. เริ่มแล้ว.. SETA 2018 มหกรรมพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย จัดต่อเนื่องปีที่ 3 ภายใต้ธีม “Towards Consolidated Innovative Energy Technology” เน้นชูผลงานนวัตกรรมเทคโนโลยียุคใหม่ขานรับไทยแลนด์ 4.0
วันที่ 21 มีนาคม 2561 ณ ศูนย์ประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ พลอากาศ
เอกประจิน จั่นตอง รองนายก รัฐมนตรี เป็นประธานเปิด
งานประชุมวิชาการและนิทรรศการนานาชาติ “โครงการพลังงาน และเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2561” “Sustainable Energy Technology Asia 2018” (SETA 2018)
ในหัวข้อ “Towards Consolidated Innovative Energy Technology” – การใช้นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อ พลังงานที่ยั่งยืน โดยได้รับเกียรติจาก
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ
ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงานกระทรวงพลังงาน และนางสุวรรณา จุ่งรุ่งเรือง รองปลัดกรุงเทพ มหานคร ร่วมในพิธิเปิด โดยมี
รศ.ดร.ธัชชัย สุมิตร ประธานดำเนินงานโครงการพลังงานและเทคโนโลยี ที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2561
พลอากาศเอกประจิน กล่าวว่า “พลังงานเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่นเศรษฐกิจของประเทศ มาโดยตลอด เป็นปัจจัยพื้นฐานต่อยอดสู่การพัฒนาทุกด้าน ทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม แรงงาน สังคม ตลอดจนภาคครัวเรือนล้วนต้องพึ่งพาพลังงานด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น นโยบายของรัฐจำเป็นต้องมีแนวทางการ พัฒนาพลังงาน 4.0 เพื่อขับเคลื่อนและสนับสนุนเศรษฐกิจ โดยคำนึงถึงการอนุรักษ์พลังงาน และการพัฒนาด้าน พลังงานที่ยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมรัฐบาลจึงให้ความสำคัญและให้การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านนวัตกรรมใหม่ๆในด้านพลังงาน ตลอดจนส่งเสริมการผลิตและใช้พลังงานทดแทน การพัฒนาระบบต่างๆ ที่เป็น โครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องและการส่งเสริมการลงทุนแก่ผู้ผลิตทั้งในและต่างประเทศ งาน SETA 2018 ในครั้งนี้ มีผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญทางด้านพลังงานที่จะได้มาแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ร่วมกัน รวมถึงการจัดแสดงผลงานนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆด้านพลังงานเพื่ออันจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนทางพลังงานในภูมิภาคยิ่งขึ้น
รศ.ดร.ธัชชัย สุมิตร ประธานการจัดงาน กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า “การประชุมและนิทรรศการ นานาชาติด้านพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2561 หรือ SETA 2018 ซึ่งเป็นครั้งที่ 3 ที่ประเทศไทย จะได้จัดงานประชุมวิชาการด้านพลังงานในระดับนานาชาติ โดยกระทรวงที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานต่างๆ ทั้ง ภ าครัฐและเอกชนต่างให้การสนับสนุนผลักดันอย่างเต็มที่ให้งานนี้เกิดขึ้น เพื่อเป็นเวทีแสดงศักยภาพของไทย ในการเป็นผู้นำด้านพลังงาน นวัตกรรม เทคโนโลยี ในภูมิภาค และยืนยันความพร้อมของไทยด้านบุคลากรในการ ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการพัฒนาพลังงาน นวัตกรรม สู่เมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืน ของภูมิภาคเอเชีย ภายใต้แนวคิด Towards Consolidated Innovative Energy Technology โดยในงานประชุม