ดวงจันทร์ในละครโทรทัศน์ “บุพเพสันนิวาส” น่าจะทำให้คนออกมาชมจันทร์กันมากขึ้น เพราะมีฉากชมจันทร์หลายฉากในเรื่อง ตั้งแต่ตอนแรก เรือง (เพื่อนนางเอก) ชวนนางเอกมาชมจันทร์ที่วัดไชยวัฒนาราม, ตอนที่ 5 และตอนที่ 7 พระเอกคุยกับนางเอกตรงทางเดิน
ในเรื่องใช้คำว่า “พระจันทร์” แต่ในทางดาราศาสตร์นิยมเรียกว่า “ดวงจันทร์” อาจเพราะคำว่าดวงจันทร์ให้ความรู้สึกเป็นวัตถุมากกว่า คำว่าพระจันทร์อาจทำให้นึกถึงเทพเทวดา
ยังมีตัวละครชื่อ “จันทร์วาด” ที่มาชอบพระเอก และมีความสำคัญในตอนเปิดเรื่อง
แม้ว่าภาพดวงจันทร์ที่ปรากฏในละครอาจยังไม่ตรงกับความจริงบ้าง เช่น ดวงจันทร์ในตอนที่ 5 ตามภาพที่ยกมา (เข้าใจว่าทำด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์)
1. ขนาดดวงจันทร์ใหญ่กว่าความเป็นจริง ดวงจันทร์ของจริงมีขนาดปรากฏบนท้องฟ้า 0.5 องศา หรือเล็กกว่านิ้วก้อยเราประมาณครึ่งหนึ่ง แต่ในละครทำให้เห็นขนาดใหญ่เกินจริง อาจเพราะถ้าทำเท่าความเป็นจริงจะเห็นดวงจันทร์เล็กนิดเดียว
2. การเอียงของดวงจันทร์ ความเป็นจริงต้องเอียงนอนมากกว่านี้ เมื่อดูที่อยุธยา (หรือที่อื่นในประเทศไทย)
3. ลักษณะการเว้าแหว่งคลาดเคลื่อนไปเมื่อเทียบกับพื้นผิวดวงจันทร์ ตัวอย่างเช่น เมื่อดวงจันทร์เป็นเสี้ยวขนาดนี้ ทะเลแห่งวิกฤตการณ์ (Mare Crisium) ความเป็นจริงควรอยู่ริมเสี้ยวใกล้แนวกึ่งกลาง ไม่ใช่อยู่ริมเสี้ยวใกล้มุมด้านบนเหมือนภาพในละคร
4. มีดาวอยู่ในเงาบนดวงจันทร์ ซึ่งความเป็นจริงจะเป็นไปไม่ได้ เพราะดวงจันทร์จะบังดาวนั้น (ดาวต้องอยู่ข้างหลังดวงจันทร์เสมอ)
5. เห็นดาวที่ไม่สว่างมากอยู่ใกล้ ในความเป็นจริงแสงจันทร์สว่างมากจนทำให้มองไม่เห็นดาวใกล้ ๆ ยกเว้นดาวที่สว่างมากไม่กี่ดวงเท่านั้นที่อาจพอเห็นได้บ้าง เรียกว่า “ดาวเคียงเดือน”
ฯลฯ
อย่างไรก็ตามอาจถือเป็นข้อผิดพลาดบกพร่องเล็กน้อย เพราะไม่ใช่ละครแนวดาราศาสตร์
อยากชวนออเจ้าตามรอยละคร โดยไม่ต้องไปถึงอยุธยา แค่ออกมาชมจันทร์ คืนวันศุกร์ที่ 23 มีนาคม 2561 ช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน ทางทิศตะวันตก ดวงจันทร์จะมีลักษณะดังภาพในละคร
ที่มาภาพ
ภาพบน YouTube Ch3Thailand ตอนที่ 5
https://www.youtube.com/watch?v=yaZ4ZZhme3g&index=39&list=PL0VVVtBqsouqJkbkqMp0WQZkvPgMQ_IjD
ภาพล่างขวา เป็นการนำภาพบนมาขยายตรงดวงจันทร์
ภาพล่างซ้าย จำลองจากโปรแกรม Stellarium 0.17.0 โดยตั้งสถานที่เป็นอยุธยา ตั้งเวลาเป็นวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1682 (พ.ศ. 2225 ปีเดียวกับเนื้อเรื่อง) เวลา 21:00 น. ขนาดดวงจันทร์ 37% ให้ใกล้เคียงกับภาพในละคร แต่ในเรื่องนางเอกบอกว่าครึ่งดวง จะเห็นดวงจันทร์ลักษณะนี้ครั้งต่อไป คืนวันศุกร์ที่ 23 มีนาคม 2561 ช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน ทางทิศตะวันตก
ภาพเพื่อการศึกษาเท่านั้น
The picture is for education only.
