A: คุณเคยเห็นชาวตะวันตกบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไหม เคยเห็นคนทางอเมริกาหรือคนทางยุโรปแก้บนไหม
B: เท่าที่จำความได้ ไม่เคยนะ แต่ก็ไม่แน่ว่าจะไม่มี
A: เทียบกับการบนบานแล้วคนไทยมีการบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือทำการแก้บนไหม
B: ถ้าเป็นสังคมไทยถือเรื่องที่พบเห็นได้โดยทั่วไป
อยากจะพูดประเด็นอะไรว่ามาเลย
A: การบน คือการขอสิ่งที่อยากได้หรือสิ่งที่คาดหวังจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ประเด็นไม่ได้อยู่ตรงนี้ ประเด็นที่จะพูดถึงมันเกิดขึ้นหลังจากการบนบานต่างหาก ซึ่งมันก็คือ เมื่อใดก็ตามที่เราได้ตามที่ขอไว้ เราจะต้องมา "แก้บน" ให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์
โดยหลักการ การบนบานคือการขออะไรบางอย่างจากผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าเรา เป็นการขอโดยวิธีที่ไม่เป็นไปตามวิธีปกติที่จะได้สิ่งที่คาดหวังมา
เช่นถ้าเราบนบานกับสิ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า "ขอให้ลูกสอบเข้าโรงเรียนได้" และถ้าสมมติว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นมีอำนาจให้ลูกของเราสอบเข้าได้จริงๆ เราก็จะแก้บนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น
นี่ถือว่าเป็นการเอาเปรียบเด็กคนอื่นที่ขยันอ่านหนังสือแล้วสอบเข้าได้ใช่ไหม ?
.
หากมองในเชิงโครงสร้าง เราจะเปลี่ยนตัวแสดงในเรื่องเล็กน้อย โดยจะเปลี่ยน "สิ่งศักดิ์สิทธิ์" เป็น "ครูใหญ่"
.
ถ้าเราขอกับครูใหญ่ว่าขอให้ลูกเราได้เข้าเรียนที่นี่ ถ้าเข้าได้เราจะให้เงินตอบแทนกับครูใหญ่คนนั้น
นี่คือการโกงเด็กคนอื่นที่อยากจะเข้าโรงเรียนนี้ใช่ไหม ?
.
เราจะเห็นว่ามันมีโครงสร้างเดียวกัน การบนบานกับการแก้บน ก็คือกระบวนการติดสินบนผู้มีอำนาจ ซึ่งนี่เป็นสิ่งฝังรากลึกมาอย่างยาวนานอยู่ในสังคม
B: เข้าใจแล้ว การทุจริตและการติดสินบนคือสิ่งที่ฝังรากลึกมากับความเชื่อของเรามาอย่างช้านาน
ดังนั้นคนในสังคมของเราจึงมองเรื่องการติดสินบนโดยเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาโดยไม่รู้ตัว
ส่วนชาวตะวันตกไม่ได้มีค่านิยมในการบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้วต้องมาตามแก้บนทีหลัง
A: แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่มีการติดสินบนหรือทุจริตในกลุ่มชาวตะวันตก ซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้วมันย่อมมีการติดสินบนและการทุจริตแน่นอนอยู่แล้ว เพียงแต่มันไม่ใช่เรื่องที่จะทำกันง่ายๆ และถูกมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาสามัญเหมือนอย่างในสังคมของเรา
ฉะนั้นเราไม่สามารถเหมารวมได้ว่าคนไทยชอบติดสินบน
แต่ก็พอจะเห็นแนวโน้มอะไรบางอย่างที่สะท้อนอยู่ในค่านิยมและความเชื่อที่สืบต่อมาอย่างยาวนานของเรา
คิดเห็นกับประเด็นนี้อย่างไรบ้างครับ ร่มแสดงความคิดเห็นกันได้
ปล. ต้องขออนุญาตนำเสนอเป็นเรื่องแต่ง ว่าด้วยบทสนธนาระหว่างคน 2 คนแทนครับ เพราะต้นฉบับของผมเป็นส่นหนึ่งที่จะใช้ในเรื่องสั้นที่กำลังจะเขียนในอนาคตครับ
