สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 14
การฝึกทักะการอ่าน หาอ่านสิ่งที่คุณชอบ หรือหลงใหล ชอบมันเยอะๆ แบบถอนตัวไม่ขึ้นไปด้วยนะครับ
อย่าเน้นบังคับอ่านเรื่องที่ต้องฝืนใจหรืออ่านเพราะหน้าที่อย่างเดียว
ตอนผมเรียนผมก็ไม่เก่งภาษาอังกฤษ ตอนหลังมาพอใช้งานสื่อสารได้ เขียนจดหมายถึงทางราชการได้ จากงานจริง
การอ่านเริ่มลุยเมื่อตอนเข้ามาเรียนกรุงเทพใหม่ๆ
เริ่มจากอ่าน text book ที่ชอบมากๆ (ผมชอบอิเล็กทรอนิกส์) แปลผิดมั่วไปเถอะ พลิกดูไปเรื่อยๆ ผิดๆ ถูกๆ ว่างก็ไปนั่งเปิดอ่านค้นทุก shelf จนอันที่ชอบแทบจะไม่มีเหลือให้อ่าน
แล้วก็ลุยตรงวารสาร-นิตยสารที่ไม่หมดง่ายๆ
ผมบังคับตัวเองด้วยการใช้ Dict English to English เป็น Electronic Dictionary เป็นอิเล็กทรอิกส์ดิกชันนารีรุ่นแรกๆ ตั้งแต่ยังไม่มีเสียง เครื่องหนาเตอะ พกติดตัวไปไหนมาไหนด้วย
ทำแบบนี้จะทำให้เราคิดเป็นภาษาอังกฤษได้มากขึ้น มากกว่ามานั่งแปลไทยเป็นอังกฤษ อังกฤษเป็นไทยกลับไปกลับมาอยู่นั่นแหละ
ใหม่ๆ มันก็มั่วไปผิดบ้างถูกบ้าง แต่ผิดเป็นครูจริงๆ เพราะมันเกิดการแก้ไขไปเรื่อยๆ
ทีนี้ เรื่องบทความวิชาการ หรือหนังสือทางวิชาการ
ผมขอแย้งกับความเห็นข้างบนนิดนะครับ ว่าการนั่งแปลทุกตัวอักษร จะทำให้ไม่ไปถึงไหน ยิ่งคนไม่เคย จะหมดกำลังใจ อ่านได้แต่ละบทไปไม่ถึงหน้า ก็โยนทิ้งแล้ว จะลองก็ได้ แต่เพื่อนผมทำแบบนี้ แล้วไปไม่ถึงไหนซักราย
จะบอกความลับอะไรให้จขกท.ฟัง
คนเขียนหนังสือเอง ก็มีความกลัวสื่อให้คนอ่านไม่รู้เรื่องเหมือนกัน
ต้องฝึกทักษะในการเขียนอย่างหนักเหมือนกัน ที่จะสื่อสารให้คนอ่านเข้าใจง่าย (แน่นอนว่า เด็กหัดเขียนใหม่ เรียบเรียงไม่เป็นก็มีเยอะ)
ยิ่งถ้าบทวิทยานิพนธ์ ถูกอาจารย์ที่ปรึกษาทุบแล้วทุบอีก เด็กจบตรีหัดเขียนใหม่นี่ มักแก้จนแทบร้องไห้ ถูกเคี่ยวเข็ญให้เขียนภาษาคนให้รู้เรื่อง
ดังนั้นบทความที่ดี หนังสือที่ดี ยิ่งเป็นหนังสือวิชาการที่เขียนโดยคนที่ผ่านการเขียนมาเยอะๆ จะมีโครงสร้างหรือ pattern ที่แน่นอนชัดเจน
ต่อให้เป็นนิตยสาร หนังสือพิมพ์ก็เถอะ
ลักษณะเหมือนพาดหัวข่าว แล้วค่อยๆ ใส่ขยายความ เข้าไป
บทความมาตรฐาน โดยเฉพาะที่เป็น academic writing จะเ่ริ่มต้นบทนำ ที่เป็นเรื่องหัวใจหลักของบทความ คือ topic และ statements (เขาเรียก thesis statements ต่อให้ไม่ใช่ thesis ก็ตาม) ที่เป็นตัวแทนของบทความหรือข่าวนั้น อยู่ต้นๆ เสมอ
แบบอ่านแล้ว จะเริ่มเดา ว่าภายในบทความอาจพบเจอเรื่องไหนอีก
แล้วจึงไปต่อยอดรายละเอียดจริง แยกแต่ละย่อหน้า
แล้วก็สรุปปิดท้าย