เรียบเรียงข้อมูลโดย พงศธร กิจเวช (อัฐ)
Facebook: คนดูดาว Stargazer
https://www.facebook.com/khondudao/
ดวงจันทร์ในบุพเพสันนิวาส
ในเรื่องใช้คำว่า “พระจันทร์” แต่ในทางดาราศาสตร์นิยมเรียกว่า “ดวงจันทร์” อาจเพราะคำว่าดวงจันทร์ให้ความรู้สึกเป็นวัตถุมากกว่า คำว่าพระจันทร์อาจทำให้นึกถึงเทพเทวดา
ยังมีตัวละครชื่อ “จันทร์วาด” ที่มาชอบพระเอก และมีความสำคัญในตอนเปิดเรื่อง
แม้ว่าภาพดวงจันทร์ที่ปรากฏในละครอาจยังไม่ตรงกับความจริงบ้าง เช่น ดวงจันทร์ในตอนที่ 5 ตามภาพที่ยกมา (เข้าใจว่าทำด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์)
1. ขนาดดวงจันทร์ใหญ่กว่าความเป็นจริง ดวงจันทร์ของจริงมีขนาดปรากฏบนท้องฟ้า 0.5 องศา หรือเล็กกว่านิ้วก้อยเราประมาณครึ่งหนึ่ง แต่ในละครทำให้เห็นขนาดใหญ่เกินจริง อาจเพราะถ้าทำเท่าความเป็นจริงจะเห็นดวงจันทร์เล็กนิดเดียว
2. การเอียงของดวงจันทร์ ความเป็นจริงต้องเอียงนอนมากกว่านี้ เมื่อดูที่อยุธยา (หรือที่อื่นในประเทศไทย)
3. ลักษณะการเว้าแหว่งคลาดเคลื่อนไปเมื่อเทียบกับพื้นผิวดวงจันทร์ ตัวอย่างเช่น เมื่อดวงจันทร์เป็นเสี้ยวขนาดนี้ ทะเลแห่งวิกฤตการณ์ (Mare Crisium) ความเป็นจริงควรอยู่ริมเสี้ยวใกล้แนวกึ่งกลาง ไม่ใช่อยู่ริมเสี้ยวใกล้มุมด้านบนเหมือนภาพในละคร
4. มีดาวอยู่ในเงาบนดวงจันทร์ ซึ่งความเป็นจริงจะเป็นไปไม่ได้ เพราะดวงจันทร์จะบังดาวนั้น (ดาวต้องอยู่ข้างหลังดวงจันทร์เสมอ)
5. เห็นดาวที่ไม่สว่างมากอยู่ใกล้ ในความเป็นจริงแสงจันทร์สว่างมากจนทำให้มองไม่เห็นดาวใกล้ ๆ ยกเว้นดาวที่สว่างมากไม่กี่ดวงเท่านั้นที่อาจพอเห็นได้บ้าง เรียกว่า “ดาวเคียงเดือน”
ฯลฯ
อย่างไรก็ตามอาจถือเป็นข้อผิดพลาดบกพร่องเล็กน้อย เพราะไม่ใช่ละครแนวดาราศาสตร์
อยากชวนออเจ้าตามรอยละคร โดยไม่ต้องไปถึงอยุธยา แค่ออกมาชมจันทร์ คืนวันศุกร์ที่ 23 มีนาคม 2561 ช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน ทางทิศตะวันตก ดวงจันทร์จะมีลักษณะดังภาพในละคร
ที่มาภาพ
ภาพบน YouTube Ch3Thailand ตอนที่ 5
https://www.youtube.com/watch?v=yaZ4ZZhme3g&index=39&list=PL0VVVtBqsouqJkbkqMp0WQZkvPgMQ_IjD
ภาพล่างขวา เป็นการนำภาพบนมาขยายตรงดวงจันทร์
ภาพล่างซ้าย จำลองจากโปรแกรม Stellarium 0.17.0 โดยตั้งสถานที่เป็นอยุธยา ตั้งเวลาเป็นวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1682 (พ.ศ. 2225 ปีเดียวกับเนื้อเรื่อง) เวลา 21:00 น. ขนาดดวงจันทร์ 37% ให้ใกล้เคียงกับภาพในละคร แต่ในเรื่องนางเอกบอกว่าครึ่งดวง จะเห็นดวงจันทร์ลักษณะนี้ครั้งต่อไป คืนวันศุกร์ที่ 23 มีนาคม 2561 ช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน ทางทิศตะวันตก
ภาพเพื่อการศึกษาเท่านั้น
The picture is for education only.
เรียบเรียงข้อมูลโดย พงศธร กิจเวช (อัฐ)
Facebook: คนดูดาว Stargazer
https://www.facebook.com/khondudao/