อ่าวโค้งรูปวงรี ปากอ่าวเปิดออกเชื่อมกับอ่าวไทย มี
“แหลมตาชี” หรือ “แหลมโพธิ์” ที่เกิดจากสันทรายทับถมกันเป็นแนวยาวยื่นขนานกับแนวแผ่นดินใหญ่ไปในทะเล แบ่งพื้นที่ทะเลนอกกับทะเลในออกจากกัน มีพื้นที่ประมาณ 74 ตารางกิโลเมตร ที่นี่มียังมีทรัพยากรที่สมบูรณ์หลายอย่าง รวมทั้งมีป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ มีสัตว์นานาชนิดที่เป็นแหล่งทำมาหากินของชาวบ้าน เป็นพื้นที่ที่เข้มแข็งอีกแห่งหนึ่งของปัตตานี
ที่นี่คือ อ่าวปัตตานี ต.แหลมโพธิ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี
ชาวบ้านรอบๆ อ่าวปัตตานีเรียกท้องน้ำบริเวณอ่าวปัตตานีว่า
“ลาโอะ” ที่หมายถึง
“ทะเลใน” และเรียกพื้นที่บริเวณทะเลอ่าวไทยด้านนอกอ่าวปัตตานีว่า
“ลาโอะ ลูวา” ที่หมายถึง “ทะเลนอก” แต่ในพื้นที่ทะเลในบริเวณก้นอ่าวปัตตานีวันนี้ยังมี “ป่าชายเลนยะหริ่ง” อันอุดมสมบูรณ์ เป็นดัง
โอเอซิส ซึ่งเป็นทั้งปอดและพื้นที่สีเขียวที่สำคัญมากแห่งหนึ่งของภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย
ผมได้ร่วมทริปมากับ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานนราธิวาส ที่ดูแลการท่องเที่ยวของ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และ
สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย(TEATA) ในฐานะบล็อกเกอร์ การเดินทางมาท่องเที่ยวที่นี่ของผม ได้เห็นรอยยิ้มจากชาวบ้าน ได้เห็นธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และงดงาม มันทำให้ผมลืมภาพความรุนแรงที่ได้เห็นจากสื่อกระแสหลักไปโดยสิ้นเชิง ที่นี่ท่องเที่ยวและเดินถ่ายภาพได้อย่างไร้กังวลทุกคนเป็นมิตรพร้อมที่จะพูดคุยบอกเล่าถึงความงดงามภายในพื้นที่ด้วยความเต็มใจ
ที่อ่าวปัตตานี คณะของเรา ได้มาขึ้นเรือชาวบ้านที่ท่าเรือ
บูนา ดารา (BUNA DARA) ระหว่างรอชาวบ้านเตรียมอาหารและเชคสภาพความพร้อมของเรือ ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับชาวบ้าน ถึงได้ทราบว่าที่ท่าเรือ
BUNA DARA เดิมเป็นชื่อหมู่บ้านที่อยู่ติดกับป่าชายเลน มีประมาณ 10 หลังคาเรือน และดารา คือชื่อต้นพุทรา ภาษามลายู อ่านว่า ดารอ ชาวบ้านในพื้นที่จึงมีแนวคิดที่จะตั้งชื่อท่าเทียบเรือและกลุ่มนี้ว่า
“BUNA DARA” บูนา ดารา เกิดจากการรวมตัวของชาวบ้านในพื้นที่ โดยเริ่มแรกมีสมาชิกแค่ 12 คน ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 96 คน ประกอบด้วย กลุ่มเรือ ซึ่งเป็นเรือที่ใช้ในการประกอบอาชีพประมงของสมาชิกอยู่แล้ว ไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มมากมาย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เลย กลุ่มแม่บ้าน ที่คอยเตรียมอาหารใส่เรือไปให้นักท่องเที่ยวได้ชิมอาหารทะเลสดๆ ที่จับได้ในท้องถิ่นท่ามกลางธรรมชาติที่งดงามของป่าชายเลนและผืนน้ำ สามีภรรยาจะทำงานร่วมกันแบบครอบครัว เพราะกลุ่มบูนาดารา เชื่อว่าถ้าสถาบันครอบครัวเข้มแข็ง ชุมชนก็จะแข้มแข็งด้วย เท่าที่ผมเห็นชุมชนนี้มีทรัพยากรบุคคลที่เข้มแข็ง สามารถทำงานบริการนักท่องเที่ยวได้อย่างประทับใจ