มองสังคมผ่าน "การบนบาน" และ "การแก้บน"
B: เท่าที่จำความได้ ไม่เคยนะ แต่ก็ไม่แน่ว่าจะไม่มี
A: เทียบกับการบนบานแล้วคนไทยมีการบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือทำการแก้บนไหม
B: ถ้าเป็นสังคมไทยถือเรื่องที่พบเห็นได้โดยทั่วไป
อยากจะพูดประเด็นอะไรว่ามาเลย
A: การบน คือการขอสิ่งที่อยากได้หรือสิ่งที่คาดหวังจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ประเด็นไม่ได้อยู่ตรงนี้ ประเด็นที่จะพูดถึงมันเกิดขึ้นหลังจากการบนบานต่างหาก ซึ่งมันก็คือ เมื่อใดก็ตามที่เราได้ตามที่ขอไว้ เราจะต้องมา "แก้บน" ให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์
โดยหลักการ การบนบานคือการขออะไรบางอย่างจากผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าเรา เป็นการขอโดยวิธีที่ไม่เป็นไปตามวิธีปกติที่จะได้สิ่งที่คาดหวังมา
เช่นถ้าเราบนบานกับสิ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า "ขอให้ลูกสอบเข้าโรงเรียนได้" และถ้าสมมติว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นมีอำนาจให้ลูกของเราสอบเข้าได้จริงๆ เราก็จะแก้บนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น
นี่ถือว่าเป็นการเอาเปรียบเด็กคนอื่นที่ขยันอ่านหนังสือแล้วสอบเข้าได้ใช่ไหม ?
.
หากมองในเชิงโครงสร้าง เราจะเปลี่ยนตัวแสดงในเรื่องเล็กน้อย โดยจะเปลี่ยน "สิ่งศักดิ์สิทธิ์" เป็น "ครูใหญ่"
.
ถ้าเราขอกับครูใหญ่ว่าขอให้ลูกเราได้เข้าเรียนที่นี่ ถ้าเข้าได้เราจะให้เงินตอบแทนกับครูใหญ่คนนั้น
นี่คือการโกงเด็กคนอื่นที่อยากจะเข้าโรงเรียนนี้ใช่ไหม ?
.
เราจะเห็นว่ามันมีโครงสร้างเดียวกัน การบนบานกับการแก้บน ก็คือกระบวนการติดสินบนผู้มีอำนาจ ซึ่งนี่เป็นสิ่งฝังรากลึกมาอย่างยาวนานอยู่ในสังคม
B: เข้าใจแล้ว การทุจริตและการติดสินบนคือสิ่งที่ฝังรากลึกมากับความเชื่อของเรามาอย่างช้านาน
ดังนั้นคนในสังคมของเราจึงมองเรื่องการติดสินบนโดยเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาโดยไม่รู้ตัว
ส่วนชาวตะวันตกไม่ได้มีค่านิยมในการบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้วต้องมาตามแก้บนทีหลัง
A: แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่มีการติดสินบนหรือทุจริตในกลุ่มชาวตะวันตก ซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้วมันย่อมมีการติดสินบนและการทุจริตแน่นอนอยู่แล้ว เพียงแต่มันไม่ใช่เรื่องที่จะทำกันง่ายๆ และถูกมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาสามัญเหมือนอย่างในสังคมของเรา
ฉะนั้นเราไม่สามารถเหมารวมได้ว่าคนไทยชอบติดสินบน
แต่ก็พอจะเห็นแนวโน้มอะไรบางอย่างที่สะท้อนอยู่ในค่านิยมและความเชื่อที่สืบต่อมาอย่างยาวนานของเรา
คิดเห็นกับประเด็นนี้อย่างไรบ้างครับ ร่มแสดงความคิดเห็นกันได้
ปล. ต้องขออนุญาตนำเสนอเป็นเรื่องแต่ง ว่าด้วยบทสนธนาระหว่างคน 2 คนแทนครับ เพราะต้นฉบับของผมเป็นส่นหนึ่งที่จะใช้ในเรื่องสั้นที่กำลังจะเขียนในอนาคตครับ