ตลาดมิ่งเมือง
ผู้คนที่อยู่อาศัยในย่านนี้เล่าว่าตลาดมิ่งเมืองนั้นสร้างขึ้นมาพร้อมๆ กับศาลาเฉลิมกรุง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานครครบ ๑๕๐ ปี ในปี พ.ศ.๒๔๗๕ เรื่องนี้ก็ดูใกล้เคียงกับหลักฐานเอกสาร ที่มีระบุไว้ว่า ในปี พ.ศ.๒๔๖๘ - ๒๔๖๙ นายมาริโอ ตามานโญ (Mario Tamagno) สถาปนิกอิตาเลียนที่เข้ามารับราชการในเมืองไทยระหว่างรัชกาลที่ ๕ ถึงต้นรัชกาลที่ ๗ ได้ออกแบบก่อสร้างตลาดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เป็นตลาดที่มีหลังคาคลุม สร้างด้วยคอนกรีต สำหรับเป็นที่ขายเสื้อผ้า จำลองจากตลาดแบบตะวันออกกลาง ดังนั้น แม้จะไม่ได้ระบุนาม แต่
ก็น่าจะหมายถึงตลาดมิ่งเมืองนั่นเอง
ตลาดมิ่งเมืองมีชื่อเสียงในฐานะแหล่งชุมนุมช่างตัดเย็บเสื้อผ้า เพื่อรองรับลูกค้าที่มาซื้อผ้าที่ตลาดสำเพ็ง- พาหุรัด แล้วไม่มีเวลาไปหาร้านตัดเย็บ
เป็นการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า และเป็นการส่งเสริมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เมื่อซื้อผ้าแล้วมีแหล่งตัดเย็บอยู่ใกล้ๆ ก็ได้เสื้อกลับบ้านอย่างรวดเร็ว
ตลาดแห่งนี้จึงได้รับความนิยมจากบรรดาสุภาพสตรีเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ดารา นักร้อง จนถึงประชาชนทั่วไป
วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๑ (ตุลาคม – พฤศจิกายน ๒๕๒๒) มีรายงานเกี่ยวกับการรื้อถอนตลาดมิ่งเมืองไว้ว่า
“...ตลาดมิ่งเมือง อันเป็นตลาดขายของทำนองสรรพสินค้า ตั้งอยู่ที่พาหุรัด เดิมมีจุดประสงค์จะให้เป็นตลาดใหญ่ อันเป็นที่ผู้คนไปชุมนุมซื้อสินค้ากัน
โดยเอาอย่างนิวมาร์เกต ที่กัลกัตตา แต่ภายหลังตลาดแห่งนี้เสื่อมความนิยมลง เลยกลายเป็นที่สำหรับร้านเย็บเสื้อผ้าทันใจไปตั้งกัน...ถึงอย่างไรก็ดี
ตลาดแห่งนี้ควรนับเนื่องเข้าอยู่ในอาคารประวัติศาสตร์ของไทย ในสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อ ทั้งการปกครองและทั้งความเจริญแผนใหม่ของตะวันตกอัน
แพร่หลายเข้ามาอย่างรุนแรงมาก มีความสำคัญ เช่นเดียวกับอาคารศาลาเฉลิมกรุง ถ้ามีการปรับปรุงภายในให้ดีก็จะเป็นอาคารที่สำคัญแห่งหนึ่ง และเป็นการรักษาอดีตไว้ได้ด้วย แต่บัดนี้กำลังถูกทุบทิ้ง จักไม่นานก็จะไม่มีตลาดมิ่งเมืองอีกต่อไป...”
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและอาคารตลาดมิ่งเมืองได้มีหนังสือแจ้งแก่ร้านค้าผู้อยู่อาศัยโดยรอบให้ย้ายออกภายใน
๓๐ วัน ให้ค่ารื้อถอนหลังละประมาณ ๒๔,๐๐๐ บาท ชาวตลาดที่ไม่ยอมย้ายออกไปได้รวมตัวกันต่อรองขอให้สร้างอาคารพาณิชย์ให้เช่าอย่างเดิมและ
ให้คนอยู่เดิมมีสิทธิ์จับจองก่อน เจรจากันอยู่หลายรอบ จนบางส่วนเริ่มแยกตัวไปรับเงินค่ารื้อถอน ในที่สุด การต่อรองของชาวตลาดก็ล้มเหลว ร้านค้า
ต่างต้องทยอยกันโยกย้ายออกไป ร้านสุดท้ายที่ย้ายออกจากมิ่งเมืองคือร้านแก้วเภสัช และแล้วตลาดมิ่งเมืองก็ถึงกาลอวสาน
ได้ทราบมาบ้างว่าผู้ที่อยู่เดิม จะได้รับสิทธิลดค่าเซ้งสิทธิในตึกศูนย์การค้าที่จะสร้างใหม่ด้วย และรวมถึงที่พักอาศัยชั้นบนของอาคารศูนย์การค้า ที่เรียกว่า ดิโอลด์สยามเพ้นท์เฮ้าส์ ใครผ่านไปลองมองที่ชั้นบนสุดของดิโอล์ดสยามจะเห็นเหมือนเป็นทาวน์เฮ้าส์ปลูกอยู่บนดาดฟ้านั่นแหละครับ จะบอกว่ามันแพงไม่ใช่เล่นๆเลยครับ
http://oknation.nationtv.tv/blog/lotslikelove/2007/10/02/entry-1
สมัยเรียนจุฬา .. งานแข่งขันกีฬากลางแจ้ง ชุดเดินพาเหรด ดูเหมือนมาจากการตัดเย็บฝีมือตลาดมิ่งเมืองนี่แหละค่ะ
