อ่านอีกครั้งกับนักเขียนดังในวันนี้ ขอเชิญทุกท่านมาทำความรู้จักกับบุคคลผู้ที่มีบทบาทเป็นทั้งนักคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักการเมือง และเป็นนักปราชญ์คนสำคัญของเมืองไทย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีผู้ที่มีผลงานประพันธ์อันโดดเด่นมากมาย โดยเฉพาะนวนิยายเรื่องที่คนไทยรู้จักกันดีเรื่อง “สี่แผ่นดิน” วันนี้เราลองมาฟังอีกหนึ่งมุมมองที่จะทำให้เรารู้จักกับนักเขียนคนสำคัญท่านนี้มากขึ้น
โดยการเสวนาในครั้งนี้มีชื่อว่า “7 วัน อ่านอีกครั้งกับ 7 นักเขียนดัง” โดยในหัวข้อนี้จะพูดถึง หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กับผลงานอันหลากหลายของท่าน ในมุมมองของนักวิจารณ์วรรณกรรมชื่อดัง อาจารย์จรูญพร ปรปักษ์ประลัย (ซึ่งผมขอเรียกว่าอาจารย์อ้น) และนักเขียนบทละครเวทีผู้สร้างให้สี่แผ่นดินมีชีวิตขึ้นมาโลดแล่นจริงๆ คุณพิมพ์มาดา พัฒนอลงกกรณ์ (ซึ่งผมขอเรียกว่าคุณเกด) การเสวนานี้ขึ้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2561 บนเวทีเอเทรียม ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 46 โดยรายละเอียดที่น่าสนใจมีดังนี้
(รายละเอียดจากเวทีเสวนาในครั้งนี้ ผมจดเป็นบันทึกช่วยจำย่อ (จดเลคเชอร์) แล้วจึงนำมาเรียบเรียงใหม่ โดยมีการคัดสรรตัดย่อเพื่อเขียนสรุปเป็นประเด็น ดังนั้นถ้ามีรายละเอียดประการใดที่ผิดพลาด หรือคาดเคลื่อนผิดไปจากที่ท่านวิทยากรพูด ผมก็ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)
อาจารย์อ้น - เล่าให้ฟังว่า ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโก ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก เมื่อปี พ.ศ. 2554 โดยเป็นคนไทยลำดับที่ 20 ที่ได้รับเกียรตินี้ โดยม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชเป็นทั้งนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ คนสำคัญของประเทศไทย
คุณเกด - ได้อ่านผลงานของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นครั้งแรกคือเรื่อง “มอม” เพราะว่ามอมเป็นหนังสืออ่านนอกเวลา หลังจากนั้นพอโตขึ้นก็ได้มาอ่าน “หลายชีวิต” แล้วก็มาอ่านเรื่อง “สี่แผ่นดิน” เลย
อาจารย์อ้น - สำหรับนวนิยายเรื่องสี่แผ่นดินนี้เป็นเรื่องที่มหัศจรรย์มาก เพราะว่า ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนทุกวันเป็นตอนๆ ลงในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ซึ่งในขณะที่เขียนเรื่องสี่แผ่นดินนั้นท่านก็ต้องเขียนบทความอื่นๆ อีกหลายบทความพร้อมๆ กันด้วย
คุณเกด - สำหรับรายละเอียดของเรื่องสี่แผ่นดินมีเยอะมาก ตอนที่จะเขียนบทละครเวทีเรื่องนี้ก็ต้องไปตามศึกษารายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติมอีกมากมาย เพราะม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ตั้งใจเขียนเรื่องนี้เพื่อบันทึกเรื่องราวของคนในวัง รวมทั้งบันทึกประวัติศาสตร์ต่างๆ ของไทยเอาไว้ด้วย
-ในยุคสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นยุคที่นำมาเขียนบทละครได้ยากที่สุด เพราะมันมีรายละเอียดเยอะมาก แต่พอผ่านยุคสมัยรัชกาลที่ 5 ไปแล้วก็เริ่มเขียนบทได้ง่ายขึ้น เพราะว่ามันเริ่มใกล้ตัวเราเข้ามาแล้ว
-ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ตั้งใจเขียนเรื่องสี่แผ่นดิน เพื่อบันทึกชีวิตของคนที่อยู่ในรั้วในวังเอาไว้สำหรับถ่ายทอดให้คนทั่วไปได้รับทราบ
อาจารย์อ้น – ในรวมเรื่องสั้นชุด “หลายชีวิต” มีเรื่องสั้นหลายเรื่องที่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชนำเอามาจากชีวิตจริงของท่าน เช่นเรื่องลิเก ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชเคยได้เล่นลิเกด้วย
-งานส่วนใหญ่ของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นบทความที่เขียนลงหนังสือพิมพ์สยามรัฐ
-สำหรับเรื่องสี่แผ่นดินนั้น เป็นเหมือนการมองพระเจ้าแผ่นดินผ่านความรู้สึกของประชาชนที่มีให้แก่พระเจ้าแผ่นดิน ด้วยความรักและความเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
คุณเกด - ด้วยความที่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านจึงมีความรู้เยอะ ท่านอ่านมาเยอะ ท่านเห็นมาเยอะ ท่านจึงอยากเอาทุกๆ อย่างใส่เข้าไว้ในนวนิยายเรื่องสี่แผ่นดิน
-จึงทำให้นวนิยายเรื่องสี่แผ่นดินมีความร่วมสมัยมาก เพราะตัวละครในเรื่องหลายตัวมีความคิดที่แตกต่างกันมาก เช่น ตัวละครตาอ้นกับตาอั้น ที่มีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างกันมาก เหมือนกับชีวิตของคนจริงๆ ในสังคมเราเลย
อาจารย์อ้น - เมื่อเคยได้อ่านนวนิยายเรื่องสี่แผ่นดินแล้วพอมาเจอกับเหตุการณ์จริง (การสวรรคตของรัชกาลที่ 9) มันก็รู้สึกสะเทือนใจไปด้วย ทำให้เข้าใจความรู้สึกของตัวละครพลอยได้เลย
คุณเกด - ในกรณีนี้ก็รู้สึกเหมือนกัน ในวันที่เห็นขบวนพระบรมศพเคลื่อนออกจากโรงพยาบาลศิริราช พอเห็นแล้วคำพูดของพลอยปรากฎขึ้นได้ยินชัดเจนในหัวเลย เราไม่เคยคิดมาก่อนเลยจะเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้นมาจริงๆ
-สำหรับเรื่องสี่แผ่นดินนี้ คุณเกดคิดว่าม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์เยอะมากและท่านมีข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตของคนในวังด้วย ท่านจึงเขียนเรื่องจากสิ่งที่ท่านรู้มา ทำให้พอเราอ่านเรื่องสี่แผ่นดินแล้ว เราจะได้รับทราบเกี่ยวกับข้อมูลทางประวัติศาสตร์พร้อมกันไปด้วย รวมทั้งได้รู้วิธีคิดของตัวละครที่มีความคิดอันลึกซึ้งด้วย
