[หนังโรงเรื่องที่ 221] Pacific Rim: Uprising - ถ้าเราอยากดูหุ่นยนต์ตีลังกา เราไปดูเรื่องอื่นก็ได้ ; (Steven S. DeKnight, 2018)
by ตั๋วหนังมันแพง
คะแนนความชอบ : B (จากสเกล D-A)
*ผู้เขียนเป็นแฟนบอยของหนังชุดนี้
*ไม่มีการสปอยล์เนื้อเรื่องสำคัญ
เรื่องย่อ: เหตุการณ์ 10 ปีนับจาก Pacific Rim ภาคแรก หลังจากที่มนุษย์ได้เอาชนะศึกกับ "ไคจู" และ "พรีเคอเซอร์" เอเลี่ยนผู้หวังรุกราน และปิดรอยแยกเชื่อมมิติไปแล้ว โลกก็ได้กลับสู่ภาวะสงบสุขอีกครั้ง เมืองต่างๆ เริ่มบูรณะตัวเอง บ้างก็ถูกปล่อยรกร้างเป็นแดนเถื่อนนอกกฎหมายไป แต่มนุษย์ก็ยังคงผลิต "เยเกอร์" ต่อไป
แต่แล้ววันหนึ่งก็มีไคจูตัวใหม่ปรากฎตัวขึ้นมาโดยที่มนุษย์ไม่รู้ว่ามันมาจากไหน อีกทั้งยังมี "เยเกอร์เถื่อน" ที่ออกมาโจมตีเมืองต่างๆ อีก
ร้อนไปถึงหน่วยฝึกพลขับเยเกอร์ที่เกาะทะเลจีนใต้ ต้องไปเรียกตัว "เจค เพนเทคอสท์" (John Boyega) ลูกชายของอดีตผู้บังคับบัญชาในตำนานให้กลับมาเป็นครูฝึกพลขับรุ่นใหม่เพื่อรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้
.
.
ถือว่าเป็นหนังที่ทำใจให้ชอบไม่ลงจริงๆ ด้วยความที่มันเป็นภาคต่อของหนังหุ่นยนต์ระดับคลาสสิคที่มันทำเอาไว้ดีมากๆ ทั้งงานศิลป์ เส้นเรื่อง และสไตล์ของฉากต่อสู้ที่ดูหนักแน่นโครมคราม ทั้งหมดทั้งมวลมันคือแก่นที่ทำให้เรารัก "Pacific Rim" ภาคแรก ... แต่ดูเหมือนว่าหนังเรื่องนี้จะเป็นอีกเรื่องที่ไม่สามารถสลายคำสาป "หนังภาคต่อ" ได้เช่นกัน
.
เริ่มกันที่ข้อดีก่อน (เพราะมีน้อย) สิ่งที่ผู้เขียนรู้สึกว่าหนังทำออกมาได้ดีก็คือ "การต่อยอด" จากพล็อตภาคแรก ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุที่แท้จริงของเส้นทางการโจมตีของไคจู ว่าจริงๆ แล้วพวกมันก็มีจุดมุ่งหมายอยู่นะ มันไม่ได้ถูกส่งมาพังตึกหรือเข่นฆ่ามนุษย์เล่นๆ และหนังก็ยังปูเหตุผลรองรับที่มาที่ไปของพล็อตในภาคนี้ได้ค่อนข้างครบถ้วน มันเลยดูไม่ค่อย "ขี้โม้" สักเท่าไร
รวมไปถึงพาร์ทของสองนักวิทยาศาสตร์ที่เคยประสานสมอง (Neural Handshake) กับไคจูมาแล้ว อย่าง "ด.ร.นิวตัน" (Charlie Day) และ "ด.ร.เฮอร์แมนน์" (Burn Gorman) นี่ก็ถือว่าทำออกมาได้ไหลลื่นดี และกลายเป็นส่วนสำคัญในภายหลังที่ค่อนข้างน่าตื่นตะลึงพอสมควร ถ้าไม่ติดว่าการตัดต่อในช่วงเฉลยปมมันดูฉับไวเกินงามไปหน่อยเราอาจจะอินมากกว่านั้นก็ได้
.
ส่วนด้อยข้อแรกที่อยากพูดถึงก็คือ "เยเกอร์และฉากต่อสู้" ที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของหนังชุดนี้--ซึ่งหนังก็ทำออกมาพังระดับหนึ่งจนน่าหงุดหงิด ถ้าถามว่าจุดเด่นในภาคแรกที่คนชอบนักหนาคืออะไร?
