คิดว่าการแยกขยะแบบ ญี่ปุ่น โมเดล เอามาใช้ในไทยได้ไหม

ตอนแรกว่าจะตั้งคำถามเกี่ยวกับการลดการใช้พลาสติก แต่ดันไปนึงถึงภาพฉากกองขยะในหนังที่มันกองเป็นภูเขาเลากา และข่าวคุณตาขี่ซาเล้งเก็บขยะ เลยเกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่าปัจจุบันคนไทยยังแยกขยะกันจริงจังอยู่ไหม


ตั้งแต่เด็กจะเคยเห็นถังขยะสาธารณะสีเหลืองสีเขียวที่โรงเรียน แต่พอโตขึ้นมาพบว่าส่วนใหญ่จะพบแค่ถังขยะถังเดียว ทำให้บางคนที่อยากจะแยก ก็ไม่ได้แยกและก็กลายเป็นความเคยชินไปว่าควรจะแยกขยะ พบได้น้อยมากๆ ที่จะมีถังขยะแบบแยกชนิด และบางคนก็ไม่ได้แยกจริงๆ ด้วยความมักง่ายหรือไม่ได้สังเกตก็ตามแต่

อยากให้เมืองไทยปลูกฝังเรื่องนี้เหมือนในประเทศญี่ปุ่นแต่มันจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าไม่มีการกำหนดและบังคับใช้จริงๆ จังๆ ที่ยกมาด้านล่างคือสิ่งที่คนญี่ปุ่นต้องทำถึงแม้จะซับซ้อนแต่เขาก็ทำกันเป็นเรื่องปกติ คิดว่าคนไทยจะทำได้บ้างไหม

1. ขยะประเภทเผา  วันจันทร์, วันพุธและวันศุกร์  จะต้องใส่ในถุงที่กำหนดไว้ ขยะที่ต้องเอามาทิ้งคือ เศษอาหาร, ขยะประเภทพลาสติก, ขยะประเภทกระดาษและโฟม

2. ขยะประเภทขวด ทิ้งทุกๆ วันอังคาร ใส่ในถุงที่กำหนดไว้ ขยะที่ต้องทิ้งได้แก่ ขวดสีใส, ขวดสีน้ำตาลและขวดอื่นๆ (เอาฝาออกแล้วล้างข้างในก่อนทิ้ง)

3. ขยะประเภทฝัง ทิ้งทุกๆ วันอังคาร ใส่ในถุงที่กำหนดไว้ ขยะที่ต้องทิ้งได้แก่ แจกัน, ภาชนะ, ขวดเครื่องสำอางค์, หลอดไฟและกระถาง

4. ขยะประเภทโลหะและขยะขนาดใหญ่  ทิ้งตามเขตพักอาศัยตามที่กำหนดไว้ วันอังคารของทุกๆ เดือน ขยะ ที่ทิ้งได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า (สายปลั๊กแยกไปทิ้งในขยะเผา), จักรยาน (จะต้องมีขนาดความยาวไม่เกิน 1.5 เมตร, ความสูง 1 เมตร และน้ำหนักไม่เกิน 10 กิโลกรัมต่อ 1 กอง), อุปกรณ์การก่อสร้าง (จะต้องมีขนาดใหญ่กว่ากระป๋อง 3 ลิตร ใส่ไว้ในถุงที่กำหนดหรือใช้ลวดมัดเอาไว้)

5. ขยะประเภทแบตเตอรี่ ทิ้งตามเขตที่กำหนดไว้ ทิ้งวันอังคารของทุกเดือน ทิ้งในวันอังคารของทุกเดือน เช่นเดียวกับขยะประเภทโลหะและขยะขนาดใหญ่  ให้ใส่ไว้ในถุงที่กำหนด

6. ขยะรีไซเคิล ทิ้งทุกๆ วันพุธ ยกเว้นวันที่ฝนตก ขยะ ที่มัดรวมกันแล้วทิ้ง ได้แก่ กล่องนม, กล่องกระดาษ (1กองจะต้องมีขนาดไม่เกิน 1 เมตรและหนักไม่เกิน 10 กิโลกรัม), หนังสือพิมพ์และประเภทนิตยสาร (จดหมาย, ใบโบรชัวร์) ซึ่งก่อนที่จะมัดจะต้องเอาหนังสือพิมพ์คลุมไว้

