คุ้ยวรรณคดี
เวรกรรมของวันทอง
ฑ.มณฑา
วลีที่ว่า นางวันทองสองใจ นั้นได้ติดค้างอยู่ในความรู้สึกของผู้คน ที่อ่านวรรณคดี เรื่องขุนช้างขุนแผนมานานนับร้อยปี แม้จะมีผู้พยายามแก้ต่างแทน แต่คำประนามนั้นก็ยังติดตัวนางวันทองอยู่ แม้จนทุกวันนี้ ความจริงเป็นอย่างไร จะลองคุ้ยออกมาให้พิจารณากันดูว่า นางนั้นน่าชังหรือน่าสงสารกันแน่
เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า นางวันทองเมื่อเริ่มเป็นสาวชื่อ พิมพิลาไล ได้แต่งงานกับพลายแก้ว ร่วมห้องหออยู่ไม่กี่วัน พลายแก้วก็ไปราชการทัพรบศึกกับเมืองเชียงใหม่ นางพิมอยู่ข้างหลังถูกขุนช้างหลอกว่าพลายแก้วตาย นางจึงถูกมารดาบังคับให้แต่งงานกับขุนช้าง โดยที่ไม่เต็มใจ
เมื่อพลายแก้วชนะศึกกลับมา ได้ยศเป็นขุนแผนก็พาลาวทองเมียใหม่มาด้วย และทิ้งนางพิมซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นวันทอง ไปอยู่กับลาวทอง ปล่อยให้วันทองอยู่กับขุนช้างต่อไป ต่อมา ขุนแผนต้องราชอาญา ถูกพรากจากนางลาวทอง ให้ไปตระเวนรักษาด่าน ก็เกิดคิดถึงนางวันทองจึงเข้าไปชิงตัวมาจากบ้านขุนช้าง แล้วก็พาตระเวนป่าด้วยกันจนวันทองมีครรภ์ จึงให้พระพิจิตรพาตัวเข้ากรุง ไปสู้คดีแย่งชิงนางวันทองกับขุนช้าง
แม้ขุนแผนจะชนะความได้ครองนางวันทอง แต่ความโลภอยากได้นางลาวทองมาอยู่ด้วย จึงทำให้ต้องราชอาญาถึงติดคุก ขุนช้างได้โอกาสจึงมาฉุดนางวันทองไปอยู่ด้วยกันอีก จนนางวันทองคลอดพลายงาม และพาลูกไปฝากย่าไว้ที่เมืองกาญจนบุรี แล้วก็อยู่กับขุนช้างอีกเกือบยี่สิบปี จนพลายงามโตเป็นหนุ่ม และช่วยขอตัวขุนแผนออกจากคุก ไปทำศึกกับเมืองเชียงใหม่อีกครั้ง เมื่อได้ชัยชนะมาพลายงามก็ได้ยศเป็นจมื่นไวยวรนาถ และได้แต่งงานกับภรรยาสองคนคือนางศรีมาลาและนางสร้อยฟ้าแล้ว พระไวยก็ยังมาพรากนางวันทองไปจากขุนช้างอีก ขุนช้างจึงถวายฎีกา ขอให้ตัดสินว่านางวันทองควรจะอยู่กับใคร
พระพันวษาได้ทรงฟังคำให้การ ของผู้กล่าวและผู้ถูกกล่าวหาแล้ว ก็ตรัสแก่ตัวการทั้งสี่ว่า
ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช ฟังเหตุขุ่นเคืองเป็นหนักหนา
