ตำนานหมอเทวดา2 (จุดเริ่มต้นเป็นหมอประจำตัวพระพุทธเจ้า ฉบับภาษาชาวบ้าน)

ตำนานหมอเทวดา2  (จุดเริ่มต้นเป็นหมอประจำตัวพระพุทธเจ้า ฉบับภาษาชาวบ้าน)
อุยเสี่ยวมินเขียน
            ความโด่งดังของหมอชีวกเข้าถึงหูของพระเจ้าจัณฑปัชโชต แห่งกรุงอุชเชนี  ผู้ครองแคว้นอวันตี มีอาการประหลาด ตัวผอมเหลือง หมอมือหนึ่งสำนักใดๆก็ไม่อาจรักษาให้หายขาด  พระองค์จึงส่งคนไปเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารเพื่อขอตัวหมอชีวกมารักษาอาการป่วย  พระเจ้าพิมพิสารเกรงภัยความมั่นคงจึงแจ้งให้หมอชีวกไปทำการรักษา และบอกลักษณะนิสัยผู้ปกครองว่ามีนิสัยโหดร้าย ขอให้ระมัดระวังตัวด้วย  
          หมอชีวกจึงเดินทางเข้าเฝ้าพระเจ้าจัณฑปัชโชต ตรวจดูอาการจึงบอกว่าสามารถรักษาหายขาดได้โดยใช้เนยรักษา   พระองค์ได้ยินดังนั้นจึงกล่าวว่าหมอจะรักษาอย่างใดก็ได้แต่มีข้อแม้ว่าห้ามใช้เนยรักษาโดยเด็ดขาด  หมอรับคำพระเจ้าคะ ขอตัวกลับที่พักเพื่อคิดหาตัวยารักษา   เมื่อถึงห้องหมอชีวกมีความวิตกกังวลเพราะโรคที่พระองค์เป็น (โรคขาดไขมัน)  ต้องต้มเนยรักษาเพียงอย่างเดียวจึงจะหาย  เห็นทีคงต้องหาวิธีทำให้เนยใสเป็นน้ำฝาด (เปลี่ยนสี กลิ่น รสชาติ)  แม้จะกินเสร็จแต่สักพักคงต้องเรอ ตอนนี้คงจะปิดไม่มิด ถ้าไม่รีบชิ่งหนีคงต้องกลายเป็นหมอหัวขาดเป็นแน่  หมอชีวกครุ่นคิด อืม ต้องใช้อุบายลวงจะขออนุญาตไปหายาที่นอกเมือง ขอพาหนะสำหรับหลบหนี  คิดได้ดังนั้นจึงนำเนยมาผสมกับตัวยาเตรียมไว้ รอเวลาในวันรุ่งขึ้น  
           เช้าวันต่อมา หมอชีวกขอพาหนะเดินทางที่รวดเร็วเพื่อออกไปหาตัวยา  พระเจ้าจัณฑปัตโชตคิดสักครู่ บอกกับคนทั้งหลาย ให้อำนวยความสะดวกในการเดินทาง มอบช้างม้าสำหรับการเดินทางเพื่อหายา  หมอชีวกกล่าวขอบพระทัยพระเจ้าคะ  หลังจากนั้นหมอจึงต้มยาให้ดื่ม
           พระองค์รับยานั่งดื่มด้วยอารมณ์ชิวๆ   หมอมองดูสีหน้าพระองค์ยิ้มแย้ม คิดในใจโกยเถอะโยม  จึงขออนุญาตพระราชาออกไปหาตัวยาเพิ่มเติม  พระราชาอารมณ์ดีตอบว่าตามสบายเถิดท่าน  หมอออกนอกวัง คิดในใจจะขี่ม้าหรือช้างดี  หากขี่ม้าอาจทำให้คิดว่าจงใจเกินไป จึงเลือกช้างพังภัทวดีสำหรับหลบหนี ครั้นต่อมาสักครู่ พระราชามีอาการท้องใส้ปั่นป่วน เกิดอาการเรอเปรี้ยว แต่กลิ่นนี่สิเป็นเนย  เท่านั้นเองความโกรธทวีความรุนแรง (มาลวงหลอกฉันทำไม)  จึงสั่งทหารนำตัวหมอมาหาเรา ทหารไปที่ห้องไม่พบตัว จึงรีบไปสอบถามผู้ดูแลพาหนะเดิน  แต่ก็ไม่ทันหมออกจากประตูเมืองแล้ว  ทหารจึงบอกความพระราชา
            พระองค์คิดจะเอาหมอมาตัดหัว  บอกนายกากะ ติดตามจับตัวมาให้เราลงโทษ    ซึ่งกากะ (อมนุษย์) คงมีความสามาถพิเศษเป็นนักวิ่งมาราธอนที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก สามารถไล่ตามหมอจนถึงปากประตูเมือง  หมอเจอเขามีความตกใจ เฮ้ยๆนี่มันกากะนี่หว่า แต่ลอบสังเกตเขาซึ่งมีอาการเหนื่อยหอบ   กากะจึงพูดขึ้นว่าพระราชาต้องการพบตัวท่านโดยเร่งด่วน  หมอนิ่งสักครู่เพื่อคิดอุบายหลบหนี  แต่เขาก็ไม่ไว้ใจหมอด้วยพระราชาสั่งไว้อย่ากินอะไรโดยเด็ดขาด   หมอจึงเอามือล้วงย่าม (ป้ายยาถ่ายสูตรเข้มข้นที่มะขามป้อม) หยิบมะข้ามป้อมผลนั้นและน้ำดื่มมอบให้เขา   หมอบอกท่านมาเหนื่อยๆ มะขามป้อมกับน้ำช่วยให้สดชื่น หายเหนื่อย    คิ้วกากะแทบชนกัน  หมอมองหน้าเขาจึงพูดขึ้นว่าอย่าคิดมากเดี๋ยวเรากินให้ดู หมอเคี้ยวมะขามป้อมพร้อมดื่มน้ำตาม          
