พรรคการเมืองหน้าใหม่กับความท้าทาย (4) : วาดะห์ แปลงร่าง “วรวีร์” โผล่นำทัพ
พรรคการเมืองใหม่ ที่กลายเป็นยุทธศาสตร์สำคัญสำหรับการเลือกตั้งครั้งหน้า ซึ่งมีกติกาใหม่ นั่นคือการเลือกตั้งในระบบสัดส่วนผสม 70,000 คะแนนได้ ส.ส.1 คน นั้นกลายเป็นประเด็นร้อนฉ่า เพราะมีทั้งพรรคการเมืองใหม่ที่จะสนับสนุนการสืบทอดอำนาจ และ พรรคการเมืองใหม่ ที่จะเป็น “ฝ่ายต่อต้าน คสช.” หรือจะเรียกว่าเป็นพรรคที่มีอุดมการณ์ ฉวัดเฉวียน..เฉียดฉิว กับ “ระบอบทักษิณ”
ตอนที่ผ่านมา ว่าไปถึง “พรรคอนาคตใหม่” ที่มีแกนนำอย่าง “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” ที่ถูกขนานนามในขณะนี้ว่า “ไพร่หมื่นล้าน” กับ “ผศ.ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล” อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสมาชิกกลุ่มนิติราษฎร์แนวร่วมสำคัญของขบวนการคนเสื้อแดง ไปแล้ว
ไม่เฉพาะแค่นั้น พรรคการเมืองใหม่ ที่อยู่ในฝั่งฝาของฝ่ายต่อต้าน เคยใกล้ชิดกับ “ระบอบทักษิณ” มีอีกอย่างน้อย ๆ 2 พรรค นั่นคือ “พรรคพลังพลเมือง” ที่มี “เสี่ยติ่ง” หรือ “สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์” อดีต ส.ส.หลายสมัย เริ่มต้นที่พรรคประชาธิปัตย์ พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคความหวังใหม่ พรรคชาติพัฒนา พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี ไปอยู่บ้านเลขที่ 109 ระหว่างนั้นก็มาร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย ก่อนจะหายหน้าหายตาไป
แม้เจ้าตัวจะออกมายืนยัน นั่งยัน นอนยัน ว่า “พรรคพลังพลเมือง” ไม่ได้เป็นนอมินีพรรคใด โดยมีเป้าหมายของพรรคนี้คือ เก้าอี้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ โดยหวังให้ “อดีต ส.ส.” ทั้งหลายลงสมัคร ส.ส.เขต โกยคะแนนให้ได้น้ำได้เนื้อ โดยจะมีกลุ่มของ เอกพร รักความสุข จากจังหวัดสกลนคร และ ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ อดีตรัฐมนตรีรุ่นลายคราม เข้าร่วมก๊วนนี้ด้วย
อย่างไรก็ตาม มีการประโคมกันว่า ภายหลังการเลือกตั้ง แบรนด์ “พลังพลเมือง” น่าจะอยู่ฝั่งฝา คสช. โดยต้องการลดแรงต้านจากประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือและอีสาน เมื่อเปรียบเทียบกับเลือกสวมเสื้อแบรนด์ ประชาธิปัตย์ และ ภูมิใจไทย ซึ่งวงในของการเมือง กระซิบ กระซาบ...ออกมาว่าน่าจะเป็น... “ข่าวลวง” แบบกลับทิศกลับทาง เลยด้วยซ้ำ
ขณะที่อีกกลุ่มที่น่าสนใจมากในช่วงอาทิตย์นี้นั่นคือ พรรคการเมืองใหม่ ในลำดับที่ 6 พรรคประชาชาติ ซึ่งล่าสุดเพิ่งมีการเรียกประชุมแกนนำพรรค 6-7 คน ที่บ้านพักของ “วรวีร์ มะกูดี” อดีตนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ที่อื้อฉาวจากกรณีถูก ฟีฟ่าแบน ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับกีฬาฟุตบอล ในข้อกล่าวหา “รับสินบน”
กลุ่มที่ไปประชุมในบ้านพักของ วรวีร์ มะกูดี ประกอบไปด้วยนักการเมืองหน้าเก่าที่คุ้นชื่อ ไม่ว่าจะเป็น “วันมูฮัมหมัดนอร์ มะทา” อดีตประธานรัฐสภา “พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง” อดีตเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ที่ถูก คสช.ย้ายออกมาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นการประชุมล่าสุดไปหมาด ๆ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
ว่ากันว่า พรรคนี้จะเป็นพรรคการเมืองที่รวบรวมสมาชิกกลุ่มวาดะห์เดิม ที่มีฐานเสียงเข้มข้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมไปถึงข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ในพื้นที่ จากอดีตนายตำรวจ ที่เคยลงไปทำงานพื้นที่ น่าเสียดายที่ว่ามีชื่อเสียงของคนดังกระฉ่อนโลก ร่วมโพยก๊วน นี้อยู่ด้วย
ประวัติฉาวโฉ่ของ “วรวีร์ มะกูดี” ไม่หมดเพียงแค่เรื่องการถูกกล่าวหาจากฟีฟ่าในการรับเงินจำนวนหลายล้านบาท เพียงเท่านั้น แต่การบริหารสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย เขาได้ปู้ยี่ปู้ยำ จนส่งผลให้สมาคมฯ ต้องเป็นหนี้จำนวนมหาศาล แม้กระทั่ง เช็คที่สั่งจ่ายกรมสรรพากร หลายครั้งก็ไม่มีเงินในบัญชี ส่งผลให้ต้องมาชดใช้หนี้สินกันอีรุงตุงนัง ในวันนี้