อ้ายหมื่นไวยทำใจอหังกา ตกว่าบ้านเมืองไม่มีนาย
จะปรึกษาตราสินให้ไม่ได้ จึงทำตามน้ำใจเอาง่ายง่าย
ถ้าฉวยเกิดฆ่าฟันกันล้มตาย อันตรายไพร่เมืองก็เคืองกู
อีวันทองกูให้อ้ายแผนไป อ้ายช้างบังอาจใจทำจู่ลู่
ฉุดมันขึ้นช้างอ้างถึงกู ตะคอกขู่อีวันทองให้ตกใจ
ชอบตบให้สลบลงกับที่ เฆี่ยนตีเสียให้ยับไม่นับได้
มะพร้าวห้าวยัดปากให้สาใจ อ้ายหมื่นไวยก็โทษถึงฉกรรจ์
ถือว่าอีวันทองเป็นแม่ตัว ไม่เกรงกลัวเว้โว้ทำโมหันธ์
ไปรับใยไม่ไปในกลางวัน อ้ายแผนพ่อนั้นก็เป็นใจ
มันเหมือนวัวเคยค้าม้าเคยขี่ ถึงบอกกูว่าดีหาเชื่อไม่
อ้ายช้างมันก็ฟ้องเป็นสองนัย ว่าอ้ายไวยลักแม่ให้บิดา
เป็นราคีข้อผิดมีติดตัว หมองมัวมลทินอยู่หนักหนา
ถ้าอ้ายไวยอยากจะใคร่ได้แม่มา ชวนพ่อฟ้องหาเอาเป็นไร ฯ
แล้วพระพันวษาก็ตรัสถามนางวันทองคนกลางว่า
เฮ้ยอีวันทองว่ากระไร ตั้งใจปลดปลงให้คงที่
อย่าพะวงกังขาเป็นราคี เพราะมีผัวสองกูต้องแค้น
ถ้ารักใหม่ก็ไปอยู่กับอ้ายช้าง ถ้ารักเก่าเข้าข้างอ้ายขุนแผน
อย่าเวียนวนให้คนมันหมิ่นแคลน ถ้าแม้นรักไหนให้ว่ามา ฯ
เมื่อเห็นนางวันทองยังนิ่งอึ้งไม่สามารถจะตัดสินใจได้ ก็ทรงให้โอกาสอีกว่า
จะรักชู้ชังผัวกลัวอาย จะอยู่ด้วยลูกชายก็ไม่ว่า
ตามใจกูจะให้ดังวาจา แต่นี้เบื้องหน้าเด็ดขาดไป ฯ
ตรงนี้นางวันทองต้องคิดหนัก เพราะขุนแผนนั้นก็รักกันมาแต่เก่าก่อน ขุนช้างก็เป็นคนใจเดียว หลงรักตนมาแต่ไหนแต่ไรไม่เปลี่ยนแปลง เฝ้าหวงแหนและทนุถนอมตนมาตลอดเวลา ส่วนพระไวยนั้นก็เป็นลูกที่อุ้มท้องมา ด้วยความเหนื่อยยากลำบากลำบน กว่าจะพ้นภัยเป็นใหญ่เป็นโตได้
จะว่ารักขุนช้างกระไรได้ ที่จริงใจมิได้รักแต่สักหนิด
รักพ่อลูกห่วงดังดวงชีวิต แม้นทูลผิดจะพิโรธไม่โปรดปราน
อย่าเลยจะทูลเป็นกลางไว้ ตามพระทัยท้าวจะแยกให้แตกฉาน
คิดแล้วเท่านั้นมิทันนาน นางก้มกรานแล้วก็ทูลไปฉับพลัน ฯ
แต่คำกราบทูลที่ไม่ยอมเลือกว่าจะอยู่กับคนไหน เพื่อต้องการให้ทรงวินิจฉัย และมีโองการพิพากษาตามพระราชดำริ ให้เป็นที่เด็ดขาดลงไปนั้น กลับทำให้พระพันวษาเข้าพระทัยผิด คิดว่านางวันทองใจโลเล จึงทรงพระพิโรธเป็นทวีคูณ และบริภาษนางวันทองเสียเละ ไม่มีชิ้นดี สุดท้ายมีรับสั่งว่า
