สำนักข่าวเอบีซีของออสเตรเลียนำเสนอภาพใต้ท้องทะเลบริเวณเกาะบาลี ของอินโดนีเซีย ที่เต็มไปด้วยคลื่นขยะพลาสติกลอยเต็มน่านน้ำ โดยริช ฮอร์เนอร์ นักดำน้ำเจ้าของคลิปบอกว่าเป็นจุดที่มักจะไปคอยช่วยทำความสะอาดเจ้าปลาราหูอยู่เป็นประจำ โดยขยะพลาสติกจะมีมากในช่วงฤดูฝน แต่มลภาวะหนักหนาขนาดนี้ไม่เคยเห็นมาก่อน อย่างไรก็ตาม ขยะดังกล่าวได้ถูกกำจัดในวันต่อมา
ผลการศึกษาชิ้นใหม่ของนักวิจัยออสเตรเลีย อิตาลี และสหรัฐอเมริกา พบว่าเศษขยะพลาสติกเป็นภัยคุกคามอย่างมากต่อสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่บริเวณเกาะบาลีอย่างปลาราหู ซึ่งมีสิทธิ์กลืนเศษขยะพลาสติกลงท้องได้ถึง 90 ชิ้นต่อชั่วโมง โดยพลาสติกบรรจุสารเคมีมีพิษ หากกลืนกินเข้าไปอาจเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางชีวภาพในสัตว์ เช่น การเจริญเติบโต พัฒนาการ และการสืบพันธุ์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้Diver films wave of plastic pollution off Bali on scale 'never seen before' http://www.abc.net.au/news/2018-03-06/diver-films-wave-of-plastic-pollution-off-bali-coast/9508662
เมื่อไม่นานมานี้ ผลการศึกษาเชิงวิชาการ ซึ่งจัดทำขึ้นโดยนักนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ซานตา บาบารา ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการไซแอนซ์ แอดวานซ์ ระบุว่า เป็นครั้งแรกของโลกที่มีการคำนวณปริมาณขยะพลาสติกที่ถูกผลิตขึ้นทั่วโลก รวมถึงการนำไปใช้ในทุกรูปแบบ และปลายทางที่วัสดุถูกทิ้งเป็นขยะ พบว่า พลาสติกที่ถูกผลิตขึ้นทั่วโลกในช่วงประมาณ 65 ปีที่ผ่านมา มีน้ำหนักรวมกันถึง 8.3 พันล้านตัน ซึ่งเทียบเท่ากับน้ำหนักของตึกเอ็มไพร์ สเตท ในมหานครนิวยอร์กของสหรัฐฯ รวมกันถึง 25,000 อาคาร หรือใกล้เคียงกับน้ำหนักช้างรวมกัน 1 พันล้านตัว
ทีมวิจัยยังระบุว่า ขยะพลาสติกที่สะสมอยู่ทั่วโลกในขณะนี้ มีปริมาณมากพอที่จะครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศอาร์เจนตินาได้
ถุงพลาสติก 1 ใบ ต้องใช้เวลาย่อยสลายถึง 450 ปี หนทางเดียวที่จะทำลายทิ้งได้ คือการเผาทำลาย หรือกระบวนการย่อยสลายที่เรียกว่าไพโรไลซิส แต่ปัญหาอยู่ที่การเผาทำลายทำให้เกิดสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งทำให้เกิดมลภาวะโลกร้อน และผลกระทบต่อสุขภาพ
ทางเลือกแทนการใช้พลาสติก เช่น ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก หากทุกคนหันมาใช้ถุงผ้าเพียงสัปดาห์ละ 1 วัน จะช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกได้มากกว่า 100 ล้านใบ/ปี หรือใช้ถาดบรรจุภัณฑ์ชีวภาพ PLA (Polylactic acid) ที่ผลิตจากพืช (Renewable resource) ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ 100% ทดแทนการใช้ถาดพลาสติกใส PET (Polyethylene terephthalate) ซึ่งไม่สามารถย่อยสลายเองได้ทางชีวภาพ
ช่วยกันลดการใช้พลาสติกตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่โลกของเราจะกลายเป็นดาวเคราะห์แห่งพลาสติก!!!
