คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
โคลงน่าจะเริ่มจะมาจากทางเหนือ ไปดูฉันลักษณ์ทางภาคเหนือจะชอบบังคับเสียงวรรณยุกต์
อย่าง ค่าว ที่คุณWANG JIE นำมาลงก็บังคับเสียงวรรณ์ยุกต์ เลยแต่งยากมาก
แต่ถ้าแต่งได้ตามนั้นก็เพราะมากเหมือนกัน
พอมาถึงยุกต์ศรีปราชญ์เหมือนท่านสร้างมาตรฐานไว้สูงมาก ขนาดสุนทรภู่แต่งนิราศสุพรรณยังโดนวิจารณ์ไม่น้อยเหมือนกันนะ
ดังนั้นผมว่าเป็นธรรมดาที่จะมีการวิจารณ์บ้าง ถือว่าเป็นเรื่องดี แต่ส่วนตัวก็ไม่อยากยึดติด
ที่จริงชอบกลอนแนวๆใหม่ๆบ้างเหมือนกันขอให้อ่านง่าย เข้าใจง่าย
ตอนที่ผมจะไปเที่ยวเชียงใหม่ผมค้นเรื่องค้นเรื่องนี้เหมือนกัน บวกกับฟังเพลงไปด้วย เลยคิดว่าการบังคับเสียงวรรณยุกต์มันน่าจะมาจากจังหวะสีซอ
คือมีการลากยาวๆ มีการดึงกลับ เป็นจังหวะตวัดดฉัดเฉือนในแต่ละวรรค
พอจังหวะตวัดดฉัดเฉือน ความหมายก็ต้องเป็นไปตาม มีการเปรียบเทียบเปรีบเปรย หรือมักจะหักล้างกันในวรรคสุดท้าย
อันนี้ทำให้นึกถึงโคลงจีน ที่มักหักมุมตอนวรรคจบ
ส่วนคำสร้อย ที่ถูกจำกัดแค่นั้น ส่วนตัวก็ไม่เห็นด้วย เพราะคิดว่ามันน่าจะเป็นคำในสมัยนั่นเฉยๆ สมัยนี้ก็น่าจะหาคำมาแทนได้โดยไม่เสียรูปโคลง แต่ก็ไม่กล้าขัดครับ (แต่บางทีก็มีขัดบ้าง เพราะถ้าลงไม่ได้จริงๆขัดแย้งกับความหมายที่จะสื่อ ก็ยึดความหมายมากกว่าผัง)
ฉันทลักษณ์จักห่อหุ้ม กวี
หากกล่าวย่อมจักมี กฏปั้น
แต่คำที่เนื้อดี กฏย่อม ไร้นา
เหมือนหนึ่งกระบี่นั้น สุดแล้ว อยู่ใจ
ส่วนตัวคิดว่า อย่าให้ฉันทลักษณ์มาหักล้างความหมายครับ
อย่าง ค่าว ที่คุณWANG JIE นำมาลงก็บังคับเสียงวรรณ์ยุกต์ เลยแต่งยากมาก
แต่ถ้าแต่งได้ตามนั้นก็เพราะมากเหมือนกัน
พอมาถึงยุกต์ศรีปราชญ์เหมือนท่านสร้างมาตรฐานไว้สูงมาก ขนาดสุนทรภู่แต่งนิราศสุพรรณยังโดนวิจารณ์ไม่น้อยเหมือนกันนะ
ดังนั้นผมว่าเป็นธรรมดาที่จะมีการวิจารณ์บ้าง ถือว่าเป็นเรื่องดี แต่ส่วนตัวก็ไม่อยากยึดติด
ที่จริงชอบกลอนแนวๆใหม่ๆบ้างเหมือนกันขอให้อ่านง่าย เข้าใจง่าย
ตอนที่ผมจะไปเที่ยวเชียงใหม่ผมค้นเรื่องค้นเรื่องนี้เหมือนกัน บวกกับฟังเพลงไปด้วย เลยคิดว่าการบังคับเสียงวรรณยุกต์มันน่าจะมาจากจังหวะสีซอ
คือมีการลากยาวๆ มีการดึงกลับ เป็นจังหวะตวัดดฉัดเฉือนในแต่ละวรรค