ว่าหญิงชั่วผัวยังคราวละคนเดียว หาตามตอมกันเกรียวเหมือนไม่
หนักแผ่นดินกูจะอยู่ใย อ้ายไวยอย่านับว่ามารดา
กูเลี้ยงถึงให้เป็นหัวหมื่น คนอื่นรู้ว่าแม่ก็ขายหน้า
อ้ายขุนช้างขุนแผนทั้งสองรา กูจะหาเมียให้อย่าอาลัย
หญิงกาลกิณีอีแพศยา มันไม่น่าเชยชิดพิสมัย
ที่รูปสวยรวยสมมีถมไป ตัดใจเสียเถิดอีคนนี้
เร่งเร็วเหวยพระยายมราช ไปฟันฟาดเสียให้มันเป็นผี
อกเอาขวานผ่าอย่าปราณี อย่าให้มีโลหิตติดดินกู
เอาใบตองรองไว้ให้หมากิน ตกดินจะ
กาลีอยู่
ฟันให้หญิงชายทั้งหลายดู สั่งเสร็จเสด็จสู่ปราสาทชัย ฯ
ตกลงโทษทัณฑ์จากเรื่องราวอันยุ่งเหยิงทั้งหลาย ที่ฝ่ายชายทั้งสามได้ผลัดกันก่อกรรมกระทำมานับสิบ ๆ ปีนั้น กลับตกอยู่กับหญิงคนกลาง อย่างไม่มีทางที่จะแก้ตัวแต่ประการใดได้ เพราะเป็นโองการของเจ้าเหนือหัว แม้พระไวยจะพยายามขออภัยโทษ จนได้รับพระราชทานอภัยโทษแล้ว แต่ก็ไม่ทันการ เมื่อมาถึงที่ประหาร นางวันทองก็หัวขาดไปแล้ว
……………………. ชีวิตวับดับพลันเป็นผุยผง
พอพระไวยถึงโผนโจนม้าลง ตรงเข้ากอดตีนแม่แน่นิ่งไป
ขุนแผนก็ล้มลงทั้งยืน ปิ้มจะไม่คงคืนชีวิตได้
ขุนช้างล้มนิ่งกลิ้งอยู่ไกล บ่าวไพร่น้อยใหญ่ก็วุ่นวาย
ทองประศรีกลิ้งเกลือก
กายา สร้อยฟ้าศรีมาลาล้มคว่ำหงาย
นางแก้วล้มกลิ้งทิ้งลูกชาย ใครจะรู้สึกกายก็ไม่มี ฯ
แต่ถึงใครจะโศกเศร้าเสียใจสักเท่าใด นางวันทองก็ไม่สามารถจะฟื้นคืนมาได้ ถ้าหากนางตัดสินใจกราบทูล เลือกใครสักคนหนึ่งในระหว่างขุนช้าง ขุนแผน และพระไวย เสียให้เด็ดขาดไป ชีวิตของนางก็คงจะไม่สิ้นลงอย่างน่าเอน็จอนาถเช่นนี้ ถ้าจะลองคิดดูว่านางควรจะเลือกใครในระหว่างสามคนนั้น น่าจะพิจารณาจากคำรำพันของนาง ก่อนที่พระไวยจะไปขออภัยโทษ ซึ่งท่านได้รจนาไว้ดังนี้
ครานั้นจึงโฉมเจ้าวันทอง
เศร้าหมองสะอึกสะอื้นไห้
สวมกอดลูกยาด้วยอาลัย
น้ำตาหลั่งไหลลงรินริน
วันนี้แม่จะลาพ่อพลายแล้ว
จะจำจากลูกแก้วไปศูนย์สิ้น
พอบ่ายก็จะตายลงถมดิน
ผินหน้ามาแม่จะขอชม
เกิดมาไม่เหมือนกับเขาอื่น
