ดังไม่หยุด ฉุดกันไม่อยู่จริงๆ กับกระแสความดังของละครอิงประวัติศาสตร์เรื่องบุพเพสันนิวาส ที่ออเจ้าทั้งหลายกำลังนิยมกันอยู่ทั่วบ้านทั่วเมือง ไม่ว่าสาวน้อยสาวใหญ่ก็เฝ้าหน้าจออยู่ไม่ห่าง ต่างก็ขำไปกับลีลากวนๆ ชวนหัวของนางเอก และแก้มแดงตาลอยไปพร้อมกันเมื่อพระเอกโผล่เข้ามาในจอ ซึ่งละครเรื่องบุเพสันนิวาสนี้กลายเป็นปรากฎการณ์ที่ดึงความสนใจของผู้คนทั่วไป ให้หันกลับมาสนใจประวัติศาสตร์ของชาติไทยกันมากขึ้น
คุณรอมแพงผู้เขียนนวนิยายเรื่องนี้ได้ให้สัมภาษณ์กับหลายๆ สื่อว่า ตัวเขาใช้เวลารวบรวมข้อมูลนานถึง 3 ปีกว่าจะเขียนเรื่องบุเพสันนิวาสได้ โดยการหาข้อมูลนั้นหาจากหนังสือโบราณและเอกสารโบราณที่หอสมุดแห่งชาติเป็นหลัก ดังนั้นทางหอสมุดแห่งชาติจึงขอเกาะกระแสจัดงาน “ตามรอยละครบุพเพสันนิวาส” ขึ้นมาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม 2561 ที่ห้องวชิรญาณ อาคาร 2 ชั้น 1 หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี โดยมีทั้งการพูดคุยกับคุณรอมแพงและนิทรรศการตามรอยบุพเพสันนิวาสด้วย
นางประนอม คลังทอง รองอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวเปิดงาน
สำหรับการพูดคุยกับคุณรอมแพงมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
-ถ้าถามว่าเป็นอย่างไรบ้างกับกระแสของละครบุพเพสันนิวาส คุณรอมแพงเคยคาดคิดมาก่อนไหมว่ามันจะเกิดเป็นปรากฎการณ์ขณะนี้? คุณรอมแพงตอบว่าตอนที่เขียนก็ไม่ได้คิดอะไรเลย แค่เขียนอย่างที่อยากเขียน แต่พอเขียนจบแล้วมีคนชอบ มีคนตอบรับ นวนิยายเรื่องนี้ก็เลยได้พิมพ์เยอะ ได้มีพิมพ์เพิ่มทุกปี ปีละประมาณ 2-3 ครั้ง
-อย่างล่าสุดเป็นการพิมพ์ครั้งที่ 83 คือแต่ละครั้งจะพิมพ์ประมาณ 1,000 – 1,500 เล่มมาตลอด แต่พิมพ์ครั้งแรก 5,000 เล่ม จนมาถึงตอนนี้ก็คิดว่ามีที่พิมพ์ออกไปแล้วสักประมาณ 90,000 เล่มได้
-ชื่อนามปากกาว่า “รอมแพง” เป็นชื่อของนางเอกในนวนิยายเรื่อง “เวียงกุมกาม” ของคุณทมยันตรี เคยได้โอกาสได้เจอคุณทมยันตรีและได้ขออนุญาตใช้ชื่อรอมแพงเป็นชื่อนามปากกาแล้ว
-ก่อนหน้าที่จะมาเป็นนักเขียนนั้น คุณรอมแพงทำมาหลายอาชีพมาก เท่าที่นับดูประมาณ 11 อาชีพได้ ซึ่งทำให้ได้ประสบการณ์ชีวิตที่หลากหลายเอามาใช้ในงานเขียน
-สมัยเมื่อสัก 10 ปีที่แล้ว คุณรอมแพงได้เล่นเกมมังกรหยกออนไลน์ ที่เป็นเกมสำหรับ PC มีแซท จึงทำให้มีโอกาสได้คุยกับคนที่อยู่ในเกม โดยใช้วาจาที่จิกกัด โดยมีสำนวนที่เสียดสี ทำให้เริ่มมีแฟนคลับติดตามตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว
