ถ้าพูดถึง Copyright แล้วคนส่วนใหญ่ก็คงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี กับสัญลักษณ์วงกลมแล้วมีตัว C อยู่ข้างใน หรือที่เรารู้จักกันในนามลิขสิทธิ์ โดยลิขสิทธิ์เป็นกฏหมายที่จะคุ้มครองผู้คิดค้นให้ได้รับสิทธิในการใช้งาน และการจำหน่าย ที่เป็นสิทธิแต่ผู้เดียวที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา ไม่ว่าในรูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปทำเช่นว่านั้นด้วย
ส่วนที่เราจะมาทำความรู้กันในวันนี้ นั่นก็คือ Copyleft หรือที่เรียกง่ายๆ ว่าลิขสิทธิ์ซ้าย แค่เห็นก็น่าจะเดาได้ไม่ยากว่าเป็นคำที่จงใจล้อเลียนกับคำว่า Copyright แม้แต่สัญลักษณ์ยังคล้ายกัน แค่กลับด้านของตัวอักษร “C” เท่านั้นเอง ซึ่ง Copyleft นั้นหมายถึงกลุ่มของสัญญาอนุญาต ของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้ง ซอฟต์แวร์ เอกสาร เพลง ศิลปะ โดยอ้างอิงตามกฎหมายลิขสิทธิ์เป็น แนวเปรียบเทียบ ในการจำกัดสิทธิในการคัดลอกงาน และเผยแพร่งาน หรือพูดง่ายๆ ว่า Copyleft เป็นสัญลักษณ์ที่มอบเสรีภาพให้ทุกคน สามารถคัดลอก ดัดแปลง ปรับปรุง และจำหน่ายงานได้ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องยังคงรักษาเสรีภาพเดียวกันนี้ในงานที่ดัดแปลงแก้ไขมา
ซึ่งลักษณะพิเศษของ copyleft ก็คือ การที่เจ้าของลิขสิทธิ์ยอมสละสิทธิบางอย่างที่ได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ และอนุญาตให้ผู้อื่นนำผลงานสร้างสรรค์ของตนไปใช้งานได้ในระดับต่างๆ ได้แก่ อนุญาตให้ใช้ซ้ำ อนุญาตให้ใช้ซ้ำและแก้ไขได้ สามารถใช้ซ้ำในงานที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ และ สามารถใช้ซ้ำในงานที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์และแก้ไขได้ ดังนั้น Copyleft ไม่ใช่สิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับ Copyright โดยสิ้นเชิง แต่เป็นความพยายามเสนอทางเลือกที่เชื่อว่าเป็นประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์ในสังคมมากกว่าระบบลิขสิทธิ์แบบเดิม
ที่มา
http://www.atimedesign.com/webdesign/copyleft-vs-copyright/
Copyright เรารู้จักแล้ว แล้ว Copyleft ล่ะมันคืออะไร?
ส่วนที่เราจะมาทำความรู้กันในวันนี้ นั่นก็คือ Copyleft หรือที่เรียกง่ายๆ ว่าลิขสิทธิ์ซ้าย แค่เห็นก็น่าจะเดาได้ไม่ยากว่าเป็นคำที่จงใจล้อเลียนกับคำว่า Copyright แม้แต่สัญลักษณ์ยังคล้ายกัน แค่กลับด้านของตัวอักษร “C” เท่านั้นเอง ซึ่ง Copyleft นั้นหมายถึงกลุ่มของสัญญาอนุญาต ของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้ง ซอฟต์แวร์ เอกสาร เพลง ศิลปะ โดยอ้างอิงตามกฎหมายลิขสิทธิ์เป็น แนวเปรียบเทียบ ในการจำกัดสิทธิในการคัดลอกงาน และเผยแพร่งาน หรือพูดง่ายๆ ว่า Copyleft เป็นสัญลักษณ์ที่มอบเสรีภาพให้ทุกคน สามารถคัดลอก ดัดแปลง ปรับปรุง และจำหน่ายงานได้ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องยังคงรักษาเสรีภาพเดียวกันนี้ในงานที่ดัดแปลงแก้ไขมา
ซึ่งลักษณะพิเศษของ copyleft ก็คือ การที่เจ้าของลิขสิทธิ์ยอมสละสิทธิบางอย่างที่ได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ และอนุญาตให้ผู้อื่นนำผลงานสร้างสรรค์ของตนไปใช้งานได้ในระดับต่างๆ ได้แก่ อนุญาตให้ใช้ซ้ำ อนุญาตให้ใช้ซ้ำและแก้ไขได้ สามารถใช้ซ้ำในงานที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ และ สามารถใช้ซ้ำในงานที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์และแก้ไขได้ ดังนั้น Copyleft ไม่ใช่สิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับ Copyright โดยสิ้นเชิง แต่เป็นความพยายามเสนอทางเลือกที่เชื่อว่าเป็นประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์ในสังคมมากกว่าระบบลิขสิทธิ์แบบเดิม
ที่มา http://www.atimedesign.com/webdesign/copyleft-vs-copyright/