ก็ต้องบอกว่ามันคือ "ความหนัก" ของหุ่นที่มีน้ำหนักถึง 2500 ตัน และ "ความหนืด" ของการเคลื่อนไหวที่ดูอืดอาด เชื่องช้า แต่ก็ทรงพลังด้วยโมเมนตั้มตามหลักฟิสิกส์ ดังนั้นเวลาเยเกอร์ซัดกับไคจูท่ามกลางสายฝนที่โปรยปรายในค่ำคืนที่มืดมิดมันก็จะดูโครมครามชวนให้ตื่นตาตื่นใจยิ่งนัก
แต่แฟนตาซีที่จะได้เห็นภาพเหล่านั้นในภาคนี้ก็เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง เมื่อเยเกอร์ในภาคนี้ทำได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นตีลังกา วิ่งสี่คูณร้อย กระโดด กลิ้ง กระเด็นจนปลิวไปไกลลิบ โอ๊ย ครบ มันให้ความรู้สึกก๊องแก๊งเหมือนของเล่นพลาสติกมากๆ ความคลาสสิคอันใดก็ตามแต่ จงมลายหายไปกับหุ่นทรานสฟอร์มเมอร์พวกนี้เทอญ
.
และที่น่าผิดหวังเหมือนกันก็คือชุดนักแสดงและหุ่นเยเกอร์ที่ไม่น่าจดจำเอาเสียแล้ว คืออย่างเช่นพวกพลขับเยเกอร์ทั้งหลายที่มันจืดชืดมากๆ จนเราแทบจำชื่อไม่ได้ว่าใครเป็นใคร ไอ้หนูนี่เป็นใคร? แล้วคนที่ตายนี่ชื่ออะไรวะ? อะไรทำนองนี้
และยิ่งการที่มีนักแสดงหลักที่บารมีไม่พอที่จะแบกหนังไว้ทั้งเรื่องอย่าง "จอห์น โบเยก้า" ก็ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ที่ว่าดีขึ้นเลย เหมือนกับว่าบทก็พยายามส่งให้ตัวละครเจคเป็นเหมือน slack off-genius หรืออัจฉริยะที่ไม่เอาถ่านอะไรทำนองนี้ กระทั่งฉากกล่าวคำปลุกใจที่ควรจะดูเท่ ดูขลัง ก็ดันออกมาขาดๆ เกินๆ กระทั่ง ณ จุดนี้ ผู้เขียนก็รู้สึกจริงๆ ว่าเขาไม่มีราศีพอที่จะเป็นตัวละครหลักได้
.
เรื่องเยเกอร์ก็เหมือนกัน ดีไซน์ในภาคนี้น่าเบื่อมากกกกก คือมันไม่มีองค์ประกอบอะไรที่มัน so iconic เลย อย่างเช่นภาคแรกที่หุ่นแต่ละตัวจะออกแบบมาในลักษณะตัวแทนประจำชาติ ยกตัวอย่าง ดังนี้
- เยเกอร์ของรัสเซีย "Cherno Alpha" เป็นหุ่นรุ่นยักษ์สีขาว ไม่มีจุดเด่นอะไรเลย นอกจากชุดเกราะหนา พลังหมัดเยอะ
น้ำหนักเยอะทำให้แกร่ง ซึ่งก็เป็นอิมเมจของประเทศเขานั่นเอง
- ของจีน "Crimson Typhoon" เป็นหุ่นสีแดงรูปร่างเพรียวบาง จุดเด่นคือมีสามแขน ใช้พลขับสามคน (ที่เป็นแฝดสาม)
และลำตัวท่อนบนสามารถหมุนได้รอบทิศ aka. แทบจะตีลังกาได้ นำเสนอภาพของกายกรรมที่ผาดโผนอันเป็นจุดเด่นของจีน
- ของอเมริกา "Gypsy Danger" หุ่นสีน้ำเงินที่มีเตาปฏิกรณ์อยู่กลางอก จุดเด่นคือใช้พลังงานนิวเคลียร์ อาวุธล้ำสมัย ลูกเล่นเยอะ เป็นต้น
แต่พอหันกลับมาภาคนี้ เอ๊ะ สรุปว่าตัวนั้นมันชื่ออะไรนะ จำได้แต่ตัวที่มันเหมือนนินจาใช้ดาบคู่ (ซึ่ง ณ ตอนที่เขียนนี่ก็ไม่รู้ว่าจำชื่อสลับกันรึเปล่า) แต่พ้อยต์ก็คือมันไม่เด่น มันไม่โดดพอทั้งๆ ที่มันเป็นแก่นของหนังเรื่องนี้แท้ๆ
.