           กากะคิดในใจหมอก็ยังกินคงไม่เป็นอะไรมั้ง จึงรับมะขามป้อมเคี้ยวกลืนและดื่มน้ำตามทันที  อ้าชื่นใจจริง หลังจากนั้นไม่นานตัวยาออกฤทธิ์
เขาขี้แตกจนหมดพุง  หน้าตาอิดโรย แข้งขาอ่อนไร้เรี่ยวแรงลุกขึ้นยืน  เขาจึงบอกกับหมอว่าหมอนะหมอมาลวงมาหลอกผมทำไม  หมอชีวกกล่าวกับกากะว่าทนสักหน่อยเถิดเมื่อยาหมดฤทธิ์ ท่านจะแข็งแรงมีผิวพรรณเปล่งปลั่งและฝากขอโทษพระราชาที่ต้องลวงด้วยอุบายเพราะป็นทางเดียวที่จะรักษา
โรคนี้      
          หมอชีวกจึงนำช้างส่งมอบให้กากะ (เพื่อนำกลับคืนเมืองอุชเชนี) หลังจากนั้นรีบเผ่นหนี (เดาว่าคงหาม้าเร็ว) กลับสู่เมืองราชคฤห์  เมื่อยาหมดฤทธิ์กากะจึงเดินทางกลับบอกพระราชาว่าหมอใช้กลอุบายลวงให้กินมะขามป้อมแล้วป่านนี้คงถึงบ้านเก่าแล้วกะมัง พระองค์ฟังแล้วไม่ติดใจเอาความ เพราะหายโกรธ เนื่องจากร่างกายตนเองเป็นปกติ  ส่วนร่างกายกากะก็ฟิต ผิวพรรณดูมีออร่า
          ขณะเดียวกัน หมอชีวกควบม้าหนีด้วยความเร็วสูง จึงถึงที่หมายอย่างปลอดภัย รีบเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารบอกเรื่องการรักษา  พระเจ้าพิมพิสารชื่นชมในสติปัญญาจึงพูดว่าท่านทำถูกต้องแล้วขืนชักช้าก็คงต้องกลายเป็นหมอหัวขาดเป็นแน่แท้   ครั้นต่อมาพระเจ้าจัณฑปัตโชตระลึกถึงความดีของหมอ จึงให้คนมาเชิญหมอไปพบเพื่อมอบรางวัล  
         หมอชีวกคิดในใจว่าไหม๋เอาไม่ปายแต่พูดกับราชทูตว่าฝากขอบพระทัยพระองค์ เป็นหน้าที่ของหมอที่ต้องรักษาคนไข้ทำไปโดยไม่หวังผลตอบแทน และขณะนี้มีคิวรักษาคนไข้หลายรายจึงไม่สามารถเดินทางไปพบพระองค์ได้  ราชทูตเดินทางกลับและบอกความตามหมอบอก  ต่อมาพระองค์จึงมอบผ้าสีเวยยกะ (ผ้าแพชั้นดี) เป็นของรางวัลส่งมาให้หมอชีวกๆคิดในใจหากไม่รับผ้าจะทำให้พระเจ้าจัณฑปัตโชตโกรธแค้นอาจเป็นอันตรายในภายหลังจึงรับผ้าไว้เพื่อมอบถวายแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า
        นอกจากนี้หมอชีวกมีประวัติกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกเช่น 1.การรักษาพระพุทธเจ้า (โดยสมัยหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาพักอยู่วัดเวฬุวันมีอาการท้องผูกอันเกิดจากอาหารไม่ย่อย)  พระเจ้าพิมพิสารจึงให้หมอชีวกทำการรักษาพระพุทธองค์  หมอชีวกจึงใช้วิธีการรักษาด้วยการให้สูดดมกลิ่นควันธูป ตัวยาออกฤทธิ์ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย  (ส่วนวิธีการหยุดถ่ายหมอชีวกแนะนำพระพุทธเจ้าอาบน้ำอุ่น หลังจากนั้นร่างกายจึงเป็นปกติ)
        2. การสร้างวัดถวาย หมอชีวกตั้งใจถวายสวนมะม่วง ในพื้นที่ของตน (วัดชีวกัมพวัน) เพื่อสะดวกในการตรวจร่างกายพระพุทธเจ้า
        3.  หมอชีวกนำผ้าสิเวยกะ (ผ้าเนื้อดี) ถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์แสดงธรรมให้หมอชีวกฟังทำให้เข้าถึงกระแสธรรมเบื้องต้นเข้าสู่นิพพาน  
