คอลัมน์: หุ้นส่วนประเทศไทย
หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์
เก็บภาษีเงินดิจิทัล ประเทศ...ได้หรือเสีย? ตอนจบ
ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
www.CsiSociety.com
Add Line: @CsiSociety
เมื่อตอนที่แล้ว เราได้คุยกันไปแล้วว่า ทางการกำลังจะจัดเก็บภาษีจากทรัพย์สินดิจิทัลที่ได้มาจากเงินส่วนแบ่งของกำไรหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้จากทรัพย์สินดิจิทัล และผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สินดิจิทัลเฉพาะส่วนซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน โดยจะหัก ณ ที่จ่ายคิดในอัตรา 15% และผู้มีเงินได้ต้องนำไปรวมคำนวณเงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย และผมยังได้พาคุณผู้อ่านไปดูประเทศอื่นๆกันว่า เขาเก็บภาษีกันอย่างไร? วันนี้ผมจะพาคุณผู้อ่านไปเที่ยวต่างประเทศกันอีกครั้ง ไปดูกันว่า เขาวางแผน “ยุทธศาสตร์เงินสกุลดิจิทัล” กันอย่างไร? ดังนี้ครับ
สอง ประเทศอื่นๆ วางแผน “ยุทธศาสตร์เงินสกุลดิจิทัล” กันอย่างไร?
สวิสเซอร์แลนด์ สิ่งที่ทำให้ประเทศแห่งนี้แตกต่างจากประเทศอื่นๆในแง่ของยุทธศาสตร์เงินสกุลดิจิทัลก็คือ การที่สวิสเซอร์แลนด์ได้ตั้งหน่วยงานที่มีชื่อว่า Swiss Financial Market Supervisory Authority (FINMA) ซึ่งหน่วยงานที่ตั้งขึ้นนี้มีหน้าที่คอยช่วยเหลือหน่วยงานเอกชนขนาดเล็กที่มีแผนจะระดมทุนด้วยเงินสกุลดิจิทัล (Initial Coin Offering – ICO) ทั้งนี้จะต้องปฎิบัติตามกฎหมายของสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งจะมีการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (Know Your Customer – KYC) และการป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (Anti-Money Laundering – AML) โดยการเร่งการสร้างเทคโนโลยีการกระจายศูนย์กลางบล็อกเชน นโยบายยุทธศาสตร์ด้านเงินสกุลดิจิทัลของสวิสเซอร์แลนด์ในครั้งนี้ ได้สร้างปรากฎการณ์ใหม่ในโลกใบนี้ เพราะเป็นการสร้างชุมชนที่น่าอยู่ เปิดกว้างทางด้านการพัฒนาเทคโนโลยี และถูกต้องตามกฎหมาย จึงสามารถดึงดูดบรรดาอัจฉริยะจากทั่วโลกให้มารวมกันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆให้แก่สวิสเซอร์แลนด์โดยผ่าน ICO ได้
ญี่ปุ่น ในอดีตที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ให้การสนับสนุนเงินสกุลดิจิทัล “บิทคอยน์” มาโดยตลอด นับตั้งแต่การเกิดบริษัทซื้อขายเงินสกุลดิจิทัลที่มีชื่อว่า “เมาท์ก๊อกซ์” ในปี 2553 และต่อมาก็กลายเป็นศูนย์กลางการซื้อขายเงินสกุลดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 70% ทั่วโลก ในเดือนเมษายน 2560 ญี่ปุ่นก็ประกาศให้บิทคอยน์สามารถชำระเงินได้ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งการจดทะเบียนบริษัทซื้อขายเงินสกุลดิจิทัล 11 แห่งอย่างเป็นทางการ และต้องทำการตรวจสอบตัวตนของลูกค้า (KYC) อย่างเข้มข้น ทุกวันนี้ประเมินกันว่า นักลงทุนญี่ปุ่นยังคงเป็นลูกค้ารายใหญ่ของเงินสกุลดิจิทัล และน่าจะมีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดเป็นอันดับที่สองรองจากนักลงทุนชาวจีน ซึ่งนั่นนำมาซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีในญี่ปุ่นเอง และแน่นอน...นำมาซึ่งเงินภาษีจำนวนมหาศาลให้แก่รัฐบาลญี่ปุ่นอีกด้วย