ในประเด็นเรื่องของความเป็นจีนที่โดนยัดเข้ามาในหนัง อันนี้ก็ทำใจไว้แล้วล่ะ เพราะค่าย Legendary ถูกนายทุนซื้อเหมาไปเมื่อ 1-2 ปีก่อนนี่เอง แต่ก็ไม่คิดว่ามันจะโฉ่งฉ่างเอาใจนายทุนขนาดนั้น
พลขับเกือบครึ่งก็เป็นคนจีน นักวิทยาศาสตร์ที่ช่วยโลกได้ก็เป็นของจีน กระทั่งผู้บัญชาการสูงสุดก็ยังเป็นคนจีน อื้อหือออ ยอมแล้วจ้ะนายจ๋า รับประกันว่าตีตลาดแผ่นดินใหญ่กระจุยกระจายแน่นอน
.
.
ท้ายที่สุดแล้วในทัศนะของผู้เขียนก็รู้สึกว่า หนังมัน "หลงทาง" จากวิถีที่มันควรจะเป็นไปมากโข ไม่ว่าจะด้วยเหตุทางด้านการทำเงินหรือนายทุนอะไรก็ตามแต่ เสน่ห์ของหนังที่ชื่อว่า Pacific Rim มันได้หายไปแล้ว
กลายเป็นหนังป็อปคอร์นอีกเรื่องหนึ่งที่ดูเอาเพลินๆ มันๆ ได้ ... แต่ก็ไม่มีอะไรมากกว่านั้น
#ตั๋วหนังมันแพง
ถูกใจกับรีวิวหรืออยากมาพูดคุยเกี่ยวกับหนังกัน ขอเชิญได้ที่เพจเฟซบุ๊ก "ตั๋วหนังมันแพง" นะครับ
[หนังโรงเรื่องที่ 221] Pacific Rim: Uprising - ถ้าเราอยากดูหุ่นยนต์ตีลังกา เราไปดูเรื่องอื่นก็ได้ by ตั๋วหนังมันแพง
[หนังโรงเรื่องที่ 221] Pacific Rim: Uprising - ถ้าเราอยากดูหุ่นยนต์ตีลังกา เราไปดูเรื่องอื่นก็ได้ ; (Steven S. DeKnight, 2018)
by ตั๋วหนังมันแพง
คะแนนความชอบ : B (จากสเกล D-A)
*ผู้เขียนเป็นแฟนบอยของหนังชุดนี้
*ไม่มีการสปอยล์เนื้อเรื่องสำคัญ
เรื่องย่อ: เหตุการณ์ 10 ปีนับจาก Pacific Rim ภาคแรก หลังจากที่มนุษย์ได้เอาชนะศึกกับ "ไคจู" และ "พรีเคอเซอร์" เอเลี่ยนผู้หวังรุกราน และปิดรอยแยกเชื่อมมิติไปแล้ว โลกก็ได้กลับสู่ภาวะสงบสุขอีกครั้ง เมืองต่างๆ เริ่มบูรณะตัวเอง บ้างก็ถูกปล่อยรกร้างเป็นแดนเถื่อนนอกกฎหมายไป แต่มนุษย์ก็ยังคงผลิต "เยเกอร์" ต่อไป
แต่แล้ววันหนึ่งก็มีไคจูตัวใหม่ปรากฎตัวขึ้นมาโดยที่มนุษย์ไม่รู้ว่ามันมาจากไหน อีกทั้งยังมี "เยเกอร์เถื่อน" ที่ออกมาโจมตีเมืองต่างๆ อีก
ร้อนไปถึงหน่วยฝึกพลขับเยเกอร์ที่เกาะทะเลจีนใต้ ต้องไปเรียกตัว "เจค เพนเทคอสท์" (John Boyega) ลูกชายของอดีตผู้บังคับบัญชาในตำนานให้กลับมาเป็นครูฝึกพลขับรุ่นใหม่เพื่อรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้
.