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้แหล่งข้อมูล:
Diver films wave of plastic pollution off Bali on scale 'never seen before' http://www.abc.net.au/news/2018-03-06/diver-films-wave-of-plastic-pollution-off-bali-coast/9508662
พลาสติกท่วมโลกา หลัง 65 ปี ของการผลิตพลาสติก http://www.bbc.com/thai/international-40678972
เพราะการกินมีความหมายมากกว่าเพื่อตัวเอง แนวคิดจาก CP ที่ส่งถึงทุกคนในสังคม https://brandinside.asia/cp-sustainability/
โลกกำลังจะกลายเป็นดาวเคราะห์แห่งพลาสติก
ผลการศึกษาชิ้นใหม่ของนักวิจัยออสเตรเลีย อิตาลี และสหรัฐอเมริกา พบว่าเศษขยะพลาสติกเป็นภัยคุกคามอย่างมากต่อสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่บริเวณเกาะบาลีอย่างปลาราหู ซึ่งมีสิทธิ์กลืนเศษขยะพลาสติกลงท้องได้ถึง 90 ชิ้นต่อชั่วโมง โดยพลาสติกบรรจุสารเคมีมีพิษ หากกลืนกินเข้าไปอาจเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางชีวภาพในสัตว์ เช่น การเจริญเติบโต พัฒนาการ และการสืบพันธุ์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เมื่อไม่นานมานี้ ผลการศึกษาเชิงวิชาการ ซึ่งจัดทำขึ้นโดยนักนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ซานตา บาบารา ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการไซแอนซ์ แอดวานซ์ ระบุว่า เป็นครั้งแรกของโลกที่มีการคำนวณปริมาณขยะพลาสติกที่ถูกผลิตขึ้นทั่วโลก รวมถึงการนำไปใช้ในทุกรูปแบบ และปลายทางที่วัสดุถูกทิ้งเป็นขยะ พบว่า พลาสติกที่ถูกผลิตขึ้นทั่วโลกในช่วงประมาณ 65 ปีที่ผ่านมา มีน้ำหนักรวมกันถึง 8.3 พันล้านตัน ซึ่งเทียบเท่ากับน้ำหนักของตึกเอ็มไพร์ สเตท ในมหานครนิวยอร์กของสหรัฐฯ รวมกันถึง 25,000 อาคาร หรือใกล้เคียงกับน้ำหนักช้างรวมกัน 1 พันล้านตัว
ทีมวิจัยยังระบุว่า ขยะพลาสติกที่สะสมอยู่ทั่วโลกในขณะนี้ มีปริมาณมากพอที่จะครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศอาร์เจนตินาได้
ถุงพลาสติก 1 ใบ ต้องใช้เวลาย่อยสลายถึง 450 ปี หนทางเดียวที่จะทำลายทิ้งได้ คือการเผาทำลาย หรือกระบวนการย่อยสลายที่เรียกว่าไพโรไลซิส แต่ปัญหาอยู่ที่การเผาทำลายทำให้เกิดสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งทำให้เกิดมลภาวะโลกร้อน และผลกระทบต่อสุขภาพ
ทางเลือกแทนการใช้พลาสติก เช่น ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก หากทุกคนหันมาใช้ถุงผ้าเพียงสัปดาห์ละ 1 วัน จะช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกได้มากกว่า 100 ล้านใบ/ปี หรือใช้ถาดบรรจุภัณฑ์ชีวภาพ PLA (Polylactic acid) ที่ผลิตจากพืช (Renewable resource) ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ 100% ทดแทนการใช้ถาดพลาสติกใส PET (Polyethylene terephthalate) ซึ่งไม่สามารถย่อยสลายเองได้ทางชีวภาพ
ช่วยกันลดการใช้พลาสติกตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่โลกของเราจะกลายเป็นดาวเคราะห์แห่งพลาสติก!!!
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้