อังกฤษ คุณผู้อ่านหลายท่านอาจจะแปลกใจว่าทำไม...อังกฤษถึงเกี่ยวด้วย เพราะอังกฤษถือเป็นดินแดนที่นับได้ว่าเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางการเงินของโลก แล้วทำไมจึงต้องให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์เงินสกุลดิจิทัลที่ถือได้ว่าเป็นศัตรูตัวฉกาจของระบบการเงินในปัจจุบัน อันที่จริงแล้ว...อาจกล่าวได้ว่า กรุงลอนดอน...เมืองหลวงของอังกฤษ ถือได้ว่าเป็นบ้านของเงินสกุลดิจิทัลของยุโรป เมื่อไม่นานมานี้บริษัทใหญ่ทางด้านเงินสกุลดิจิทัล 7 แห่ง ได้ร่วมมือกันก่อตั้งองค์กรหนึ่งที่มีชื่อว่า CryptoUK ซึ่งองค์กรนี้มีหน้าที่ออกกฎระเบียบต่างๆเพื่อรองรับอุตสาหกรรมการพัฒนาเงินสกุลดิจิทัล ก่อนหน้าทุกประเทศในสหภาพยุโรปเสียอีก หน่วยงานนี้จะเน้นการปฎิบัติงานภายใต้กฎระเบียบทางด้าน KYC และ AML อย่างเข้มข้นของอังกฤษ ทุกวันนี้ บริษัทซื้อขายแลกเปลี่ยน นักลงทุน และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเงินสกุลดิจิทัลจึงไม่ได้ถูกควบคุมจากรัฐบาลอังกฤษ แต่มีกฎระเบียบที่สามารถดูแลกันเองได้ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีระดับสูงให้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์และต่อเนื่อง
เนเธอร์แลนด์ กรุงอัมสเตอร์ดัมนครหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของเงินสกุลดิจิทัลอีกแห่งหนึ่งของโลก และทำไม?...จึงเป็นเช่นนั้น ด้วยความที่เป็นประเทศที่มีเสรีภาพสูงแห่งหนึ่งของโลก จึงเป็นจุดที่ทำให้บรรดานักพัฒนาโปรแกรมเงินสกุลดิจิทัลจากทั่วโลกหลั่งไหลกันมาอยู่อาศัย อัมสเตอร์ดัมยังถือได้ว่าเป็นเมืองที่ดีที่สุดสำหรับบริษัทเทคโนโลยีสตาร์ทอัพ (Best Tech Startup City) ของยุโรป อีกประการหนึ่งที่ถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวอัมสเตอร์ดัมก็คือ อัมสเตอร์ดัมมีตู้บิทคอยน์เอทีเอ็ม (Bitcoin ATMs) ที่สามารถเอาบิทคอยน์มาถอนเป็นเงินสดได้...ที่มีจำนวนตู้มากที่สุดในโลก ในขณะที่เมืองแห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยนักพัฒนาเงินสกุลดิจิทัล แต่กฎหมายของเนเธอร์แลนด์เอง...กลับล้าหลัง ในที่สุดรัฐบาลก็ได้ตั้งองค์กรที่มีชื่อว่า “Dutch Blockchain Coalition” ซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนและพัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชนและเงินสกุลดิจิทัล นอกจากนั้นยังมุ่งที่จะพัฒนาเทคโนโลยีการพิสูจน์ตัวตนทางดิจิทัล (Digital Identities) เพื่อที่จะทำให้การทำ KYC และ AML สามารถทำได้อย่างเข้มข้นและเป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีตัวนี้แหละ...จะเป็นประตูเปิดไปสู่เศรษฐกิจเงินสกุลดิจิทัลอย่างยั่งยืน ซึ่งจะนำมาทั้งชื่อเสียงและรายได้จำนวนมากแก่เนเธอร์แลนด์
