อยากทราบอุปกรณ์เสริมในการทำวงดนตรีพร้อมค่าใช้จ่ายโดยประมาณครับ

พวกผมอยากตั้งวงดนตรีครับพึ่งจะขึ้นม.ปลาย อยากตั้งเเบบเป็นระยะยาวเลย จะมีการทำเพลงขึ้นอินเตอร์เน็ตยาวไปถึงการเเสดงสด เครื่องดนตรีทุกคนมีพร้อม เครื่องดนตรีหลักๆที่ใช้ในวงก็มี
-กีต้าร์ไฟฟ้า2 ตัว
-คีย์บอด 1 ตัว
-กลองไฟฟ้า 1 ชุด
-เบส 1 ตัว
-มีนักร้องด้วย3คนครับ

ปัญหามันอยู่ที่ตรงนี้เเหละครับ ในการอัดเสียงเครื่องดนตรีต่างๆเเละเสียงร้องเนี่ย มันก็ต้องมีไมค์มีตัวอัดอะไรอีกต่างๆนาซึ่งของพวกนี้ต้องใช้เงิน ซึ่งตอนนี้ผมศึกษาได้เเค่นิดเดียว ย้ำว่านิดเดียวจนยังไม่มั่นใจในการเลือกซื้ออุปกรณ์อะไรพวกนี้เท่าไหร่
เท่าที่พวกผมรู้ว่าอาจจะต้องซื้อก็
-ซาวการ์ด
-ไมค์
-มิกเซอร์
-โปรเเกรม

เลยอยากถามว่าไอ้ของพวกนี้ซื้ออันไหนยังไงถึงจะคุ้มค่าที่สุดในการใช้งานระยะยาวครับ เพราะพวกผมอยากซื้อรอบเดียวให้มันจบๆไป
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ถ้าคิดจะเอาแบบรอบเดียวจบมันก็เอาเรื่องอยู่นะครับ

ถ้าหากอัดสดพร้อมกับทั้งหมดเลย แบบนี้ตรงวัตถุประสงค์ และมีความ flexible ในการทำงาน (การมิกซ์หลังจากอัดไปแล้ว)

- audio interface (soundcard) ต้องเป็นอย่างน้อยที่สุด 8 analog input พร้อม adat input (16 input ขึ้นไป - กีตาร์ 2, คีย์บอร์ด 1 หรือ 2 หากต้องการเก็บความเป็นสเตริโอ, กลอง 4-8 รายละเอียดข้างล่าง, เบส 1, ร้อง 3) / ราคาอย่างต่ำประมาณ 18,xxx-19,xxx

- preamp 8ch ที่มี adat output / ราคาพอกับข้างบน
** สองอันนี้ถ้ายอมเสี่ยงกับยี่ห้อไม่คุ้นตา ก็อาจจะได้ถูกกว่านี้ แต่ก็ต้องเสี่ยงคุณภาพในการผลิตอีกที อย่างน้อยที่สุดที่โอเคคือ behringer ซึ่งไม่แน่ใจราคา แต่น่าจะต่ำกว่า 18,xxx
** mixer ไม่ต้องใช้ เพราะจะมีปัญหาว่าจะรวมไลน์เครื่องดนตรีชิ้นไหนที่จะกลายเป็น 2 track เข้ามา ซึ่งจะต้องจัดการบาลานซ์ความดัง ความถี่ตั้งแต่ที่ตัวมิกเซอร์เลย ไม่สะดวกในการทำงาน ซึ่งดูจากเครื่องดนตรีที่ว่ามาแล้ว ค่อนข้างลำบาก เพราะมันรวมกันไม่ค่อยได้ ใช้  preamp ที่มี adat out ดีกว่าเยอะ

- mic ขอแยกเป็นสองชุด
1) ชุดแรกคือจ่อกลองไม่เต็มชุด (ใช้แค่ 4 ตัว) จำนวนไมค์ทั้งหมดก็จะมี จ่อตู้กีตาร์ทั้งหมด 2 ตัว (dynamic), ไมค์สำหรับร้อง 3 ตัว (dynamic), ไมค์สำหรับกลอง 4 ตัว (จ่อ kick, snare, และ overhead) และไมค์คอนเดนเซอร์ไว้เผื่อต้องการเสียงร้องหลักที่มีคุณภาพขึ้นอีกหนึ่งตัว (ที่ไม่แนะนำไปทั้งสามตัวแต่แรกคือ ไม่รู้ลักษณะห้อง สถานที่ที่จะอัด ถ้าใช้คอนเดนเซอร์เสี่ยงอย่างอื่นจะรั่วเข้าจนจัดการเสียงร้องลำบาก)
2) แบบจัดเต็ม กลอง 8 ตัว ก็เพิ่มจากข้างบนเข้าไปแค่กลองให้เป็น 8 ซึ่งก็คล้ายๆ กัน อาจจะเริ่มจากแบบแรกก่อน แล้วค่อยมาเพิ่มไมค์กลองก็ได้ หากไม่อยากจ่ายรวดเดียวทั้งหมด
รายละเอียดไมค์ขอต่อทีหลัง น่าจะยาว

