[CR] สามเสน เส้นทางแห่งศรัทธา (ซอกแซก บางกอก)

ไหว้พระย่านสามเสน เที่ยวชมโบสถ์เก่า บ้านเขมร บ้านญวน

แวะชิมอาหารเวียดนามยามเช้า ณ ตลาดบ้านญวน สามเสน แล้วเข้าเยี่ยมชมโบสถ์คริสต์ ณ ชุมชมบ้านญวน สามเสน หรืออีกชื่อหนึ่งว่า "วัดญวน"
ก่อนไปไหว้พระที่ วัดเทวราชกุญชรวรวิหารและวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร ปิดท้ายด้วยการเรียนรู้เรื่องธนบัติที่ พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยในวังบางขุนพรหม วังอันโอ่อ่าริมแม่น้ำเจ้าพระยา

กำหนดเดิมควรเป็นเช่นนี้ แต่ด้วยเวลาที่ไม่เอื้อ เลยต้องตัดอาหารเวียดนามยามเช้าและพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย (วังบางขุนพรหม) ออก

จากพื้นที่นาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ชุมชนย่านสามเสนได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน ที่มีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งอยู่หลายแห่ง สามเสนนอกจากจะมีโบสถ์เก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพฯ แล้ว ยังมีวัดที่มีศิลปะสวยงาม รวมทั้งวังที่มีสถาปัตยกรรมที่งดงามแบบยุโรปอีกด้วย
ชุมชนสามเสนก่อร่างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นหมู่บ้านประมงเล็กๆ ที่มีชนเชื่อสายโปรตุเกสอาศัยอยู่บนที่ดินที่ได้รับพระราชทาน และพวกเขาได้ก่อสร้างโบสถ์สำหรับประกอบพิธีกรรมขึ้น นับเป็นวัดคาทอลิคหลังแรกของเมืองบางกอก

มาสมัยรัชกาลที่ ๑ พระองค์โปรเกล้าฯ ให้ชาวเขมรที่หนีภัยจากการจลาจลในกัมพูชามาตั้งบ้านเรือนอยู่ในชุมชมแห่งนี้ เพราะนับถือศาสนาเดียวกัน นานวันเข้าก็เรียกหมู่บ้านแห่งนี้ว่าบ้านเขมร ถัดไปจากบ้านเขมรไปทางเหนือเล็กน้อย เป็นที่ตั้งของชุมชมชาวญวน หรือชาวเวียดนามที่อพยพหนีภัยสงครามจากประเทศตนเข้ามาอาศัยอยู่ตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ ๑

ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้มีชาวญวนที่นับถือศาสนาคริสต์หนีการเบียดเบียดทางศาสนาอพยพเข้ามาอยู่เพิ่มขึ้น พระองค์ทรงพระเมตรา จึงทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อที่ดินพระราชทานให้เป็นที่อยู่อาศัยพร้อมกับสร้างศาสนาที่ทำด้วยไม้ไผ่ให้ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเป็นการชั่วคราว ต่อมาได้มีการสร้างโบสถ์ก่ออิฐ ถือปูนแล้วให้ชื่อว่า "วัดแซงต์ฟรังซัวซาเวียร์" หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "วัดญวน"

ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ พื้นที่บริเวณสามเสนได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก เมื่อมีการก่อสร้างพระราชวังดุสติขึ้นบนท้องทุ่งสามเสน ทำให้เกิดการขุดคลองและตัดถนนเพื่อเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคมจากวังหลวงมายังพระราชวังแห่งนี้ นอกจากนั้นพระองค์ยังทรงสละพระราชทรัพทย์ส่วนพระองค์ซื้อที่ดินเพื่อสร้างวังพระราชทานแก่บรรดาพระเจ้าลูกยาเธอและเจ้าจอม ส่งผลให้เกิดการสร้างสาธารณูปโภคอื่นๆ ตามมา ได้แก่ ประปา ไฟฟ้า และเส้นทางรถราง ชุมชนสามเสนจึงขยายตัวอย่างรวดเร็วด้วยบรรดาขุนนาง ข้าราชบริพารจำนวนมาก พากันมาตั้งบ้านเรือนใกล้กับวังและตำหนักของเจ้านายพระองค์ต่างๆ กลายเป็นเมืองชั้นใน ในปัจจุบัน

เริ่มต้นที่ตลาดเทวราช ..