มิได้ชื่นเชยชิดสนิทสนม
แต่น้อยน้อยลอยลิ่วไปตามลม
ต้องตรอมตรมพรากแม่แต่เก้าปี
ให้แต่เฝ้าทุกข์ถึงคนึงหา
นึกว่าแม่จะไม่ได้เห็นผี
เจ้าก็ไม่ศูนย์หายวายชีวี
กลับมาได้เผาผีของมารดา
มิเสียแรงฟักฟูมอุ้มท้อง
ข้ามหนองแนวเขาลำเนาป่า
อยู่ในท้องก็เหมือนเพื่อนมารดา
ทนทุกข์เวทนาในป่าชัฏ
ผ่าแดดแผดฝนทนลำบาก
ปลิงทากร่านริ้นมันกินกัด
หนามไหน่ไขว่เกี่ยวเที่ยวเลี้ยวลัด
แม่คอยปัดระวังให้แต่ในครรภ์
พ่อพาขี่ม้าไม่ขับควบ
ขยับยวบกลัวเจ้าจะหวาดหวั่น
พอแดดเผาเข้าร่มพนาวัน
เห็นจะอ่อนผ่อนผันลงกินน้ำ
ค่อยกลืนแต่พอชื่นไม่กลืนหนัก
กลัวลูกจะสำลักทุกเช้าค่ำ
เมื่อเขาส่งลงมาต้องจองจำ
แสนระกำก็ระวังจะนั่งนอน
ด้วยเป็นห่วงบ่วงใยในลูกรัก
จะเดินหนักเกรงท้องขยักขย่อน
จะนั่งนักเจ้าจักอนาทร
ครั้นนอนนักกลัวจะเหนื่อยอนาถตัว
เจ้าคลอดรอดแล้วจึงคลายใจ
เฝ้าถนอมกล่อมไกวพ่อทูลหัว
เก้าปีแม่ประคองไม่หมองมัว
ชุนช้างชั่วลักลูกไปลับตา
เขาตีต่อยปล่อยหลงในดงชัฏ
กุศลซัดให้เจ้าคืนมาเห็นหน้า
พอเห็นแล้วก็ต้องพรากจากมารดา
แต่นั้นมาช้านานจึงพานพบ
กุศลหนหลังยังค้ำจุน
ให้ลูกแก้วมีบุญประจวบจบ
เที่ยวติดตามแม่พ่อพอพร้อมครบ
กลับต้องมาทำศพของมารดา
เหมือนอุตส่าห์ดั้นด้นพ้นป่าชัฏ
พอเห็นแสงจันทร์จำรัสพระเวหา
สำคัญคิดว่าจะสุขทุกเวลา
พอสายฟ้าฟาดล้มจมดินดาน
พ่อจะเห็นมารดาสักครึ่งวัน
พ้นนั้นศูนย์เปล่าเป็นเถ้าถ่าน
จะได้แต่คิดถึงคะนึงนาน
กลับไปบ้านเถิดลูกอย่ารอเย็น
เมื่อเวลาเขาฆ่าแม่คอขาด
จะอนาถไม่น่าจะแลเห็น
เจ้าดูหน้าเสียแต่แม่ยังเป็น
นึกถึงจะได้เห็นหน้ามารดา ฯ
ต้องขออภัยท่านผู้อ่าน ที่ได้คัดลอกบทกลอนของเก่ามาถึงสิบห้าบท และเป็น บทเศร้า โศกสลดชวนให้รันทดใจ แต่ก็เพื่อจะแสดงให้ได้ทราบอย่างลึกซึ้ง ถึงความรู้สึกของนางวันทอง ว่ามีเพียงรักเดียวคือเจ้าหมื่นไวยวรนาถ ลูกชายคนเดียวของนางเท่านั้น หากแต่เป็นด้วยเวรกรรมซ้ำซัด จึงมิได้ออกปากให้ปรากฏ ชีวิตของนางจึงต้องมัวหมองมาจนกระทั่ง ถึงบัดนี้
ซึ่งเป็นเวลาเนิ่นนาน พอสมควรที่จะได้รับการนิรโทษกรรมแล้ว มิใช่หรือ ?