ครั้งนี้จะมุ่งเน้นไปในประเด็นที่เป็นเทรนด์ทั้งเอเชียและทั่วโลกล้วนให้ความสำคัญ คือ เรื่องเมืองอัจฉริยะ ซึ่งจาก การคาดการณ์พบว่าในปี 2050 โลกจะมีประชากรคนเมืองเพิ่มขึ้นมากถึง 2.4 พันล้านคน คิดเป็นร้อยละ 66 ของ ประชากรโลกทำให้เกิดการขยายตัวของเมืองอยู่ตลอดเวลา นำมาซึ่งปัญหาและความท้าทายต่างๆ มากมาย ดังนั้น การทำให้ประชาชนที่เข้ามาอยู่อาศัยและใช้บริการในเมืองได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพในการ ใช้ทรัพยากรสูงสุด ก็ต้องทำให้เป็นการขยายตัวของเมืองแบบอัจฉริยะ งาน SETA 2018 ในปีนี้ มีไฮไลท์ สำคัญ ได้แก่ พลังงานทดแทน พลังงานไฟฟ้าและพลังงานลม น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เมืองอัจฉริยะ เทคโนโลยี ดิจิทัล รถพลังงานไฟฟ้าและรถไฮบริด พลังงานแบตเตอรี่ โซนด้านการศึกษาและการจัดประกวดนวัตกรรม อาทิ IoT การประหยัดพลังงาน นิทรรศการ Smart Urbanization จะนำเสนอรูปแบบของเมืองจำลองแห่งอนาคต โดยมี องค์ประกอบหลากหลาย ทั้งรูปแบบการขนส่งมวลชนและปัจเจกบุคคลที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและเป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า (EV) รถไฟรางเบา (Light-rail) และจักรยานแบบแบ่งปันกัน (sharing bike) / อาคารสีเขียวกลมกลืนกับธรรมชาติด้วยสวนแนวตั้งเพื่อช่วยขจัดมลพิษและสร้างอากาศที่บริสุทธิ์ พลังงานหมุน เวียนจากธรรมชาติ เช่น พลังงานจากแผงแสงอาทิตย์ และพลังงานจากกังหันลมแนวตั้ง / การขนส่งสินค้าขนาด เล็กด้วยโดรน ที่ทำให้ประหยัดเวลาประหยัดพลังงานและลดการจราจรในท้องถนน / แปลงผักแบบแนวตั้งและ ฟาร์มอัจฉริยะสำหรับคนเมือง ทำให้คนเมืองได้กินผักสดใหม่ตลอดทั้งปีด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด / บ้านและคอนโด อัจฉริยะที่ช่วยประหยัดพลังงาน และมีการใช้พลังงานหมุนเวียน รวมทั้งระบบอัจฉริยะ ต่างๆ ในบ้านเพื่อความ สะดวกสบายในชีวิตประจำวันรวมทั้งผู้สูงอายุ / ร้านสะดวกซื้ออัจฉริยะเป็นร้านสะดวกซื้อ ที่ใช้พลังงานอย่าง ชาญฉลาด และช่วยลูกค้าซื้อของ ชำระเงินและให้บริการต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีล้ำยุคกล้องวงจรปิดและเซนเซอร์ อัจฉริยะเพื่อตรวจจับภาพเหตุการณ์และสัญญาณต่างๆ เช่น สภาพจราจร สภาพสิ่งแวดล้อม และแสงสว่าง สาธารณะ / การบริหารด้านความปลอดภัย และสาธารณภัยต่างๆ ของเมือง / ศูนย์ปฏิบัติการเมืองอัจฉริยะที่จะ เป็นศูนย์ข้อมูลและบริหารจัดการเมืองทั้งหมดที่ดึงมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ และนำเสนอในรูปแบบที่เข้าใจง่าย สำหรับผู้บริหารในการตัดสินใจ”
ซึ่งในพิธีเปิดงาน ยังได้มีการจัดปาฐกถาพิเศษ โดยมีวิทยากรปาฐกถาหลัก ได้แก่ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฯพณฯนาย ชิโร ซะโดะชิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำ ประเทศไทย คุณแอคเนตา ไรซิ่ง ผู้อำนวยการสมาคมนิวเคลียร์โลก (Ms. Agneta Rising, Director General of the World Nuclear Association) และ ดร.ซานจายาน เวลูแธม กรรมการบริหารศูนย์พลังงานอาเซียน (Ir.Dr. Sanjayan Velautham, Executive Director of the ASEAN Centre for Energy (ACE)) ที่จะมาร่วมให้ความรู้ เกี่ยวกับด้านพลังงาน และเทคโนโลยีต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
ด้านกิจกรรมภายในงาน SETA 2018 ในปีนี้ ไฮไลท์สำคัญของการจัดงาน คือ นิทรรศการ Smart Urbanization
ที่จัดแสดงการขยายเมืองอัจฉริยะแห่งอนาคตด้วยนวัตกรรมหลากหลายรูปแบบ โดดเด่น ด้วยความสมาร์ททั้ง 10 ประการ
1.
