รู้สึกว่า รถไฟความเร็วสูงมา รถไฟความเร็วสูงจะแย่ การบินไทยจะเจ๊ง รถไฟด่วนทางคู่คือ ทางออก

เท่าที่ดูราคาค่าตั๋วรถไฟความเร็วสูงกับราคาค่าตั๋วเครื่องบินมีราคาต่างกันไม่มาก ตั๋วเครื่องบินโลว์คอสต์อาจแพงกว่าเพียงเล็กน้อย ไม่กี่ร้อยเท่านั้น และจะถูกกว่าอีกด้วยเมื่อเราจองล่วงหน้าซักระยะหนึ่ง หรือถ้ามีโปรจากทางสายการบิน ก็สามารถจองตั๋วที่ราคาถูกได้ด้วยการจองล่วงหน้าเพียงไม่กี่วันเท่านั้น

ยกตัวอย่างการเดินทางจากกรุงเทพไปขอนแก่นด้วยเครื่องบินโลว์คอสต์จะมีราคาช่วง 1,000-1,200 บาท และจะได้ราคาที่ไม่เกิน 800 หากจองล่วงหน้าได้

  เมื่อรถไฟความเร็วสูงมา สายการบินต้นทุนต่ำจะต้องปรับค่าตั๋วลงไปอีกบ้าง เพื่อแข่งกับรถไฟความเร็วสูงซึ่งมีราคาค่าตั๋วอยู่ในช่วง 800 เหมือนกัน ทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างหนัก ในการเดินทางไปขอนแก่น-หนองคาย
  เราอาจได้เห็นค่าตั๋วเครื่องบินที่ราคาไม่เกิน 800 บาทเข้ามาถี่ขึ้น หรือการไปซื้อตั๋วหน้าเคาน์เตอร์ อาจมีราคาที่ถูกลง เพราะทางสายการบินจะต้องหาวิธีบริหารจัดการต้นทุนที่ต่ำลงแน่ๆ เพราะวิวัฒนาการลดต้นทุนการบินมันพัฒนาไปเรื่อยๆ ที่มา http://m.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1479526146
https://www.khaosod.co.th/monitor-news/news_426326
https://www.thairath.co.th/content/459519
ซึ่งจะส่งผลให้รถไฟความเร็วสูงได้รับการกระทบอย่างหนักจากการลดต้นทุนของสายการบินต่างๆ โดยเฉพาะระยะทางที่เกินกว่า 400 กิโลเมตรขึ้นไปที่เครื่องบินสามารถตอบโจทย์การเดินทางบางประการแทนรถไฟได้ดี

  บางทีการสร้างรถไฟความเร็วสูงอาจคุ้มค่าถึงแค่โคราชเท่านั้นในแง่ของรายได้จากค่าตั๋วเดินทางของคนที่ต้องการเดินทางมาโคราชรวดเร็ว ส่วนขอนแก่น-อุดร-หนองคายต้องลุ้นอย่างหนักเพราะต้องแข่งกับสายการบินต้นทุนต่ำ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.voicetv.co.th/read/384033
http://www.bbc.com/thai/thailand-40369155

เผลอๆจะได้เห็นสายการบินระดับชาติอย่างการบินไทยที่ขาดทุนอยู่แล้ว ขาดทุนเพิ่มขึ้นไปอีก รัฐต้องเอาภาษีมาอุ้มเพิ่มขึ้นอีก เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจและการเงินของประเทศมากมาย

  ที่จริงแล้วรางคู่ ถ้าเราบริหารจัดการให้ดี ก็สามารถตอบโจทย์ผู้เดินทางได้มากอยู่และไม่ต้องไปตีไปแข่งกับสายการบิน ให้สายการบินต่างๆการเงินทรุดลงไปอีก