7. ขยะรีไซเคิล ทิ้งทุกๆ วันพุธ ยกเว้นวันที่ฝนตก ขยะที่ใส่ถุงที่กำหนดไว้ ได้แก่ ขวดพลาสติก (ต้องแกะฉลากก่อนทิ้ง), ถาดพลาสติก (ที่ใส่อาหาร)

8. ขยะประเภทกระป๋อง ทิ้งทุกๆ วันพฤหัสบดี ใส่ไว้ในถุงที่กำหนดไว้ ขยะที่ต้องทิ้งได้แก่ กระป๋องอาหาร (ล้างข้างในก่อนทิ้ง), กระป๋องใส่สาหร่าย (จะต้องมีขนาดไม่เกินกระป๋อง 3 ลิตร) และกระป๋องสเปรย์ (ต้องเจาะรูก่อนทิ้ง)

* ขยะที่ไม่รับเก็บได้แก่ รถมอเตอร์ไซค์, เข็มฉีดยา, ถังสี, ถังน้ำมัน, ที่ฉีดดับเพลิง, พลาสติก (ที่ใช้เป็นเรือนกระจก) ในวันที่ทิ้งขยะ ให้ทิ้งในสถานที่ที่กำหนดเอาไว้ก่อนเวลา 8 โมงเช้า

Credit http://www.reigninter.com/home/blog/tips-for-travelers/waste-separation-in-japan/

ถังแบบนี้โอเคไหม รูปลักษณ์เข้าใจง่ายว่าถังนี้สำหรับขวดน้ำ ขยะเปียก ขยะแห้ง แยกกันชัดเจน


ตามแผนแม่บทการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ. 2559-2564 โดยกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) จากนี้ไป ประเทศไทยจะมีโครงการโรงไฟฟ้าขยะทยอยก่อสร้าง 53 แห่ง โดยรัฐต้องควักเงินลงทุนราว 94,600 ล้านบาท และเอกชนร่วมทุนอีกประมาณ 84,000 ล้านบาท

แม้ว่าตอนนี้บ้านเราจะเริ่มการจัดตั้งโรงงานขยะไฟฟ้ามาได้ซักพักแล้ว แต่ปัญหาไม่ได้จบแค่การเผาแค่นั้น ไหนจะมลพิษที่ตามมาจากการเผา และขยะอื่นๆที่เผาไม่ได้อีก ดังที่มีประชาชนออกมาร้องเรียน "ประชาชนในพื้นที่ร้องเรียนเรื่องกลิ่นและควันจากการเผาขยะ 1.ปัญหากลิ่นขยะและควันจากการเผาขยะ 2.การปล่อยสารไดออกซินจากปล่อง 3.ปัญหาน้ำเสีย" ดังนั้น การลดใช้ขยะต่างหากคือการแก้ปัญหาที่แท้จริง รวมไปถึงการคัดแยกขยะและนำไปรีไซเคิลด้วย ที่ควรเริ่มตั้งแต่ในบ้าน ไม่ว่าการนำขยะสดพวกของเน่าเสียจากอาหารไปเป็นปุ๋ยหมัก นำของที่สามารถรีไซเคิลได้ไปขายต่อหรือบริจาคให้กับซาเล้งคนเก็บขยะ การแยกอยู่ตลอดจะทำให้เราสำนึกได้มากขึ้นด้วยว่าขยะพวกนี้สุดท้ายแล้วมันก็จะนำไปถูกเผาและกลายไปเป็นมลพิษมาทำร้ายตัวคุณหรือเพื่อนมนุษย์ของคุณเอง
*** ปิดโหวต วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2561 เวลา 20:05:58 น.
1. คิดว่าการแยกขยะแบบ ญี่ปุ่น โมเดล เอามาใช้ในไทยได้ไหม
2. ปัจจุบันคุณยังแยกขยะอยู่ไหม
3. จากการสังเกตหรือสอบถามคนรอบตัวคุณแยกขยะไหม
4. เห็นด้วยกับการมีโรงงานขยะไฟฟ้ามากแค่ไหน
5. กรุณาใส่ช่วงอายุของท่าน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่