-สำหรับแรงบันดาลใจจากการแต่งนวนิยายเรื่องบุพเพสันนิวาสนี้ มาจากตอนที่เริ่มเป็นนักเขียนก็อยากจะเขียนนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ เพราะว่าเราเรียนจบมาทางด้านนี้ (คุณรอมแพง จบจากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร) แต่เราอยากจะเขียนให้เป็นเรื่องรักโรแมนติคคอมเมอร์ดี้ เป็นรักแบบกุ๊กกิ๊กๆ และอยากใส่มุกขำๆ ลงไปในนิยายด้วย
-ตอนที่อยากเขียนก็เริ่มหาว่าจะเขียนนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ในยุคไหนดี จึงเริ่มหาข้อมูล โดยมาหาข้อมูลที่หอสมุดแห่งชาติ และห้องสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากรที่วังท่าพระ
-ตอนแรกคิดอยากจะเขียนเป็นยุคสมัยรัชกาลที่ 5 แต่เราตั้งใจจะให้นางเอกของเรารั่วมาก ออกแนวขำๆ หน่อย เราก็คิดว่าถ้าเราเขียนอะไรที่มันใกล้กับปัจจุบันเกินไปมันคงไม่ดีแน่ เพราะว่าลูกหลานของเขายังอยู่ เราจะเล่นพลิกแพลงอะไรได้ไม่เต็มที่นัก
-พอคิดว่าจะเขียนในยุคที่เสียกรุงฯ ก็ไม่น่าจะเขียนได้ เพราะว่ามันจะกลายเป็นโศกนาฎกรรมมากกว่า เรารู้ดีว่าตอนนั้นมันโศรกเศร้ามาก แล้วเราเป็นคนที่ไม่ชอบเรื่องเศร้าๆ ด้วยจึงไม่ได้เลือกเขียนในยุคนี้
-จึงสรุปได้ว่าเขียนถึงยุคในสมเด็จพระนาราษณ์มหาราชน่าจะดีกว่า เพราะในยุคนั้นมีความรุ่งเรืองมาก มีความเจริญมากมายเนื่องจากมีชาวตะวันตกเข้ามาแล้ว เป็นยุคที่บ้านเมืองมีสีสันมาก จึงตัดสินใจเขียนโดยใช้ยุคที่ใกล้จะถึงการสวรรคตของสมเด็จพระนาราษณ์มหาราช
-ช่วงที่หาข้อมูลเกี่ยวกับยุคสมัยนั้น พอเราเจอข้อมูลอะไรที่น่าสนใจเราก็จะพยายามเอาใส่เข้าไปในนิยายของเราด้วย เช่นไปอ่านเจอเรื่องราวที่พราหมณ์มีวิชาอาคม , เรื่องชีปะขาว , เอาตำนานศรีปราชญ์มาใส่ไว้ด้วย ฯลฯ
-ตัวพระเอกในเรื่องเราจับเอาคนที่มีตัวตนจริงๆ ประวัติศาสตร์มาเขียน โดยคนนี้มีรายละเอียดไม่มากไม่รู้ว่าพ่อแม่เป็นใคร จึงเป็นการง่ายที่เราจะจับเอามาผูกเป็นเรื่อง
-หาข้อมูลสำหรับเขียนเรื่องบุพเพสันนิวาสอยู่ประมาณ 3 ปี โดยในช่วงแรกต้องเข้ามาอ่านเอกสารโบราณที่หอสมุดแห่งชาติเกือบทุกวัน ต้องไปดูสถานที่จริงที่อยุธยาด้วย ไปหาข้อมูลในพิพิธภัณฑ์ที่อยุธยา นั่งเรือรอบเกาะอยุธยาเพื่อคิดสร้างเรื่องว่าบ้านใครควรจะอยู่ตรงไหน ตลาดจะอยู่ตรงไนอย่างไร เพื่อความสมจริงของเรื่องโดยใช้แผนที่อยุธยาโบราณเป็นหลัก
-ถามว่าทำไมถึงอยากเขียนเรื่องราวย้อนยุค? คงเป็นเพราะคิดว่าถ้าตัวเราเองย้อนยุคไปได้ เราจะย้อนไปยุคไหน? และเราจะไปทำอะไรบ้าง? เราจึงเขียนเรื่องโดยสร้างให้ตัวนางเอกเป็นผู้ที่ย้อนยุคไปแทนเรา ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นตัวเราเองที่อยากจะย้อนยุคไป
-ต้องคิดถึงรายละเอียดของเรื่องด้วย เช่นถ้าเขียนถึงเรื่องของกิน เราต้องไปหาข้อมูลว่าในสมัยนั้น พริกมีหรือยัง? น้ำปลามีไหม? คนเขากินอะไรกันบ้าง? คิดไปถึงว่าถ้าเป็นผู้หญิงที่มีรอบเดือน สมัยนั้นมีผ้าอนามัยหรือยัง? แล้วเขาใช้อะไรกัน?