ถ้าอ่านบ่อยๆ จับ pattern ได้ เราจะเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
หนังสือก็เช่นกัน ถ้าสังเกต จะเห็นว่าต่างจากวารสารนิตยสารชัดเจน แต่ก็มี pattern แบบ copy กันมา
ปูความสรุปตั้งแต่บทนำ หรือ introduction ก่อน ให้คนอ่านจับใจความได้ ว่าต่อไปทั้งเล่มจะเจออะไร
แล้วจะจัดหมวดหมู่ ค่อยๆ ปูภาพใหญ่ไปหาส่วนประกอบย่อย เป็นระบบ
แล้วต่อมา
วิธีการอ่าน text book ในทุกภาษารวมภาษาตัวเองด้วย
อ่านตอนแรก ที่จับหนังสือเล่มนั้นขึ้นมา เห็นชื่อ ก็จะเริ่มพยายามเดาก่อน ว่ามันน่าจะพูดถึงอะไรบ้าง
การอ่านแต่ละบท แต่งะละประโยค ก็เช่นกันกับดูตัวหนังสือ
ใช้วิธีดูภาพกว้างก่อน
แล้วการดูแต่ละประโยค อย่าเปิดดิกทุกคำจนมือหงิก แต่พยายามจับใจความกว้างก่อน ไม่รู้ความหมาย ค่อยไปหาคำย่อยแต่ละคำ
เรียกว่าการดู context หรือบริบท คือพวกความหมายแวดล้อม
พยายามจับประ้เด็นกว้างๆ ก่อน ประโยคนี้ พูดถึงอะไร
และตัวบทความ พูดถึงเรื่องอะไร มักจะซ้ำๆ ย้ำๆ แล้วขยายความ
แม้แต่เราเจ้าของภาษาไทยเอง อ่านบทความภาษาไทย จะพบว่า บ่อยครั้ง เราก็ไม่ได้เข้าใจคำศัพท์นั้นๆ แต่อาศัยจากการเดาภาพรวม คำแวดล้อมต่างไป และเชื่อมโยงกับสิ่งที่คนเขียนปูความมา
ฝรั่งเจ้าของภาษาอังกฤษ ก็เช่นกัน ก็ไม่ได้เข้าใจศัพท์ทุกคำ และอาศัยวิธีที่บอกว่าดู context หรือบริบท เหตุการณ์รอบด้าน ที่กำลังพูดถึงอยู่
เมื่อเจอศัพท์เฉพาะทางที่ยากมากไป อ่านไม่รู้เรื่อง ต่อให้เป็น native speaker ภาษานั้นๆ ก็ต้องค้นหาเช่นกัน อย่างที่เราเห็นคนมาตั้งกระทู้ถามในหว้ากอนี้ ถ้าเป็นคำทางการเงิน ทางหุ้นก็ถามในสินธร
คงพอแค่นี้ สำหรับคำแนะนำเรื่องอ่านนี้
ลองหยิบ text ขึ้นมาซักเล่ม แล้วลองดูอย่างที่บอก
ส่วนทักษะอื่นๆ ในการใช้ภาษาที่สอง ที่จะเสริม ทำให้อ่านได้ดีขึ้ร ก็ต้องหัดฟังเยอะไป ฟังเพลง ฟังข่าวเรีองที่ชอบ ดูหนัง ก็บังคับตัวเองให้ดู sound track เลิกดูพากย์ไทยถาวร
คุณเกิดมายุคนี้โชคดีกว่าคนยุคก่อน สื่อเยอะ เครื่องมือช่วยเยอะ มีทางเลือกมากมาย และได้ฟังตรงจากเจ้าของภาษา สารพัดสำเนียงด้วย
(ถ้าคุณไปฟังคนรุ่นเก่าจะสังเกตว่าทำไมพูดอังกฤษสำเนียงไทยกันเยอะเพราะใช้วิธีจำและไม่มีสื่อภาษาอังกฤษให้ฟังโดยตรงมากเหมือนสมัยนี้)
หัดฟังมากๆ มั่วไปก่อนเถอะเดี๋ยวมันก็ค่อยๆแก้เอง
ส่วนการเขียนนั้น ส่วนตัวของผม ระยะแรก สมัยก่อนเล่นกับกระดาษอย่างเดียว แต่ต่อมา อาศัยเครื่องทุ่นแรง ใช้ไมโครซอฟต์เวิร์ดช่วย มีทั้งสะกดคำมีทั้งแก้ไวยากรณ์เบื้องต้น มี thesaurus ใช้คำได้หลากหลายยิ่งขึ้น ลองใช้ดู
อย่าเน้นบังคับอ่านเรื่องที่ต้องฝืนใจหรืออ่านเพราะหน้าที่อย่างเดียว
