เรียนปวส. สาขาไหนดีครับ ชอบเขียนโปรแกรม ชอบหาความรู้ต่างๆเกี่ยวกับคอมและสุดท้ายชอบทุกอย่างที่เกี่ยวกับคอม

สวัสดีครับ ปัจจุบันผมเรียนอยู่ปวช. 3 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ครับ
ตอนนี้ผมมีปัญหาด้านการเลือกที่เรียนต่อตอน ปวส. ครับ ไม่รู้ว่าสาขาไหนทำอะไร
แล้วถ้าเลือกเรียนสาขานี้จะตรงกับที่เราต้องการไหม
ผมอยากเป็นโปรแกรมเมอร์ อยากทำงานที่เกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ หรือ ซอฟแวร์ครับ
อยากเจาะลึกไปเลยครับ เพราะผมเรียนคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มันค่อนข้าง จะไม่เจาะไปทางใดทางหนึ่ง
มันกลาง จะธุรกิจ ก็ไม่ธุรกิจหมด จะคอมพิวเตอร์ก็ไม่คอมพิวเตอร์หมด
(ส่วนตัวไม่ค่อยชอบธุรกิจเลยครับ มันค่อนข้างยุ่งยากในการบริหาร)
ผมชอบการเขียนโปรแกรม ซ่อมบำรุงรักษาเครื่อง ระบบ และ ก็ชอบคณิต
และอีกอย่าง ผมอยากต่อมหาลัย สาขา วิศวคอม ครับ
ผมควรเลือกเรียนสาขาไหนดีครับ วิทยาลัยของผม มีสาขาเกี่ยวกับคอม ดังนี้
- สาขา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
- สาขา คอมพิวเตอร์ซอฟแวร์
- สาขา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- สาขา คอมพิวเตอร์กราฟฟิก

และขอถามหน่อยนะครับ ว่าแต่ละสาขาเขาทำอะไรบ้างหรอครับ
ผมอาจจะใช่ตรงนี้ในการตัดสินใจอีกทีนึง

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ซอฟต์แวร์ ไม่ใช่ ซอฟแวร์
มหาวิทยาลัย ไม่ใช่ มหาลัย
กรรม กำ ยังไม่รู้ สาขา ที่ จะเรียน

ถ้า อยากเป็น โปรแกรมเมอร์ ต้อง รอบคอบ เยอะ กว่านี้ ต้อง ศึกษา ค้นคว้า ด้วยตัวเอง เป็น ได้ ไม่มี ใคร มา...ได้ตลอดเวลา

จบ สายอาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช สาขาคอมพิวเตอร์ ต้องขยันเพิ่ม เพราะ พื้นฐาน สายสามัญ ไม่แน่น
จบ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส ยัง ไม่จบ ปริญญาตรี นะ
จบ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส มี คณะ สาขา ภาควิชา ให้เลือก เรียน น้อย

ถ้า ไม่จบ ปริญญาตรี ก็ มี วุฒิ สายอาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส รองรับ

จบ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส เรียน ต่อ มหาวิทยาลัย เรียน ต่อเนื่อง หรือ เทียบโอน แต่ก่อน เรียก ต่อเนื่อง เดี๋ยวนี้ เรียก เทียบโอน ขึ้นอยู่กับ วิชา ที่ เทียบโอน ได้ จาก โรงเรียน วิทยาลัย เดิม ถ้า ต่อ สาขา เดิม หรือ สาขา ที่เกี่ยวข้อง อาจจะ เทียบโอน ได้ เยอะ อาจจะจบ เร็ว ถ้า เปลี่ยน สาขา อาจจะ เทียบโอน ได้ น้อย อาจจะจบ ช้า ทั้งนี้ ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับ ความขยัน ของแต่ละบุคคล วิชา ที่ เทียบโอน ต้องได้ เกรด 2 หรือ ซี

บาง หลักสูตร เรียน 2ปี ต่อเนื่อง หรือ เทียบโอน
บาง หลักสูตร เรียน 3ปี ต่อเนื่อง หรือ เทียบโอน

ถ้า มี เป้าหมาย อนาคต อยากต่อ มหาวิทยาลัย แล้ว เรียน ต่อ มหาวิทยาลัย ไปเลย

คอมพิวเตอร์ แต่ละ มหาวิทยาลัย จะอยู่ใน คณะ ที่แตกต่างกันไป
คอมพิวเตอร์ แต่ละ มหาวิทยาลัย จะใช้ชื่อ สาขา ภาควิชา ที่แตกต่างกันไป