.-ส่วนเรื่องการพูดของตัวละครจะใช้ข้อมูลจากจดหมายเหตุลาลูแบร์เป็นหลัก ซึ่งจะมีรายละเอียดทั้งการพูดจาของคน , การอยู่กินของคน , การใช้ชีวิตของคนในยุคนั้น ฯลฯ แล้วก็เอาวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนมาเปรียบเทียบกับรายละเอียดในเรื่องของเราด้วย
-อย่างชื่อของคุณหญิงนิ่ม ตอนที่เขียนยังหาข้อมูลไม่เจอว่าภรรยาของโกษาธิบดี (เหล็ก) ชื่อว่าอะไร? ตอนเขียนเลยใช้ชื่อนิ่มไปก่อน แต่พอเขียนไปสักพักมีคนหาข้อมูลมาให้บอกว่าชื่อนิ่ม ซึ่งตรงกับที่เราใช้พอดีเลย
-ชื่อนางเอก การะเกด มีคนถามว่าเอามาจากเนื้อร้องเพลงกล่อมเด็กใช่ไหม? ที่เนื้อเพลงบอกว่าเจ้ากระเกดทะเลาะกับฝรั่งในตลาด
-ตอนที่ไปชมพิพิธภัณฑ์ที่อยุธยาไปเจอเครื่องกรองน้ำในสมัยโบราณ เลยเอามาใช้ใส่ไว้ในละครด้วย
-ตอนที่จะเริ่มเขียนต้องวางพล็อตคร่าวๆ ไว้ก่อน แล้วจึงหาว่าจะเขียนในยุคสมัยไหนดี พอตัดสินใจได้แล้วว่าจะเขียนในยุคไหนก็ต้องทำพล็อตที่ละเอียดขึ้นมาก่อน จึงจะเขียนได้
-การที่เราหาข้อมูลมานั้น เราต้องอ่านและเอามาย่อยในหัวของเราก่อน โดยพยายามเขียนให้เป็นกลางมากที่สุด สร้างคาแร็กเตอร์ของตัวละครไว้ก่อนเลย ว่าตัวละครตัวไหนชอบอะไร ไม่ชอบอะไร พยายามทำตัวละครในเรื่องให้กลมที่สุด สร้างตัวละครให้เหมือนคนจริงๆ มากที่สุด
-พอเราสร้างคาแร็กเตอร์ของตัวละครชัดเจนทุกตัวแล้ว จะทำให้การเขียนของเราลื่นไหลมากขึ้น
-ในเรื่องบุพเพสันนิวาส คุณรอมแพงเขียนโดยให้ตัวนางเอกมองประวัติศาสตร์ผ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้น โดยพยายามจะแทรกจินตนาการเพิ่มเติมเข้าไปในประวัติศาสตร์ ซึ่งมันจะยากในระดับหนึ่ง
-มีตัวละครแค่ 3-4 ตัว ที่ไม่มีตัวตนจริงๆ ในประวัติศาสตร์ คือตัวนางเอก (การะเกด) , ขุนเรือง , แม่หญิงจันทร์วาด , แม่หญิงจำปา
-เวลาที่เขียนเรื่องเราต้องให้ตัวละครทุกตัวมีเหตุผลในการกระทำของตัวเอง เพื่อความสมจริงเราจึงต้องเอาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มาผสมกับจินตนาการของเรา ทำให้กลายเป็นเรื่องบุพเพสันนิวาสขึ้นมาได้
-ตอนที่เขียนพยายามทำให้เป็นกลางมากที่สุด พยายามเอาทุกกระแส (ข้อมูลทางประวัติศาสตร์) ที่เราหาได้มาใส่ไว้ในนิยายให้มากที่สุด โดยมีพล็อตมาคลุมไว้ ซึ่งอาจจะทำให้คนอ่านอ่านแล้วต้องคิดต่อเองว่าเรื่องจริงมันเป็นอย่างไร? ซึ่งก็ประสบความสำเร็จในการทำให้คนอ่านกลับมาสนใจประวัติศาสตร์ชาติไทยกันมากขึ้น
-อาจารย์ศัลยาผู้เขียนบทก็ต้องหาข้อมูลประกอบการเขียนเช่นเดียวกันกับเรา อาจารย์ศัลยาหาข้อมูลนานกว่า 2 ปี จึงจะเขียนบทละครเรื่องนี้ได้