เคยมาแล้วครั้งหนึ่งแต่ค่อนข้างนานมาก จำทางไ่ปวัดเทวราชกุญชรวรวิหารไม่ค่อยได้ อาศัยถามทางไปเรื่อยๆ
ถึงสามแยกไฟแดงเลี้ยวซ้ายแล้วเดินเข้าซอยไปหน่อย พอจะคุ้นทางแล้ว ตามมาตามมาครับ

วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร

เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฏร์ วัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ชื่อเดิม "วัดสมอแครง" เป็นวัดเก่าแก่โบราณ มีมาก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ทรงได้สถาปนาใหม่ ต่อมาเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี พระโอรสของรัชกาลที่ ๒ ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์
วัดเทวราชกุญชร ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๐ เหตุที่เรียกว่าวัดสมอแครงเล่ากันว่าเพราะมีต้นสมอร่องแร่งมาก แต่บางท่านสันนิษฐานว่า คำว่าสมอ เพี้ยนมาจากคำว่า ถมอ(ถะมอ) เป็นภาษาเขมรแปลว่าหิน วัดนี้คงเรียกกันครั้งแรกว่าถมอแครง แปลว่า หินแกร่หรือหินแข็ง

ต่อมารัชสมัย รัชกาลที่ ๔ พระองค์ทรงรับเป็นพระอารามหลวงและพระราชทานนามว่า "วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร" พระองค์ทรงนำคำว่า เทวราชมานำหน้าพระนามของพระองค์เจ้ากุญชร ซึ่งเป็นพระนามเดิมของกรมพระพิทักษ์เทวศรผู้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้

เดินเข้ามาถึงวัดเห็นประตูปิด ไม่แน่ใจว่าเข้าได้ไหม สอบถามคุณป้าที่อยู่ตรงนั้น ได้ความว่าต้องเดินอ้อมไปอีกด้าน มีประตูทางเข้าอยู่อีกด้าน ไม่รอช้าเดินตามทางไป ถึงประตูเปิดอยู่อย่างที่คุณป้าบอก
โบสถ์อยู่ตรงนี้ตั้งตระหว่าน ถอดรองเท้าให้เรียบร้อยเข้าโบสถ์ไปกราบพระ
ใช่แล้ว ที่นี่ เคยมา ฉันเคยมา จำองค์พระได้ ข้างในโบสถ์ค่อนข้างเงียบ วันนี้ไม่ค่อยมีใครเข้ามา ไหว้พระขอพร ขอเก็บภาพรอบๆ

เก็บภาพอยู่สักพัก มีคนขึ้นมาไหว้พระ เริ่มมากันหลายคนแล้วตอนนี้ เก็บภาพเสร็จออกไปเดิมชมรอบๆ ต่อ

มณฑปจตุรมุข
เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ ใช้เป็นสถานที่สวดมนต์ปฏิบัติธรรมและทำบุญถวายสังฆทาน โดยได้เริ่มทำการก่อสร้าง เมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๓๖
ขนาดของมณฑปจตุรมุขเท่ากันทั้ง ๔ ด้าน คือประมาณ ๑๒.๔๐เมตร ยกพื้นสุงประมาณ ๑.๔๐เมตร พื้นและผนังด้านในมณฑปปูด้วยหินอ่อน แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔

เห็นอาคารด้านข้างเปิดประตูอยู่ ไม่แน่ใจว่าคืออาคารใดเข้าไปใกล้ๆ "พิพิธภัณฑ์สักทอง วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร" มีคุณป้าเดินออกมาพอดี
ป้าครับ ไม่ทราบว่าที่นี่เข้าได้ไหมครับ
อ๋อเข้าได้ๆ เชิญด้านในเลย
ขอบคุณครับ

"พิพิธภัณฑ์สักทอง วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร"

ในนี้เป็นพิพิธภัณฑ์สักทอง ลองเข้าไปดูหน่อยสิว่ามีอะไรบ้าง
ถอดรองเท้าเปิดประตูเข้าไปเจอจนท.ยิ้มรับ เชิญครับ ขอบคุณที่แวะมาเยือนครับ ค่าบัตรเข้าเพื่อบำรุงสถานที่ ๓๐บาท โอเครครับ
เชิญชมรอบๆ ได้เลย มีสองชั้น ขึ้นไปชมด้านบนได้นะครับ
ครับ ขอบคุณมากครับ