เกม แต่ละ มหาวิทยาลัย จะอยู่ใน คณะ ที่แตกต่างกันไป
เกม แต่ละ มหาวิทยาลัย จะใช้ชื่อ สาขา ภาควิชา ที่แตกต่างกันไป

กราฟิก แต่ละ มหาวิทยาลัย จะอยู่ใน คณะ ที่แตกต่างกันไป
กราฟิก แต่ละ มหาวิทยาลัย จะใช้ชื่อ สาขา ภาควิชา ที่แตกต่างกันไป

มหาวิทยาลัย มี ทั้ง มหาวิทยาลัย เอกชน และ มหาวิทยาลัย รัฐบาล

ชื่อ คณะ สาขา ภาควิชา ก็ บอก อยู่แล้ว
แต่ละ สาขา ภาควิชา เน้นคนละด้าน

คอมพิวเตอร์ ทุก สาขา ภาควิชา หนีการเขียนโปรแกรม ไม่พ้น
คอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิทยาศาสตร จะมี ให้เลือก เรียน เยอะ

ถ้า ถนัด เขียนโปรแกรม สาขา ภาควิชา คอมพิวเตอร์
ถ้า ถนัด ออกแบบ พัฒนา เกม สาขา ภาควิชา เกม สาขา ภาควิชา เกม ก็ มี เรียน เขียนโปรแกรม
ถ้า อยากเป็น โปรแกรมเมอร์ คอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิทยาศาสตร

ถ้า อยาก เป็น โปรแกรมเมอร์ คอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิทยาศาสตร จะเน้น ซอฟต์แวร์ การเขียนโปรแกรม
สาขา ภาควิชา วิศวกรรมซอฟต์แวร์
สาขา ภาควิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์
สาขา ภาควิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์และการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชัน
สาขา ภาควิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์
สาขา ภาควิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สาขา ภาควิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ

คอมพิวเตอร์ หลักสูตรบริหารธุรกิจ จะเน้น ผู้ใช้ User
คอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิทยาศาสตร จะเน้น ซอฟต์แวร์ การเขียนโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร จะเน้น ซอฟต์แวร์ และ ฮาร์ดแวร์
สาขา ภาควิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ หลักสูตรบริหารธุรกิจ จะเน้น ผู้ใช้ User จะเรียน ทั้ง วิทยาการคอมพิวเตอร์ และ บริหาร จะเรียน จับฉ่าย จบ จะได้ หลักสูตรบริหารธุรกิจ
สาขา ภาควิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ไม่ได้ เจาะลึก กลาง ๆ เจาะลึก ง่าย สุด ๆ แล้ว
สาขา ภาควิชา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร จะเน้น ซอฟต์แวร์ และ ฮาร์ดแวร์ ก็ เรียน จับฉ่าย เหมือนกัน จะเรียน วิทยาศาสตร อิเล็กทรอนิกส์ ไฟฟ้า
สาขา ภาควิชา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ไม่ได้ เรียน ซ่อมคอมพิวเตอร์ ซ่อมบำรุงรักษาเครื่อง นะ

คอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิทยาศาสตร เจาะลึก กลาง ๆ ไม่ง่าย ไม่ยาก จนเกิน ไป แล้ว แต่ ความขยันของ แต่ละ บุคคล

ฟิสิกส์ เป็น ความรู้พื้นฐาน อิเล็กทรอนิกส์
คณิตศาสตร์ เป็น ความรู้พื้นฐาน วิศวกรรมศาสตร์

สาขา ภาควิชา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ คำนวณ ภาษาอังกฤษ E วิทยาศาสตร์ อิเล็กทรอนิกส์ ไฟฟ้า ต้องได้

วิศวกรรมศาสตร์ ทุก สาขา ต้องได้ เรียน ฟิสิกส์ วิศวกรรมศาสตร์ ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ คำนวณ ต้องได้

คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ E

คอมพิวเตอร์ อ่าน อย่างเดียว ไม่ได้ ต้อง ปฏิบัติ ด้วย
เขียนโปรแกรม อ่าน ให้ เข้าใจ ปิด หนังสือ ลอง ตั้งโจทย์ ขึ้นมา เขียน ตามความเข้าใจของเรา
เกิด ข้อผิดพลาด Error Bug ต้อง Edit Code แก้ไขโค้ด ได้ ด้วยตนเอง ไม่พึ่ง คนอื่น เพราะ ไม่มี ใคร มานั่งชี้แนะ ได้ ตลอด เวลา