-ตอนที่เราเขียน เราไม่คิดที่จะเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์เลย ความตั้งใจของเราคือการเล่าประวัติศาสตร์ที่มีอยู่แล้วให้สนุก ให้มีความน่าสนใจ โดยย่อยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ให้ผู้อ่านอ่านได้ง่ายขึ้น
-สำหรับเรื่องที่จะเขียนในภาคที่ 2 นั้น จะเขียนถึงยุคปลายสมัยสมเด็จพระเพทราชา เลยไปถึงยุคพระเจ้าเสือและพระเจ้าท้ายสระ จะพูดถึงเรื่องการค้าของอยุธยาในสมัยนั้น หลังจากที่กองทหารฝรั่งออกไปจากอยุธยาแล้ว ซึ่งอยุธยาในตอนนั้นจะเริ่มทำการค้าขายกับจีนมากขึ้น หาข้อมูลมาเจอว่าในยุคสมัยพระเจ้าท้ายสระไทยมีการขายข้าวให้จีนเยอะมาก
-ในภาค 2 จะเป็นการเล่าประวัติศาสตร์เหมือนเดิม โดยจะเล่าเรื่องตามทามไลน์ ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง แต่จะอัพเดทชีวิตของตัวละครการะเกดหลังจากที่ตัวเขาย้อนยุคไป ซึ่งการเขียนในภาค 2 นี้ต้องมาหาข้อมูลเพิ่มเติมที่หอสมุดแห่งชาติแน่ๆ
-เมื่อ 10 ปีที่แล้วมาหาข้อมูลที่หอสมุดแห่งชาติเพื่อเอาไปเขียนเรื่องบุเพสันนิวาส ปรากฎว่าเอกสารเก่า เอกสารโบราณเราไม่สามารถแตะต้องได้เลย แต่เมื่อ 5 ปีที่แล้วมาหาข้อมูลที่หอสมุดแห่งชาติเพื่อเอาไปเขียนเรื่อง “มณีรัตนะ” ปรากฎว่าเริ่มแตะต้องเอกสารโบราณได้มากขึ้น ถ่ายเอกสารได้แล้ว โดยต้องซีร็อกจดหมายเหตุบางกอกรีคอเดอร์ ที่เขียนเป็นภาษาไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 เอากลับไปอ่านที่บ้าน
-แต่ ณ ปัจจุบันนี้ทางหอสมุดแห่งชาติอนุญาตให้ถ่ายรูปเอกสารโบราณต่างๆ ได้แล้ว และถ่ายซีร็อกหนังสือ โบราณต่างๆ ได้เช่นกัน เพียงแค่กรอกข้อมูลในเอกสารคำขอฯ นิดหน่อยเอง
-ในการอ่านนิยายต่างๆ คุณรอมแพงแนะนำว่าเมื่ออ่านไปแล้ว ควรจะคิดตามไปด้วยว่าเรื่องราวมันเป็นจริงตามที่นิยายเขียนไว้หรือไม่? จะทำให้เราได้ความรู้เพิ่มขึ้นจากการอ่านนิยายด้วย
-ส่วนประเภทของนวนิยายต่างๆ นั้น ถือว่าเป็นความหลากหลายของคนเขียน แต่การที่จะเขียนเรื่องอะไรขึ้นมาสักเรื่อง คนเขียนต้องดูความต้องการของคนอ่านด้วยว่าอยากอ่านเรื่องในแนวนั้นหรือไม่? ซึ่งนักเขียนจะเขียนเรื่องราวอย่างไรก็ได้ แต่ต้องมีเหตุผลรองรับการกระทำต่างๆ ของตัวละครในเรื่องด้วย
-ไม่เคยคิดว่างานเขียนในแนวของตัวเอง (แนวพีเรียดย้อนยุค) จะสูงส่งกว่าของคนอื่น แต่คิดเสมอว่าเราจะเขียนอย่างไรให้คนอ่านจ่ายเงินซื้อหนังสือเราแล้วเขาคุ้มค่ามากที่สุดมากกว่า
ตามรอยละครบุพเพสันนิวาส ... ที่หอสมุดแห่งชาติ