  เปรียบเทียบรถไฟทางคู่แบบด่วนพิเศษหรือ express train หากจอดเมืองละ 1-2 สถานีแบบรถไฟความเร็งสูง และวิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 120 km/h
กรุงเทพ(บางซื่อ)-โคราช ระยะทาง 257 กิโลเมตร รถไฟใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 10 นาที
รถทัวร์ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 30 นาที
รถไฟประหยัดเวลากว่ารถทัวร์ 1 ชั่วโมง 20 นาที
กรุงเทพ(บางซื่อ)-พิษณุโลก ระยะทาง 382 กิโลเมตร รถไฟใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 11 นาที
รถทัวร์ใช้เวลาเดินทาง 5 ชั่วโมง
รถไฟประหยัดเวลากว่ารถทัวร์ 1 ชั่วโมง 39 นาที
กรุงเทพ(บางซื่อ)-หนองคาย ระยะทาง 620 กิโลเมตร รถไฟใช้เวลาเดินทาง 5 ชั่วโมง 10 นาที
รถทัวร์ใช้เวลาเดินทาง 10 ชั่วโมง
รถไฟประหยัดเวลากว่ารถทัวร์ 4 ชั่วโมง 50 นาที
กรุงเทพ(บางซื่อ)-ขอนแก่น ระยะทาง 442 กิโลเมตร รถไฟใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 41 นาที
รถทัวร์ใช้เวลาเดินทาง 6 ชั่วโมง 45 นาที
รถไฟประหยัดเวลากว่ารถทัวร์ 3 ชั่วโมง 4 นาที
กรุงเทพ(บางซื่อ)-อุบลราชธานี ระยะทาง 568 กิโลเมตร รถไฟใช้เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 45 นาที
รถทัวร์ใช้เวลาเดินทาง 9 ชั่วโมง 10 นาที
รถไฟประหยัดเวลากว่ารถทัวร์ 4 ชั่วโมง 25 นาที

  จะเห็นได้ว่าการเดินทางด้วยรถไฟในระยะใกล้จะประหยัดเวลากว่าการเดินทางด้วยรถทัวร์ราวๆ 1 ชั่วโมง 30 นาที ในระยะไกลจะประหยัดเวลากว่า 3 ถึง 4 ชั่วโมง ซึ่งในระยะไกลนั้นเป็นระยะที่รถไฟความเร็วสูงยังต้องแข่งกับเครื่องบินอีก จึงเหนื่อยยากสำหรับรถไฟความเร็วสูง
  และสิ่งที่ควรจะทำอีกอย่างหนึ่งการสร้างรถไฟฟ้าเชื่อมต่อรถไฟทางคู่กับสนามบิน เพื่อการขนส่งคนและสินค้าระหว่างทางบกกับทางอากาศเป็นไปอย่างสะดวกสบายรวดเร็ว เท่าก็ทำให้การขนส่งคนและสินค้าสะดวกสบายไปมากแล้ว โดยไม่ต้องไปทุ่มทุนมหาศาลกับรถไฟความเร็วสูงให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ

ทีนี้มาพูดถึงสถานีย่อยต่างๆที่ express train หรือรถไฟด่วนพิเศษไม่จอดกัน เพราะ express train จะจอดแค่สถานีตัวจังหวัดเท่านั้น แล้วคนที่ต้องการลงสถานีย่อย สถานีเล็กล่ะ จะต้องทำอย่างไร
ทางการรถไฟก็ต้องจัดขบวนรถ city line ขบวนจอดรายทางเพื่อรับส่งผู้โดยสารระหว่างเมืองออกมาให้บริการด้วย สมมติว่ามีคนนั่งรถไฟจากบางซื่อเพื่อมาลงสถานีกระทุ่มแบนซึ่งเป็นสถานีย่อยที่อยู่ถัดจากสถานีพิจิตรไป 2 สถานี ก็ให้ผู้โดยสารลงที่สถานีพิจิตร หลังจากนั้นทางรถไฟก็ส่งขบวนรถ city line ที่วิ่งซัก 80-100 km/h มาจอดเทียบท่าสถานีพิจิตร รับส่งคนตั้งแต่สถานีพิจิตรแล้ววิ่งบริการไปตามสถานีย่อยต่างๆจนถึงสถานีพิษณุโลก ตามแผนผังนี้ครับ https://www.img.in.th/image/uijCjY
และรถที่ให้บริการ city line จะต้องไว สมมติรถไฟด่วนพิเศษมาถึงพิจิตร 15:00 เมื่อรถไฟด่วนพิเศษรับส่งผู้โดยสารเสร็จเรียบร้อยแล้วและออกจากสถานีพิจิตรไป รถ city line พิจิตรจะต้องเข้าเทียบที่สถานี จอดรับผู้โดยสารในเวลาไม่เกิน 5 นาที ออกจากสถานีพิจิตรไม่เกิน 15:06 น.ครับ และใช้เวลา 33 นาทีถึงเมืองพิษณุโลก หากวิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 80 km/h คือช่วงเวลา 15:38 น. ครับ
  และรถที่จะให้บริการ city line ที่วิ่งตามต่างจังหวัดต้องเป็นขบวนใหม่น่าใช้งานแบบนี้ครับ https://www.img.in.th/image/uidXDO
รถเก่าๆแบบนั้ก็โละทิ้งไปบ้าง หรือเอาไปใช้งานอย่างอิ่น  https://www.img.in.th/image/uidcgq
ดูเอาครับรถชานเมืองไทยกับมาเลย์
https://www.img.in.th/image/uijuH9