ภาษาจาวา ต้องมีความรู้พื้นฐาน ภาษาซี
ภาษาไพธอน
ภาษาอา

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
สาขาวิชาการนี้  เป็นการศึกษาการใช้สารสนเทศในธุรกิจอุตสาหกรรมและสังคม  สาขาวิชานี้เปิดกว้างสำหรับทุกคนที่สนใจการใช้สารสนเทศ  ดังนั้นนักศึกษาจะเรียนวิชาพื้น
ฐานด้านธุรกิจและบริหาร  และวิทยาการคอมพิวเตอร์จุดเด่นของหลักสูตรอยู่ที่นักศึกษาสามารถเลือกเน้นความสามารถที่เป็น  "ทักษะ"ที่เป็นจริงได้ในด้าน
.  Business Process and MIS
.  Programming Skill ใช้ภาษา  UML และ  ASP.NET
.  Web Design(ใช้  Dream Weaver และ  Flash ได้)
. Business System Analysis
.  e-Commerce
.  e-learning
. Microsoft office
. Multimedia in Business(ใช้  Flash และ  Photoshop ได้)
นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  จะมีทางเลือกในสายอาชีพในองค์กรต่าง  ๆ  เช่น  ธนาคาร รัฐวิสาหกิจ  บริษัทตลาดหลักทรัพย์  บริษัทระดับ  SME ฯลฯ  โดยสามารถ
ทำงานในตำแหน่งเลขานุการ  จนถึงโปรแกรมเมอร์  หรือเจ้าหน้าที่  End Use จนถึงเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงาน  อาชีพหลักที่เป็นได้  มีดังนี้
.  เจ้าหน้าที่ฝ่าย End Use ในส่วนงาน  เช่น  ส่วนงานสินเชื่อของธนาคาร  ที่มีระบบซอฟต์แวร์สินเชื่อเบื้องต้น
.  เจ้าหน้าที่ฝ่ายคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานธุรกิจ
.  เจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย
.  เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนด้านซอฟต์แวร์  (Support)
.  เจ้าหน้าที่ฝ่าย e-learning
.  เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารสำนักงาน
.  เลขานุการกรรมการผู้จัดการใหญ่
.  เจ้าหน้าที่ฝ่ายระบบงานสำนักงาน
.  เจ้าหน้าที่พัฒนาซอฟต์แวร์
.  เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม
.  เจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีคอมพิวเตอร์  หรือระบบบริหารงานบุคคล
.  เจ้าหน้าที่ฝ่ายโฆษณา
.  เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารระบบ
.  และอื่น  ๆ
ศึกษา   เรียนรู้ระบบสารสนเทศ   และการประยุกต์เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับงานธุรกิจและการจัดการด้านสารสนเทศ   เช่น   การวิเคราะห์ออกแบบระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ   การบริหารจัดการฐานข้อมูลในเชิงธุรกิจ   การจัดการด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์   การออกแบบและพัฒนาเว็บ   รวมทั้งการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้งานด้านต่าง   ๆ   ที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ

โอกาสในอนาคต
ประกอบธุรกิจด้าน IT โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ ดูแลซ่อมบำรุง และลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เจ้าหน้าที่งานคอมพิวเตอร์ทั้งส่วนราชการและเอกชน

สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิก Computer Graphic
ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบงานกราฟิกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์
ในด้านการสื่อสารและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทั้งในรูปแบบ
สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัล  ได้แก่  การออกแบบโปสเตอร์
การออกแบบโลโก้  การออกแบบภาพลักษณ์สำหรับองค์กร
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design) และการออกแบบ
กราฟิกสำหรับเว็บไซต์  เป็นต้น

สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิก
มุ่งเน้นที่จะพัฒนาแนวความคิดสร้างสรรค์ด้านการออกแบบงานกราฟิก ทั้งทางทฤษฏีและปฏิบัติ รวมถึงทักษะทางเทคโนโลยี ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย

โอกาสทางวิชาชีพ
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา สาขาสาขาวิชาการออกแบบกราฟิก

Interactive Designer

นักออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์ ผู้ที่ทำงานด้านการออกแบบข้อมูล (Information Design) การออกแบบหน้าการใช้งานหรือหน้าปฏิบัติการ(Interface Design) หน้าจอทัชกรีน (Touch Screen) การออกแบบเว็บไซต์ (Web Design) สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) สื่อการเรียนการสอน (e-Learning) และสื่อปฏิสัมพันธ์การจัดวางติดตั้ง (Installation Interactive Media)