(แต่เรื่องนี้ยังมีการถกเถียงว่าเข้าถึงชั้นพระโสดาบันหรือไม่)
        4.  มีส่วนสำคัญในพระวินัยเช่นการขอให้ชาวบ้านสามารถถวายผ้าไตรจีวรแก่คณะสงฆ์  การสอบถามเรื่องเนื้อสัตว์ที่สามารถถวายพระพุทธเจ้าและพระภิกษุ  ข้อห้ามไม่ให้ผู้ป่วยบวช (โรคเรื้อน กลาก  ฝี ไอเรื้อรัง ลมบ้าหมู) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค  ฯลฯ
        5. พระพุทธเจ้าสรรเสริญหมอชีวกเป็นอุบาสกเป็นที่รักยิ่งของปวงชน  (อาจเนื่องจากหมอชีวกมีจิตใจเมตตาช่วยเหลือคนไข้ให้หายป่วยโดยเร็วไว)
        6. การรักษาห้อเลือดบริเวณนิ้วเท้าของพระพุทธเจ้า  ซึ่งเกิดจากเหตุการณ์พระเทวทัตผลักหินให้หล่นทับพระพุทธเจ้าๆได้รับบาดเจ็บจากสะเก็ดก้อนหินทำให้เกิดห้อเลือดที่นิ้วเท้า  หมอชีวกใช้มีดกรีดเอาเลือดเสียออก ทายารักษาบาดแผล  (ส่วนพระเทวทัตเดินตกดินเหลวหรือดินโคลนดูด เสียชีวิตที่ปากทางวัดเชตวัน เมืองสาวัตถี  ข้อความมีอธิบายในพระไตรปิฎกว่าครั้นเมื่อดินโคลนดูดจนถึงคาง พระเทวทัตสำนึกผิดและระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า ก้มคางแสดงความนอบน้อม)
        7.  เปลี่ยนทัศนคติพระเจ้าอชาตศัตรู (จากผิดเป็นชอบ)   หมอชีวกพาพระเจ้าอชาตศัตรูเข้าพบพระพุทธเจ้า มีการสนธนาธรรมเกิดขึ้น พระองค์จึงรู้สึกสำนึกผิดในสิ่งที่ตนเคยกระทำต่อพระพุทธเจ้าและฆ่าพ่อเพราะเชื่อคำลวงพระเทวทัต จึงพูดกับพระพุทธเจ้าว่าตั้งแต่นี้ต่อไปตนเองขอนำหลักธรรมพระพุทธเจ้าเป็นพึ่ง ประกาศตนเป็นผู้บำรุงศาสนาพุทธ  โดยเหตุการณ์ช่วงนี้เป็นช่วงท้ายของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อนจะปรินิพพาน  (แม้ว่าพระเจ้าอชาตศัตรูสำนึกผิดแต่ต่อมาลูกของพระองค์ก็ยึดอำนาจเช่นกัน)
        ซึ่งโดยในทางการแพทย์แผนไทยยกย่องหมอชีวกเป็นบรมครูแพทย์แผนไทย (เนื่องจากแต่งตำราสมุนไพรและมีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรค)  คำว่าตำนานหมอเทวดา จึงถือเป็นการยกย่องสติปัญญาในการแก้ปัญหา  (มีไหวพริบในการหลบหลีกอันตราย  ใช้จิตวิทยาพูดคุยกับคนไข้  เก่งในการปรุงยารักษา เก่งในการวิเคราะสาเหตุของโรคต่างๆ)  
         ผมเล่าเรื่องโดยสมมุติสถานการณ์ที่อาจเป็นไปได้แต่งเติมจินตนาการ  ใช้ภาษาปาก เพื่อให้เข้าใจง่าย สนุก (โดยไม่ได้ลบหลู่แต่อย่างใด แต่มีเจตนาทำให้ผู้คนจดจำ และช่วยสืบค้นเรื่องราวของหมอชีวกซึ่งบางเรื่องผมยังไม่กระจ่างคงต้องขอความรู้ผู้เชี่ยวชาญทางศาสนาและประวัติศาสตร์อธิบาย)  แต่สำหรับผู้ต้องการข้อมูลเพื่อใช้เริ่มต้นศึกษาชีวประวัติหมอชีวก โกมารภัจจ์
ผมแนะนำตามรายละเอียดด้านล่างครับ

              ข้อมูลอ้างอิง   เกศินี ลิ่มบุญสืบสาย , การศึกษาวิเคราะห์บทบาทของหมอชีวกโกมารภัจที่ปรากฎในคัมภีร์พระพุทธศาสนา วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาพระพุทธศาสนา  , มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย , 2545  

เรื่องราวหมอชีวกตอนที่1
https://ppantip.com/topic/37478692
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่