###########
เวรกรรมของนางวันทอง ๑๖ มี.ค.๖๑
เวรกรรมของวันทอง
ฑ.มณฑา
วลีที่ว่า นางวันทองสองใจ นั้นได้ติดค้างอยู่ในความรู้สึกของผู้คน ที่อ่านวรรณคดี เรื่องขุนช้างขุนแผนมานานนับร้อยปี แม้จะมีผู้พยายามแก้ต่างแทน แต่คำประนามนั้นก็ยังติดตัวนางวันทองอยู่ แม้จนทุกวันนี้ ความจริงเป็นอย่างไร จะลองคุ้ยออกมาให้พิจารณากันดูว่า นางนั้นน่าชังหรือน่าสงสารกันแน่
เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า นางวันทองเมื่อเริ่มเป็นสาวชื่อ พิมพิลาไล ได้แต่งงานกับพลายแก้ว ร่วมห้องหออยู่ไม่กี่วัน พลายแก้วก็ไปราชการทัพรบศึกกับเมืองเชียงใหม่ นางพิมอยู่ข้างหลังถูกขุนช้างหลอกว่าพลายแก้วตาย นางจึงถูกมารดาบังคับให้แต่งงานกับขุนช้าง โดยที่ไม่เต็มใจ
เมื่อพลายแก้วชนะศึกกลับมา ได้ยศเป็นขุนแผนก็พาลาวทองเมียใหม่มาด้วย และทิ้งนางพิมซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นวันทอง ไปอยู่กับลาวทอง ปล่อยให้วันทองอยู่กับขุนช้างต่อไป ต่อมา ขุนแผนต้องราชอาญา ถูกพรากจากนางลาวทอง ให้ไปตระเวนรักษาด่าน ก็เกิดคิดถึงนางวันทองจึงเข้าไปชิงตัวมาจากบ้านขุนช้าง แล้วก็พาตระเวนป่าด้วยกันจนวันทองมีครรภ์ จึงให้พระพิจิตรพาตัวเข้ากรุง ไปสู้คดีแย่งชิงนางวันทองกับขุนช้าง
แม้ขุนแผนจะชนะความได้ครองนางวันทอง แต่ความโลภอยากได้นางลาวทองมาอยู่ด้วย จึงทำให้ต้องราชอาญาถึงติดคุก ขุนช้างได้โอกาสจึงมาฉุดนางวันทองไปอยู่ด้วยกันอีก จนนางวันทองคลอดพลายงาม และพาลูกไปฝากย่าไว้ที่เมืองกาญจนบุรี แล้วก็อยู่กับขุนช้างอีกเกือบยี่สิบปี จนพลายงามโตเป็นหนุ่ม และช่วยขอตัวขุนแผนออกจากคุก ไปทำศึกกับเมืองเชียงใหม่อีกครั้ง เมื่อได้ชัยชนะมาพลายงามก็ได้ยศเป็นจมื่นไวยวรนาถ และได้แต่งงานกับภรรยาสองคนคือนางศรีมาลาและนางสร้อยฟ้าแล้ว พระไวยก็ยังมาพรากนางวันทองไปจากขุนช้างอีก ขุนช้างจึงถวายฎีกา ขอให้ตัดสินว่านางวันทองควรจะอยู่กับใคร
พระพันวษาได้ทรงฟังคำให้การ ของผู้กล่าวและผู้ถูกกล่าวหาแล้ว ก็ตรัสแก่ตัวการทั้งสี่ว่า
ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช ฟังเหตุขุ่นเคืองเป็นหนักหนา