ดังไม่หยุด ฉุดกันไม่อยู่จริงๆ กับกระแสความดังของละครอิงประวัติศาสตร์เรื่องบุพเพสันนิวาส ที่ออเจ้าทั้งหลายกำลังนิยมกันอยู่ทั่วบ้านทั่วเมือง ไม่ว่าสาวน้อยสาวใหญ่ก็เฝ้าหน้าจออยู่ไม่ห่าง ต่างก็ขำไปกับลีลากวนๆ ชวนหัวของนางเอก และแก้มแดงตาลอยไปพร้อมกันเมื่อพระเอกโผล่เข้ามาในจอ ซึ่งละครเรื่องบุเพสันนิวาสนี้กลายเป็นปรากฎการณ์ที่ดึงความสนใจของผู้คนทั่วไป ให้หันกลับมาสนใจประวัติศาสตร์ของชาติไทยกันมากขึ้น
คุณรอมแพงผู้เขียนนวนิยายเรื่องนี้ได้ให้สัมภาษณ์กับหลายๆ สื่อว่า ตัวเขาใช้เวลารวบรวมข้อมูลนานถึง 3 ปีกว่าจะเขียนเรื่องบุเพสันนิวาสได้ โดยการหาข้อมูลนั้นหาจากหนังสือโบราณและเอกสารโบราณที่หอสมุดแห่งชาติเป็นหลัก ดังนั้นทางหอสมุดแห่งชาติจึงขอเกาะกระแสจัดงาน “ตามรอยละครบุพเพสันนิวาส” ขึ้นมาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม 2561 ที่ห้องวชิรญาณ อาคาร 2 ชั้น 1 หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี โดยมีทั้งการพูดคุยกับคุณรอมแพงและนิทรรศการตามรอยบุพเพสันนิวาสด้วย
สำหรับการพูดคุยกับคุณรอมแพงมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
-ถ้าถามว่าเป็นอย่างไรบ้างกับกระแสของละครบุพเพสันนิวาส คุณรอมแพงเคยคาดคิดมาก่อนไหมว่ามันจะเกิดเป็นปรากฎการณ์ขณะนี้? คุณรอมแพงตอบว่าตอนที่เขียนก็ไม่ได้คิดอะไรเลย แค่เขียนอย่างที่อยากเขียน แต่พอเขียนจบแล้วมีคนชอบ มีคนตอบรับ นวนิยายเรื่องนี้ก็เลยได้พิมพ์เยอะ ได้มีพิมพ์เพิ่มทุกปี ปีละประมาณ 2-3 ครั้ง
-อย่างล่าสุดเป็นการพิมพ์ครั้งที่ 83 คือแต่ละครั้งจะพิมพ์ประมาณ 1,000 – 1,500 เล่มมาตลอด แต่พิมพ์ครั้งแรก 5,000 เล่ม จนมาถึงตอนนี้ก็คิดว่ามีที่พิมพ์ออกไปแล้วสักประมาณ 90,000 เล่มได้
-ชื่อนามปากกาว่า “รอมแพง” เป็นชื่อของนางเอกในนวนิยายเรื่อง “เวียงกุมกาม” ของคุณทมยันตรี เคยได้โอกาสได้เจอคุณทมยันตรีและได้ขออนุญาตใช้ชื่อรอมแพงเป็นชื่อนามปากกาแล้ว
-ก่อนหน้าที่จะมาเป็นนักเขียนนั้น คุณรอมแพงทำมาหลายอาชีพมาก เท่าที่นับดูประมาณ 11 อาชีพได้ ซึ่งทำให้ได้ประสบการณ์ชีวิตที่หลากหลายเอามาใช้ในงานเขียน
-สมัยเมื่อสัก 10 ปีที่แล้ว คุณรอมแพงได้เล่นเกมมังกรหยกออนไลน์ ที่เป็นเกมสำหรับ PC มีแซท จึงทำให้มีโอกาสได้คุยกับคนที่อยู่ในเกม โดยใช้วาจาที่จิกกัด โดยมีสำนวนที่เสียดสี ทำให้เริ่มมีแฟนคลับติดตามตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว
-สำหรับแรงบันดาลใจจากการแต่งนวนิยายเรื่องบุพเพสันนิวาสนี้ มาจากตอนที่เริ่มเป็นนักเขียนก็อยากจะเขียนนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ เพราะว่าเราเรียนจบมาทางด้านนี้ (คุณรอมแพง จบจากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร) แต่เราอยากจะเขียนให้เป็นเรื่องรักโรแมนติคคอมเมอร์ดี้ เป็นรักแบบกุ๊กกิ๊กๆ และอยากใส่มุกขำๆ ลงไปในนิยายด้วย