  ทีนี้ถ้าจะให้คุ้มค่ากับการเดินรถ city line ก็ให้ express train สายเหนือเที่ยวกลับลงมายังกรุงเทพ มาจอดให้ได้ซัก 15:45 น.ที่สถานีพิษณุโลก เพื่อให้รถไฟ city line ที่ขึ้นมาจากพิจิตรก่อนหน้านี้ ได้รับผู้โดยสารจากสถานีพิษณุโลกได้โดยสารมาลงตามสถานีรายทางถัดไปจากสถานีพิษณุโลก ซึ่งรถไฟด่วนพิเศษไม่จอดให้ แต่อยู่ก่อนถึงพิจิตร เช่น สถานีท่าฬ่อ เป็นต้น เท่านี้ก็จะตอบโจทย์การเดินทางให้ผู้โดยสารได้มากทีเดียว

  ที่ผ่านมาผมเห็นแล้วว่าทางการรถไฟพยายามจะปรับปรุงรูปแบบรถไฟใหม่แต่มันไม่ตอบโจทย์ครับ รถไฟอีสานวัฒนาที่เคยนั่งซึ่งเป็นรถนอนเหมาะสำหรับการเดินทางนาน
ผมจะนั่งอีสานวัฒนาก็ต่อเมื่อไประยะทางไกลอย่างศรีสะเกษ อุบล แล้วเป็นการโดยสารแบบต้องการนอนเท่านั้นครับ ถ้าจะไปโคราช บุรีรัมย์ได้เคยนั่งเลย เพราะไปถึงที่นั่นตี 2-3 เดินทางต่อจากสถานีลำบากครับ รถไฟขบวนใหม่ทุกวันนี้จึงยังตอบโจทย์คนได้น้อย

  ตอนนี้สิ่งที่น่าจะทำคือ จัดขบวนพิเศษออกมาบริการที่บางซื่อ ประชาสัมพันธ์ให้ดีๆ และเป็น express train รถไฟด่วนพิเศษจริงๆ จอดแบบเมืองละ 1-2 สถานีตามแผนการแบบรถไฟความเร็วสูง วิ่งด้วยค่าเฉลี่ย 120 km/h จนถึงปลายทาง เอาซักเส้นทางนึงก่อน เช่น กรุงเทพ โคราช ถ้าตามกำหนดการก็จะใช้เวลา 2 ชั่วโมง 10 นาทีจากกรุงเทพถึงโคราช แต่ด้วยเมืองไทยคือรางเดี่ยว และระบบรางกับเส้นทางบางช่วงยังไม่ค่อยดีนัก อาจจะส่งผลให้เพิ่มเวลาไปบ้าง อาจจะได้ซัก 2 ชั่วโมง 30-40 นาทีก็เป็นได้ แต่ก็ยังประหยัดเวลากว่ารถทัวร์ร่วมชั่วโมงอยู่ และค่าบริการจะต้องเหมาะสมด้วย ทุกวันนี้ค่าตั๋วเดินทางไปโคราชถือว่าค่อนข้างแพงกว่ารถทัวร์เยอะครับ ทั้งที่เดินทางไปขอนแก่น อุบล ค่าตั๋วรถไฟแพงกว่าค่าตั๋วรถทัวร์เพียงเล็กน้อย แต่โคราชค่าตั๋วรถไฟแพงกว่าตั๋วรถทัวร์พอสมควร บริการอะไรก็สู้รถทัวร์ไม่ได้เลย ซึ่งถ้าทุกอย่างออกมาให้เหมาะสมตามสภาพ ก็น่าจะได้ผู้โดยสารอยู่พอสมควร จัดโปรทดสอบอย่างนี้ซักเดือน 2 เดือน แล้วมาดูเงียบบางจากประชาชนฯรับว่ามีความพึงพอใจแค่ไหนอย่างไรบ้าง และค่อยๆมาปรับปรุงบริการในส่วนอื่นต่อไป
  
เท่านี้ก่อนครับ เดี๋ยวค่อยมาว่าเนื้อหาขบวนรถไฟในวันต่อไป
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่