อ้ายหมื่นไวยทำใจอหังกา ตกว่าบ้านเมืองไม่มีนาย
จะปรึกษาตราสินให้ไม่ได้ จึงทำตามน้ำใจเอาง่ายง่าย
ถ้าฉวยเกิดฆ่าฟันกันล้มตาย อันตรายไพร่เมืองก็เคืองกู
อีวันทองกูให้อ้ายแผนไป อ้ายช้างบังอาจใจทำจู่ลู่
ฉุดมันขึ้นช้างอ้างถึงกู ตะคอกขู่อีวันทองให้ตกใจ
ชอบตบให้สลบลงกับที่ เฆี่ยนตีเสียให้ยับไม่นับได้
มะพร้าวห้าวยัดปากให้สาใจ อ้ายหมื่นไวยก็โทษถึงฉกรรจ์
ถือว่าอีวันทองเป็นแม่ตัว ไม่เกรงกลัวเว้โว้ทำโมหันธ์
ไปรับใยไม่ไปในกลางวัน อ้ายแผนพ่อนั้นก็เป็นใจ
มันเหมือนวัวเคยค้าม้าเคยขี่ ถึงบอกกูว่าดีหาเชื่อไม่
อ้ายช้างมันก็ฟ้องเป็นสองนัย ว่าอ้ายไวยลักแม่ให้บิดา
เป็นราคีข้อผิดมีติดตัว หมองมัวมลทินอยู่หนักหนา
ถ้าอ้ายไวยอยากจะใคร่ได้แม่มา ชวนพ่อฟ้องหาเอาเป็นไร ฯ
แล้วพระพันวษาก็ตรัสถามนางวันทองคนกลางว่า
เฮ้ยอีวันทองว่ากระไร ตั้งใจปลดปลงให้คงที่
อย่าพะวงกังขาเป็นราคี เพราะมีผัวสองกูต้องแค้น
ถ้ารักใหม่ก็ไปอยู่กับอ้ายช้าง ถ้ารักเก่าเข้าข้างอ้ายขุนแผน
อย่าเวียนวนให้คนมันหมิ่นแคลน ถ้าแม้นรักไหนให้ว่ามา ฯ
เมื่อเห็นนางวันทองยังนิ่งอึ้งไม่สามารถจะตัดสินใจได้ ก็ทรงให้โอกาสอีกว่า
จะรักชู้ชังผัวกลัวอาย จะอยู่ด้วยลูกชายก็ไม่ว่า
ตามใจกูจะให้ดังวาจา แต่นี้เบื้องหน้าเด็ดขาดไป ฯ
ตรงนี้นางวันทองต้องคิดหนัก เพราะขุนแผนนั้นก็รักกันมาแต่เก่าก่อน ขุนช้างก็เป็นคนใจเดียว หลงรักตนมาแต่ไหนแต่ไรไม่เปลี่ยนแปลง เฝ้าหวงแหนและทนุถนอมตนมาตลอดเวลา ส่วนพระไวยนั้นก็เป็นลูกที่อุ้มท้องมา ด้วยความเหนื่อยยากลำบากลำบน กว่าจะพ้นภัยเป็นใหญ่เป็นโตได้
จะว่ารักขุนช้างกระไรได้ ที่จริงใจมิได้รักแต่สักหนิด
รักพ่อลูกห่วงดังดวงชีวิต แม้นทูลผิดจะพิโรธไม่โปรดปราน
อย่าเลยจะทูลเป็นกลางไว้ ตามพระทัยท้าวจะแยกให้แตกฉาน
คิดแล้วเท่านั้นมิทันนาน นางก้มกรานแล้วก็ทูลไปฉับพลัน ฯ
แต่คำกราบทูลที่ไม่ยอมเลือกว่าจะอยู่กับคนไหน เพื่อต้องการให้ทรงวินิจฉัย และมีโองการพิพากษาตามพระราชดำริ ให้เป็นที่เด็ดขาดลงไปนั้น กลับทำให้พระพันวษาเข้าพระทัยผิด คิดว่านางวันทองใจโลเล จึงทรงพระพิโรธเป็นทวีคูณ และบริภาษนางวันทองเสียเละ ไม่มีชิ้นดี สุดท้ายมีรับสั่งว่า