สิงคโปร์ ประเทศเพื่อนบ้านของเราที่ทำตัวเชื่องช้าอย่างชาญฉลาด ในการที่จะนำพาประเทศไปเป็นศูนย์กลางของการระดมทุนเงินสกุลดิจิทัล (ICO) ก่อนหน้านี้ด้วยมาตรการภาษีที่ต่ำสุดๆหรือไม่จัดเก็บเลยสำหรับธุรกรรมที่เกี่ยวกับบริษัทสตาร์ทอัพ ก็ได้ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางของบริษัทสตาร์ทอัพจากทั่วโลกอยู่แล้ว ทุกวันนี้ในขณะที่หลายๆประเทศรวมทั้งประเทศไทยเอง ใช้ความพยายามอย่างสูงที่จะเก็บภาษีจากการค้าขายเงินสกุลดิจิทัล เพียงหวังว่าจะได้เงินภาษีจำนวนหนึ่งมาจากธุรกรรมเหล่านี้ สิงคโปร์กลับใช้ความเชื่องช้าอย่างชาญฉลาด โดยยังไม่มีการออกกฎหมายเก็บภาษีใดๆที่เกี่ยวกับธุรกรรมเงินสกุลดิจิทัล นอกจากนั้นรัฐบาลสิงคโปร์เองยังทุ่มเงิน 116 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,600 ล้านบาท) เพื่อมุ้งเน้นในการพัฒนาโครงการที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีการเงิน และรัฐบาลสิงคโปร์ยังได้ออกกฎหมายที่เกี่ยวกับเงินสกุลดิจิทัลเพื่อปกป้องผู้ลงทุนในการระดมทุนในเงินสกุลดิจิทัล (ICO) ซึ่งได้สร้างชื่อสร้างให้สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศที่น่าออก ICO มากที่สุดในโลกไปแล้ว
และทั้งหมดนี้คือ ประเทศอื่นๆ...เขาวางแผน “ยุทธศาสตร์เงินสกุลดิจิทัล” กันอย่างไร? จึงได้แต่หวังว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายยุทธ์ศาสตร์เงินสกุลดิจิทัลของประเทศไทย ได้ตระหนักถึงความเจริญรุ่งเรืองของอุตสาหกรรมเงินสกุลดิจิทัลในระยะยาวเป็นหลัก มากกว่าเงินภาษีจำนวนไม่มากนัก...ที่อาจทำให้ไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันไปตลอดกาล
หาอ่านบทความ และความรู้ด้านการลงทุนของผู้เขียนได้เพิ่มเติมได้ที่
www.doctorwe.com
บทความ… เงิน 1,000 บาท กับการลงทุนใน “บิทคอยน์” เชิญอ่านได้ที่ลิงก์นี้
http://www.doctorwe.com/bangkokbiznews/20171215/6809
บทความ... 6 เงินสกุลดิจิตอล “ความเสี่ยงต่ำ-ผลตอบแทนใช้ได้” ตอนที่ 1
http://www.doctorwe.com/posttoday/20180221/6874
บทความ... 6 เงินสกุลดิจิตอล “ความเสี่ยงต่ำ-ผลตอบแทนใช้ได้” ตอนจบ
http://www.doctorwe.com/posttoday/20180222/6882
บทความ… ฤา งานนี้… “บิทคอยน์” จะตายแน่?
http://www.doctorwe.com/bangkokbiznews/20180209/6870
บทความ... “บิทคอยน์” อยู่ให้ห่าง หรือ…ซื้อไปเลย ตอนที่ 1
http://www.doctorwe.com/posttoday/20180111/6860
“บิทคอยน์” อยู่ให้ห่าง หรือ…ซื้อไปเลย ตอนจบ
http://www.doctorwe.com/posttoday/20180112/6865
บทความ...“บิทคอยน์” กับ “คนรุ่นใหม่” ตอนที่ 1
http://www.doctorwe.com/posttoday/20180125/6836
“บิทคอยน์” กับ “คนรุ่นใหม่” ตอนจบ
http://www.doctorwe.com/posttoday/20180126/6843
บทความ… “บิทคอยน์” สร้าง…ความร่ำรวย ได้หรือไม่? เชิญอ่านได้ที่ลิงก์นี้
http://www.doctorwe.com/bangkokbiznews/20170922/6815
บทความ...“บิทคอยน์” เรื่องราวของ…คนกลัวตกรถ…คนติดดอย
http://www.doctorwe.com/bangkokbiznews/20171117/6820
บทความ... “บิทคอยน์” ความเชื่อ vs. ความจริง
http://www.doctorwe.com/bangkokbiznews/20180112/6826