-ตอนที่เอาเรื่องสี่แผ่นดินมาทำเป็นละครเวทีในครั้งแรกนั้น จัดแสดงเมื่อปี 2554 โดยในปีนั้นประเทศไทยเพิ่งจะผ่านวิกฤตเหตุการณ์ปี 2553 มาไม่นานนัก คนไทยแบ่งฝักแบ่งฝ่ายแล้วทะเลาะกันเอง มันเหมือนกับว่าประวัติศาสตร์มันกำลังจะซ้ำรอย เหมือนกับที่ตาอ้นกับตาอั้นทะเลาะกัน มันสะท้อนภาพให้เห็นได้อย่างชัดเจน
-คนทั่วไปที่อ่านงานเขียนของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านในช่วงชีวิตแต่ละครั้งก็จะเก็บอะไรได้คนละอย่างกัน คือเรื่องมันมีหลากหลายมุมองมาก มันขึ้นอยู่กับว่าเราจะมองในมุมไหน และขึ้นอยู่กับประสบการณ์ชีวิตของผู้อ่านแต่ละท่านด้วย
อาจารย์อ้น - ความโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชคือความเป็นครู โดยเป็นครูจากข้อเขียนที่เราสามารถเรียนรู้จากงานของท่านได้ โดยเฉพาะจากบทความในหน้า 5 ของหนังสือพิมพ์สยามรัฐ รวมทั้งชื่อคอลัมน์สุดท้ายที่ใช้ว่า “ซอยสวนพลู” เป็นบทความที่แสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ นานาของท่าน จึงทำให้ผลงานของท่านมีความร่วมสมัยมาก
-ท่านเป็นครูจากการทำงาน ทำงานให้คนหนังสือพิมพ์ทั้งหลายได้เรียนรู้เอาจากท่าน ทำให้นักหนังสือพิมพ์คนอื่นได้เห็น โดยนักหนังสือพิมพ์ที่เป็นลูกศิษย์เอกคนหนึ่งของท่านคือ รงค์ วงษ์สวรรค์
-ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านสอนด้วยการปฏิบัติเป็นหลัก อย่างเช่น โขนธรรมศาสตร์ ท่านอยากให้การแสดงโขนกลับมา ท่านจึงเอาโขนมาให้นักศึกษาธรรมศาสตร์เล่น ตัวท่านเองก็เคยเล่นโขนด้วย ทำให้กลายเป็นกระแสที่นิยมในช่วงนั้น ซึ่งพอคนทั่วไปได้ปฏิบัติแล้วก็จะเรียนรู้ได้อย่างเข้าใจด้วยตัวเอง
-ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนักวัฒนธรรมที่เป็นจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งคือ การตอบจดหมายของท่านมีเสน่ห์มาก ถ้าใครเขียนถามท่านเป็นกลอน ท่านก็จะตอบกลับเป็นกลอนเช่นกัน คอลัมน์ตอบจดหมายของท่านในหนังสือสยามรัฐจึงเป็นที่นิยมในหมู่คนอ่านมาก จนมีการรวบรวมบทกลอนของท่านมาจัดพิมพ์ในหนังสือชื่อ “กลอนคึกฤทธิ์”
-วัฒนธรรมของไทยไม่ใช่อยู่ที่การแต่งชุดไทยเท่านั้น แต่ยังแสดงถึงวัฒนธรรมทางด้านอาหาร ด้านการกินด้วย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชท่านเน้นเรื่องอาหารไทยเป็นอย่างมาก จนมีหนังสือเล่มหนึ่งของท่านชื่อว่า “น้ำพริก” ที่เป็นอาหารจานโปรดบนสำรับอาหารของท่านทุกมื้อ จนมีเมนูน้ำพริกตำรับม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ขึ้นมาด้วย
-จุดเด่นอีกประการของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช คือท่านเป็นนักสื่อสารที่ดี ท่านสามารถนำเอาเรื่องอะไรก็ตามที่ยากๆ มาอธิบายให้มันง่ายขึ้นได้ เช่นเรื่องประวัติศาสตร์ , ศาสนา , การเมือง ฯลฯ ที่ปรากฎอยู่ในบทความของท่าน
-ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นต้นตำรับของการเขียนบทความที่เป็นข้อความแบบสั้นๆ แล้วตัดเร็วๆ อย่างเช่นเรื่อง “ฉากญี่ปุ่น” ท่านเดินทางไปที่ประเทศญี่ปุ่น จึงได้เขียนเรื่องนี้เป็นสารคดีท่องเที่ยว ท่านเขียนด้วยข้อความสั้นๆ แล้วตัดฉากเร็วๆ ทำให้คนอ่านมีความรู้สึกเหมือนได้เดินทางท่องเที่ยวไปกับท่านด้วย เนื้อเรื่องมันสนุก อ่านก็สนุก เรื่องนี้อ่านแล้วเห็นภาพญี่ปุ่นชัดเจนมากขึ้นด้วย
คุณเกด - ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชเป็นคนที่ทันสมัยใหม่มาก และท่านเป็นคนที่เปิดกว้างด้วย คือท่านมีความรู้เยอะ รู้เรื่องราวต่างๆ มากมาย ถือได้ว่าท่านเป็นปราชญ์คนหนึ่งที่ยอมรับสิ่งใหม่ๆ ซึ่งการเปิดกว้างเช่นนี้เป็นคนที่ทันสมัยใหม่มาก เป็นสิ่งที่ท่านทำให้คนรุ่นหลังได้เห็นตลอด
-ท่านเปิดกว้างก็จริง แต่ท่านไม่ใช่คนที่จะตัดสินว่าอะไรถูกหรืออะไรผิดในทันที แต่เป็นการเปิดโอกาสให้แก่ทุกฝ่ายมากกว่า
-อย่างเช่นในรวมเรื่องสั้นชุด “หลายชีวิต” ตอนจบของเรื่องสั้นหลายเรื่องจบแบบไม่เหมือนกันเลย ในแต่ละเรื่องมีการพลิกตอนจบให้ไม่เหมือนกัน ซึ่งนักเขียนในยุคปัจจุบันนี้ยังเขียนในลักษณะแบบนี้ไม่ได้เลย
-ทุกเรื่องของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช พูดถึงความเป็นมนุษย์ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งมีทั้งเรื่องรัก โลภ โกรธ หลง ฯลฯ มีเรื่องของกิเลสที่เป็นความธรรมดาของมนุษย์แทรกอยู่ในทุกเรื่อง
อ่านอีกครั้ง ... หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
อ่านอีกครั้งกับนักเขียนดังในวันนี้ ขอเชิญทุกท่านมาทำความรู้จักกับบุคคลผู้ที่มีบทบาทเป็นทั้งนักคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักการเมือง และเป็นนักปราชญ์คนสำคัญของเมืองไทย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีผู้ที่มีผลงานประพันธ์อันโดดเด่นมากมาย โดยเฉพาะนวนิยายเรื่องที่คนไทยรู้จักกันดีเรื่อง “สี่แผ่นดิน” วันนี้เราลองมาฟังอีกหนึ่งมุมมองที่จะทำให้เรารู้จักกับนักเขียนคนสำคัญท่านนี้มากขึ้น
โดยการเสวนาในครั้งนี้มีชื่อว่า “7 วัน อ่านอีกครั้งกับ 7 นักเขียนดัง” โดยในหัวข้อนี้จะพูดถึง หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กับผลงานอันหลากหลายของท่าน ในมุมมองของนักวิจารณ์วรรณกรรมชื่อดัง อาจารย์จรูญพร ปรปักษ์ประลัย (ซึ่งผมขอเรียกว่าอาจารย์อ้น) และนักเขียนบทละครเวทีผู้สร้างให้สี่แผ่นดินมีชีวิตขึ้นมาโลดแล่นจริงๆ คุณพิมพ์มาดา พัฒนอลงกกรณ์ (ซึ่งผมขอเรียกว่าคุณเกด) การเสวนานี้ขึ้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2561 บนเวทีเอเทรียม ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 46 โดยรายละเอียดที่น่าสนใจมีดังนี้
(รายละเอียดจากเวทีเสวนาในครั้งนี้ ผมจดเป็นบันทึกช่วยจำย่อ (จดเลคเชอร์) แล้วจึงนำมาเรียบเรียงใหม่ โดยมีการคัดสรรตัดย่อเพื่อเขียนสรุปเป็นประเด็น ดังนั้นถ้ามีรายละเอียดประการใดที่ผิดพลาด หรือคาดเคลื่อนผิดไปจากที่ท่านวิทยากรพูด ผมก็ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)