ข้างในนี้ค่อนข้างเย็นมาก เดินมาร้อนๆเข้ามาด้านในนี้เย็นมาก ไม่รอช้าเดินขึ้นไปชมชั้นบนก่อน
30บาท เข้าชมได้เลย

ขึ้นมาถึงชั้นบน โอ้โห.. สวยมากกก ข้างในนี้มีแต่ไม้สัก ไม้สักทองแผ่นใหญ่ เงางาม สวยมาก พื้นเงามันเรียบ ในนี้จัดเป็นห้องแสดงตกแต่งประดับไฟงดงาม สิ่งที่เห็นในห้องใหญ่ด้านซ้ายมือ เป็นห้องที่พิพิธภัณฑ์แสดงหุ่นขึ้ผึ้ง อดีตสมเด็จพระสังฏราช ๑๙ พระองค์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

พิพิธภัณฑ์แสดงหุ่นขึ้ผึ้ง อดีตสมเด็จพระสังฏราช ๑๙ พระองค์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เข้าไปชมใกล้ๆ มีตั้งแต่พระสังฆราชองค์แรกไล่มาจนถึงองค์ปัจจุบัน (แต่องค์ปัจจุบันที่ ๒๐ ยังไม่ใช่หุ่นขี้ผึ้ง) หุ่นขี้ผึ้งเหมือนจริงมาก ยกมือไหว้และขอเก็บภาพและประวัติทีละองค์จนครบ

เสร็จจากห้องนี้ห้องด้านขวาถัดไปเป็นห้องแสดงหุ่นขี้ผึ้งพระอริยสงฆ์ ๒๐รูป แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เช่นกัน เข้าไปชมใกล้ๆ พร้อมยกมือไหว้และขอเก็บภาพและประวัติที่ละองค์จนครบ

ข้างบนนี้เป็นไม้สักทองทั้งหลังงดงามมากจริงๆ มีโอกาสอยากให้แวะมาชมกันครับ มีเรื่องราวของอดีตสมเด็จพระสังฆราชและพระอริยสงฆ์ ส่วนด้านล่างมีเรื่องราวต่างๆ อีกมากมาย ยังมีส่วนหนึ่งแสดงเรื่องราวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ อีกด้วย ภาพเก่าหาชมได้ยาก สวยงามมาก
คิดถึงพ่อหลวง (ภาพถ่ายพ่อหลวงและเรื่องราว)
ต้นเสา ไม้สักทอง ใหญ่มากๆ ครับ

เก็บภาพและชมรอบๆ วัดเสร็จจากวัดเทวราชกุญชรไปต่อที่วัดราชานิวาสฯ จำได้ว่าอยู่ถัดไป แต่จะไปอย่างไร ก็ต้องสอบถามทางไปเช่นเคย แต่ระหว่างทางแอบเห็นมีทางเดินต่อไปที่ปลายทางนั่นน่าจะเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงนั้นมีอะไรลองเดินไปหน่อยดีกว่า เดินๆๆ ครับเดินไปเรื่อยๆ สองข้างทางเป็นบ้านเรือนชาวบ้าน เหมือนจะมีที่พักเป็นโฮมสเตย์อยู่บ้าง อืม น่าสนใจๆ ไว้เป็นทางเลือกเผื่อมาพัก

ท่าเรือหลังวัด มีปล่อยปลา วิวมองเห็นสะพานพระราม ๘

ศาลาสำหรับปล่อยปลา

ที่ปลายทางเป็นศาลาท่าน้ำมีให้อาหารปลา มุมที่มองเห็นสะพานพระรามแปด ลมพัดเย็น ปลาที่ท่าน้ำนี้มีพอสมควร เยอะมากนะ เห็นคนให้อาหารปลา ปลาขึ้นมากินหนาแน่นมาก ตัวใหญ่พอประมาณ บรรยากาศรวมร่มรื่นเย็นสบายครับ

เสร็จจากตรงนี้ สถานที่ถัดไป วัดราชานิวาสฯ
เดินออกไปปากซอยเริ่มต้นตั้งต้นใหม่ เดินไปได้นะ อยู่ไม่ไกล หนึ่งป้ายรถเมล์เดินเดี๋ยวเดียวก็ถึง เดินไปสักพักเจอสามแยกเลี้ยวซ้าย มีป้ายอยู่หน้าซอย ระยะทางไปวัดก็ระยะเดียวกับที่เดินเข้าวัดเทวราชกุญชร เดินๆ กันต่อ