ว่าหญิงชั่วผัวยังคราวละคนเดียว หาตามตอมกันเกรียวเหมือนไม่
หนักแผ่นดินกูจะอยู่ใย อ้ายไวยอย่านับว่ามารดา
กูเลี้ยงถึงให้เป็นหัวหมื่น คนอื่นรู้ว่าแม่ก็ขายหน้า
อ้ายขุนช้างขุนแผนทั้งสองรา กูจะหาเมียให้อย่าอาลัย
หญิงกาลกิณีอีแพศยา มันไม่น่าเชยชิดพิสมัย
ที่รูปสวยรวยสมมีถมไป ตัดใจเสียเถิดอีคนนี้
เร่งเร็วเหวยพระยายมราช ไปฟันฟาดเสียให้มันเป็นผี
อกเอาขวานผ่าอย่าปราณี อย่าให้มีโลหิตติดดินกู
เอาใบตองรองไว้ให้หมากิน ตกดินจะกาลีอยู่
ฟันให้หญิงชายทั้งหลายดู สั่งเสร็จเสด็จสู่ปราสาทชัย ฯ
ตกลงโทษทัณฑ์จากเรื่องราวอันยุ่งเหยิงทั้งหลาย ที่ฝ่ายชายทั้งสามได้ผลัดกันก่อกรรมกระทำมานับสิบ ๆ ปีนั้น กลับตกอยู่กับหญิงคนกลาง อย่างไม่มีทางที่จะแก้ตัวแต่ประการใดได้ เพราะเป็นโองการของเจ้าเหนือหัว แม้พระไวยจะพยายามขออภัยโทษ จนได้รับพระราชทานอภัยโทษแล้ว แต่ก็ไม่ทันการ เมื่อมาถึงที่ประหาร นางวันทองก็หัวขาดไปแล้ว
……………………. ชีวิตวับดับพลันเป็นผุยผง
พอพระไวยถึงโผนโจนม้าลง ตรงเข้ากอดตีนแม่แน่นิ่งไป
ขุนแผนก็ล้มลงทั้งยืน ปิ้มจะไม่คงคืนชีวิตได้
ขุนช้างล้มนิ่งกลิ้งอยู่ไกล บ่าวไพร่น้อยใหญ่ก็วุ่นวาย
ทองประศรีกลิ้งเกลือกกายา สร้อยฟ้าศรีมาลาล้มคว่ำหงาย
นางแก้วล้มกลิ้งทิ้งลูกชาย ใครจะรู้สึกกายก็ไม่มี ฯ
แต่ถึงใครจะโศกเศร้าเสียใจสักเท่าใด นางวันทองก็ไม่สามารถจะฟื้นคืนมาได้ ถ้าหากนางตัดสินใจกราบทูล เลือกใครสักคนหนึ่งในระหว่างขุนช้าง ขุนแผน และพระไวย เสียให้เด็ดขาดไป ชีวิตของนางก็คงจะไม่สิ้นลงอย่างน่าเอน็จอนาถเช่นนี้ ถ้าจะลองคิดดูว่านางควรจะเลือกใครในระหว่างสามคนนั้น น่าจะพิจารณาจากคำรำพันของนาง ก่อนที่พระไวยจะไปขออภัยโทษ ซึ่งท่านได้รจนาไว้ดังนี้
ครานั้นจึงโฉมเจ้าวันทอง
เศร้าหมองสะอึกสะอื้นไห้
สวมกอดลูกยาด้วยอาลัย
น้ำตาหลั่งไหลลงรินริน
วันนี้แม่จะลาพ่อพลายแล้ว
จะจำจากลูกแก้วไปศูนย์สิ้น
พอบ่ายก็จะตายลงถมดิน
ผินหน้ามาแม่จะขอชม
เกิดมาไม่เหมือนกับเขาอื่น