อาจารย์อ้น - เล่าให้ฟังว่า ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโก ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก เมื่อปี พ.ศ. 2554 โดยเป็นคนไทยลำดับที่ 20 ที่ได้รับเกียรตินี้ โดยม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชเป็นทั้งนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ คนสำคัญของประเทศไทย
คุณเกด - ได้อ่านผลงานของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นครั้งแรกคือเรื่อง “มอม” เพราะว่ามอมเป็นหนังสืออ่านนอกเวลา หลังจากนั้นพอโตขึ้นก็ได้มาอ่าน “หลายชีวิต” แล้วก็มาอ่านเรื่อง “สี่แผ่นดิน” เลย
อาจารย์อ้น - สำหรับนวนิยายเรื่องสี่แผ่นดินนี้เป็นเรื่องที่มหัศจรรย์มาก เพราะว่า ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนทุกวันเป็นตอนๆ ลงในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ซึ่งในขณะที่เขียนเรื่องสี่แผ่นดินนั้นท่านก็ต้องเขียนบทความอื่นๆ อีกหลายบทความพร้อมๆ กันด้วย
คุณเกด - สำหรับรายละเอียดของเรื่องสี่แผ่นดินมีเยอะมาก ตอนที่จะเขียนบทละครเวทีเรื่องนี้ก็ต้องไปตามศึกษารายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติมอีกมากมาย เพราะม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ตั้งใจเขียนเรื่องนี้เพื่อบันทึกเรื่องราวของคนในวัง รวมทั้งบันทึกประวัติศาสตร์ต่างๆ ของไทยเอาไว้ด้วย
-ในยุคสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นยุคที่นำมาเขียนบทละครได้ยากที่สุด เพราะมันมีรายละเอียดเยอะมาก แต่พอผ่านยุคสมัยรัชกาลที่ 5 ไปแล้วก็เริ่มเขียนบทได้ง่ายขึ้น เพราะว่ามันเริ่มใกล้ตัวเราเข้ามาแล้ว
-ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ตั้งใจเขียนเรื่องสี่แผ่นดิน เพื่อบันทึกชีวิตของคนที่อยู่ในรั้วในวังเอาไว้สำหรับถ่ายทอดให้คนทั่วไปได้รับทราบ
อาจารย์อ้น – ในรวมเรื่องสั้นชุด “หลายชีวิต” มีเรื่องสั้นหลายเรื่องที่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชนำเอามาจากชีวิตจริงของท่าน เช่นเรื่องลิเก ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชเคยได้เล่นลิเกด้วย
-งานส่วนใหญ่ของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นบทความที่เขียนลงหนังสือพิมพ์สยามรัฐ
-สำหรับเรื่องสี่แผ่นดินนั้น เป็นเหมือนการมองพระเจ้าแผ่นดินผ่านความรู้สึกของประชาชนที่มีให้แก่พระเจ้าแผ่นดิน ด้วยความรักและความเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
คุณเกด - ด้วยความที่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านจึงมีความรู้เยอะ ท่านอ่านมาเยอะ ท่านเห็นมาเยอะ ท่านจึงอยากเอาทุกๆ อย่างใส่เข้าไว้ในนวนิยายเรื่องสี่แผ่นดิน