-ตอนที่อยากเขียนก็เริ่มหาว่าจะเขียนนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ในยุคไหนดี จึงเริ่มหาข้อมูล โดยมาหาข้อมูลที่หอสมุดแห่งชาติ และห้องสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากรที่วังท่าพระ
-ตอนแรกคิดอยากจะเขียนเป็นยุคสมัยรัชกาลที่ 5 แต่เราตั้งใจจะให้นางเอกของเรารั่วมาก ออกแนวขำๆ หน่อย เราก็คิดว่าถ้าเราเขียนอะไรที่มันใกล้กับปัจจุบันเกินไปมันคงไม่ดีแน่ เพราะว่าลูกหลานของเขายังอยู่ เราจะเล่นพลิกแพลงอะไรได้ไม่เต็มที่นัก
-พอคิดว่าจะเขียนในยุคที่เสียกรุงฯ ก็ไม่น่าจะเขียนได้ เพราะว่ามันจะกลายเป็นโศกนาฎกรรมมากกว่า เรารู้ดีว่าตอนนั้นมันโศรกเศร้ามาก แล้วเราเป็นคนที่ไม่ชอบเรื่องเศร้าๆ ด้วยจึงไม่ได้เลือกเขียนในยุคนี้
-จึงสรุปได้ว่าเขียนถึงยุคในสมเด็จพระนาราษณ์มหาราชน่าจะดีกว่า เพราะในยุคนั้นมีความรุ่งเรืองมาก มีความเจริญมากมายเนื่องจากมีชาวตะวันตกเข้ามาแล้ว เป็นยุคที่บ้านเมืองมีสีสันมาก จึงตัดสินใจเขียนโดยใช้ยุคที่ใกล้จะถึงการสวรรคตของสมเด็จพระนาราษณ์มหาราช
-ช่วงที่หาข้อมูลเกี่ยวกับยุคสมัยนั้น พอเราเจอข้อมูลอะไรที่น่าสนใจเราก็จะพยายามเอาใส่เข้าไปในนิยายของเราด้วย เช่นไปอ่านเจอเรื่องราวที่พราหมณ์มีวิชาอาคม , เรื่องชีปะขาว , เอาตำนานศรีปราชญ์มาใส่ไว้ด้วย ฯลฯ
-ตัวพระเอกในเรื่องเราจับเอาคนที่มีตัวตนจริงๆ ประวัติศาสตร์มาเขียน โดยคนนี้มีรายละเอียดไม่มากไม่รู้ว่าพ่อแม่เป็นใคร จึงเป็นการง่ายที่เราจะจับเอามาผูกเป็นเรื่อง
-หาข้อมูลสำหรับเขียนเรื่องบุพเพสันนิวาสอยู่ประมาณ 3 ปี โดยในช่วงแรกต้องเข้ามาอ่านเอกสารโบราณที่หอสมุดแห่งชาติเกือบทุกวัน ต้องไปดูสถานที่จริงที่อยุธยาด้วย ไปหาข้อมูลในพิพิธภัณฑ์ที่อยุธยา นั่งเรือรอบเกาะอยุธยาเพื่อคิดสร้างเรื่องว่าบ้านใครควรจะอยู่ตรงไหน ตลาดจะอยู่ตรงไนอย่างไร เพื่อความสมจริงของเรื่องโดยใช้แผนที่อยุธยาโบราณเป็นหลัก
-ถามว่าทำไมถึงอยากเขียนเรื่องราวย้อนยุค? คงเป็นเพราะคิดว่าถ้าตัวเราเองย้อนยุคไปได้ เราจะย้อนไปยุคไหน? และเราจะไปทำอะไรบ้าง? เราจึงเขียนเรื่องโดยสร้างให้ตัวนางเอกเป็นผู้ที่ย้อนยุคไปแทนเรา ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นตัวเราเองที่อยากจะย้อนยุคไป
-ต้องคิดถึงรายละเอียดของเรื่องด้วย เช่นถ้าเขียนถึงเรื่องของกิน เราต้องไปหาข้อมูลว่าในสมัยนั้น พริกมีหรือยัง? น้ำปลามีไหม? คนเขากินอะไรกันบ้าง? คิดไปถึงว่าถ้าเป็นผู้หญิงที่มีรอบเดือน สมัยนั้นมีผ้าอนามัยหรือยัง? แล้วเขาใช้อะไรกัน?
