให้กับมันมากเป็นพิเศษทั้งสิ้น
“ผมไม่อยากทำหนังแบบเดียวกับเขา” อิซาโอะ ทากาฮาตะ เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อครั้งหนึ่ง “ถ้าเปรียบเป็นการต่อสู้แบบซูโม่ ผมอยากจะสู้ในแต่ละยกบนสนามที่แตกต่าง ผมคิดว่าเราสามารถทำอะนิเมชั่นญี่ปุ่นให้ดีกว่านี้ และตอบสนองผู้ชมชาวญี่ปุ่นได้”
ทากาฮาตะ และ มิยาซากิ เป็นทั้งเพื่อนรักและคู่แข่งในการทำงานตลอดมา ทั้งสองเริ่มต้นความสัมพันธ์จากการเป็นเพื่อนร่วมงานที่บริษัท Toei Animation สมัยที่ทากาฮาตะเป็นรุ่นพี่ที่เชี่ยวชาญในงานกำกับและเขียนบท ส่วนมิยาซากิเป็นรุ่นน้องที่รับบทอะนิเมเตอร์ตัวหลัก ความสัมพันธ์ของทั้งสองแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นหลังลาออกจากบริษัทเพื่อมาลุยทำอะนิเมชั่นชื่อ Pippi Longstocking (1971) ด้วยกัน ซึ่งแม้โปรเจกต์นั้นจะล้มพับไปกลางทาง แต่ก็ทำให้ทั้งสองได้กลายเป็นคู่หูในการทำอะนิเมชั่นญี่ปุ่นอีกหลายเรื่องในเวลาต่อมา
หลังจากนั้นไม่นาน มิยาซากิก็ได้โอกาสในการกำกับมังงะของตัวเอง Nausicaä of the Valley of the Wind (1984) และเมื่อมันประสบความสำเร็จ ก็นำพาเขามาสู่การชักชวนทากาฮาตะและเพื่อนอีกสองคน ให้มาร่วมก่อตั้ง ‘สตูดิโอจิบลิ’ ในปี 1985 นับจากจุดนั้น วิธีการทำงานของทั้งสองคนก็ไม่ใช่การร่วมทำหนังเรื่องเดียวกันอีกต่อไป แต่ต่างคนต่างเขียนและกำกับกันคนละเรื่อง ตามวิถีของตัวเอง
ถ้าว่ากันที่ลายเส้นและสไตล์ อิซาโอะ ทากาฮาตะ ได้รับอิทธิพลจากอะนิเมเตอร์ฝรั่งเศสอย่าง Paul Grimault และผู้กำกับหนังยุค French New Wave อย่าง Jean-Luc Godard และ Frederic Back เป็นอย่างมาก ด้วยความที่เขาเรียนจบมาด้านวรรณกรรมฝรั่งเศส ซึ่งอิทธิพลนี้จะเห็นได้ชัดจากเอกลักษณ์ของเขาที่มักเลือกใช้ลายเส้นแบบหยาบๆ หวัดๆ แบบสองมิติ แต่กลับถ่ายทอดออกมาดูละเอียดอ่อนราวกับเป็นสามมิติได้
แต่ถ้าว่ากันด้วยประเด็นและเส้นเรื่อง สำหรับเรา หนังของคุณลุงมิยาซากิเปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ส่องสว่าง พาเราออกไปสู่โลกภายนอกอันกว้างใหญ่ ให้ความหวังและโลดแล่นด้วยจินตนาการ แต่หนังของคุณลุงทากาฮาตะนั้นกลับชวนให้เรามองลึกเข้าไปข้างในตัวเองและโลกความเป็นจริงนั้น เปรียบเสมือนดวงจันทร์ ‘อบอุ่น เศร้าโศก แต่ยังไม่สิ้นไร้ความงดงามของชีวิต’
หลังจากทำให้เราจดจำรสขมของสงคราม (รวมทั้งน้ำตาเราเอง) และรสหวานจากกล่องลูกอมรสผลไม้กล่องนั้นไปได้ตลอดกาลในหนัง Grave of the Fireflies (1988) ทากาฮาตะก็ยังเลือกที่จะเล่าเรื่องความเป็นจริงและปัญหาที่เกิดขึ้นบนโลกในทุกวัน ผ่านเรื่องราวอะนิเมชั่นที่ดูเหมือนจะแฟนตาซีอย่างทานุกิที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อมและถิ่นฐานของตัวเองในหนัง Pom Poko (1994)