มิได้ชื่นเชยชิดสนิทสนม
แต่น้อยน้อยลอยลิ่วไปตามลม
ต้องตรอมตรมพรากแม่แต่เก้าปี
ให้แต่เฝ้าทุกข์ถึงคนึงหา
นึกว่าแม่จะไม่ได้เห็นผี
เจ้าก็ไม่ศูนย์หายวายชีวี
กลับมาได้เผาผีของมารดา
มิเสียแรงฟักฟูมอุ้มท้อง
ข้ามหนองแนวเขาลำเนาป่า
อยู่ในท้องก็เหมือนเพื่อนมารดา
ทนทุกข์เวทนาในป่าชัฏ
ผ่าแดดแผดฝนทนลำบาก
ปลิงทากร่านริ้นมันกินกัด
หนามไหน่ไขว่เกี่ยวเที่ยวเลี้ยวลัด
แม่คอยปัดระวังให้แต่ในครรภ์
พ่อพาขี่ม้าไม่ขับควบ
ขยับยวบกลัวเจ้าจะหวาดหวั่น
พอแดดเผาเข้าร่มพนาวัน
เห็นจะอ่อนผ่อนผันลงกินน้ำ
ค่อยกลืนแต่พอชื่นไม่กลืนหนัก
กลัวลูกจะสำลักทุกเช้าค่ำ
เมื่อเขาส่งลงมาต้องจองจำ
แสนระกำก็ระวังจะนั่งนอน
ด้วยเป็นห่วงบ่วงใยในลูกรัก
จะเดินหนักเกรงท้องขยักขย่อน
จะนั่งนักเจ้าจักอนาทร
ครั้นนอนนักกลัวจะเหนื่อยอนาถตัว
เจ้าคลอดรอดแล้วจึงคลายใจ
เฝ้าถนอมกล่อมไกวพ่อทูลหัว
เก้าปีแม่ประคองไม่หมองมัว
ชุนช้างชั่วลักลูกไปลับตา
เขาตีต่อยปล่อยหลงในดงชัฏ
กุศลซัดให้เจ้าคืนมาเห็นหน้า
พอเห็นแล้วก็ต้องพรากจากมารดา
แต่นั้นมาช้านานจึงพานพบ
กุศลหนหลังยังค้ำจุน
ให้ลูกแก้วมีบุญประจวบจบ
เที่ยวติดตามแม่พ่อพอพร้อมครบ
กลับต้องมาทำศพของมารดา
เหมือนอุตส่าห์ดั้นด้นพ้นป่าชัฏ
พอเห็นแสงจันทร์จำรัสพระเวหา
สำคัญคิดว่าจะสุขทุกเวลา
พอสายฟ้าฟาดล้มจมดินดาน
พ่อจะเห็นมารดาสักครึ่งวัน
พ้นนั้นศูนย์เปล่าเป็นเถ้าถ่าน
จะได้แต่คิดถึงคะนึงนาน
กลับไปบ้านเถิดลูกอย่ารอเย็น
เมื่อเวลาเขาฆ่าแม่คอขาด
จะอนาถไม่น่าจะแลเห็น
เจ้าดูหน้าเสียแต่แม่ยังเป็น
นึกถึงจะได้เห็นหน้ามารดา ฯ
ต้องขออภัยท่านผู้อ่าน ที่ได้คัดลอกบทกลอนของเก่ามาถึงสิบห้าบท และเป็น บทเศร้า โศกสลดชวนให้รันทดใจ แต่ก็เพื่อจะแสดงให้ได้ทราบอย่างลึกซึ้ง ถึงความรู้สึกของนางวันทอง ว่ามีเพียงรักเดียวคือเจ้าหมื่นไวยวรนาถ ลูกชายคนเดียวของนางเท่านั้น หากแต่เป็นด้วยเวรกรรมซ้ำซัด จึงมิได้ออกปากให้ปรากฏ ชีวิตของนางจึงต้องมัวหมองมาจนกระทั่ง ถึงบัดนี้
ซึ่งเป็นเวลาเนิ่นนาน พอสมควรที่จะได้รับการนิรโทษกรรมแล้ว มิใช่หรือ ?
###########