รู้จักกันไหม ... "ตลาดมิ่งเมือง" ก่อนจะมาเป็น "ดิโอลด์สยาม" .../sao..เหลือ..noi
ตลาดมิ่งเมือง
ผู้คนที่อยู่อาศัยในย่านนี้เล่าว่าตลาดมิ่งเมืองนั้นสร้างขึ้นมาพร้อมๆ กับศาลาเฉลิมกรุง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานครครบ ๑๕๐ ปี ในปี พ.ศ.๒๔๗๕ เรื่องนี้ก็ดูใกล้เคียงกับหลักฐานเอกสาร ที่มีระบุไว้ว่า ในปี พ.ศ.๒๔๖๘ - ๒๔๖๙ นายมาริโอ ตามานโญ (Mario Tamagno) สถาปนิกอิตาเลียนที่เข้ามารับราชการในเมืองไทยระหว่างรัชกาลที่ ๕ ถึงต้นรัชกาลที่ ๗ ได้ออกแบบก่อสร้างตลาดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เป็นตลาดที่มีหลังคาคลุม สร้างด้วยคอนกรีต สำหรับเป็นที่ขายเสื้อผ้า จำลองจากตลาดแบบตะวันออกกลาง ดังนั้น แม้จะไม่ได้ระบุนาม แต่
ก็น่าจะหมายถึงตลาดมิ่งเมืองนั่นเอง
ตลาดมิ่งเมืองมีชื่อเสียงในฐานะแหล่งชุมนุมช่างตัดเย็บเสื้อผ้า เพื่อรองรับลูกค้าที่มาซื้อผ้าที่ตลาดสำเพ็ง- พาหุรัด แล้วไม่มีเวลาไปหาร้านตัดเย็บ
เป็นการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า และเป็นการส่งเสริมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เมื่อซื้อผ้าแล้วมีแหล่งตัดเย็บอยู่ใกล้ๆ ก็ได้เสื้อกลับบ้านอย่างรวดเร็ว
ตลาดแห่งนี้จึงได้รับความนิยมจากบรรดาสุภาพสตรีเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ดารา นักร้อง จนถึงประชาชนทั่วไป
วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๑ (ตุลาคม – พฤศจิกายน ๒๕๒๒) มีรายงานเกี่ยวกับการรื้อถอนตลาดมิ่งเมืองไว้ว่า
“...ตลาดมิ่งเมือง อันเป็นตลาดขายของทำนองสรรพสินค้า ตั้งอยู่ที่พาหุรัด เดิมมีจุดประสงค์จะให้เป็นตลาดใหญ่ อันเป็นที่ผู้คนไปชุมนุมซื้อสินค้ากัน
โดยเอาอย่างนิวมาร์เกต ที่กัลกัตตา แต่ภายหลังตลาดแห่งนี้เสื่อมความนิยมลง เลยกลายเป็นที่สำหรับร้านเย็บเสื้อผ้าทันใจไปตั้งกัน...ถึงอย่างไรก็ดี
ตลาดแห่งนี้ควรนับเนื่องเข้าอยู่ในอาคารประวัติศาสตร์ของไทย ในสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อ ทั้งการปกครองและทั้งความเจริญแผนใหม่ของตะวันตกอัน
แพร่หลายเข้ามาอย่างรุนแรงมาก มีความสำคัญ เช่นเดียวกับอาคารศาลาเฉลิมกรุง ถ้ามีการปรับปรุงภายในให้ดีก็จะเป็นอาคารที่สำคัญแห่งหนึ่ง และเป็นการรักษาอดีตไว้ได้ด้วย แต่บัดนี้กำลังถูกทุบทิ้ง จักไม่นานก็จะไม่มีตลาดมิ่งเมืองอีกต่อไป...”
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและอาคารตลาดมิ่งเมืองได้มีหนังสือแจ้งแก่ร้านค้าผู้อยู่อาศัยโดยรอบให้ย้ายออกภายใน
๓๐ วัน ให้ค่ารื้อถอนหลังละประมาณ ๒๔,๐๐๐ บาท ชาวตลาดที่ไม่ยอมย้ายออกไปได้รวมตัวกันต่อรองขอให้สร้างอาคารพาณิชย์ให้เช่าอย่างเดิมและ
ให้คนอยู่เดิมมีสิทธิ์จับจองก่อน เจรจากันอยู่หลายรอบ จนบางส่วนเริ่มแยกตัวไปรับเงินค่ารื้อถอน ในที่สุด การต่อรองของชาวตลาดก็ล้มเหลว ร้านค้า
ต่างต้องทยอยกันโยกย้ายออกไป ร้านสุดท้ายที่ย้ายออกจากมิ่งเมืองคือร้านแก้วเภสัช และแล้วตลาดมิ่งเมืองก็ถึงกาลอวสาน
ได้ทราบมาบ้างว่าผู้ที่อยู่เดิม จะได้รับสิทธิลดค่าเซ้งสิทธิในตึกศูนย์การค้าที่จะสร้างใหม่ด้วย และรวมถึงที่พักอาศัยชั้นบนของอาคารศูนย์การค้า ที่เรียกว่า ดิโอลด์สยามเพ้นท์เฮ้าส์ ใครผ่านไปลองมองที่ชั้นบนสุดของดิโอล์ดสยามจะเห็นเหมือนเป็นทาวน์เฮ้าส์ปลูกอยู่บนดาดฟ้านั่นแหละครับ จะบอกว่ามันแพงไม่ใช่เล่นๆเลยครับ
http://oknation.nationtv.tv/blog/lotslikelove/2007/10/02/entry-1
สมัยเรียนจุฬา .. งานแข่งขันกีฬากลางแจ้ง ชุดเดินพาเหรด ดูเหมือนมาจากการตัดเย็บฝีมือตลาดมิ่งเมืองนี่แหละค่ะ