Graphic Designer

นักออกแบบกราฟิก ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะการออกแบบด้วยรูปภาพ ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหวเพื่อใช้ในการสร้างผลงานออกแบบเพื่อการสื่อสารทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัล เช่น โบรชัวร์ โปสเตอร์ สื่อโฆษณา เป็นต้น

Motion Graphic Designer

นักออกแบบกราฟิก ผู้นำเสนองานออกแบบกราฟิกในรูปแบบภาพเคลื่อนไหว โดยนำหลักการของแอนิเมชันและทฤษฎีภาพยนตร์มาประยุกต์ใช้กับหลักการออกแบบกราฟิกเพื่อสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบต่างๆ เช่น มิวสิควีดีโอ ไตเติ้ลรายการทีวี เป็นต้น

Photographer

ช่างภาพ ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพด้วยกล้อง โดยนำทฤษฎีของแสงมาประยุกต์ใช้กับการจัดวางองค์ประกอบ เพื่อถ่ายทอดความคิดและจินตนาการของตนผ่านทางภาพถ่ายที่สมบูรณ์แบบและสวยงาม

Creative
นักออกแบบสื่อสร้างสรรค์ เป็นผู้ที่มีแนวคิดสร้างสรรค์งานออกแบบใหม่ๆที่หลากหลายและสามารถตอบโจทย์จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ทางการตลาดของลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์ มีหน้าที่ในการคิดงานสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ เช่น งานโฆษณา (Advertising Design) งานออกแบกราฟิก (Graphic Design)

Art Director

ผู้กำกับศิลป์ เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกำกับสไตล์งานและการพัฒนาแนวความคิด เพือวางทิศทางในการทำงานออกแบบที่ชัดเจน ตลอดจนควบคุมคุณภาพการงานผลิตตลอดขั้นตอนให้เสร็จสมบูรณ์

Creative Director

ผู้กำกับการออกแบบงานสร้างสรรค์ เป็นผู้บริหารจัดการงานสร้างสรรค์ ควบคุมดูแลทีมงานให้แนวทางในการทำงานและเสนอแนะแนวความคิดในการออกแบบตลอดจนควบคุมให้งานออกมาตอบโจทย์ตามจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ทางการตลาดของลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์ ในงานสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ เช่น งานโฆษณา(Advertising Design) งานออกแบบกราฟิก (Graphic Design)

อาชีพ เช่น  นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer)  นักออกแบบเว็บไซต์  (Website Designer)  นักออกแบบกราฟิเพี่อสภาพแวดล้อม  (Environmental Graphic Designer)  นักออกแบบดิสเพลย์ (Display Designer) นักออกแบบแอนิเมชั่น  (Animator Designer)  หรือเป็นครีเอทีฟ

โอกาสในการทำงาน
   เปิดกว้างในการประกอบอาชีพด้านการสร้างสรรค์
งานศิลปะและการออกแบบที่หลากหลายในอุตสาหกรรมดิจิทัล
คอนเทนท์   เช่น   นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer)
นักวาดภาพประกอบ (Illustrator) ช่างภาพ (Photographer)
นักออกแบบสื่อสร้างสรรค์ (Creative) นักออกแบบเว็บไซต์
(Web Designer) นักพัฒนาเว็บไซต์ (Web Developer)
โปรแกรมเมอร์สื่อมัลติมีเดีย (Interactive Programmer)
นักออกแบบกราฟิกเคลื่อนไหว (Motion Graphic Artist)
นักสร้างโมเดลสามมิติ (3D Modeller) นักสร้างแอนิเมชัน
2 มิติ (2D Animator) นักสร้างแอนิเมชัน 3 มิติ
(3D Animator) นักออกแบบงานด้านภาพและเทคนิคพิเศษ
(Visual Effects Artist) นักออกแบบเกม (Game Designer)
และอื่น   ๆ   ในสายงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนตลอดจน
การประกอบอาชีพแบบอิสระหรือฟรีแลนซ์ที่ตอบรับการ
ขยายตัวทางธุรกิจในด้านนี้ของประเทศ   และเนื่องจากบุคลากร
ด้านนี้กำลังเป็นที่ต้องการอย่างสูง   จึงนับเป็นทางเลือกหนึ่ง
ที่ดีของผู้ที่สนใจศึกษาและต้องการทำงานในสายอาชีพเหล่านี้

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่