ตอนผมเรียนผมก็ไม่เก่งภาษาอังกฤษ ตอนหลังมาพอใช้งานสื่อสารได้ เขียนจดหมายถึงทางราชการได้ จากงานจริง
การอ่านเริ่มลุยเมื่อตอนเข้ามาเรียนกรุงเทพใหม่ๆ
เริ่มจากอ่าน text book ที่ชอบมากๆ (ผมชอบอิเล็กทรอนิกส์) แปลผิดมั่วไปเถอะ พลิกดูไปเรื่อยๆ ผิดๆ ถูกๆ ว่างก็ไปนั่งเปิดอ่านค้นทุก shelf จนอันที่ชอบแทบจะไม่มีเหลือให้อ่าน
แล้วก็ลุยตรงวารสาร-นิตยสารที่ไม่หมดง่ายๆ
ผมบังคับตัวเองด้วยการใช้ Dict English to English เป็น Electronic Dictionary เป็นอิเล็กทรอิกส์ดิกชันนารีรุ่นแรกๆ ตั้งแต่ยังไม่มีเสียง เครื่องหนาเตอะ พกติดตัวไปไหนมาไหนด้วย
ทำแบบนี้จะทำให้เราคิดเป็นภาษาอังกฤษได้มากขึ้น มากกว่ามานั่งแปลไทยเป็นอังกฤษ อังกฤษเป็นไทยกลับไปกลับมาอยู่นั่นแหละ
ใหม่ๆ มันก็มั่วไปผิดบ้างถูกบ้าง แต่ผิดเป็นครูจริงๆ เพราะมันเกิดการแก้ไขไปเรื่อยๆ
ทีนี้ เรื่องบทความวิชาการ หรือหนังสือทางวิชาการ
ผมขอแย้งกับความเห็นข้างบนนิดนะครับ ว่าการนั่งแปลทุกตัวอักษร จะทำให้ไม่ไปถึงไหน ยิ่งคนไม่เคย จะหมดกำลังใจ อ่านได้แต่ละบทไปไม่ถึงหน้า ก็โยนทิ้งแล้ว จะลองก็ได้ แต่เพื่อนผมทำแบบนี้ แล้วไปไม่ถึงไหนซักราย
จะบอกความลับอะไรให้จขกท.ฟัง
คนเขียนหนังสือเอง ก็มีความกลัวสื่อให้คนอ่านไม่รู้เรื่องเหมือนกัน
ต้องฝึกทักษะในการเขียนอย่างหนักเหมือนกัน ที่จะสื่อสารให้คนอ่านเข้าใจง่าย (แน่นอนว่า เด็กหัดเขียนใหม่ เรียบเรียงไม่เป็นก็มีเยอะ)
ยิ่งถ้าบทวิทยานิพนธ์ ถูกอาจารย์ที่ปรึกษาทุบแล้วทุบอีก เด็กจบตรีหัดเขียนใหม่นี่ มักแก้จนแทบร้องไห้ ถูกเคี่ยวเข็ญให้เขียนภาษาคนให้รู้เรื่อง
ดังนั้นบทความที่ดี หนังสือที่ดี ยิ่งเป็นหนังสือวิชาการที่เขียนโดยคนที่ผ่านการเขียนมาเยอะๆ จะมีโครงสร้างหรือ pattern ที่แน่นอนชัดเจน
ต่อให้เป็นนิตยสาร หนังสือพิมพ์ก็เถอะ
ลักษณะเหมือนพาดหัวข่าว แล้วค่อยๆ ใส่ขยายความ เข้าไป
บทความมาตรฐาน โดยเฉพาะที่เป็น academic writing จะเ่ริ่มต้นบทนำ ที่เป็นเรื่องหัวใจหลักของบทความ คือ topic และ statements (เขาเรียก thesis statements ต่อให้ไม่ใช่ thesis ก็ตาม) ที่เป็นตัวแทนของบทความหรือข่าวนั้น อยู่ต้นๆ เสมอ
แบบอ่านแล้ว จะเริ่มเดา ว่าภายในบทความอาจพบเจอเรื่องไหนอีก
แล้วจึงไปต่อยอดรายละเอียดจริง แยกแต่ละย่อหน้า
แล้วก็สรุปปิดท้าย
ถ้าอ่านบ่อยๆ จับ pattern ได้ เราจะเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
หนังสือก็เช่นกัน ถ้าสังเกต จะเห็นว่าต่างจากวารสารนิตยสารชัดเจน แต่ก็มี pattern แบบ copy กันมา
ปูความสรุปตั้งแต่บทนำ หรือ introduction ก่อน ให้คนอ่านจับใจความได้ ว่าต่อไปทั้งเล่มจะเจออะไร
