อยากสอบถามผู้รู้ เรื่องกฏระเบียบราชการ ว่า การพิจารณาขั้นเงินเดือนครูนั้น จุดประสงค์คือการมอบความดีความชอบให้ข้าราชการที่ทำงานและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจของข้าราชการให้ทำงานอย่างเต็มที่ แต่ในปัจจุบัน หลายๆโรงเรียน ใน สพฐ มักใช้วิธีการพิจารณาขั้นเงินเดือนด้วยอายุงาน ความเป็นอาวุโส มากกว่าภาระงานหรือผลงาน บาง รร มี นโยบาย ให้2ขั้น ครูใกล้เกษียณ จนหลายครั้ง ครูใหม่ไฟแรง เริ่มหมดกำลังใจ ในการสร้างสรรค์ผลงาน หรือทำงานนอกเหนือจากหน้าที่ เพราะหลายๆครั้ง ทุ่มเทงานนอกเหนือหน้าที่ ก็ไม่ได้รับความดีความชอบ เนื่องจาก นโยบาย หรือ วัฒนธรรมแบบนี้ สรุปแล้วการมอบความดีความชอบ มีจุดประสงค์เพื่ออยากให้ข้าราชการ ทำงานอย่างขึนแข็ง จริงหรือ หรือเป็นเพียง สิ่งที่ตั้งขึ้นมา เพื่อตอบสนอง วัฒนธรรมอาวุโสของคนไทย สิ่งเหล่านี้ อาจเป็นสาเหตุหนึ่ง ของคำว่า เช้าชาม เย็นชาม ของข้าราชการไทยก็ได้ ในเมื่อทุ่มเทไปก็ไม่ได้อะไร ทำงานไปเรื่อยๆรอแก่ดีกว่าไหม อยากให้เพื่อนๆข้าราชการ ลองวิเคราะห์ถึงผลดีผลเสีย ของวัฒนธรรมการให้ความดีความชอบตามความอาวุโส หรือครูเกษียณโดยไม่พิจารณาผลงานหรือการทำงานดูครับ ว่าแต่ละท่านมีความเห็นอย่างไร กับวัฒนธรรมเหล่านี้
วัฒนธรรมการพิจารณาขั้นเงินเดือนข้าราชการครูตามอาวุโสไม่ใช่ผลงานดีจริงหรือ