เก็บภาษีเงินดิจิทัล ประเทศ...ได้หรือเสีย? ตอนจบ
คอลัมน์: หุ้นส่วนประเทศไทย
หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์
เก็บภาษีเงินดิจิทัล ประเทศ...ได้หรือเสีย? ตอนจบ
ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
www.CsiSociety.com
Add Line: @CsiSociety
เมื่อตอนที่แล้ว เราได้คุยกันไปแล้วว่า ทางการกำลังจะจัดเก็บภาษีจากทรัพย์สินดิจิทัลที่ได้มาจากเงินส่วนแบ่งของกำไรหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้จากทรัพย์สินดิจิทัล และผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สินดิจิทัลเฉพาะส่วนซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน โดยจะหัก ณ ที่จ่ายคิดในอัตรา 15% และผู้มีเงินได้ต้องนำไปรวมคำนวณเงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย และผมยังได้พาคุณผู้อ่านไปดูประเทศอื่นๆกันว่า เขาเก็บภาษีกันอย่างไร? วันนี้ผมจะพาคุณผู้อ่านไปเที่ยวต่างประเทศกันอีกครั้ง ไปดูกันว่า เขาวางแผน “ยุทธศาสตร์เงินสกุลดิจิทัล” กันอย่างไร? ดังนี้ครับ
สอง ประเทศอื่นๆ วางแผน “ยุทธศาสตร์เงินสกุลดิจิทัล” กันอย่างไร?
สวิสเซอร์แลนด์ สิ่งที่ทำให้ประเทศแห่งนี้แตกต่างจากประเทศอื่นๆในแง่ของยุทธศาสตร์เงินสกุลดิจิทัลก็คือ การที่สวิสเซอร์แลนด์ได้ตั้งหน่วยงานที่มีชื่อว่า Swiss Financial Market Supervisory Authority (FINMA) ซึ่งหน่วยงานที่ตั้งขึ้นนี้มีหน้าที่คอยช่วยเหลือหน่วยงานเอกชนขนาดเล็กที่มีแผนจะระดมทุนด้วยเงินสกุลดิจิทัล (Initial Coin Offering – ICO) ทั้งนี้จะต้องปฎิบัติตามกฎหมายของสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งจะมีการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (Know Your Customer – KYC) และการป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (Anti-Money Laundering – AML) โดยการเร่งการสร้างเทคโนโลยีการกระจายศูนย์กลางบล็อกเชน นโยบายยุทธศาสตร์ด้านเงินสกุลดิจิทัลของสวิสเซอร์แลนด์ในครั้งนี้ ได้สร้างปรากฎการณ์ใหม่ในโลกใบนี้ เพราะเป็นการสร้างชุมชนที่น่าอยู่ เปิดกว้างทางด้านการพัฒนาเทคโนโลยี และถูกต้องตามกฎหมาย จึงสามารถดึงดูดบรรดาอัจฉริยะจากทั่วโลกให้มารวมกันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆให้แก่สวิสเซอร์แลนด์โดยผ่าน ICO ได้
ญี่ปุ่น ในอดีตที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ให้การสนับสนุนเงินสกุลดิจิทัล “บิทคอยน์” มาโดยตลอด นับตั้งแต่การเกิดบริษัทซื้อขายเงินสกุลดิจิทัลที่มีชื่อว่า “เมาท์ก๊อกซ์” ในปี 2553 และต่อมาก็กลายเป็นศูนย์กลางการซื้อขายเงินสกุลดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 70% ทั่วโลก ในเดือนเมษายน 2560 ญี่ปุ่นก็ประกาศให้บิทคอยน์สามารถชำระเงินได้ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งการจดทะเบียนบริษัทซื้อขายเงินสกุลดิจิทัล 11 แห่งอย่างเป็นทางการ และต้องทำการตรวจสอบตัวตนของลูกค้า (KYC) อย่างเข้มข้น ทุกวันนี้ประเมินกันว่า นักลงทุนญี่ปุ่นยังคงเป็นลูกค้ารายใหญ่ของเงินสกุลดิจิทัล และน่าจะมีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดเป็นอันดับที่สองรองจากนักลงทุนชาวจีน ซึ่งนั่นนำมาซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีในญี่ปุ่นเอง และแน่นอน...นำมาซึ่งเงินภาษีจำนวนมหาศาลให้แก่รัฐบาลญี่ปุ่นอีกด้วย
