คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
เรียน สมาชิกหมายเลข 4299396
แนะนำให้รีบไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกินก่อนเลยครับ เนื่องจากถ้าหากทางอำเภอหรือเจ้าหน้าที่แจ้งความดำเนินคดี จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 300 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับครับ
ทั้งนี้กรณีไม่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามเวลาที่กำหนด (ตอนอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์) ก็ยังสามารถดำเนินการแจ้งขึ้นทะเบียนทหาร ได้ครับ โดยจะมีการเปรียบเทียบปรับไม่เกิน 300 บาท
เอกสาร/หลักฐาน
1. ใบสูติบัตร(ใบเกิด) หรือ บัตรประจำตัวประชาชน ของผู้แจ้งขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน
2. สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อของผู้แจ้ง พร้อมฉบับจริง
3. สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อของ บิดา มารดา ของผู้แจ้ง พร้อมฉบับจริง
4. หลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล หรือใบมรณบัตร (กรณีบิดามารดาเสียชีวิต)
เมื่อแจ้งขอขึ้นทะเบียนทหารกองเกินต่อนายอำเภอในท้องที่แล้ว นายอำเภอท้องที่จะทำการตรวจสอบหลักฐานเอกสาร เมื่อเห็นว่าถูกต้องจะลงบัญชีทหารกองเกินและออกใบสำคัญทหารกองเกินแบบ สด.9 ให้เป็นหลักฐานครับ แล้วหลังจากนั้นให้ไปรับหมายเรียก (ใบ สด.35) ครับ
กรณีขึ้นทะเบียนล่าช้า (เกินปีที่ต้องแจ้งขึ้นทะเบียน) ทางเจ้าหน้าที่อาจมีการเรียกเก็บในส่วนของค่าธรรมเนียมเอกสาร สด.9 ประมาณ 20 บาท
สถานที่ในการแจ้งขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน แบ่งเป็น 3 กรณีดังนี้
1. กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย
- ถ้าบิดายังมีชีวิตอยู่ ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนาอยู่ (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าบิดาเสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าทั้งบิดาและมารดาเสียชีวิต แต่มีผู้ปกครอง ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่ผู้ปกครองมีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าบิดามารดา หรือผู้ปกครอง เสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่เขตหรืออำเภอท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านก็ให้ลงบัญชีที่อำเภอท้องที่อยู่ในปัจจุบัน
2.กรณีบิดาและมารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย
- กรณีที่บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร ให้ลงบัญชี อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าบิดา มารดามิได้จดทะเบียนสมรส และบิดามิได้จดทะเบียนรับรองบุตร ให้ลงบัญชี อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้ามารดาเสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่ผู้ปกครองมีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าไม่เข้ากรณีดังกล่าวเลย ให้ลงบัญชีที่เขตหรืออำเภอท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนา (มีชื่อตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านให้ลงบัญชีที่อำเภอท้องที่อยู่ในปัจจุบัน
3.กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนหย่าในภายหลัง
- ถ้าบิดายังมีชีวิตอยู่ ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนาอยู่ (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าบิดาเสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
Bunyakiat
แนะนำให้รีบไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกินก่อนเลยครับ เนื่องจากถ้าหากทางอำเภอหรือเจ้าหน้าที่แจ้งความดำเนินคดี จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 300 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับครับ
ทั้งนี้กรณีไม่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามเวลาที่กำหนด (ตอนอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์) ก็ยังสามารถดำเนินการแจ้งขึ้นทะเบียนทหาร ได้ครับ โดยจะมีการเปรียบเทียบปรับไม่เกิน 300 บาท
เอกสาร/หลักฐาน
1. ใบสูติบัตร(ใบเกิด) หรือ บัตรประจำตัวประชาชน ของผู้แจ้งขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน
2. สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อของผู้แจ้ง พร้อมฉบับจริง
3. สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อของ บิดา มารดา ของผู้แจ้ง พร้อมฉบับจริง
4. หลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล หรือใบมรณบัตร (กรณีบิดามารดาเสียชีวิต)
เมื่อแจ้งขอขึ้นทะเบียนทหารกองเกินต่อนายอำเภอในท้องที่แล้ว นายอำเภอท้องที่จะทำการตรวจสอบหลักฐานเอกสาร เมื่อเห็นว่าถูกต้องจะลงบัญชีทหารกองเกินและออกใบสำคัญทหารกองเกินแบบ สด.9 ให้เป็นหลักฐานครับ แล้วหลังจากนั้นให้ไปรับหมายเรียก (ใบ สด.35) ครับ
กรณีขึ้นทะเบียนล่าช้า (เกินปีที่ต้องแจ้งขึ้นทะเบียน) ทางเจ้าหน้าที่อาจมีการเรียกเก็บในส่วนของค่าธรรมเนียมเอกสาร สด.9 ประมาณ 20 บาท
สถานที่ในการแจ้งขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน แบ่งเป็น 3 กรณีดังนี้
1. กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย
- ถ้าบิดายังมีชีวิตอยู่ ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนาอยู่ (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าบิดาเสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าทั้งบิดาและมารดาเสียชีวิต แต่มีผู้ปกครอง ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่ผู้ปกครองมีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าบิดามารดา หรือผู้ปกครอง เสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่เขตหรืออำเภอท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านก็ให้ลงบัญชีที่อำเภอท้องที่อยู่ในปัจจุบัน
2.กรณีบิดาและมารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย
- กรณีที่บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร ให้ลงบัญชี อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าบิดา มารดามิได้จดทะเบียนสมรส และบิดามิได้จดทะเบียนรับรองบุตร ให้ลงบัญชี อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้ามารดาเสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่ผู้ปกครองมีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าไม่เข้ากรณีดังกล่าวเลย ให้ลงบัญชีที่เขตหรืออำเภอท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนา (มีชื่อตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านให้ลงบัญชีที่อำเภอท้องที่อยู่ในปัจจุบัน
3.กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนหย่าในภายหลัง
- ถ้าบิดายังมีชีวิตอยู่ ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนาอยู่ (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าบิดาเสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
Bunyakiat
แสดงความคิดเห็น
ขึ้นทะเบียนทหารช้า ?