พรรคประชาชาติจึงถูกโฟกัส ไปอยู่ในตำแหน่งฝ่ายต่อต้าน เนื่องจากหนึ่งในแกนนำอย่าง “พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง” ถูกปลดจากตำแหน่ง ผู้อำนวยการ ศอ.บต. หลังจากที่ คสช.ได้เข้ามาคุมอำนาจได้ไม่นาน ทั้งนี้หลายคนในแวดวงการเมืองทราบเป็นอย่างดีว่ามีความสนิทชิดเชื้อกับ นายทักษิณ ชินวัตร มากมายขนาดไหน ในยุคที่พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน เรืองอำนาจ เขาได้เป็นถึง รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) และ อธิบดีดีเอสไอ
ขณะที่ วรวีร์ มะกูดี เคยได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ได้คะแนน 3,358 เสียง เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2528
ทำงานการเมืองร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543
ต่อมาย้ายสังกัดพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ.2547 แล้วไปสังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรค เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2553
ต่อมาในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนการค้าไทย ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2554 ถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2555
ส่วนกลุ่มวาดะห์ ที่นำโดย“วันนอร์” นั้นคงไม่ต้องสาธยายไปให้มากความ เพราะทราบประวัติกันดีอยู่แล้ว
ยังคงต้องจับตากันต่อไปว่า พรรคการเมืองใหม่ ที่ไปยื่นจดทะเบียนกับ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง นั้นจะมีทั้งหมดกี่พรรค ในเบื้องลึกแต่ละพรรคนั้น จะเป็นพรรคการเมืองของฝ่ายใด ระหว่างฝ่ายสนับสนุน คสช. หรือ ฝ่ายต่อต้าน คสช. แล้วที่สำคัญจะมีพรรคกลาง ๆ อย่างแท้จริงหรือไม่ ... 1morenews จะมีรายงานมาให้ทราบเป็นระยะ ๆ
อ่านมาจาก เพจ 1morenews
ิคิดยังไงหาก วรวีร์ มะกูดี ตั้งพรรคใหม่ เพื่อมาเล่นการเมือง ...
พรรคการเมืองใหม่ ที่กลายเป็นยุทธศาสตร์สำคัญสำหรับการเลือกตั้งครั้งหน้า ซึ่งมีกติกาใหม่ นั่นคือการเลือกตั้งในระบบสัดส่วนผสม 70,000 คะแนนได้ ส.ส.1 คน นั้นกลายเป็นประเด็นร้อนฉ่า เพราะมีทั้งพรรคการเมืองใหม่ที่จะสนับสนุนการสืบทอดอำนาจ และ พรรคการเมืองใหม่ ที่จะเป็น “ฝ่ายต่อต้าน คสช.” หรือจะเรียกว่าเป็นพรรคที่มีอุดมการณ์ ฉวัดเฉวียน..เฉียดฉิว กับ “ระบอบทักษิณ”
ตอนที่ผ่านมา ว่าไปถึง “พรรคอนาคตใหม่” ที่มีแกนนำอย่าง “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” ที่ถูกขนานนามในขณะนี้ว่า “ไพร่หมื่นล้าน” กับ “ผศ.ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล” อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสมาชิกกลุ่มนิติราษฎร์แนวร่วมสำคัญของขบวนการคนเสื้อแดง ไปแล้ว
ไม่เฉพาะแค่นั้น พรรคการเมืองใหม่ ที่อยู่ในฝั่งฝาของฝ่ายต่อต้าน เคยใกล้ชิดกับ “ระบอบทักษิณ” มีอีกอย่างน้อย ๆ 2 พรรค นั่นคือ “พรรคพลังพลเมือง” ที่มี “เสี่ยติ่ง” หรือ “สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์” อดีต ส.ส.หลายสมัย เริ่มต้นที่พรรคประชาธิปัตย์ พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคความหวังใหม่ พรรคชาติพัฒนา พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี ไปอยู่บ้านเลขที่ 109 ระหว่างนั้นก็มาร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย ก่อนจะหายหน้าหายตาไป
แม้เจ้าตัวจะออกมายืนยัน นั่งยัน นอนยัน ว่า “พรรคพลังพลเมือง” ไม่ได้เป็นนอมินีพรรคใด โดยมีเป้าหมายของพรรคนี้คือ เก้าอี้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ โดยหวังให้ “อดีต ส.ส.” ทั้งหลายลงสมัคร ส.ส.เขต โกยคะแนนให้ได้น้ำได้เนื้อ โดยจะมีกลุ่มของ เอกพร รักความสุข จากจังหวัดสกลนคร และ ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ อดีตรัฐมนตรีรุ่นลายคราม เข้าร่วมก๊วนนี้ด้วย