ปากทางเข้าวัดราชานิวาส
เดินเข้าซอยไป ฝั่งซ้ายมือและขวามือค่อนข้างต่างกัน ฝั่งซ้ายมือจะเป็นบริเวณวัด ที่ไม่มีพระสงฆ์ ส่วนฝั่งขวามือจะมีพระสงฆ์จำพรรษามีแม่ชี สถานที่ดูร่มรื่น สะอาดตา เดินเข้ามาถึงหน้าโบสถ์พอจำเรื่องราวที่เคยมาได้

วัดราชาธิวาส

เดิมชื่อวัดสมอราย ผูกพัทธสีเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ เดิมเป็นวัดฝ่ายอรัญวาสี (วัดป่า) ต่อมารัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดราชาธิวาสวิหาร" ด้วยทรงปรารถว่า เจ้านายผู้ใหญ่ในพระบรมราชจักรีวงค์หลายพระองค์ ทรงพระผนวชแล้วเสด็จมาบำเพ็ญสมณธรรม รวมทั้งพระองค์ด้วย มีสถานะเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดราชวรวิหาร และเป็นพระอารามหลวงฝ่ายธรรมยุต
พระอุโบสถวัดราชาธิวาสวิหาร ซึ่งเป็นวัดต้นกำเนิดพระคณะธรรมยุต ต่างจากพระอุโบสถในยุคเดียวกัน คือเป็นลักษณะนครวัดในประเทศกัมพูชา ทั้งหน้าบัน หลังคา เสารับโครงสร้างและประตูหน้าต่างล้วนแต่ออกไปทางขอมหรือเขมร

ตอนนี้ยังเข้าโบสถ์ไม่ได้ยังไม่ถึงเวลา รอ 13.00น. ก่อนค่อยเข้า
ระหว่างรอเก็บภาพไปเรื่อยๆ เดินไปยังพระตำหนักสี่ฤดู สภาพในวันนี้ไม่ต่างอะไรกับที่เคยมาเมื่อหลายปี บรรยากาศยังคงเงียบ สภาพยังพอจะเหมือนเดิม แต่ต้นไม้ใหญ่ใบร่วงหรือรอเวลาแตกใบใหม่กันนะ

ต้นโพธิลังกา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ทรงปลูกไว้

ยังไม่ถึงเวลา 13.00น. กลับมานั่งรอที่หน้าโบสถ์ มีน้องอีกคนมากับคุณแม่ นั่งคุยไปคุยมาทราบว่าจะมาทำเรื่องขอบวช ไปติดต่อพระแล้วพระไม่อยู่ ออกไปข้างนอกเลยมานั่งรอตรงนี้ ระหว่างนี้ก็คุยกันไปเรื่อยๆ มาจากไหน ไปไหน มาทำไร ถ่ายรูปเก็บภาพ พร้อมเล่าเรื่องราววัดนี้คร่าวๆ แบ่งปัน เรื่องราวละแวกใกล้ๆ วัดไหนน่าสนใจอะไรอย่างไร พอได้เป็นข้อมูลสำหรับครั้งหน้า

บ่ายโมงล่ะ ทีแรกก็ว่าจะมีคนมาเปิด ที่ไหนได้ หลวงพี่เปิดจากด้านใน (หลวงพี่อยู่ด้านใน) เปิดแล้วก็เข้าไปไหว้พระขอพร ขอถ่ายรูปเก็บภาพ เรื่องราวที่เคยมาในวันนั้นกับวันนี้สถานที่ยังคงเหมือนเดิม เดี๋ยวไว้เล่าในใต้ภาพ

เนื้อที่ไม่พอเล่า เดี๋ยวไปเล่าต่อในคอมเม้นต์นะครับ ...
ชื่อสินค้า:   สามเสน เส้นทางแห่งศรัทธา (ซอกแซก บางกอก)
คะแนน:     
**CR - Consumer Review : ผู้เขียนรีวิวนี้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง ไม่มีผู้สนับสนุนให้สินค้าหรือบริการฟรี และผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในการเขียนรีวิว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่