ถือว่าเป็นหนังที่ทำใจให้ชอบไม่ลงจริงๆ ด้วยความที่มันเป็นภาคต่อของหนังหุ่นยนต์ระดับคลาสสิคที่มันทำเอาไว้ดีมากๆ ทั้งงานศิลป์ เส้นเรื่อง และสไตล์ของฉากต่อสู้ที่ดูหนักแน่นโครมคราม ทั้งหมดทั้งมวลมันคือแก่นที่ทำให้เรารัก "Pacific Rim" ภาคแรก ... แต่ดูเหมือนว่าหนังเรื่องนี้จะเป็นอีกเรื่องที่ไม่สามารถสลายคำสาป "หนังภาคต่อ" ได้เช่นกัน
เริ่มกันที่ข้อดีก่อน (เพราะมีน้อย) สิ่งที่ผู้เขียนรู้สึกว่าหนังทำออกมาได้ดีก็คือ "การต่อยอด" จากพล็อตภาคแรก ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุที่แท้จริงของเส้นทางการโจมตีของไคจู ว่าจริงๆ แล้วพวกมันก็มีจุดมุ่งหมายอยู่นะ มันไม่ได้ถูกส่งมาพังตึกหรือเข่นฆ่ามนุษย์เล่นๆ และหนังก็ยังปูเหตุผลรองรับที่มาที่ไปของพล็อตในภาคนี้ได้ค่อนข้างครบถ้วน มันเลยดูไม่ค่อย "ขี้โม้" สักเท่าไร
รวมไปถึงพาร์ทของสองนักวิทยาศาสตร์ที่เคยประสานสมอง (Neural Handshake) กับไคจูมาแล้ว อย่าง "ด.ร.นิวตัน" (Charlie Day) และ "ด.ร.เฮอร์แมนน์" (Burn Gorman) นี่ก็ถือว่าทำออกมาได้ไหลลื่นดี และกลายเป็นส่วนสำคัญในภายหลังที่ค่อนข้างน่าตื่นตะลึงพอสมควร ถ้าไม่ติดว่าการตัดต่อในช่วงเฉลยปมมันดูฉับไวเกินงามไปหน่อยเราอาจจะอินมากกว่านั้นก็ได้
ส่วนด้อยข้อแรกที่อยากพูดถึงก็คือ "เยเกอร์และฉากต่อสู้" ที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของหนังชุดนี้--ซึ่งหนังก็ทำออกมาพังระดับหนึ่งจนน่าหงุดหงิด ถ้าถามว่าจุดเด่นในภาคแรกที่คนชอบนักหนาคืออะไร?
ก็ต้องบอกว่ามันคือ "ความหนัก" ของหุ่นที่มีน้ำหนักถึง 2500 ตัน และ "ความหนืด" ของการเคลื่อนไหวที่ดูอืดอาด เชื่องช้า แต่ก็ทรงพลังด้วยโมเมนตั้มตามหลักฟิสิกส์ ดังนั้นเวลาเยเกอร์ซัดกับไคจูท่ามกลางสายฝนที่โปรยปรายในค่ำคืนที่มืดมิดมันก็จะดูโครมครามชวนให้ตื่นตาตื่นใจยิ่งนัก
แต่แฟนตาซีที่จะได้เห็นภาพเหล่านั้นในภาคนี้ก็เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง เมื่อเยเกอร์ในภาคนี้ทำได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นตีลังกา วิ่งสี่คูณร้อย กระโดด กลิ้ง กระเด็นจนปลิวไปไกลลิบ โอ๊ย ครบ มันให้ความรู้สึกก๊องแก๊งเหมือนของเล่นพลาสติกมากๆ ความคลาสสิคอันใดก็ตามแต่ จงมลายหายไปกับหุ่นทรานสฟอร์มเมอร์พวกนี้เทอญ
และที่น่าผิดหวังเหมือนกันก็คือชุดนักแสดงและหุ่นเยเกอร์ที่ไม่น่าจดจำเอาเสียแล้ว คืออย่างเช่นพวกพลขับเยเกอร์ทั้งหลายที่มันจืดชืดมากๆ จนเราแทบจำชื่อไม่ได้ว่าใครเป็นใคร ไอ้หนูนี่เป็นใคร? แล้วคนที่ตายนี่ชื่ออะไรวะ? อะไรทำนองนี้