ชาวบ้านได้ออกเรือนำคณะเราไปเที่ยวชมความอุดมสมบูรณ์และสวยงามของป่าชายเลน
อุโมงค์โกงกางมีความยาวประมาณ 700-800 เมตร กว้างประมาณ 6 เมตร เบื้องบนปกคลุมไปด้วยโกงกางต้นสูงใหญ่ใน 2 ฟากฝั่งที่โน้มตัวลงมาคารวะสายน้ำ เกิดเป็นลักษณะของอุโมงค์ต้นไม้ที่ถูกเรียกขานให้เป็น
“อุโมงค์โกงกาง” อันสวยงามน่าทึ่งและมีไม่กี่แห่งในเมืองไทย หลังจากนั้นก็ปิดทริปกันด้วยอาหารทะเลสดๆ น้ำบูดูเคียงผักสด ณ.ชายป่าโกงกางชมพระอาทิตย์อัสดง ทานอาหารไป นั่งชมวิวไป มันเป็นอะไรที่โค่ดฟินฯ ผมขอรับประกัน
หากท่านสนใจ สามารถสอบถามข้อมูลของสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร ใน จ.ปัตตานี เพิ่มเติมได้ที่
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานจังหวัดนราธิวาส(รับผิดชอบพื้นที่นราธิวาส ปัตตานี ยะลา) โทร. 0-7352-2411 , 0-7354-2345
ท่องเที่ยวที่นี่ปลอดภัย ไม่มีอะไรน่ากังวล ปัตตานีไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เราเห็นภาพตามสื่อฯ ครับ
กราบขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูง ที่เข้ามาเยี่ยมชมกัน
ท่องเที่ยวให้สนุก และ มีความสุขกับการถ่ายภาพ นะครับ
มารบูรพา หาเรื่องเที่ยว : Facebook&Bolgspot
ไอ้เสือน้อย : Oknation Blog
พักใจ พักร่างกลางอ่าวปัตตานี ป่าชายเลนที่นี่ก็มีอุโมงค์โกงกาง
ชาวบ้านรอบๆ อ่าวปัตตานีเรียกท้องน้ำบริเวณอ่าวปัตตานีว่า “ลาโอะ” ที่หมายถึง “ทะเลใน” และเรียกพื้นที่บริเวณทะเลอ่าวไทยด้านนอกอ่าวปัตตานีว่า “ลาโอะ ลูวา” ที่หมายถึง “ทะเลนอก” แต่ในพื้นที่ทะเลในบริเวณก้นอ่าวปัตตานีวันนี้ยังมี “ป่าชายเลนยะหริ่ง” อันอุดมสมบูรณ์ เป็นดัง โอเอซิส ซึ่งเป็นทั้งปอดและพื้นที่สีเขียวที่สำคัญมากแห่งหนึ่งของภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย
ผมได้ร่วมทริปมากับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานนราธิวาส ที่ดูแลการท่องเที่ยวของ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และ สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย(TEATA) ในฐานะบล็อกเกอร์ การเดินทางมาท่องเที่ยวที่นี่ของผม ได้เห็นรอยยิ้มจากชาวบ้าน ได้เห็นธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และงดงาม มันทำให้ผมลืมภาพความรุนแรงที่ได้เห็นจากสื่อกระแสหลักไปโดยสิ้นเชิง ที่นี่ท่องเที่ยวและเดินถ่ายภาพได้อย่างไร้กังวลทุกคนเป็นมิตรพร้อมที่จะพูดคุยบอกเล่าถึงความงดงามภายในพื้นที่ด้วยความเต็มใจ