อังกฤษ คุณผู้อ่านหลายท่านอาจจะแปลกใจว่าทำไม...อังกฤษถึงเกี่ยวด้วย เพราะอังกฤษถือเป็นดินแดนที่นับได้ว่าเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางการเงินของโลก แล้วทำไมจึงต้องให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์เงินสกุลดิจิทัลที่ถือได้ว่าเป็นศัตรูตัวฉกาจของระบบการเงินในปัจจุบัน อันที่จริงแล้ว...อาจกล่าวได้ว่า กรุงลอนดอน...เมืองหลวงของอังกฤษ ถือได้ว่าเป็นบ้านของเงินสกุลดิจิทัลของยุโรป เมื่อไม่นานมานี้บริษัทใหญ่ทางด้านเงินสกุลดิจิทัล 7 แห่ง ได้ร่วมมือกันก่อตั้งองค์กรหนึ่งที่มีชื่อว่า CryptoUK ซึ่งองค์กรนี้มีหน้าที่ออกกฎระเบียบต่างๆเพื่อรองรับอุตสาหกรรมการพัฒนาเงินสกุลดิจิทัล ก่อนหน้าทุกประเทศในสหภาพยุโรปเสียอีก หน่วยงานนี้จะเน้นการปฎิบัติงานภายใต้กฎระเบียบทางด้าน KYC และ AML อย่างเข้มข้นของอังกฤษ ทุกวันนี้ บริษัทซื้อขายแลกเปลี่ยน นักลงทุน และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเงินสกุลดิจิทัลจึงไม่ได้ถูกควบคุมจากรัฐบาลอังกฤษ แต่มีกฎระเบียบที่สามารถดูแลกันเองได้ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีระดับสูงให้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์และต่อเนื่อง
เนเธอร์แลนด์ กรุงอัมสเตอร์ดัมนครหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของเงินสกุลดิจิทัลอีกแห่งหนึ่งของโลก และทำไม?...จึงเป็นเช่นนั้น ด้วยความที่เป็นประเทศที่มีเสรีภาพสูงแห่งหนึ่งของโลก จึงเป็นจุดที่ทำให้บรรดานักพัฒนาโปรแกรมเงินสกุลดิจิทัลจากทั่วโลกหลั่งไหลกันมาอยู่อาศัย อัมสเตอร์ดัมยังถือได้ว่าเป็นเมืองที่ดีที่สุดสำหรับบริษัทเทคโนโลยีสตาร์ทอัพ (Best Tech Startup City) ของยุโรป อีกประการหนึ่งที่ถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวอัมสเตอร์ดัมก็คือ อัมสเตอร์ดัมมีตู้บิทคอยน์เอทีเอ็ม (Bitcoin ATMs) ที่สามารถเอาบิทคอยน์มาถอนเป็นเงินสดได้...ที่มีจำนวนตู้มากที่สุดในโลก ในขณะที่เมืองแห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยนักพัฒนาเงินสกุลดิจิทัล แต่กฎหมายของเนเธอร์แลนด์เอง...กลับล้าหลัง ในที่สุดรัฐบาลก็ได้ตั้งองค์กรที่มีชื่อว่า “Dutch Blockchain Coalition” ซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนและพัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชนและเงินสกุลดิจิทัล นอกจากนั้นยังมุ่งที่จะพัฒนาเทคโนโลยีการพิสูจน์ตัวตนทางดิจิทัล (Digital Identities) เพื่อที่จะทำให้การทำ KYC และ AML สามารถทำได้อย่างเข้มข้นและเป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีตัวนี้แหละ...จะเป็นประตูเปิดไปสู่เศรษฐกิจเงินสกุลดิจิทัลอย่างยั่งยืน ซึ่งจะนำมาทั้งชื่อเสียงและรายได้จำนวนมากแก่เนเธอร์แลนด์