SETA SMART Energy อาคารประหยัดพลังงานอัจฉริยะที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เอง โดยใช้ระบบ การผลิตไฟฟ้า 2 รูปแบบได้แก่ แผงโซล่าร์และกังหันลม นอกจากนี้รูปทรงของตัวอาคารยังเน้นให้ สามารถถ่ายเทอากาศได้ดี มีการระบายความร้อน และมีระบบปรับอากาศโดยใช้ระบบลมเย็น ถ่ายเทอากาศจากใต้พื้นดิน (Geo-Thermal Circulation)
2.
Smart Home จัดแสดงห้องพักภายในที่อยู่อาศัยซึ่งมีการนำพลังงานจากแผงโซล่าร์มาใช้ในชีวิต ประจำวันได้จริงอย่างครบวงจร ผ่านพลังงานที่เก็บไว้ใน Energy Storage แบรนด์ Cube ของ Beta Energy จากนั้นจึงนำกระแสไฟฟ้ามาใช้สอยกับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ อาทิ เครื่องชงกาแฟ เครื่องปรับ อากาศ หลอดไฟ รวมถึงการป้อนพลังงานเข้าไปที่ระบบ EV Charging Station เพื่อนำไปชาร์จ กระแสไฟฟ้าให้กับรถยนต์ไฟฟ้าได้อีกด้วย
3.
Smart Farm ชมฟาร์มเมล่อนที่ปลูกในระบบปิด โดยมีการนำพลังงานจากโซล่าร์ มาจ่ายไฟ ให้กับระบบการให้น้ำ ให้ปุ๋ย และระบบตรวจสอบความชื้นในดินและโรงเรือน ตลอดจนนำเสนอ Mobile Application เพื่อใช้ในการมอนิเตอร์ระบบต่างๆ ผ่านสมาร์ทโฟน ซึ่งในอนาคตแอพพลิเคชั่น เหล่านี้ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังระบบจ่ายเงิน และระบบ e-commerce ได้อีกด้วย นอกจากนี้ใน บริเวณเดียวกัน ยังมีการจัดแสดงรถไถไร้คนขับที่บังคับโดยระบบ GPS รวมถึงการใช้โดรนเพื่อใช้ ในการ ใส่ยาและให้ปุ๋ย รวมถึงการสาธิตการใช้โดรนบังคับในการส่งของ
4.
Smart Retail นำเสนอร้าน 7-11 ในรูปแบบ 7-11 Digital Modern Trade โดย CP ALL ที่มีการ ซื้อขาย สินค้าเสมือนจริง โดยใช้แอพพลิเคชั่นในการสั่งของและชำระเงิน และร้านค้าในอนาคตของ 7-11 ด้านหน้าร้านจะมีติดตั้งระบบชาร์จกระแสไฟฟ้า สำหรับรถมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้า
5.
Smart CCTV and Sensor การติดตั้งระบบ CCTV ทั่วงาน เพื่อเชื่อมต่อกับระบบตรวจจับใบหน้า และทะเบียนรถ เพื่อส่งมายังศูนย์กลางระบบควบคุมอัจฉริยะ
6.
Smart City IOC ระบบควบคุมอัจฉริยะ ที่มีการส่งสัญญาณจากจุดต่างๆทั่วเมือง มายังศูนย์ควบคุม โดยใช้ตัวอย่างจากเมืองภูเก็ต ซึ่งเป็นต้นแบบ Smart City ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA)
7.
เฮลิคอปเตอร์ไร้คนขับ ชมนวัตกรรมอันล้ำสมัยของยานพาหนะแห่งอนาคตที่ควบคุมการทำงาน โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ขับขี่
8.
เสาประชารัฐ คือเสาควบคุมระบบ GPS รับส่งและกระจายสัญญานให้ครอบคลุมพื้นที่เพื่อให้ สามารถรองรับการใช้งานของ Smart City ในอนาคต
9.
Smart Drone ตัวอย่างการนำโดรนมาใช้รองรับในการขยายตัว บำรุงรักษา และสำรวจระบบ โรงไฟฟ้าระบบสายส่ง และอาคารสูงในเมือง และการติดตั้งกล้อง CCTV บนระบบโดรน เพื่อใช้ ในพื้นที่สุ่มเสี่ยง
10.