-จึงทำให้นวนิยายเรื่องสี่แผ่นดินมีความร่วมสมัยมาก เพราะตัวละครในเรื่องหลายตัวมีความคิดที่แตกต่างกันมาก เช่น ตัวละครตาอ้นกับตาอั้น ที่มีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างกันมาก เหมือนกับชีวิตของคนจริงๆ ในสังคมเราเลย
อาจารย์อ้น - เมื่อเคยได้อ่านนวนิยายเรื่องสี่แผ่นดินแล้วพอมาเจอกับเหตุการณ์จริง (การสวรรคตของรัชกาลที่ 9) มันก็รู้สึกสะเทือนใจไปด้วย ทำให้เข้าใจความรู้สึกของตัวละครพลอยได้เลย
คุณเกด - ในกรณีนี้ก็รู้สึกเหมือนกัน ในวันที่เห็นขบวนพระบรมศพเคลื่อนออกจากโรงพยาบาลศิริราช พอเห็นแล้วคำพูดของพลอยปรากฎขึ้นได้ยินชัดเจนในหัวเลย เราไม่เคยคิดมาก่อนเลยจะเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้นมาจริงๆ
-สำหรับเรื่องสี่แผ่นดินนี้ คุณเกดคิดว่าม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์เยอะมากและท่านมีข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตของคนในวังด้วย ท่านจึงเขียนเรื่องจากสิ่งที่ท่านรู้มา ทำให้พอเราอ่านเรื่องสี่แผ่นดินแล้ว เราจะได้รับทราบเกี่ยวกับข้อมูลทางประวัติศาสตร์พร้อมกันไปด้วย รวมทั้งได้รู้วิธีคิดของตัวละครที่มีความคิดอันลึกซึ้งด้วย
-ตอนที่เอาเรื่องสี่แผ่นดินมาทำเป็นละครเวทีในครั้งแรกนั้น จัดแสดงเมื่อปี 2554 โดยในปีนั้นประเทศไทยเพิ่งจะผ่านวิกฤตเหตุการณ์ปี 2553 มาไม่นานนัก คนไทยแบ่งฝักแบ่งฝ่ายแล้วทะเลาะกันเอง มันเหมือนกับว่าประวัติศาสตร์มันกำลังจะซ้ำรอย เหมือนกับที่ตาอ้นกับตาอั้นทะเลาะกัน มันสะท้อนภาพให้เห็นได้อย่างชัดเจน
-คนทั่วไปที่อ่านงานเขียนของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านในช่วงชีวิตแต่ละครั้งก็จะเก็บอะไรได้คนละอย่างกัน คือเรื่องมันมีหลากหลายมุมองมาก มันขึ้นอยู่กับว่าเราจะมองในมุมไหน และขึ้นอยู่กับประสบการณ์ชีวิตของผู้อ่านแต่ละท่านด้วย
อาจารย์อ้น - ความโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชคือความเป็นครู โดยเป็นครูจากข้อเขียนที่เราสามารถเรียนรู้จากงานของท่านได้ โดยเฉพาะจากบทความในหน้า 5 ของหนังสือพิมพ์สยามรัฐ รวมทั้งชื่อคอลัมน์สุดท้ายที่ใช้ว่า “ซอยสวนพลู” เป็นบทความที่แสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ นานาของท่าน จึงทำให้ผลงานของท่านมีความร่วมสมัยมาก
-ท่านเป็นครูจากการทำงาน ทำงานให้คนหนังสือพิมพ์ทั้งหลายได้เรียนรู้เอาจากท่าน ทำให้นักหนังสือพิมพ์คนอื่นได้เห็น โดยนักหนังสือพิมพ์ที่เป็นลูกศิษย์เอกคนหนึ่งของท่านคือ รงค์ วงษ์สวรรค์
-ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านสอนด้วยการปฏิบัติเป็นหลัก อย่างเช่น โขนธรรมศาสตร์ ท่านอยากให้การแสดงโขนกลับมา ท่านจึงเอาโขนมาให้นักศึกษาธรรมศาสตร์เล่น ตัวท่านเองก็เคยเล่นโขนด้วย ทำให้กลายเป็นกระแสที่นิยมในช่วงนั้น ซึ่งพอคนทั่วไปได้ปฏิบัติแล้วก็จะเรียนรู้ได้อย่างเข้าใจด้วยตัวเอง
-ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนักวัฒนธรรมที่เป็นจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งคือ การตอบจดหมายของท่านมีเสน่ห์มาก ถ้าใครเขียนถามท่านเป็นกลอน ท่านก็จะตอบกลับเป็นกลอนเช่นกัน คอลัมน์ตอบจดหมายของท่านในหนังสือสยามรัฐจึงเป็นที่นิยมในหมู่คนอ่านมาก จนมีการรวบรวมบทกลอนของท่านมาจัดพิมพ์ในหนังสือชื่อ “กลอนคึกฤทธิ์”
-วัฒนธรรมของไทยไม่ใช่อยู่ที่การแต่งชุดไทยเท่านั้น แต่ยังแสดงถึงวัฒนธรรมทางด้านอาหาร ด้านการกินด้วย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชท่านเน้นเรื่องอาหารไทยเป็นอย่างมาก จนมีหนังสือเล่มหนึ่งของท่านชื่อว่า “น้ำพริก” ที่เป็นอาหารจานโปรดบนสำรับอาหารของท่านทุกมื้อ จนมีเมนูน้ำพริกตำรับม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ขึ้นมาด้วย
-จุดเด่นอีกประการของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช คือท่านเป็นนักสื่อสารที่ดี ท่านสามารถนำเอาเรื่องอะไรก็ตามที่ยากๆ มาอธิบายให้มันง่ายขึ้นได้ เช่นเรื่องประวัติศาสตร์ , ศาสนา , การเมือง ฯลฯ ที่ปรากฎอยู่ในบทความของท่าน
-ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นต้นตำรับของการเขียนบทความที่เป็นข้อความแบบสั้นๆ แล้วตัดเร็วๆ อย่างเช่นเรื่อง “ฉากญี่ปุ่น” ท่านเดินทางไปที่ประเทศญี่ปุ่น จึงได้เขียนเรื่องนี้เป็นสารคดีท่องเที่ยว ท่านเขียนด้วยข้อความสั้นๆ แล้วตัดฉากเร็วๆ ทำให้คนอ่านมีความรู้สึกเหมือนได้เดินทางท่องเที่ยวไปกับท่านด้วย เนื้อเรื่องมันสนุก อ่านก็สนุก เรื่องนี้อ่านแล้วเห็นภาพญี่ปุ่นชัดเจนมากขึ้นด้วย
คุณเกด - ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชเป็นคนที่ทันสมัยใหม่มาก และท่านเป็นคนที่เปิดกว้างด้วย คือท่านมีความรู้เยอะ รู้เรื่องราวต่างๆ มากมาย ถือได้ว่าท่านเป็นปราชญ์คนหนึ่งที่ยอมรับสิ่งใหม่ๆ ซึ่งการเปิดกว้างเช่นนี้เป็นคนที่ทันสมัยใหม่มาก เป็นสิ่งที่ท่านทำให้คนรุ่นหลังได้เห็นตลอด
-ท่านเปิดกว้างก็จริง แต่ท่านไม่ใช่คนที่จะตัดสินว่าอะไรถูกหรืออะไรผิดในทันที แต่เป็นการเปิดโอกาสให้แก่ทุกฝ่ายมากกว่า
-อย่างเช่นในรวมเรื่องสั้นชุด “หลายชีวิต” ตอนจบของเรื่องสั้นหลายเรื่องจบแบบไม่เหมือนกันเลย ในแต่ละเรื่องมีการพลิกตอนจบให้ไม่เหมือนกัน ซึ่งนักเขียนในยุคปัจจุบันนี้ยังเขียนในลักษณะแบบนี้ไม่ได้เลย
-ทุกเรื่องของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช พูดถึงความเป็นมนุษย์ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งมีทั้งเรื่องรัก โลภ โกรธ หลง ฯลฯ มีเรื่องของกิเลสที่เป็นความธรรมดาของมนุษย์แทรกอยู่ในทุกเรื่อง