- โปรแกรม อันนี้ให้ดูก่อนว่าตัว interface มันแถมมาให้มั้ย (ตามปกติจะแถม) ทีนี้ค่อยมาดูว่าตัวที่แถมมามีข้อจำกัดอะไรบ้าง โดยที่ต้องมองก็คือ จำนวนแทรคที่อัดได้พร้อมกัน ต้องอย่างน้อย 16 (เอาแค่นี้ก่อน สำคัญที่สุด) หากไม่ได้ก็ต้องหาโปรแกรมใหม่ หรือจะอัพเกรดจากตัวที่แถมมาก็ได้  แต่ถ้าซื้อใหม่สดๆ เลย โดยอัดได้ 16 แทรค จะมี studio one ราคาถ้าจำไม่ผิดน่าจะสัก 13,xxx ขึ้นไป หรือถ้าใช้ mac ก็มี logic ที่ราคาประมาณ 6-7,xxx
จริงๆ ก็ยังมีโปรแกรมอีกหลายตัวที่อาจหลุดสายตาไปบ้าง แต่ถ้าเอาเผื่ออนาคต รองรับปลั๊กอินที่อาจจะเผื่อใช้งาน พวกสายกระแสหลักก็จะเซฟกว่า
ปล. ส่วนตัวไม่ค่อยแนะนำ ableton live กับงานแบบนี้เท่าไหร่ แต่ถ้าเกิดได้ตัวนั้นแถมมาจะลองดูก่อนก็ได้ แต่ workflow มันจะไม่เหมือนตัวอื่นที่เน้นสำหรับงาน audio (fruity loops ก็ด้วย แต่อันนี้เข้าใจว่าไม่มีแถมมากับ interface ค่ายไหนอยู่แล้ว)

---------------------------------------------------------------------------------
กลับมาที่ไมค์ อันนี้ค่อนข้างเป็นเฉพาะบุคคลเหมือนกัน แต่ขอเป็นแนวทางให้แล้วกันครับ อาจจะหาตัวเลือกที่ถูกกว่านี้ก็ได้ เสียงที่ได้ก็จะต่างกันไป หรือจะไปหาลองฟังเสียงเป็นแนวทางในเน็ต (แต่แบรนด์ล่างๆ อาจจะหายากนิดนึง) หรือจะไปลองตัวเป็นๆ ที่ร้านก็แล้วสะดวก

- ไมค์สำหรับตู้กีตาร์  เป็น shure sm57 ตัวละประมาณ 3,5xx / สองตัว
- ไมค์สำหรับร้อง เป็น shure sm58 ตัวละประมาณ (ถ้าจำไม่ผิด) 3,9xx / สามตัว
- ไมค์สำหรับกลอง อันนี้ถ้าหากอยากซื้อแยก (จะดีตรงสามารถเลือกโทนไมค์แต่ละชิ้นได้เอง โดยมากก็จะดีกว่าด้วย นอกจากเป็นเซ็ทที่จัดไมค์ที่โอเคขึ้นมา ซึ่งราคาก็จะแพงขึ้นตามมา)
1) kick - มีตัวเลือกเป็น shure beta52, akg d112, sennheiser e602 ราคาแต่ละตัวอยู่ประมาณ 7-8,xxx
2) snare - shure sm57
3) tom - อาจจะเอา shure sm57 ก็ได้ หรือจะเป็น shure beta56 ราคาก็จะขยับไปน่าจะตัวละประมาณ 5-6,xxx / สามตัว หรือตามจำนวนทอม แต่จาก input ที่มีนี้ รับได้เต็มที่ไม่เกิน 5 ใบ
4) overhead - อันนี้ตัวเลือกเยอะ ก็จะเป็นไมค์คอนเดนเซอร์จะเป็น large diaphragm หรือ small diaphragm ก็ได้ 2 ตัว / ราคาเท่าที่เคยเห็นอย่างต่ำๆ ตกตัวละ 3,xxx ขึ้นไป (ถ้าให้แนะนำตัวอย่างก็เช่น akg p170, akg p120, golden age project fc4 ฯลฯ) ใช้สองตัว หรืออาจจะเผื่อสามก็ได้เผื่ออยากเก็บไฮแฮทให้ชัดขึ้น ซึ่งมันจะเหลือที่ว่างที่อาจจะใช้เป็นทอมใบที่ 4, จ่อสแนร์อีกอัน (อันนี้เป็นเรื่องของการวางตำแหน่ง ต้องไปศึกษาด้วย), เก็บภาพรวม, หรือจะสำหรับไฮแฮท ก็แล้วแต่ต้องการ อาจจะไม่ต้องเหมือนกันทั้งสามตัวก็ได้ ก็ต้องเลือกไมค์ให้เหมาะ หรือถ้าหากจะเผื่อไว้ใช้กับกีตาร์โปร่งด้วย ก็แนะนำที่เป็น large diaphragm condenser จะค่อนข้างดีกว่าในกรณีที่ใช้ไมค์ได้แค่ตัวเดียวแบบนี้