.-ส่วนเรื่องการพูดของตัวละครจะใช้ข้อมูลจากจดหมายเหตุลาลูแบร์เป็นหลัก ซึ่งจะมีรายละเอียดทั้งการพูดจาของคน , การอยู่กินของคน , การใช้ชีวิตของคนในยุคนั้น ฯลฯ แล้วก็เอาวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนมาเปรียบเทียบกับรายละเอียดในเรื่องของเราด้วย
-อย่างชื่อของคุณหญิงนิ่ม ตอนที่เขียนยังหาข้อมูลไม่เจอว่าภรรยาของโกษาธิบดี (เหล็ก) ชื่อว่าอะไร? ตอนเขียนเลยใช้ชื่อนิ่มไปก่อน แต่พอเขียนไปสักพักมีคนหาข้อมูลมาให้บอกว่าชื่อนิ่ม ซึ่งตรงกับที่เราใช้พอดีเลย
-ชื่อนางเอก การะเกด มีคนถามว่าเอามาจากเนื้อร้องเพลงกล่อมเด็กใช่ไหม? ที่เนื้อเพลงบอกว่าเจ้ากระเกดทะเลาะกับฝรั่งในตลาด
-ตอนที่ไปชมพิพิธภัณฑ์ที่อยุธยาไปเจอเครื่องกรองน้ำในสมัยโบราณ เลยเอามาใช้ใส่ไว้ในละครด้วย
-ตอนที่จะเริ่มเขียนต้องวางพล็อตคร่าวๆ ไว้ก่อน แล้วจึงหาว่าจะเขียนในยุคสมัยไหนดี พอตัดสินใจได้แล้วว่าจะเขียนในยุคไหนก็ต้องทำพล็อตที่ละเอียดขึ้นมาก่อน จึงจะเขียนได้
-การที่เราหาข้อมูลมานั้น เราต้องอ่านและเอามาย่อยในหัวของเราก่อน โดยพยายามเขียนให้เป็นกลางมากที่สุด สร้างคาแร็กเตอร์ของตัวละครไว้ก่อนเลย ว่าตัวละครตัวไหนชอบอะไร ไม่ชอบอะไร พยายามทำตัวละครในเรื่องให้กลมที่สุด สร้างตัวละครให้เหมือนคนจริงๆ มากที่สุด
-พอเราสร้างคาแร็กเตอร์ของตัวละครชัดเจนทุกตัวแล้ว จะทำให้การเขียนของเราลื่นไหลมากขึ้น
-ในเรื่องบุพเพสันนิวาส คุณรอมแพงเขียนโดยให้ตัวนางเอกมองประวัติศาสตร์ผ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้น โดยพยายามจะแทรกจินตนาการเพิ่มเติมเข้าไปในประวัติศาสตร์ ซึ่งมันจะยากในระดับหนึ่ง
-มีตัวละครแค่ 3-4 ตัว ที่ไม่มีตัวตนจริงๆ ในประวัติศาสตร์ คือตัวนางเอก (การะเกด) , ขุนเรือง , แม่หญิงจันทร์วาด , แม่หญิงจำปา
-เวลาที่เขียนเรื่องเราต้องให้ตัวละครทุกตัวมีเหตุผลในการกระทำของตัวเอง เพื่อความสมจริงเราจึงต้องเอาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มาผสมกับจินตนาการของเรา ทำให้กลายเป็นเรื่องบุพเพสันนิวาสขึ้นมาได้
-ตอนที่เขียนพยายามทำให้เป็นกลางมากที่สุด พยายามเอาทุกกระแส (ข้อมูลทางประวัติศาสตร์) ที่เราหาได้มาใส่ไว้ในนิยายให้มากที่สุด โดยมีพล็อตมาคลุมไว้ ซึ่งอาจจะทำให้คนอ่านอ่านแล้วต้องคิดต่อเองว่าเรื่องจริงมันเป็นอย่างไร? ซึ่งก็ประสบความสำเร็จในการทำให้คนอ่านกลับมาสนใจประวัติศาสตร์ชาติไทยกันมากขึ้น
-อาจารย์ศัลยาผู้เขียนบทก็ต้องหาข้อมูลประกอบการเขียนเช่นเดียวกันกับเรา อาจารย์ศัลยาหาข้อมูลนานกว่า 2 ปี จึงจะเขียนบทละครเรื่องนี้ได้