Smart Light Rail Train รถไฟฟ้ารางเบา ซึ่งเป็นการขนส่งสาธารณะที่สามารถรองรับสัญจรของผู้คน ทั้งในเขตเมืองและกระจายสู่นอกเมือง พลังงานที่ใช้ยังไร้มลพิษ เหมาะกับแนวคิดของเมืองอัจฉริยะ
เริ่มแล้ว.. SETA 2018 มหกรรมพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย จัดต่อเนื่องปีที่ 3
วันที่ 21 มีนาคม 2561 ณ ศูนย์ประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายก รัฐมนตรี เป็นประธานเปิด งานประชุมวิชาการและนิทรรศการนานาชาติ “โครงการพลังงาน และเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2561” “Sustainable Energy Technology Asia 2018” (SETA 2018) ในหัวข้อ “Towards Consolidated Innovative Energy Technology” – การใช้นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อ พลังงานที่ยั่งยืน โดยได้รับเกียรติจาก นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงานกระทรวงพลังงาน และนางสุวรรณา จุ่งรุ่งเรือง รองปลัดกรุงเทพ มหานคร ร่วมในพิธิเปิด โดยมี รศ.ดร.ธัชชัย สุมิตร ประธานดำเนินงานโครงการพลังงานและเทคโนโลยี ที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2561
พลอากาศเอกประจิน กล่าวว่า “พลังงานเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่นเศรษฐกิจของประเทศ มาโดยตลอด เป็นปัจจัยพื้นฐานต่อยอดสู่การพัฒนาทุกด้าน ทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม แรงงาน สังคม ตลอดจนภาคครัวเรือนล้วนต้องพึ่งพาพลังงานด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น นโยบายของรัฐจำเป็นต้องมีแนวทางการ พัฒนาพลังงาน 4.0 เพื่อขับเคลื่อนและสนับสนุนเศรษฐกิจ โดยคำนึงถึงการอนุรักษ์พลังงาน และการพัฒนาด้าน พลังงานที่ยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมรัฐบาลจึงให้ความสำคัญและให้การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านนวัตกรรมใหม่ๆในด้านพลังงาน ตลอดจนส่งเสริมการผลิตและใช้พลังงานทดแทน การพัฒนาระบบต่างๆ ที่เป็น โครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องและการส่งเสริมการลงทุนแก่ผู้ผลิตทั้งในและต่างประเทศ งาน SETA 2018 ในครั้งนี้ มีผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญทางด้านพลังงานที่จะได้มาแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ร่วมกัน รวมถึงการจัดแสดงผลงานนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆด้านพลังงานเพื่ออันจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนทางพลังงานในภูมิภาคยิ่งขึ้น
รศ.ดร.ธัชชัย สุมิตร ประธานการจัดงาน กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า “การประชุมและนิทรรศการ นานาชาติด้านพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2561 หรือ SETA 2018 ซึ่งเป็นครั้งที่ 3 ที่ประเทศไทย จะได้จัดงานประชุมวิชาการด้านพลังงานในระดับนานาชาติ โดยกระทรวงที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานต่างๆ ทั้ง ภ าครัฐและเอกชนต่างให้การสนับสนุนผลักดันอย่างเต็มที่ให้งานนี้เกิดขึ้น เพื่อเป็นเวทีแสดงศักยภาพของไทย ในการเป็นผู้นำด้านพลังงาน นวัตกรรม เทคโนโลยี ในภูมิภาค และยืนยันความพร้อมของไทยด้านบุคลากรในการ ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการพัฒนาพลังงาน นวัตกรรม สู่เมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืน ของภูมิภาคเอเชีย ภายใต้แนวคิด Towards Consolidated Innovative Energy Technology โดยในงานประชุม ครั้งนี้จะมุ่งเน้นไปในประเด็นที่เป็นเทรนด์ทั้งเอเชียและทั่วโลกล้วนให้ความสำคัญ คือ เรื่องเมืองอัจฉริยะ ซึ่งจาก การคาดการณ์พบว่าในปี 2050 โลกจะมีประชากรคนเมืองเพิ่มขึ้นมากถึง 2.4 พันล้านคน คิดเป็นร้อยละ 66 ของ ประชากรโลกทำให้เกิดการขยายตัวของเมืองอยู่ตลอดเวลา นำมาซึ่งปัญหาและความท้าทายต่างๆ มากมาย ดังนั้น การทำให้ประชาชนที่เข้ามาอยู่อาศัยและใช้บริการในเมืองได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพในการ ใช้ทรัพยากรสูงสุด ก็ต้องทำให้เป็นการขยายตัวของเมืองแบบอัจฉริยะ งาน SETA 2018 ในปีนี้ มีไฮไลท์ สำคัญ ได้แก่ พลังงานทดแทน พลังงานไฟฟ้าและพลังงานลม น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เมืองอัจฉริยะ เทคโนโลยี ดิจิทัล รถพลังงานไฟฟ้าและรถไฮบริด พลังงานแบตเตอรี่ โซนด้านการศึกษาและการจัดประกวดนวัตกรรม อาทิ IoT การประหยัดพลังงาน นิทรรศการ Smart Urbanization จะนำเสนอรูปแบบของเมืองจำลองแห่งอนาคต โดยมี องค์ประกอบหลากหลาย ทั้งรูปแบบการขนส่งมวลชนและปัจเจกบุคคลที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและเป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า (EV) รถไฟรางเบา (Light-rail) และจักรยานแบบแบ่งปันกัน (sharing bike) / อาคารสีเขียวกลมกลืนกับธรรมชาติด้วยสวนแนวตั้งเพื่อช่วยขจัดมลพิษและสร้างอากาศที่บริสุทธิ์ พลังงานหมุน เวียนจากธรรมชาติ เช่น พลังงานจากแผงแสงอาทิตย์ และพลังงานจากกังหันลมแนวตั้ง / การขนส่งสินค้าขนาด เล็กด้วยโดรน ที่ทำให้ประหยัดเวลาประหยัดพลังงานและลดการจราจรในท้องถนน / แปลงผักแบบแนวตั้งและ ฟาร์มอัจฉริยะสำหรับคนเมือง ทำให้คนเมืองได้กินผักสดใหม่ตลอดทั้งปีด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด / บ้านและคอนโด อัจฉริยะที่ช่วยประหยัดพลังงาน และมีการใช้พลังงานหมุนเวียน รวมทั้งระบบอัจฉริยะ ต่างๆ ในบ้านเพื่อความ สะดวกสบายในชีวิตประจำวันรวมทั้งผู้สูงอายุ / ร้านสะดวกซื้ออัจฉริยะเป็นร้านสะดวกซื้อ ที่ใช้พลังงานอย่าง ชาญฉลาด และช่วยลูกค้าซื้อของ ชำระเงินและให้บริการต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีล้ำยุคกล้องวงจรปิดและเซนเซอร์ อัจฉริยะเพื่อตรวจจับภาพเหตุการณ์และสัญญาณต่างๆ เช่น สภาพจราจร สภาพสิ่งแวดล้อม และแสงสว่าง สาธารณะ / การบริหารด้านความปลอดภัย และสาธารณภัยต่างๆ ของเมือง / ศูนย์ปฏิบัติการเมืองอัจฉริยะที่จะ เป็นศูนย์ข้อมูลและบริหารจัดการเมืองทั้งหมดที่ดึงมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ และนำเสนอในรูปแบบที่เข้าใจง่าย สำหรับผู้บริหารในการตัดสินใจ”
ซึ่งในพิธีเปิดงาน ยังได้มีการจัดปาฐกถาพิเศษ โดยมีวิทยากรปาฐกถาหลัก ได้แก่ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฯพณฯนาย ชิโร ซะโดะชิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำ ประเทศไทย คุณแอคเนตา ไรซิ่ง ผู้อำนวยการสมาคมนิวเคลียร์โลก (Ms. Agneta Rising, Director General of the World Nuclear Association) และ ดร.ซานจายาน เวลูแธม กรรมการบริหารศูนย์พลังงานอาเซียน (Ir.Dr. Sanjayan Velautham, Executive Director of the ASEAN Centre for Energy (ACE)) ที่จะมาร่วมให้ความรู้ เกี่ยวกับด้านพลังงาน และเทคโนโลยีต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