หรืออาจจะไปซื้อไมค์กลองที่เป็นเซ็ท เช่นของ shure, samson, akg ซึ่งก็มีหลายราคา ไมค์ที่ได้ก็ต่างกันไป ก็ลองคำนวณราคาแยกกับรวมดูก่อนก็ได้ครับ อย่างถ้าของ shure จะมีเซ็ทนึงที่ถ้าจำไม่ผิดจะให้ beta52 ตัวนึง sm57 3ตัว ซึ่งถ้าถูกกว่าแยกก็ซื้อแบบนี้ไปเลย (ในกรณีที่เล็งไมค์สองตัวนี้ไว้) แล้วถ้าในเซ็ทขาดเหลืออันไหนก็ค่อยซื้อเพิ่มเอา

- สุดท้ายไมค์คอนเดนเซอร์ดีๆ (large diaphragm) สำหรับร้องหลัก (เผื่อในกรณีที่อยากได้เสียงร้องหลักแบบคุณภาพเต็มๆ และไม่มีปัญหาเรื่องเสียงอย่างอื่นเข้ามารบกวนมาก มีไมค์เหลือดีกว่ามีพอดีครับ อย่างน้อยฉุกเฉินจะได้แก้ปัญหา ประยุกต์อะไรได้) อันนี้ตัวเลือกเยอะ ถ้าให้ดีแนะนำว่าควรจะเป็นที่ราคาสัก 8,xxx ขึ้นไป (หรือจะไปลองที่ร้านดูก็ได้ ในกลุ่มไมค์สำหรับร้องทั้งหลายเป็นไมค์ที่แนะนำให้ไปลองที่สุด ให้แต่ละคนที่จะต้องร้องไปลองดูเลยครับ)

เบส กับคีย์บอร์ดก็ต่อตรง ถ้าเล่นสดแบบต่อแอมป์เผื่อไว้ฟังตอนเล่นด้วย ก็อาจจะหา di box มา ถ้าไม่อะไรมาก ใช้แค่ passive di ราคาเบาๆ ธรรมดาๆ ก็ได้
------------------------------------------------------------------------------

และอย่าลืมสายสัญญาณ ขาไมค์ ด้วยนะครับ สายสัญญาณก็เลือกที่ดีๆ หน่อย เช่น canare, mogami หัวเป็น neutrik เท่านี้ก็อยู่ยาว ถ้าสามารถบัดกรีเองได้ก็จะประหยัดอีกมาก ถูกกว่าสายสำเร็จเยอะ (หรืออาจจะหาช่างทำก็ได้ หรืออย่างร้านนัฐพงษ์ก็ซื้อแล้วให้บัดกรีให้ได้ เรื่องราคาอันนี้ไม่แน่ใจ) ขาไมค์ก็เอาที่แข็งแรงๆ ด้วย

---------------------------------------------------------------
ที่เหลือก็ต้องไปศึกษาเกี่ยวกับการบันทึกเสียง แล้วอาจจะตามไปเรื่องมิกซ์ด้วย แต่สนใจแค่บันทึกก่อนก็พอ อัดเข้าไปให้มันดีที่สุดก่อน การวางไมค์ ตำแหน่งไมค์ขยับนิดหน่อยเสียงที่ได้ก็เปลี่ยน ไมค์แบบไหนเหมาะกับงานแบบไหน ไมค์จ่อตรงไหนได้เสียงแบบไหน เทคนิคการตั้งไมค์อีกสารพัด การต่อว่าสัญญาณแบบไหนควรเข้าแบบไหน ฯลฯ
และก็จะพบว่ามันไม่จบแน่ๆ ครับ เพราะเรื่องนี้มันเป็นอะไรที่ไม่มีสูตรตายตัว วันดีคืนดี อาจจะอยากเพิ่มจำนวน input เพื่อจะได้มีตัวเลือกการเพิ่มไมค์ ตั้งไมค์มากกว่านี้ อุปกรณ์ที่ว่าก็ต้องขยับเพิ่มไป หรืออยากจะปรับเปลี่ยน อัพเกรดไมค์ พรีแอมป์ อินเตอร์เฟส เพราะอยากเปลี่ยนโทนเสียงที่ได้  ฯลฯ อีกมากมาย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่