สิงคโปร์ ประเทศเพื่อนบ้านของเราที่ทำตัวเชื่องช้าอย่างชาญฉลาด ในการที่จะนำพาประเทศไปเป็นศูนย์กลางของการระดมทุนเงินสกุลดิจิทัล (ICO) ก่อนหน้านี้ด้วยมาตรการภาษีที่ต่ำสุดๆหรือไม่จัดเก็บเลยสำหรับธุรกรรมที่เกี่ยวกับบริษัทสตาร์ทอัพ ก็ได้ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางของบริษัทสตาร์ทอัพจากทั่วโลกอยู่แล้ว ทุกวันนี้ในขณะที่หลายๆประเทศรวมทั้งประเทศไทยเอง ใช้ความพยายามอย่างสูงที่จะเก็บภาษีจากการค้าขายเงินสกุลดิจิทัล เพียงหวังว่าจะได้เงินภาษีจำนวนหนึ่งมาจากธุรกรรมเหล่านี้ สิงคโปร์กลับใช้ความเชื่องช้าอย่างชาญฉลาด โดยยังไม่มีการออกกฎหมายเก็บภาษีใดๆที่เกี่ยวกับธุรกรรมเงินสกุลดิจิทัล นอกจากนั้นรัฐบาลสิงคโปร์เองยังทุ่มเงิน 116 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,600 ล้านบาท) เพื่อมุ้งเน้นในการพัฒนาโครงการที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีการเงิน และรัฐบาลสิงคโปร์ยังได้ออกกฎหมายที่เกี่ยวกับเงินสกุลดิจิทัลเพื่อปกป้องผู้ลงทุนในการระดมทุนในเงินสกุลดิจิทัล (ICO) ซึ่งได้สร้างชื่อสร้างให้สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศที่น่าออก ICO มากที่สุดในโลกไปแล้ว
และทั้งหมดนี้คือ ประเทศอื่นๆ...เขาวางแผน “ยุทธศาสตร์เงินสกุลดิจิทัล” กันอย่างไร? จึงได้แต่หวังว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายยุทธ์ศาสตร์เงินสกุลดิจิทัลของประเทศไทย ได้ตระหนักถึงความเจริญรุ่งเรืองของอุตสาหกรรมเงินสกุลดิจิทัลในระยะยาวเป็นหลัก มากกว่าเงินภาษีจำนวนไม่มากนัก...ที่อาจทำให้ไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันไปตลอดกาล
หาอ่านบทความ และความรู้ด้านการลงทุนของผู้เขียนได้เพิ่มเติมได้ที่ www.doctorwe.com
บทความ… เงิน 1,000 บาท กับการลงทุนใน “บิทคอยน์” เชิญอ่านได้ที่ลิงก์นี้
http://www.doctorwe.com/bangkokbiznews/20171215/6809
บทความ... 6 เงินสกุลดิจิตอล “ความเสี่ยงต่ำ-ผลตอบแทนใช้ได้” ตอนที่ 1
http://www.doctorwe.com/posttoday/20180221/6874
บทความ... 6 เงินสกุลดิจิตอล “ความเสี่ยงต่ำ-ผลตอบแทนใช้ได้” ตอนจบ
http://www.doctorwe.com/posttoday/20180222/6882
บทความ… ฤา งานนี้… “บิทคอยน์” จะตายแน่?
http://www.doctorwe.com/bangkokbiznews/20180209/6870
บทความ... “บิทคอยน์” อยู่ให้ห่าง หรือ…ซื้อไปเลย ตอนที่ 1
http://www.doctorwe.com/posttoday/20180111/6860
“บิทคอยน์” อยู่ให้ห่าง หรือ…ซื้อไปเลย ตอนจบ
http://www.doctorwe.com/posttoday/20180112/6865
บทความ...“บิทคอยน์” กับ “คนรุ่นใหม่” ตอนที่ 1
http://www.doctorwe.com/posttoday/20180125/6836
“บิทคอยน์” กับ “คนรุ่นใหม่” ตอนจบ
http://www.doctorwe.com/posttoday/20180126/6843
บทความ… “บิทคอยน์” สร้าง…ความร่ำรวย ได้หรือไม่? เชิญอ่านได้ที่ลิงก์นี้
http://www.doctorwe.com/bangkokbiznews/20170922/6815
บทความ...“บิทคอยน์” เรื่องราวของ…คนกลัวตกรถ…คนติดดอย
http://www.doctorwe.com/bangkokbiznews/20171117/6820
บทความ... “บิทคอยน์” ความเชื่อ vs. ความจริง
http://www.doctorwe.com/bangkokbiznews/20180112/6826