ด้านกิจกรรมภายในงาน SETA 2018 ในปีนี้ ไฮไลท์สำคัญของการจัดงาน คือ นิทรรศการ Smart Urbanization ที่จัดแสดงการขยายเมืองอัจฉริยะแห่งอนาคตด้วยนวัตกรรมหลากหลายรูปแบบ โดดเด่น ด้วยความสมาร์ททั้ง 10 ประการ
1. SETA SMART Energy อาคารประหยัดพลังงานอัจฉริยะที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เอง โดยใช้ระบบ การผลิตไฟฟ้า 2 รูปแบบได้แก่ แผงโซล่าร์และกังหันลม นอกจากนี้รูปทรงของตัวอาคารยังเน้นให้ สามารถถ่ายเทอากาศได้ดี มีการระบายความร้อน และมีระบบปรับอากาศโดยใช้ระบบลมเย็น ถ่ายเทอากาศจากใต้พื้นดิน (Geo-Thermal Circulation)
2. Smart Home จัดแสดงห้องพักภายในที่อยู่อาศัยซึ่งมีการนำพลังงานจากแผงโซล่าร์มาใช้ในชีวิต ประจำวันได้จริงอย่างครบวงจร ผ่านพลังงานที่เก็บไว้ใน Energy Storage แบรนด์ Cube ของ Beta Energy จากนั้นจึงนำกระแสไฟฟ้ามาใช้สอยกับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ อาทิ เครื่องชงกาแฟ เครื่องปรับ อากาศ หลอดไฟ รวมถึงการป้อนพลังงานเข้าไปที่ระบบ EV Charging Station เพื่อนำไปชาร์จ กระแสไฟฟ้าให้กับรถยนต์ไฟฟ้าได้อีกด้วย
3. Smart Farm ชมฟาร์มเมล่อนที่ปลูกในระบบปิด โดยมีการนำพลังงานจากโซล่าร์ มาจ่ายไฟ ให้กับระบบการให้น้ำ ให้ปุ๋ย และระบบตรวจสอบความชื้นในดินและโรงเรือน ตลอดจนนำเสนอ Mobile Application เพื่อใช้ในการมอนิเตอร์ระบบต่างๆ ผ่านสมาร์ทโฟน ซึ่งในอนาคตแอพพลิเคชั่น เหล่านี้ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังระบบจ่ายเงิน และระบบ e-commerce ได้อีกด้วย นอกจากนี้ใน บริเวณเดียวกัน ยังมีการจัดแสดงรถไถไร้คนขับที่บังคับโดยระบบ GPS รวมถึงการใช้โดรนเพื่อใช้ ในการ ใส่ยาและให้ปุ๋ย รวมถึงการสาธิตการใช้โดรนบังคับในการส่งของ
4. Smart Retail นำเสนอร้าน 7-11 ในรูปแบบ 7-11 Digital Modern Trade โดย CP ALL ที่มีการ ซื้อขาย สินค้าเสมือนจริง โดยใช้แอพพลิเคชั่นในการสั่งของและชำระเงิน และร้านค้าในอนาคตของ 7-11 ด้านหน้าร้านจะมีติดตั้งระบบชาร์จกระแสไฟฟ้า สำหรับรถมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้า
5. Smart CCTV and Sensor การติดตั้งระบบ CCTV ทั่วงาน เพื่อเชื่อมต่อกับระบบตรวจจับใบหน้า และทะเบียนรถ เพื่อส่งมายังศูนย์กลางระบบควบคุมอัจฉริยะ
6. Smart City IOC ระบบควบคุมอัจฉริยะ ที่มีการส่งสัญญาณจากจุดต่างๆทั่วเมือง มายังศูนย์ควบคุม โดยใช้ตัวอย่างจากเมืองภูเก็ต ซึ่งเป็นต้นแบบ Smart City ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA)
7. เฮลิคอปเตอร์ไร้คนขับ ชมนวัตกรรมอันล้ำสมัยของยานพาหนะแห่งอนาคตที่ควบคุมการทำงาน โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ขับขี่
8. เสาประชารัฐ คือเสาควบคุมระบบ GPS รับส่งและกระจายสัญญานให้ครอบคลุมพื้นที่เพื่อให้ สามารถรองรับการใช้งานของ Smart City ในอนาคต
9. Smart Drone ตัวอย่างการนำโดรนมาใช้รองรับในการขยายตัว บำรุงรักษา และสำรวจระบบ โรงไฟฟ้าระบบสายส่ง และอาคารสูงในเมือง และการติดตั้งกล้อง CCTV บนระบบโดรน เพื่อใช้ ในพื้นที่สุ่มเสี่ยง
10. Smart Light Rail Train รถไฟฟ้ารางเบา ซึ่งเป็นการขนส่งสาธารณะที่สามารถรองรับสัญจรของผู้คน ทั้งในเขตเมืองและกระจายสู่นอกเมือง พลังงานที่ใช้ยังไร้มลพิษ เหมาะกับแนวคิดของเมืองอัจฉริยะ