พอจังหวะตวัดดฉัดเฉือน ความหมายก็ต้องเป็นไปตาม มีการเปรียบเทียบเปรีบเปรย หรือมักจะหักล้างกันในวรรคสุดท้าย
อันนี้ทำให้นึกถึงโคลงจีน ที่มักหักมุมตอนวรรคจบ
ส่วนคำสร้อย ที่ถูกจำกัดแค่นั้น ส่วนตัวก็ไม่เห็นด้วย เพราะคิดว่ามันน่าจะเป็นคำในสมัยนั่นเฉยๆ สมัยนี้ก็น่าจะหาคำมาแทนได้โดยไม่เสียรูปโคลง แต่ก็ไม่กล้าขัดครับ (แต่บางทีก็มีขัดบ้าง เพราะถ้าลงไม่ได้จริงๆขัดแย้งกับความหมายที่จะสื่อ ก็ยึดความหมายมากกว่าผัง)
ฉันทลักษณ์จักห่อหุ้ม กวี
หากกล่าวย่อมจักมี กฏปั้น
แต่คำที่เนื้อดี กฏย่อม ไร้นา
เหมือนหนึ่งกระบี่นั้น สุดแล้ว อยู่ใจ
ส่วนตัวคิดว่า อย่าให้ฉันทลักษณ์มาหักล้างความหมายครับ
แสดงความคิดเห็น
วิจารณ์โคลงสี่
ปลุกกระแสตำรา อ่านรู้
สมนามมาลาลา ดาวเด่น ฉกาจแล
รางวัลมอบจอมสู้ กู่ก้องกังวาน
ยอดหญิงชาญเชี่ยวใช้ ชวลิต
ประหนึ่งเดชดวงอิส- ตรีกล้า-
พญาหาญลิขิต- วางเปลี่ยน โลกาเฮย
ทรามวัยขจรฟ้า- ทั่วทั้งมุสลิม ฯ
ประพันธ์เสนาะแล้ว กานดา
ยินยลสุคนธา งามฟุ้ง
จับใจจนจิตรา จรลิ่ว เสมอนา
คำรพกวีคลุ้ง เอ่ยน้อมหนุนเวียน
ขอเขียนโคลงสี่ร้อย กำนัล
แอบชื่นชมทุกวัน พึงรู้
สดุดีจอมขัวญ ฝันใฝ่ ฤดีแฮ
นำเรียงรำพันทู้ ส่งให้อรอนงค์ ฯ
...........
สวัสดีครับ
เนื่องจากมีท่านผู้ปรารถนาดีแจ้งมาทางหลังไมค์ว่า
โคลงสี่ของกระผมตก เอก มากมาย ด้วยว่ากระผมจะหลงลืม เอก ในตำแหน่งต่างๆ
จากตัวอย่าง โคลงทั้งสี่บท ด้านบน กระผมจึงตอบไปว่า
ผมแต่งแบบบังคับโท ไม่บังคับเอก ชื่อว่า โคลงขับ คือไม่แสดงชื่อโคลงไว้ตอนประพันธ์
โคลงขับไม้ เป็นโคลงสี่สุภาพที่ไม่บังคับเอก บังคับแต่โทสี่แห่ง บาทแรก
โทจะอยู่คำที่ ๔ หรือ ๕ ก็ได้มีสัมผัสระหว่างบทคือคำสุดท้ายบทหน้า รับ
สัมผัสคำที่ ๕ บาทแรกบทถัดมา นอกนั้นเหมือนโคลงสี่ฯ
ด้วยเหตุนี้จึงขอความกรุณา จากท่านทั้งหลาย ที่ช่ำชอง โคลงสี่ ในรูปแบบต่างๆ
ช่วยพิจารณาหรือวิพากษ์วิจารณ์ ได้อย่างเต็มที่ เหมาะสม หรือไม่อย่างไร
แก่ผู้มีสติปัญญาน้อยเช่นกระผมด้วยเถิด จักเป็นพระคุณอย่างสูง
ขอบคุณครับ
......
อนึ่งในภาพรูปแบบวาง เอก โท คัดมาจาก สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิต
โปรดดูเพิ่มใน - http://kanchanapisek.or.th/kp6/Ebook/BOOK17/book17_2/Default.html