และยิ่งการที่มีนักแสดงหลักที่บารมีไม่พอที่จะแบกหนังไว้ทั้งเรื่องอย่าง "จอห์น โบเยก้า" ก็ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ที่ว่าดีขึ้นเลย เหมือนกับว่าบทก็พยายามส่งให้ตัวละครเจคเป็นเหมือน slack off-genius หรืออัจฉริยะที่ไม่เอาถ่านอะไรทำนองนี้ กระทั่งฉากกล่าวคำปลุกใจที่ควรจะดูเท่ ดูขลัง ก็ดันออกมาขาดๆ เกินๆ กระทั่ง ณ จุดนี้ ผู้เขียนก็รู้สึกจริงๆ ว่าเขาไม่มีราศีพอที่จะเป็นตัวละครหลักได้
เรื่องเยเกอร์ก็เหมือนกัน ดีไซน์ในภาคนี้น่าเบื่อมากกกกก คือมันไม่มีองค์ประกอบอะไรที่มัน so iconic เลย อย่างเช่นภาคแรกที่หุ่นแต่ละตัวจะออกแบบมาในลักษณะตัวแทนประจำชาติ ยกตัวอย่าง ดังนี้
น้ำหนักเยอะทำให้แกร่ง ซึ่งก็เป็นอิมเมจของประเทศเขานั่นเอง
- ของจีน "Crimson Typhoon" เป็นหุ่นสีแดงรูปร่างเพรียวบาง จุดเด่นคือมีสามแขน ใช้พลขับสามคน (ที่เป็นแฝดสาม)
และลำตัวท่อนบนสามารถหมุนได้รอบทิศ aka. แทบจะตีลังกาได้ นำเสนอภาพของกายกรรมที่ผาดโผนอันเป็นจุดเด่นของจีน
- ของอเมริกา "Gypsy Danger" หุ่นสีน้ำเงินที่มีเตาปฏิกรณ์อยู่กลางอก จุดเด่นคือใช้พลังงานนิวเคลียร์ อาวุธล้ำสมัย ลูกเล่นเยอะ เป็นต้น
แต่พอหันกลับมาภาคนี้ เอ๊ะ สรุปว่าตัวนั้นมันชื่ออะไรนะ จำได้แต่ตัวที่มันเหมือนนินจาใช้ดาบคู่ (ซึ่ง ณ ตอนที่เขียนนี่ก็ไม่รู้ว่าจำชื่อสลับกันรึเปล่า) แต่พ้อยต์ก็คือมันไม่เด่น มันไม่โดดพอทั้งๆ ที่มันเป็นแก่นของหนังเรื่องนี้แท้ๆ
ในประเด็นเรื่องของความเป็นจีนที่โดนยัดเข้ามาในหนัง อันนี้ก็ทำใจไว้แล้วล่ะ เพราะค่าย Legendary ถูกนายทุนซื้อเหมาไปเมื่อ 1-2 ปีก่อนนี่เอง แต่ก็ไม่คิดว่ามันจะโฉ่งฉ่างเอาใจนายทุนขนาดนั้น
พลขับเกือบครึ่งก็เป็นคนจีน นักวิทยาศาสตร์ที่ช่วยโลกได้ก็เป็นของจีน กระทั่งผู้บัญชาการสูงสุดก็ยังเป็นคนจีน อื้อหือออ ยอมแล้วจ้ะนายจ๋า รับประกันว่าตีตลาดแผ่นดินใหญ่กระจุยกระจายแน่นอน
.
ท้ายที่สุดแล้วในทัศนะของผู้เขียนก็รู้สึกว่า หนังมัน "หลงทาง" จากวิถีที่มันควรจะเป็นไปมากโข ไม่ว่าจะด้วยเหตุทางด้านการทำเงินหรือนายทุนอะไรก็ตามแต่ เสน่ห์ของหนังที่ชื่อว่า Pacific Rim มันได้หายไปแล้ว
กลายเป็นหนังป็อปคอร์นอีกเรื่องหนึ่งที่ดูเอาเพลินๆ มันๆ ได้ ... แต่ก็ไม่มีอะไรมากกว่านั้น
#ตั๋วหนังมันแพง
ถูกใจกับรีวิวหรืออยากมาพูดคุยเกี่ยวกับหนังกัน ขอเชิญได้ที่เพจเฟซบุ๊ก "ตั๋วหนังมันแพง" นะครับ