หลังจากดราม่าจัดๆ ทากาฮาตะก็หันมาเล่าเรื่องเบาลงที่ว่าด้วยเรื่องข้างในจิตใจเราเอง ในหนังแสนเรียบง่ายอย่าง Only Yesterday (1991) ที่เล่าเรื่องแสนธรรมดาของสาววัยกลางคนซึ่งเดินทางกลับบ้านเกิดช่วงวันหยุดแล้วหวนนึกถึงวันวานของครอบครัวและความรักสมัยที่เธอยังเป็นเด็กนักเรียน ซึ่งชวนให้คนดูอย่างเราเกิดคำถามต่อชีวิตมากมาย
จากตัวเอง แล้วก็มาถึงเรื่องครอบครัว สถาบันที่ใกล้ชิดกับตัวตนมากที่สุด ทากาฮาตะยกเรื่องราวป่วนๆ บ้าๆ ชวนขบขันของครอบครัวอลเวงมาเล่าเป็นเรื่องสั้นๆ ต่อกันคล้ายการ์ตูนช่องในหนังเรื่อง My Neighbors the Yamadas (1999) ดูเผินๆ เหมือนไม่มีอะไรมากกว่าความตลกโปกฮา แต่ยังไม่วายแฝงแนวคิดที่ลึกซึ้งจากกลอนไฮกุญี่ปุ่นเรื่องชีวิตคู่และครอบครัวเอาไว้อย่างอยู่หมัด
ภาพยนตร์อะนิเมชั่นเรื่องสุดท้ายก่อนการเกษียณอายุจากสตูดิโอจิบลิของทากาฮาตะ คือการหยิบยกเรื่องเล่าพื้นบ้านโบราณของญี่ปุ่นอย่างเจ้าหญิงกระบอกไม้ไผ่มาเล่าใหม่ในหนังชื่อ The Tale of Princess Kaguya (2013) ซึ่งไม่เพียงแค่ลายเส้นที่สวยมากจนหลายคนเอาไปเปรียบกับงานศิลปะอิมเพรสชั่นนิสต์ แต่การตีความที่ลึกลงไปถึงความรู้สึกข้างในของชีวิตเจ้าหญิง โดยเฉพาะซีนระเบิดพลังเพียงไม่กี่นาทีนั้นมันช่างงดงาม และตัดตรงเข้าสู่ก้นบึ้งหัวใจของคนดูอย่างเราได้เฉียบขาดจริงๆ
ยังไม่นับบทเพลงประกอบที่ตราตรึง ซึ่งเป็นหนึ่งในความหมกมุ่นของทากาฮาตะ ทำให้ภาพยนตร์ของเขามอบรสชาติที่เราหาจากหนังของใครอื่นไม่ได้
“This earth is a good place, not because there is eternity,” he said. “All must come to an end in death. But in a cycle, repeated over and over, there will always be those who come after us.”
“โลกนี้เป็นสถานที่ที่ดี ไม่ใช่เพราะมันเป็นอมตะ, ทุกสิ่งในโลกต้องไปสู่จุดจบคือความตาย แต่ในวัฏจักรของความตายที่ซ้ำแล้วซ้ำเล่านั้น ย่อมมีใครบางคนที่เกิดขึ้นตามหลังเรามาเสมอ”
แด่ อิซาโอะ ทากาฮาตะ (October 29, 1935 – April 5, 2018)
ด้วยความระลึกถึงและขอบคุณ
เขียนโดย สลิลา
https://www.facebook.com/MyOwnPrivateFilm/
ที่มาข้อมูล:
http://studio-ghibli.wikia.com/wiki/Isao_Takahata
https://www.japantimes.co.jp/culture/2018/04/06/films/isao-takahatas-gentle-spirit-enriched-world-japanese-animation/#.WsouwFoxWhB
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Isao_Takahata