รัฐบาลสหรัฐฯ รวมทั้งชาติพันธมิตรและชาติที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) ทั้งสิ้น 23 ประเทศ สั่งขับนักการทูตรัสเซียออกจากดินแดนของตนแล้วอย่างน้อย 116 คน เพื่อเป็นการตอบโต้กรณีที่เชื่อว่าทางการรัสเซียลอบวางยาพิษอดีตสายลับในสหราชอาณาจักร ซึ่งต่างมองกันว่าเป็นการกระทำที่เป็นภัยต่อความมั่นคงในภูมิภาคยุโรปและอเมริกา
เชื่อกันว่าคำสั่งของหลายประเทศในครั้งนี้ เป็นเหตุการณ์ขับนักการทูตและเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของรัสเซียในต่างประเทศครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ หลังจากที่นายเซอร์เก สกริปาล อดีตสายลับแปรพักตร์ของรัสเซียซึ่งปัจจุบันเป็นพลเมืองอังกฤษ และนางสาวยูเลียบุตรสาวของเขาถูกลอบทำร้ายด้วยสารพิษทำลายประสาทที่เมืองซอลส์บรีของสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา
นอกจากสหรัฐฯจะสั่งขับนักการทูตรัสเซีย 60 คน และกำลังจะสั่งปิดสถานกงสุลรัสเซียในนครซีแอตเทิลแล้ว ชาติสมาชิกอียูซึ่งได้แก่ฝรั่งเศส, เยอรมนี, โปแลนด์, ลิทัวเนีย, สาธารณรัฐเช็ก, เดนมาร์ก, เนเธอร์แลนด์, อิตาลี, สเปน, เอสโทเนีย, โครเอเชีย, ฟินแลนด์, สวีเดน, ฮังการี, ลัตเวีย และโรมาเนีย ต่างก็สั่งขับนักการทูตรัสเซียในประเทศของตนด้วย
ประเทศอื่น ๆ อย่างแคนาดา, ยูเครน, แอลเบเนีย, ออสเตรเลีย, นอร์เวย์ และมาซีโดเนีย ต่างก็ร่วมออกคำสั่งขับนักการทูตรัสเซียเช่นกัน ส่วนไอซ์แลนด์แถลงว่าจะระงับการเจรจาระดับสูงกับรัสเซียลงทั้งหมด และผู้นำประเทศจะไม่เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกที่จะจัดขึ้นที่รัสเซียในเดือนมิ.ย.นี้ เช่นเดียวกับรัฐบาลสหราชอาณาจักรที่ประกาศก่อนหน้านี้ว่า จะไม่ส่งรัฐมนตรีหรือพระราชวงศ์เข้าร่วมมหกรรมการแข่งขันดังกล่าว
ด้านชาติสมาชิกอียูที่ไม่ได้สั่งขับนักการทูตรัสเซีย ซึ่งได้แก่กรีซ ออสเตรีย และโปรตุเกส แถลงว่ารัฐบาลของตนให้การสนับสนุนสหราชอาณาจักร และขอประณามเหตุลอบทำร้ายด้วยการวางยาพิษในครั้งนี้
บรรดาผู้นำชาติสมาชิกอียูเห็นพ้องต้องกันเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่รัสเซียจะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุวางยาพิษอดีตสายลับ ซึ่งเป็นการก่ออาชญากรรมในต่างแดนที่พลอยส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของพลเมืองสหราชอาณาจักรไปด้วย
บรรดานักวิเคราะห์มองว่า คำสั่งขับนักการทูตรัสเซียของชาติสมาชิกอียูครั้งนี้ แสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับสหราชอาณาจักร แม้ทั้งสองฝ่ายจะมีความบาดหมางกันในเรื่องการเจรจาเบร็กซิทมาก่อนหน้านี้ก็ตาม โดยนายโดนัลด์ ทัสค์ ประธานสภายุโรปกล่าวว่า ในไม่ช้านี้อียูจะมีมาตรการตอบโต้รัสเซียอีก ซึ่งอาจรวมถึงการขับเจ้าหน้าที่ทูตเพิ่มเติมด้วยก็เป็นได้
นายบอริส จอห์นสัน รัฐมนตรีต่างประเทศของสหราชอาณาจักรแสดงความชื่นชมชาติสมาชิกอียูต่อ "การตอบโต้จากประชาคมนานาชาติที่ไม่ธรรมดา" ส่วนนายกรัฐมนตรีเทเรซา เมย์ ของอังกฤษกล่าวว่า สหราชอาณาจักรจะร่วมยืนหยัดเคียงบ่าเคียงไหล่กับอียูและพันธมิตรนาโต เพื่อเผชิญภัยคุกคามครั้งนี้ร่วมกัน
ถ้อยแถลงของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯระบุว่า "การโจมตีสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นพันธมิตรของเรา ทำให้ชีวิตของผู้บริสุทธิ์จำนวนนับไม่ถ้วนต้องตกอยู่ในความเสี่ยง เป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี"
ด้านทางการรัสเซียให้คำมั่นว่า จะตอบโต้คำสั่งขับนักการทูตของตนอย่างรุนแรงสาสม โดยขณะนี้สถานทูตรัสเซียในกรุงวอชิงตันของสหรัฐฯได้ออกแบบสอบถามทางทวิตเตอร์ เพื่อให้ชาวรัสเซียลงคะแนนเสียงว่าจะสั่งปิดสถานกงสุลสหรัฐฯแห่งใดในรัสเซียเป็นการตอบโต้
http://www.bbc.com/thai/international-43551475?ocid=socialflow_facebook
"
สรุปถ้าในกรณีอย่างนี้ ถ้ารัสเซียตอบโต้อย่างรุนแรง จะมีเหตุการณ์บานปลายไปสู่สงครามโลกขึ้นบ้างมั่ย มีเปอร์เซ็นต์หรือมีโอกาศมากน้อยเพียงใด?"