แล้วจะจัดหมวดหมู่ ค่อยๆ ปูภาพใหญ่ไปหาส่วนประกอบย่อย เป็นระบบ
แล้วต่อมา
วิธีการอ่าน text book ในทุกภาษารวมภาษาตัวเองด้วย
อ่านตอนแรก ที่จับหนังสือเล่มนั้นขึ้นมา เห็นชื่อ ก็จะเริ่มพยายามเดาก่อน ว่ามันน่าจะพูดถึงอะไรบ้าง
การอ่านแต่ละบท แต่งะละประโยค ก็เช่นกันกับดูตัวหนังสือ
ใช้วิธีดูภาพกว้างก่อน
แล้วการดูแต่ละประโยค อย่าเปิดดิกทุกคำจนมือหงิก แต่พยายามจับใจความกว้างก่อน ไม่รู้ความหมาย ค่อยไปหาคำย่อยแต่ละคำ
เรียกว่าการดู context หรือบริบท คือพวกความหมายแวดล้อม
พยายามจับประ้เด็นกว้างๆ ก่อน ประโยคนี้ พูดถึงอะไร
และตัวบทความ พูดถึงเรื่องอะไร มักจะซ้ำๆ ย้ำๆ แล้วขยายความ
แม้แต่เราเจ้าของภาษาไทยเอง อ่านบทความภาษาไทย จะพบว่า บ่อยครั้ง เราก็ไม่ได้เข้าใจคำศัพท์นั้นๆ แต่อาศัยจากการเดาภาพรวม คำแวดล้อมต่างไป และเชื่อมโยงกับสิ่งที่คนเขียนปูความมา
ฝรั่งเจ้าของภาษาอังกฤษ ก็เช่นกัน ก็ไม่ได้เข้าใจศัพท์ทุกคำ และอาศัยวิธีที่บอกว่าดู context หรือบริบท เหตุการณ์รอบด้าน ที่กำลังพูดถึงอยู่
เมื่อเจอศัพท์เฉพาะทางที่ยากมากไป อ่านไม่รู้เรื่อง ต่อให้เป็น native speaker ภาษานั้นๆ ก็ต้องค้นหาเช่นกัน อย่างที่เราเห็นคนมาตั้งกระทู้ถามในหว้ากอนี้ ถ้าเป็นคำทางการเงิน ทางหุ้นก็ถามในสินธร
คงพอแค่นี้ สำหรับคำแนะนำเรื่องอ่านนี้
ลองหยิบ text ขึ้นมาซักเล่ม แล้วลองดูอย่างที่บอก
ส่วนทักษะอื่นๆ ในการใช้ภาษาที่สอง ที่จะเสริม ทำให้อ่านได้ดีขึ้ร ก็ต้องหัดฟังเยอะไป ฟังเพลง ฟังข่าวเรีองที่ชอบ ดูหนัง ก็บังคับตัวเองให้ดู sound track เลิกดูพากย์ไทยถาวร
คุณเกิดมายุคนี้โชคดีกว่าคนยุคก่อน สื่อเยอะ เครื่องมือช่วยเยอะ มีทางเลือกมากมาย และได้ฟังตรงจากเจ้าของภาษา สารพัดสำเนียงด้วย
(ถ้าคุณไปฟังคนรุ่นเก่าจะสังเกตว่าทำไมพูดอังกฤษสำเนียงไทยกันเยอะเพราะใช้วิธีจำและไม่มีสื่อภาษาอังกฤษให้ฟังโดยตรงมากเหมือนสมัยนี้)
หัดฟังมากๆ มั่วไปก่อนเถอะเดี๋ยวมันก็ค่อยๆแก้เอง
ส่วนการเขียนนั้น ส่วนตัวของผม ระยะแรก สมัยก่อนเล่นกับกระดาษอย่างเดียว แต่ต่อมา อาศัยเครื่องทุ่นแรง ใช้ไมโครซอฟต์เวิร์ดช่วย มีทั้งสะกดคำมีทั้งแก้ไวยากรณ์เบื้องต้น มี thesaurus ใช้คำได้หลากหลายยิ่งขึ้น ลองใช้ดู
ความคิดเห็นที่ 16
การอ่านตำรา จะต่างจากการอ่านบทความทั่วไปตรง "คำศัพท์" ในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าศัพท์มักเป็น ศัพท์เฉพาะทางหรือ jargon
ทำให้การเปิดพจนานุกรมช่วยได้น้อยลง หรือถ้าจะเปิดต้องเปิดเล่มที่เป็นเฉพาะด้านนั้นๆ เช่น สายทางแพทย์ จะมี medical dictionary โดยเฉพาะ