อย่างไรก็ตาม มีการประโคมกันว่า ภายหลังการเลือกตั้ง แบรนด์ “พลังพลเมือง” น่าจะอยู่ฝั่งฝา คสช. โดยต้องการลดแรงต้านจากประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือและอีสาน เมื่อเปรียบเทียบกับเลือกสวมเสื้อแบรนด์ ประชาธิปัตย์ และ ภูมิใจไทย ซึ่งวงในของการเมือง กระซิบ กระซาบ...ออกมาว่าน่าจะเป็น... “ข่าวลวง” แบบกลับทิศกลับทาง เลยด้วยซ้ำ
ขณะที่อีกกลุ่มที่น่าสนใจมากในช่วงอาทิตย์นี้นั่นคือ พรรคการเมืองใหม่ ในลำดับที่ 6 พรรคประชาชาติ ซึ่งล่าสุดเพิ่งมีการเรียกประชุมแกนนำพรรค 6-7 คน ที่บ้านพักของ “วรวีร์ มะกูดี” อดีตนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ที่อื้อฉาวจากกรณีถูก ฟีฟ่าแบน ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับกีฬาฟุตบอล ในข้อกล่าวหา “รับสินบน”
กลุ่มที่ไปประชุมในบ้านพักของ วรวีร์ มะกูดี ประกอบไปด้วยนักการเมืองหน้าเก่าที่คุ้นชื่อ ไม่ว่าจะเป็น “วันมูฮัมหมัดนอร์ มะทา” อดีตประธานรัฐสภา “พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง” อดีตเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ที่ถูก คสช.ย้ายออกมาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นการประชุมล่าสุดไปหมาด ๆ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
ว่ากันว่า พรรคนี้จะเป็นพรรคการเมืองที่รวบรวมสมาชิกกลุ่มวาดะห์เดิม ที่มีฐานเสียงเข้มข้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมไปถึงข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ในพื้นที่ จากอดีตนายตำรวจ ที่เคยลงไปทำงานพื้นที่ น่าเสียดายที่ว่ามีชื่อเสียงของคนดังกระฉ่อนโลก ร่วมโพยก๊วน นี้อยู่ด้วย
ประวัติฉาวโฉ่ของ “วรวีร์ มะกูดี” ไม่หมดเพียงแค่เรื่องการถูกกล่าวหาจากฟีฟ่าในการรับเงินจำนวนหลายล้านบาท เพียงเท่านั้น แต่การบริหารสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย เขาได้ปู้ยี่ปู้ยำ จนส่งผลให้สมาคมฯ ต้องเป็นหนี้จำนวนมหาศาล แม้กระทั่ง เช็คที่สั่งจ่ายกรมสรรพากร หลายครั้งก็ไม่มีเงินในบัญชี ส่งผลให้ต้องมาชดใช้หนี้สินกันอีรุงตุงนัง ในวันนี้
พรรคประชาชาติจึงถูกโฟกัส ไปอยู่ในตำแหน่งฝ่ายต่อต้าน เนื่องจากหนึ่งในแกนนำอย่าง “พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง” ถูกปลดจากตำแหน่ง ผู้อำนวยการ ศอ.บต. หลังจากที่ คสช.ได้เข้ามาคุมอำนาจได้ไม่นาน ทั้งนี้หลายคนในแวดวงการเมืองทราบเป็นอย่างดีว่ามีความสนิทชิดเชื้อกับ นายทักษิณ ชินวัตร มากมายขนาดไหน ในยุคที่พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน เรืองอำนาจ เขาได้เป็นถึง รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) และ อธิบดีดีเอสไอ
ขณะที่ วรวีร์ มะกูดี เคยได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ได้คะแนน 3,358 เสียง เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2528
ทำงานการเมืองร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543
ต่อมาย้ายสังกัดพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ.2547 แล้วไปสังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรค เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2553
ต่อมาในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนการค้าไทย ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2554 ถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2555
ส่วนกลุ่มวาดะห์ ที่นำโดย“วันนอร์” นั้นคงไม่ต้องสาธยายไปให้มากความ เพราะทราบประวัติกันดีอยู่แล้ว
ยังคงต้องจับตากันต่อไปว่า พรรคการเมืองใหม่ ที่ไปยื่นจดทะเบียนกับ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง นั้นจะมีทั้งหมดกี่พรรค ในเบื้องลึกแต่ละพรรคนั้น จะเป็นพรรคการเมืองของฝ่ายใด ระหว่างฝ่ายสนับสนุน คสช. หรือ ฝ่ายต่อต้าน คสช. แล้วที่สำคัญจะมีพรรคกลาง ๆ อย่างแท้จริงหรือไม่ ... 1morenews จะมีรายงานมาให้ทราบเป็นระยะ ๆ
อ่านมาจาก เพจ 1morenews