หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า การดำเนินงานในระบบ EDI DS ESS ต่างกันอย่างไร

เนื่องจากกำลังศึกษาและเกิดข้อสงสัยครับว่า การยื่นของหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า(หรือเรียกง่ายๆว่า Form) โดยที่กรมการค้าต่างประเทศ(DFT)เปิดให้ใช้ระบบการให้บริการยื่นขอForm ทั้ง 3 ระบบ ได้แก่ EDI, DS, ESS
ซึ่งตัวผมพอทราบมาในส่วนนึงแล้วดังนี้ (ไม่รู้เข้าใจถูกรึเปล่า ขอความกรุณาช่วยแก้ไขหรือเพิ่มเติมด้วยครับ)
1.)ระบบ EDI  ต้องเดินทางไปยื่นเอกสารประกอบการพิจารณา ณ กรมการค้าต่างประเทศ(เรียกสถานที่แบบนี้รึเปล่า?) และต้องเสียเวลาในการดำเนินขั้นตอนการยื่นเอกสารกับเจ้าหน้าที่ จากนั้นเมื่อจนท.ตรวจสอบเสร็จจึงเดินทางมารับFormอีกครั้ง จากนั้นผู้รับมอบอำนาจประทับตราบริษัทพร้อมเซ็นชื่อ(ทุกแผ่นรึเปล่าไม่แน่ใจ)+จนท.ประทับตราครุฑ ลงในเอกสาร(ทุกแผ่นรึเปล่าไม่แน่ใจ) ชำระเงินจึงเสร็จกระบวนการ(ระบบนี้ช้าที่สุด)

2.)ระบบ DS สามารถแนบเอกสารประกอบการพิจารณา ผ่านทางเว็บไซต์ระบบ DS  ทำให้ไม่ต้องเดินทางไปส่งเอกสารกับจนท. เมื่อจนท.ตรวจสอบเสร็จจึงเดินทางมารับFormทีเดียว โดยมีขั้นตอนเพียง ผู้รับมอบอำนาจประทับตรา+เซ็นชื่อ(กี่แผ่นไม่รู้)+จนท.ประทับตราครุฑ(กี่แผ่นไม่รู้) ชำระเงินจึงจบกระบวนการ

3.)ระบบ ESS สามารถแนบเอกสารประกอบการพิจารณา+ประทับตราและเซ็นชื่อได้เลยผ่านระบบ ทำให้ไม่ต้องเดินทางไปส่งเอกสารกับจนท. เมื่อจนท.ตรวจสอบเสร็จจึงเดินทางมารับFormทีเดียว โดยผู้รับมอบอำนาจไม่ต้องประทับตราและเซ็นเชื่อเลย(รึเปล่า)+จนท.ไม่ต้องประทับตราครุฑ(รึเปล่า) แค่ชำระเงินและรับFormฉบับจริง จบกระบวนการ(ระบบนี้จึงไวที่สุด)

ตามที่กล่าวมาครับ โดยส่วนใหญ่ผมสงสัยในส่วนการดำเนินงานกับจนท. ณ กรมการค้าต่างประเทศ
สงสัย ข้อ 1. ทั้ง3ระบบ ผู้รับมอบอำนาจประทับตราพร้อมเซ็นชื่อ ในแผ่นไหนบ้าง + จนท.ประทับตราพร้อมเซ็นชื่อในแผ่นไหนบ้าง แต่ละระบบเซ็นชื่อแตกต่างกันในส่วนไหนบ้าง
สงสัย ข้อ 2. นอกจากที่ผมกล่าวมาแล้วมีส่วนการดำเนินงานไหนอีกที่ทำให้ระบบทั้ง3จึงมีความรวดเร็วที่ต่างกันไป

ขอความกรุณาด้วยครับ ขอบคุณครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่