ไทบ้าน เดอะซีรี่ส์ 2.1 (2018)
กำกับโดย สุรศักดิ์ ป้องศร
8/10
(ความเห็นภาคแรก: 6.5/10 เป็นหนังสไตล์ซิตคอมในโหมด romantic comedy ที่มีความเป็นธรรมชาติในการถ่ายทอดชุมชนและกลุ่มคนเหล่านี้สูงดี แต่ไม่ค่อยอินเนื้อเรื่องรอมคอม ที่พระเอกมักมากจนชวนหลุดความอยากติดตามไปหน่อย ถึงจะชอบที่นางเอกคนหนึ่งต่อกรกับพระเอกในด้านนี้ได้เท่าๆกัน)
เป็นหนังแค่ครึ่งเรื่องอย่างที่ชื่อหนังบอกไว้จริงๆ (เห็นว่าภาค 2.2 จะเข้าโรงกลางปี) โดยมีเส้นเรื่องตัวละครกว่าครึ่งรอคลี่คลายในภาคต่อไป แต่ภาค 2.1 มันมีความดีงามในการเล่าเรื่องและการเป็นหนังกว่าภาคแรกในทุกๆด้านมาก จนแม้แต่การตัดจบก็ไม่แปร่งเท่าที่คิดไว้ เพราะผู้กำกับให้ฉากจบนั้น เป็นภาพสะท้อนของฉากเริ่มเรื่อง ทั้งในทางประเด็นและอารมณ์ ได้เนียนสนิทมาก (สองศพ กับ สองใจสลาย) ซึ่งฉากเริ่มเรื่องอันนั้น (ที่เล่าเส้นทางตัวประกอบคนหนึ่งในพื้นหลังตอนจบภาคแรก ว่ามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร) ก็เป็นการเปิดเผยธีมหลัก แห่งความหลากชีวิตในหนังไทบ้านภาคนี้ได้งดงามจริงๆ
พอลดเส้นเรื่องรักรอมคอมที่ไม่ค่อยมีอะไรของภาคแรกลงมาเยอะ ภาคนี้ก็กลายเป็นหนังของทั้งหมู่บ้านอีสานในยุคปัจจุบัน อันรุ่มรวยเรื่องเล่าหลากชีวิตแทน ทั้งความขัดแย้งระหว่างรุ่น, มุมมองความเคร่งครัดทางศีลธรรมที่เปลี่ยนไป, การที่วิถีคนหมู่บ้านอีสานค่อยๆถูกโลกยุคใหม่และการเชื่อมโยงต่อถึงกันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ประเด็นทั้งหมดนี้ตั้งอยู่ล้อมรอบเรื่องเล่าทั่วไปของ ‘คน’ ที่เก่าแก่และยังอยู่มานานทุกยุคสมัย: ความใจสลายเจ็บปวด, โศกนาฏกรรมเปลี่ยนชีวิต, การพึ่งเส้นทางพุทธอย่างพร่ำเพรื่อไม่ถ่องแท้, รักแรกรุ่นอันรุนแรง, และคนหนุ่มสาวยุคใหม่ที่กำลังหาเส้นทางของตนในโลกที่เปลี่ยนไป
เส้นเรื่องตัวละครและไอเดียทั้งหมดนี้ ต่างเรียงร้อยและสับเปลี่ยนกันเล่าในสองชั่วโมงของหนังได้เนียนสนิทมาก ความซิตคอมของภาคแรก ถูกยกระดับให้เป็นความธรรมชาติสมจริง (realism) แทน ที่คงผ่านการด้นสดเล่นไปเรื่อยๆระหว่างนักแสดงไม่น้อย จนออกมาได้ความรู้สึกนี้ (แม้จะหนังจะอินกับการกดใช้โน้ตดนตรีเศร้าตัวนึงบ่อยไปมากๆๆก็ตาม) มันเป็นความสมจริงชนิดที่ว่า ในฉากที่เล่าเรื่องตัวละครคนนึงอยู่ เราอาจจะเห็นอีกหลายคน ที่ต่างมีเส้นเรื่องชีวิตของตน อยู่ใน background พื้นหลังฉากนั้นๆ โดยพร้อมจะถูกหนังดึงโฟกัสให้มาเป็นเส้นเรื่องหลักของฉากต่อไปได้ทุกเมื่อ หนังภาคนี้จึงเป็นการถ่ายทอดเรื่องเล่าที่ไม่ได้ซับซ้อนอะไร ได้อย่างลุ่มลึก อบอุ่น เข้าอกเข้าใจในชีวิตส่วนตัวของตัวละครทุกคน (ชวนนึกถึงผู้กำกับ Robert Altman ผู้เป็นเจ้าพ่อหนังหลากชีวิตแบบ Nashville เลย) จนสามารถเล่าเรื่องที่เฉพาะเจาะจงในสถานที่นั้นๆ (หมู่บ้านอีสาน) แต่มีความร่วมโลกเข้าถึงได้ในการเล่าเรื่องมากจริงๆ
ติดตามรีวิวหนังและข่าวน่าสนใจในโลกภาพยนตร์อื่นๆของผมได้ที่
www.facebook.com/themoviemood ครับ