แต่สำหรับการอ่านทั่วไป ผมจะแนะนำจากประสบการณ์ คือ
1. ฝึกหา content words (nouns, verbs, adjectives, adverbs และ wh-words) เพราะตรงนี้คือประเด็น เวลาหา keywords ก็จะใช้พวกนี้
2. ใน 1 ประโยค ลองเชื่อมคำในข้อ 1. ตาม common sense เพราะบ่อยครั้งเราอ่านไม่ได้ทันทุกคำ เราต้องอ่านแค่คำสำคัญ
3. ฝึกสังเกต negative expressions (นอกเหนือจากคำว่า no หรือ not) เพราะถ้าจับจุดตรงนี้ไม่ได้ความหมายผิดเยอะ
4. ฝึกสังเกต hedging expressions (may, might, will, would, shall, should, must, etc.) ตรงนี้จะบอกถึงความน่าเชื่อถือประโยคและนัยยะที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ
--------------------------------
5. ฝึกหาความหมายโดยนัย (implied meaning) เวลาผู้เขียนๆอะไรขึ้นมา เขาต้องคลุมส่วนนี้ไว้ด้วย เพราะบางอย่างเขียนเวิ่นเว้อไม่ได้ ต้องกระชับและสื่อความหมายตรง เช่น ผู้เขียนอาจเขียนว่า มีสารเคมีในกลุ่ม A 12 ตัว สารทั้ง 12 ตัวแบ่งเป็นกลุ่ม A1 และ A2 สารตัวที่ 1, 3 และ 5 เท่านั้นที่อยู่ในกลุ่ม A1...ตรงนี้ต้องเดาต่อว่าสารที่เหลือต้องอยู่ในกลุ่ม A2
6. ฝึกสังเกต idiomatic expressions และ/หรือ collocations บางครั้ง คำบางคำมักจะจับคู่กับคำบางคำเสมอ ซึ่งตรงนี้ไม่มีในหลักไวยากรณ์ แต่เป็นสิ่งที่มักใช้กัน และที่สำคัญบางกลุ่มคำ อาจนิยมใช้ในศาสตร์นั้นๆก็ได้
7. ฝึกเดาสิ่งที่จะอธิบายถัดไป ในตำรา อ.ส่วนใหญ่มักจะเขียนในรูปแบบขนาน (parallelism) เช่น กระบวนการ A แล้วอธิบายกระบวนการย่อย A1-4 พอกระบวนการ B ก็จะเดาได้ว่า จะมี B1-4 (คล้ายข้อ 5.) เช่นเดียวกับ C, D และอื่นๆ
--------------------------------
8. ฝึกตอบโต้กับบทความหรือตำราที่เรากำลังอ่าน
- ข้อนี้จัดว่าเป็นกระบวนการที่ไม่รู้จบ วิธีทำโดยคร่าวๆคือ ถามคำถามกับตัวเอง และลองร่างคำตอบในหัวเอง หรือสืบค้นข้อมูลเพิ่ม
เช่น -> วิธีการทดสอบแบบนี้ดีอย่างไร
-> ทำไมดีกว่าอีกวิธีทดสอบ
-> ทำไมประเทศเรามีวิธีนี้ แต่ประเทศของผู้เขียนไม่มี
-> เราจะนำมาใช้ในการทำงานเราอย่างไร
โดยสรุป คือ ข้อ 1-4 จะเป็นการอ่านทั่วไปพื้นฐาน รู้เรื่องว่าพูดอะไรและขอบข่ายอยู่แค่ไหน อ่านจบต้องเดาชื่อหัวข้อเรื่องได้
ข้อ 5-7 จะเน้นไปที่การต่อยอดว่า รู้เรื่องแล้วต้องหานัยแอบแฝงได้ด้วย ตรงนี้ผมถือว่าเป็น reading comprehension
ข้อ 8 ผมจัดว่าเป็น critical reading เพราะตรงจุดนี้ ต้องยืนบนไหล่ยักษ์ให้ได้ก่อน เราถึงจะตอบโต้กับสิ่งที่เราอ่านได้ และนำความรู้ไปวิเคราะห์ได้ (ถ้าระดับปริญญาเอก จะต้องสังเคราะห์ได้ด้วย)
สิ่งที่ไม่แนะนำให้ทำจากประสบการณ์