ถาม สหรัฐฯ-อียูพร้อมใจขับทูตรัสเซียกว่าร้อยคน ตอบโต้เหตุวางยาพิษอดีตสายลับ (เหตุการณ์จะบานปลายไปสู่สงครามโลกมั่ย)
เชื่อกันว่าคำสั่งของหลายประเทศในครั้งนี้ เป็นเหตุการณ์ขับนักการทูตและเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของรัสเซียในต่างประเทศครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ หลังจากที่นายเซอร์เก สกริปาล อดีตสายลับแปรพักตร์ของรัสเซียซึ่งปัจจุบันเป็นพลเมืองอังกฤษ และนางสาวยูเลียบุตรสาวของเขาถูกลอบทำร้ายด้วยสารพิษทำลายประสาทที่เมืองซอลส์บรีของสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา
นอกจากสหรัฐฯจะสั่งขับนักการทูตรัสเซีย 60 คน และกำลังจะสั่งปิดสถานกงสุลรัสเซียในนครซีแอตเทิลแล้ว ชาติสมาชิกอียูซึ่งได้แก่ฝรั่งเศส, เยอรมนี, โปแลนด์, ลิทัวเนีย, สาธารณรัฐเช็ก, เดนมาร์ก, เนเธอร์แลนด์, อิตาลี, สเปน, เอสโทเนีย, โครเอเชีย, ฟินแลนด์, สวีเดน, ฮังการี, ลัตเวีย และโรมาเนีย ต่างก็สั่งขับนักการทูตรัสเซียในประเทศของตนด้วย
ประเทศอื่น ๆ อย่างแคนาดา, ยูเครน, แอลเบเนีย, ออสเตรเลีย, นอร์เวย์ และมาซีโดเนีย ต่างก็ร่วมออกคำสั่งขับนักการทูตรัสเซียเช่นกัน ส่วนไอซ์แลนด์แถลงว่าจะระงับการเจรจาระดับสูงกับรัสเซียลงทั้งหมด และผู้นำประเทศจะไม่เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกที่จะจัดขึ้นที่รัสเซียในเดือนมิ.ย.นี้ เช่นเดียวกับรัฐบาลสหราชอาณาจักรที่ประกาศก่อนหน้านี้ว่า จะไม่ส่งรัฐมนตรีหรือพระราชวงศ์เข้าร่วมมหกรรมการแข่งขันดังกล่าว
ด้านชาติสมาชิกอียูที่ไม่ได้สั่งขับนักการทูตรัสเซีย ซึ่งได้แก่กรีซ ออสเตรีย และโปรตุเกส แถลงว่ารัฐบาลของตนให้การสนับสนุนสหราชอาณาจักร และขอประณามเหตุลอบทำร้ายด้วยการวางยาพิษในครั้งนี้
บรรดาผู้นำชาติสมาชิกอียูเห็นพ้องต้องกันเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่รัสเซียจะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุวางยาพิษอดีตสายลับ ซึ่งเป็นการก่ออาชญากรรมในต่างแดนที่พลอยส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของพลเมืองสหราชอาณาจักรไปด้วย
บรรดานักวิเคราะห์มองว่า คำสั่งขับนักการทูตรัสเซียของชาติสมาชิกอียูครั้งนี้ แสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับสหราชอาณาจักร แม้ทั้งสองฝ่ายจะมีความบาดหมางกันในเรื่องการเจรจาเบร็กซิทมาก่อนหน้านี้ก็ตาม โดยนายโดนัลด์ ทัสค์ ประธานสภายุโรปกล่าวว่า ในไม่ช้านี้อียูจะมีมาตรการตอบโต้รัสเซียอีก ซึ่งอาจรวมถึงการขับเจ้าหน้าที่ทูตเพิ่มเติมด้วยก็เป็นได้
นายบอริส จอห์นสัน รัฐมนตรีต่างประเทศของสหราชอาณาจักรแสดงความชื่นชมชาติสมาชิกอียูต่อ "การตอบโต้จากประชาคมนานาชาติที่ไม่ธรรมดา" ส่วนนายกรัฐมนตรีเทเรซา เมย์ ของอังกฤษกล่าวว่า สหราชอาณาจักรจะร่วมยืนหยัดเคียงบ่าเคียงไหล่กับอียูและพันธมิตรนาโต เพื่อเผชิญภัยคุกคามครั้งนี้ร่วมกัน
ถ้อยแถลงของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯระบุว่า "การโจมตีสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นพันธมิตรของเรา ทำให้ชีวิตของผู้บริสุทธิ์จำนวนนับไม่ถ้วนต้องตกอยู่ในความเสี่ยง เป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี"
ด้านทางการรัสเซียให้คำมั่นว่า จะตอบโต้คำสั่งขับนักการทูตของตนอย่างรุนแรงสาสม โดยขณะนี้สถานทูตรัสเซียในกรุงวอชิงตันของสหรัฐฯได้ออกแบบสอบถามทางทวิตเตอร์ เพื่อให้ชาวรัสเซียลงคะแนนเสียงว่าจะสั่งปิดสถานกงสุลสหรัฐฯแห่งใดในรัสเซียเป็นการตอบโต้
http://www.bbc.com/thai/international-43551475?ocid=socialflow_facebook
" สรุปถ้าในกรณีอย่างนี้ ถ้ารัสเซียตอบโต้อย่างรุนแรง จะมีเหตุการณ์บานปลายไปสู่สงครามโลกขึ้นบ้างมั่ย มีเปอร์เซ็นต์หรือมีโอกาศมากน้อยเพียงใด?"