ที่อ่าวปัตตานี คณะของเรา ได้มาขึ้นเรือชาวบ้านที่ท่าเรือ บูนา ดารา (BUNA DARA) ระหว่างรอชาวบ้านเตรียมอาหารและเชคสภาพความพร้อมของเรือ ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับชาวบ้าน ถึงได้ทราบว่าที่ท่าเรือ BUNA DARA เดิมเป็นชื่อหมู่บ้านที่อยู่ติดกับป่าชายเลน มีประมาณ 10 หลังคาเรือน และดารา คือชื่อต้นพุทรา ภาษามลายู อ่านว่า ดารอ ชาวบ้านในพื้นที่จึงมีแนวคิดที่จะตั้งชื่อท่าเทียบเรือและกลุ่มนี้ว่า “BUNA DARA” บูนา ดารา เกิดจากการรวมตัวของชาวบ้านในพื้นที่ โดยเริ่มแรกมีสมาชิกแค่ 12 คน ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 96 คน ประกอบด้วย กลุ่มเรือ ซึ่งเป็นเรือที่ใช้ในการประกอบอาชีพประมงของสมาชิกอยู่แล้ว ไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มมากมาย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เลย กลุ่มแม่บ้าน ที่คอยเตรียมอาหารใส่เรือไปให้นักท่องเที่ยวได้ชิมอาหารทะเลสดๆ ที่จับได้ในท้องถิ่นท่ามกลางธรรมชาติที่งดงามของป่าชายเลนและผืนน้ำ สามีภรรยาจะทำงานร่วมกันแบบครอบครัว เพราะกลุ่มบูนาดารา เชื่อว่าถ้าสถาบันครอบครัวเข้มแข็ง ชุมชนก็จะแข้มแข็งด้วย เท่าที่ผมเห็นชุมชนนี้มีทรัพยากรบุคคลที่เข้มแข็ง สามารถทำงานบริการนักท่องเที่ยวได้อย่างประทับใจ
ชาวบ้านได้ออกเรือนำคณะเราไปเที่ยวชมความอุดมสมบูรณ์และสวยงามของป่าชายเลน อุโมงค์โกงกางมีความยาวประมาณ 700-800 เมตร กว้างประมาณ 6 เมตร เบื้องบนปกคลุมไปด้วยโกงกางต้นสูงใหญ่ใน 2 ฟากฝั่งที่โน้มตัวลงมาคารวะสายน้ำ เกิดเป็นลักษณะของอุโมงค์ต้นไม้ที่ถูกเรียกขานให้เป็น “อุโมงค์โกงกาง” อันสวยงามน่าทึ่งและมีไม่กี่แห่งในเมืองไทย หลังจากนั้นก็ปิดทริปกันด้วยอาหารทะเลสดๆ น้ำบูดูเคียงผักสด ณ.ชายป่าโกงกางชมพระอาทิตย์อัสดง ทานอาหารไป นั่งชมวิวไป มันเป็นอะไรที่โค่ดฟินฯ ผมขอรับประกัน
หากท่านสนใจ สามารถสอบถามข้อมูลของสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร ใน จ.ปัตตานี เพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานจังหวัดนราธิวาส(รับผิดชอบพื้นที่นราธิวาส ปัตตานี ยะลา) โทร. 0-7352-2411 , 0-7354-2345
ท่องเที่ยวที่นี่ปลอดภัย ไม่มีอะไรน่ากังวล ปัตตานีไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เราเห็นภาพตามสื่อฯ ครับ
กราบขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูง ที่เข้ามาเยี่ยมชมกัน
ท่องเที่ยวให้สนุก และ มีความสุขกับการถ่ายภาพ นะครับ
มารบูรพา หาเรื่องเที่ยว : Facebook&Bolgspot
ไอ้เสือน้อย : Oknation Blog