1. เปิดพจนานุกรมทุกคำ และใช้พจนานุกรมไทย-อังกฤษ (ไม่ได้ห้ามเปิด แต่ก่อนเปิด ควรจะฝึกเดาก่อน แนะนำพจนานุกรม อังกฤษ-อังกฤษ)
2. เลือกบทความยากๆในช่วงแรก (เพราะทำให้ท้อ ควรเลือกเรื่องง่ายๆ ที่เราพอจะรู้เรื่องบ้าง และควรจะเป็นเรื่องที่ชอบ)
3. เน้นปริมาณก่อนคุณภาพ (ควรอ่านน้อยๆก่อน แต่อ่านให้รู้เรื่อง ยิ่งถึงข้อ 7. ได้ยิ่งดี เพราะทำบ่อยๆ จำนวนหน้ามันจะเพิ่มขึ้นเอง อย่าท้อ อย่าเทียบตัวเองกับความเร็วในการอ่านของ native-English speakers) เสริม [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
4. อ่านเฉพาะแต่ตำราหรือบทความที่เราสนใจ (ลองไปหยิบเรื่องตลกหรือการ์ตูนที่คำน้อยๆ เผื่อผ่อนคลาย เพราะพวกตำราหรือบทความ มักจะเขียนเน้นสาระ อ่านนานแล้วเครียด ถ้าอ่านพวกอะไรผ่อนคลาย นอกจากจะช่วยเติมเต็มศัพท์เราได้แล้ว ยังจะช่วยผ่อนคลายไปพร้อมๆกันด้วย)
หวังว่า คำตอบผมจะเป็นประโยชน์ครับ
ทำให้การเปิดพจนานุกรมช่วยได้น้อยลง หรือถ้าจะเปิดต้องเปิดเล่มที่เป็นเฉพาะด้านนั้นๆ เช่น สายทางแพทย์ จะมี medical dictionary โดยเฉพาะ
แต่สำหรับการอ่านทั่วไป ผมจะแนะนำจากประสบการณ์ คือ
1. ฝึกหา content words (nouns, verbs, adjectives, adverbs และ wh-words) เพราะตรงนี้คือประเด็น เวลาหา keywords ก็จะใช้พวกนี้
2. ใน 1 ประโยค ลองเชื่อมคำในข้อ 1. ตาม common sense เพราะบ่อยครั้งเราอ่านไม่ได้ทันทุกคำ เราต้องอ่านแค่คำสำคัญ
3. ฝึกสังเกต negative expressions (นอกเหนือจากคำว่า no หรือ not) เพราะถ้าจับจุดตรงนี้ไม่ได้ความหมายผิดเยอะ
4. ฝึกสังเกต hedging expressions (may, might, will, would, shall, should, must, etc.) ตรงนี้จะบอกถึงความน่าเชื่อถือประโยคและนัยยะที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ
--------------------------------
5. ฝึกหาความหมายโดยนัย (implied meaning) เวลาผู้เขียนๆอะไรขึ้นมา เขาต้องคลุมส่วนนี้ไว้ด้วย เพราะบางอย่างเขียนเวิ่นเว้อไม่ได้ ต้องกระชับและสื่อความหมายตรง เช่น ผู้เขียนอาจเขียนว่า มีสารเคมีในกลุ่ม A 12 ตัว สารทั้ง 12 ตัวแบ่งเป็นกลุ่ม A1 และ A2 สารตัวที่ 1, 3 และ 5 เท่านั้นที่อยู่ในกลุ่ม A1...ตรงนี้ต้องเดาต่อว่าสารที่เหลือต้องอยู่ในกลุ่ม A2
6. ฝึกสังเกต idiomatic expressions และ/หรือ collocations บางครั้ง คำบางคำมักจะจับคู่กับคำบางคำเสมอ ซึ่งตรงนี้ไม่มีในหลักไวยากรณ์ แต่เป็นสิ่งที่มักใช้กัน และที่สำคัญบางกลุ่มคำ อาจนิยมใช้ในศาสตร์นั้นๆก็ได้