[CR] [Movie Review] ไทบ้าน เดอะซีรี่ส์ 2.1 (8/10) ...หนังหลากชีวิตชั้นดีฉบับหมู่บ้านอีสาน ที่พัฒนากว่าภาคก่อนไปอีกขั้น
กำกับโดย สุรศักดิ์ ป้องศร
8/10
(ความเห็นภาคแรก: 6.5/10 เป็นหนังสไตล์ซิตคอมในโหมด romantic comedy ที่มีความเป็นธรรมชาติในการถ่ายทอดชุมชนและกลุ่มคนเหล่านี้สูงดี แต่ไม่ค่อยอินเนื้อเรื่องรอมคอม ที่พระเอกมักมากจนชวนหลุดความอยากติดตามไปหน่อย ถึงจะชอบที่นางเอกคนหนึ่งต่อกรกับพระเอกในด้านนี้ได้เท่าๆกัน)
เป็นหนังแค่ครึ่งเรื่องอย่างที่ชื่อหนังบอกไว้จริงๆ (เห็นว่าภาค 2.2 จะเข้าโรงกลางปี) โดยมีเส้นเรื่องตัวละครกว่าครึ่งรอคลี่คลายในภาคต่อไป แต่ภาค 2.1 มันมีความดีงามในการเล่าเรื่องและการเป็นหนังกว่าภาคแรกในทุกๆด้านมาก จนแม้แต่การตัดจบก็ไม่แปร่งเท่าที่คิดไว้ เพราะผู้กำกับให้ฉากจบนั้น เป็นภาพสะท้อนของฉากเริ่มเรื่อง ทั้งในทางประเด็นและอารมณ์ ได้เนียนสนิทมาก (สองศพ กับ สองใจสลาย) ซึ่งฉากเริ่มเรื่องอันนั้น (ที่เล่าเส้นทางตัวประกอบคนหนึ่งในพื้นหลังตอนจบภาคแรก ว่ามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร) ก็เป็นการเปิดเผยธีมหลัก แห่งความหลากชีวิตในหนังไทบ้านภาคนี้ได้งดงามจริงๆ
พอลดเส้นเรื่องรักรอมคอมที่ไม่ค่อยมีอะไรของภาคแรกลงมาเยอะ ภาคนี้ก็กลายเป็นหนังของทั้งหมู่บ้านอีสานในยุคปัจจุบัน อันรุ่มรวยเรื่องเล่าหลากชีวิตแทน ทั้งความขัดแย้งระหว่างรุ่น, มุมมองความเคร่งครัดทางศีลธรรมที่เปลี่ยนไป, การที่วิถีคนหมู่บ้านอีสานค่อยๆถูกโลกยุคใหม่และการเชื่อมโยงต่อถึงกันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ประเด็นทั้งหมดนี้ตั้งอยู่ล้อมรอบเรื่องเล่าทั่วไปของ ‘คน’ ที่เก่าแก่และยังอยู่มานานทุกยุคสมัย: ความใจสลายเจ็บปวด, โศกนาฏกรรมเปลี่ยนชีวิต, การพึ่งเส้นทางพุทธอย่างพร่ำเพรื่อไม่ถ่องแท้, รักแรกรุ่นอันรุนแรง, และคนหนุ่มสาวยุคใหม่ที่กำลังหาเส้นทางของตนในโลกที่เปลี่ยนไป
เส้นเรื่องตัวละครและไอเดียทั้งหมดนี้ ต่างเรียงร้อยและสับเปลี่ยนกันเล่าในสองชั่วโมงของหนังได้เนียนสนิทมาก ความซิตคอมของภาคแรก ถูกยกระดับให้เป็นความธรรมชาติสมจริง (realism) แทน ที่คงผ่านการด้นสดเล่นไปเรื่อยๆระหว่างนักแสดงไม่น้อย จนออกมาได้ความรู้สึกนี้ (แม้จะหนังจะอินกับการกดใช้โน้ตดนตรีเศร้าตัวนึงบ่อยไปมากๆๆก็ตาม) มันเป็นความสมจริงชนิดที่ว่า ในฉากที่เล่าเรื่องตัวละครคนนึงอยู่ เราอาจจะเห็นอีกหลายคน ที่ต่างมีเส้นเรื่องชีวิตของตน อยู่ใน background พื้นหลังฉากนั้นๆ โดยพร้อมจะถูกหนังดึงโฟกัสให้มาเป็นเส้นเรื่องหลักของฉากต่อไปได้ทุกเมื่อ หนังภาคนี้จึงเป็นการถ่ายทอดเรื่องเล่าที่ไม่ได้ซับซ้อนอะไร ได้อย่างลุ่มลึก อบอุ่น เข้าอกเข้าใจในชีวิตส่วนตัวของตัวละครทุกคน (ชวนนึกถึงผู้กำกับ Robert Altman ผู้เป็นเจ้าพ่อหนังหลากชีวิตแบบ Nashville เลย) จนสามารถเล่าเรื่องที่เฉพาะเจาะจงในสถานที่นั้นๆ (หมู่บ้านอีสาน) แต่มีความร่วมโลกเข้าถึงได้ในการเล่าเรื่องมากจริงๆ
ติดตามรีวิวหนังและข่าวน่าสนใจในโลกภาพยนตร์อื่นๆของผมได้ที่ www.facebook.com/themoviemood ครับ