-ตอนที่เราเขียน เราไม่คิดที่จะเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์เลย ความตั้งใจของเราคือการเล่าประวัติศาสตร์ที่มีอยู่แล้วให้สนุก ให้มีความน่าสนใจ โดยย่อยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ให้ผู้อ่านอ่านได้ง่ายขึ้น
-สำหรับเรื่องที่จะเขียนในภาคที่ 2 นั้น จะเขียนถึงยุคปลายสมัยสมเด็จพระเพทราชา เลยไปถึงยุคพระเจ้าเสือและพระเจ้าท้ายสระ จะพูดถึงเรื่องการค้าของอยุธยาในสมัยนั้น หลังจากที่กองทหารฝรั่งออกไปจากอยุธยาแล้ว ซึ่งอยุธยาในตอนนั้นจะเริ่มทำการค้าขายกับจีนมากขึ้น หาข้อมูลมาเจอว่าในยุคสมัยพระเจ้าท้ายสระไทยมีการขายข้าวให้จีนเยอะมาก
-ในภาค 2 จะเป็นการเล่าประวัติศาสตร์เหมือนเดิม โดยจะเล่าเรื่องตามทามไลน์ ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง แต่จะอัพเดทชีวิตของตัวละครการะเกดหลังจากที่ตัวเขาย้อนยุคไป ซึ่งการเขียนในภาค 2 นี้ต้องมาหาข้อมูลเพิ่มเติมที่หอสมุดแห่งชาติแน่ๆ
-เมื่อ 10 ปีที่แล้วมาหาข้อมูลที่หอสมุดแห่งชาติเพื่อเอาไปเขียนเรื่องบุเพสันนิวาส ปรากฎว่าเอกสารเก่า เอกสารโบราณเราไม่สามารถแตะต้องได้เลย แต่เมื่อ 5 ปีที่แล้วมาหาข้อมูลที่หอสมุดแห่งชาติเพื่อเอาไปเขียนเรื่อง “มณีรัตนะ” ปรากฎว่าเริ่มแตะต้องเอกสารโบราณได้มากขึ้น ถ่ายเอกสารได้แล้ว โดยต้องซีร็อกจดหมายเหตุบางกอกรีคอเดอร์ ที่เขียนเป็นภาษาไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 เอากลับไปอ่านที่บ้าน
-แต่ ณ ปัจจุบันนี้ทางหอสมุดแห่งชาติอนุญาตให้ถ่ายรูปเอกสารโบราณต่างๆ ได้แล้ว และถ่ายซีร็อกหนังสือ โบราณต่างๆ ได้เช่นกัน เพียงแค่กรอกข้อมูลในเอกสารคำขอฯ นิดหน่อยเอง
-ในการอ่านนิยายต่างๆ คุณรอมแพงแนะนำว่าเมื่ออ่านไปแล้ว ควรจะคิดตามไปด้วยว่าเรื่องราวมันเป็นจริงตามที่นิยายเขียนไว้หรือไม่? จะทำให้เราได้ความรู้เพิ่มขึ้นจากการอ่านนิยายด้วย
-ส่วนประเภทของนวนิยายต่างๆ นั้น ถือว่าเป็นความหลากหลายของคนเขียน แต่การที่จะเขียนเรื่องอะไรขึ้นมาสักเรื่อง คนเขียนต้องดูความต้องการของคนอ่านด้วยว่าอยากอ่านเรื่องในแนวนั้นหรือไม่? ซึ่งนักเขียนจะเขียนเรื่องราวอย่างไรก็ได้ แต่ต้องมีเหตุผลรองรับการกระทำต่างๆ ของตัวละครในเรื่องด้วย
-ไม่เคยคิดว่างานเขียนในแนวของตัวเอง (แนวพีเรียดย้อนยุค) จะสูงส่งกว่าของคนอื่น แต่คิดเสมอว่าเราจะเขียนอย่างไรให้คนอ่านจ่ายเงินซื้อหนังสือเราแล้วเขาคุ้มค่ามากที่สุดมากกว่า