7. ฝึกเดาสิ่งที่จะอธิบายถัดไป ในตำรา อ.ส่วนใหญ่มักจะเขียนในรูปแบบขนาน (parallelism) เช่น กระบวนการ A แล้วอธิบายกระบวนการย่อย A1-4 พอกระบวนการ B ก็จะเดาได้ว่า จะมี B1-4 (คล้ายข้อ 5.) เช่นเดียวกับ C, D และอื่นๆ
--------------------------------
8. ฝึกตอบโต้กับบทความหรือตำราที่เรากำลังอ่าน
- ข้อนี้จัดว่าเป็นกระบวนการที่ไม่รู้จบ วิธีทำโดยคร่าวๆคือ ถามคำถามกับตัวเอง และลองร่างคำตอบในหัวเอง หรือสืบค้นข้อมูลเพิ่ม
เช่น -> วิธีการทดสอบแบบนี้ดีอย่างไร
-> ทำไมดีกว่าอีกวิธีทดสอบ
-> ทำไมประเทศเรามีวิธีนี้ แต่ประเทศของผู้เขียนไม่มี
-> เราจะนำมาใช้ในการทำงานเราอย่างไร
โดยสรุป คือ ข้อ 1-4 จะเป็นการอ่านทั่วไปพื้นฐาน รู้เรื่องว่าพูดอะไรและขอบข่ายอยู่แค่ไหน อ่านจบต้องเดาชื่อหัวข้อเรื่องได้
ข้อ 5-7 จะเน้นไปที่การต่อยอดว่า รู้เรื่องแล้วต้องหานัยแอบแฝงได้ด้วย ตรงนี้ผมถือว่าเป็น reading comprehension
ข้อ 8 ผมจัดว่าเป็น critical reading เพราะตรงจุดนี้ ต้องยืนบนไหล่ยักษ์ให้ได้ก่อน เราถึงจะตอบโต้กับสิ่งที่เราอ่านได้ และนำความรู้ไปวิเคราะห์ได้ (ถ้าระดับปริญญาเอก จะต้องสังเคราะห์ได้ด้วย)
สิ่งที่ไม่แนะนำให้ทำจากประสบการณ์
1. เปิดพจนานุกรมทุกคำ และใช้พจนานุกรมไทย-อังกฤษ (ไม่ได้ห้ามเปิด แต่ก่อนเปิด ควรจะฝึกเดาก่อน แนะนำพจนานุกรม อังกฤษ-อังกฤษ)
2. เลือกบทความยากๆในช่วงแรก (เพราะทำให้ท้อ ควรเลือกเรื่องง่ายๆ ที่เราพอจะรู้เรื่องบ้าง และควรจะเป็นเรื่องที่ชอบ)
3. เน้นปริมาณก่อนคุณภาพ (ควรอ่านน้อยๆก่อน แต่อ่านให้รู้เรื่อง ยิ่งถึงข้อ 7. ได้ยิ่งดี เพราะทำบ่อยๆ จำนวนหน้ามันจะเพิ่มขึ้นเอง อย่าท้อ อย่าเทียบตัวเองกับความเร็วในการอ่านของ native-English speakers) เสริม [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
4. อ่านเฉพาะแต่ตำราหรือบทความที่เราสนใจ (ลองไปหยิบเรื่องตลกหรือการ์ตูนที่คำน้อยๆ เผื่อผ่อนคลาย เพราะพวกตำราหรือบทความ มักจะเขียนเน้นสาระ อ่านนานแล้วเครียด ถ้าอ่านพวกอะไรผ่อนคลาย นอกจากจะช่วยเติมเต็มศัพท์เราได้แล้ว ยังจะช่วยผ่อนคลายไปพร้อมๆกันด้วย)
หวังว่า คำตอบผมจะเป็นประโยชน์ครับ
ความคิดเห็นที่ 2
- โดยวิธีที่ผมทำอยู่ตอนนี้คือแปลมันทุกคำ เปิดพจนาณุกรม เข้า Google ทุกบรรทัดเป็นภาษาไทยตามที่เราเข้าใจ
ทำให้การอ่านตำราต่าง ๆ ใช้เวลาเยอะมาก ๆ หลายครั้งที่เป็นหน้าล่ะชั่วโมง -
ก็แสดงว่า จขกท เห็นพิษภัยของการอ่านแบบผิดวิธี ที่ทำให้ทั้งเสียเวลา และพลังงานไปแบบไม่คุ้มค่าแล้ว
ดังนั้น วิธีการอ่านที่ควรจะเป็น คือ
1. อ่านให้ได้ภาพรวมกันว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร (ต้องอ่านตัวบทให้หมด ตั้งแต่หน้าแรก ถึงหน้าสุดท้าย) โดนหาคำว่า Skimming จะดูจากยูทุป หรือกูเกิน มีให้ค้นเป็นร้อย เป็นพัน
2. เจาะทีละอนุเฉท หรือย่อหน้า หาความเกี่ยวข้องโยงใยในอนุเฉท นั้นๆ เช่นหาคำเชื่อม (connector) หาคำหลัก (keyword) จะทำให้มองเห็นรายละเอียดของข้อความนั้น ได้ชัดขึ้น
3. อ่านหลายๆอนุเฉท พร้อมกันไปทั้งหน้า แล้วดูความเชื่อมโยงของแต่ละอนุเฉท
วิธีการอ่านที่กล่าวนั้น เวลาจะจับความ ให้ปิดต้นฉบับ ไม่ดูตัวบท แล้วจินตนาการเอาในใจว่า ที่อ่านไปนั้น มันอยู่อะไรอยู่ในหัวเราบ้าง
อนึ่ง อย่าอ่านด้วยตาเปล่าๆ มือคุณต้องจำลงไปด้วย เป็น คำหรือวลี สั้นๆ โดยไม่ลอกของที่มีอยู่ในตัวบทออกมา
ฝึกไปบ่อยๆ แบบนี้ คุณจะอ่านได้เร็วขึ้น และจับความได้มากขึ้น
ทำให้การอ่านตำราต่าง ๆ ใช้เวลาเยอะมาก ๆ หลายครั้งที่เป็นหน้าล่ะชั่วโมง -
ก็แสดงว่า จขกท เห็นพิษภัยของการอ่านแบบผิดวิธี ที่ทำให้ทั้งเสียเวลา และพลังงานไปแบบไม่คุ้มค่าแล้ว
ดังนั้น วิธีการอ่านที่ควรจะเป็น คือ
1. อ่านให้ได้ภาพรวมกันว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร (ต้องอ่านตัวบทให้หมด ตั้งแต่หน้าแรก ถึงหน้าสุดท้าย) โดนหาคำว่า Skimming จะดูจากยูทุป หรือกูเกิน มีให้ค้นเป็นร้อย เป็นพัน
2. เจาะทีละอนุเฉท หรือย่อหน้า หาความเกี่ยวข้องโยงใยในอนุเฉท นั้นๆ เช่นหาคำเชื่อม (connector) หาคำหลัก (keyword) จะทำให้มองเห็นรายละเอียดของข้อความนั้น ได้ชัดขึ้น
3. อ่านหลายๆอนุเฉท พร้อมกันไปทั้งหน้า แล้วดูความเชื่อมโยงของแต่ละอนุเฉท
วิธีการอ่านที่กล่าวนั้น เวลาจะจับความ ให้ปิดต้นฉบับ ไม่ดูตัวบท แล้วจินตนาการเอาในใจว่า ที่อ่านไปนั้น มันอยู่อะไรอยู่ในหัวเราบ้าง
อนึ่ง อย่าอ่านด้วยตาเปล่าๆ มือคุณต้องจำลงไปด้วย เป็น คำหรือวลี สั้นๆ โดยไม่ลอกของที่มีอยู่ในตัวบทออกมา
ฝึกไปบ่อยๆ แบบนี้ คุณจะอ่านได้เร็วขึ้น และจับความได้มากขึ้น
แสดงความคิดเห็น
มีวิธีอ่านตำรา/บทความวิชาการภาษาอังกฤษ สำหรับคนไม่เก่งภาษาเลยไหมครับ?
แต่อุปสรรคคือด้านภาษาของผมเองที่อ่อนมากถึงมากที่สุด
(วัยมัธยม - มหาวิทยาลัย ปี 1-3 เราหนีวิชาภาษามาตลอด ไม่ชอบ ไม่ถนัด เลยไม่คิดจะฝึกฝน)
โดยวิธีที่ผมทำอยู่ตอนนี้คือแปลมันทุกคำ เปิดพจนาณุกรม เข้า Google ทุกบรรทัดเป็นภาษาไทยตามที่เราเข้าใจ
ทำให้การอ่านตำราต่าง ๆ ใช้เวลาเยอะมาก ๆ หลายครั้งที่เป็นหน้าล่ะชั่วโมง
จึงอยากได้คำแนะนำว่ามีวิธีอื่น ๆ ที่ช่วยให้ผมเรียนรู้ได้เร็วกว่านี้ไหมครับ? ขอบคุณครับ
หมายเหตุ : ตอนนี้ก็ได้ฝึกฟัง-พูดแบบประโยคในชีวิตประจำวันมาสักพักหนึ่ง
ประกอบกับมีการฝึกแกรมม่ากับการอ่านเพื่อเตรียมสอบ TOEIC อยู่ครับ