สังฆนายกและสังฆมนตรี รับทราบคำร้องเรียนจากการประชุมร่วมกับตำรวจสันติบาลว่า มี 2 ผู้เสียหาย ได้กล่าวหาว่า พระพิมลธรรม (อาจ) เสพเมถุนธรรมทางเวจมรรค (ร่วมเพศทางทวารหนัก) กับพวกตนจนสำเร็จความใคร่
การกล่าวหาเช่นนี้ ตามกระบวนการยุติธรรมของสงฆ์ตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 แล้ว จะต้องมอบเรื่องให้คณะวินัยธร ที่ถืออำนาจอธิปไตยทางตุลาการ
แต่ที่น่าตกใจก็คือ สังฆนายก สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฐายี) กลับด่วนวินิจฉัยเองด้วยการเขียนหนังสือสั้นๆ เสนอสมเด็จพระสังฆราช (ปลด) กระนั้นสมเด็จพระสังฆราช ก็รับลูกต่อทันควันด้วยการออกหนังสือไปยังพระพิมลธรรม (อาจ) มีข้อความที่น่าสนใจว่า
"ด้วยทางการตำรวจได้ทำการสอบสวนเรื่องความประพฤติของท่านได้ความประจักษ์ แล้ว...ขอให้ท่านพิจารณาตนด้วยตน ขอให้ท่าน ออกเสียจากสมณเพศ และหลบหายตัวไปเสีย จะเป็นการดีกว่าที่จะปรากฏโดยประการอื่นๆ เพื่อรักษาตัวท่านเอง และเพื่อเห็นแก่วัดและพระศาสนา"
พระพิมลธรรม (อาจ) ก็ตอบจดหมายกลับไป โดยมีใจความว่า.
" ข้อเสนอที่ให้หนีไปนั้นไม่เป็นผลดีต่อวัดมหาธาตุ และศาสนาโดยรวม และโดยส่วนตัวก็ไม่เป็นธรรม"
หนังสือดังกล่าวลงวันที่ 22 กันยายน 2503 พระพิมลธรรม (อาจ) เองก็ไม่ได้ถูกโดดเดี่ยวจากการปรักปรำ อีกสองวันต่อมา ปรากฏคณะสงฆ์วัดมหาธาตุจำนวน 465 รูปได้ทำหนังสือ และลงนามยืนยันความบริสุทธิ์
อย่างไรก็ตามทางเบื้องบนก็มีจดหมายให้ชี้แจง และแม้พระพิมลธรรม (อาจ) จะชี้แจงกลับไป ก็ดูราวกับว่าไม่มีผลใดๆ ซ้ำยังเดินหน้าตัดสินโดยข้ามกระบวนการที่ชอบธรรมโดยการประกาศถอดสมณศักดิ์ ในเดือนพฤศจิกายน 2503 ไม่เฉพาะกับพระพิมลธรรม (อาจ) เท่านั้น แต่พระศาสนโสภณ (ปลอด อตฺถการี) วัดราชาธิวาส ที่สนับสนุนพระพิมลธรรม (อาจ) ด้วยข้อหาฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช
โดยออกมาในนามของประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลายเซ็น สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2503 การโค่นล้มพระพิมลธรรมจึงได้ดึงเอาอำนาจรัฐเข้ามาเกี่ยวพันเพื่อทำลายศัตรูของตนอย่างสิ้นคิด ต่อมาสามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นความเท็จ
แม้จะถูกถอดสมณศักดิ์ พระพิมลธรรม (รองสมเด็จพระราชาคณะ) กลายเป็นพระอาสภเถระ (พระธรรมดา) ก็ยังตั้งมั่นเพราะเชื่อในความบริสุทธิ์ของตน
แม้กระนั้นยังโดนการเมืองภายในคณะสงฆ์ใช้อำนาจรัฐมาบีบบังคับให้สึกด้วยข้อหาคอมมิวนิสต์ โดยเข้าจับกุม ณ วัดมหาธาตุ ในวันที่ 20 เมษายน 2505 พระอาสภเถร ไม่แสดงอาการขัดขืน แต่ขอเจ้าหน้าที่ตำรวจเขียนบันทึกสั่งการงานที่คั่งค้างอยู่อย่างองอาจ ก่อนจะถูกนำตัวไปสันติบาล
เรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเล็กๆ แต่พบว่า ระหว่างจับกุมกรมตำรวจ ได้นำแถลงการณ์ส่งไปออกทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย อ้างความจำเป็นในการจับกุมคราวนี้ว่า ..
" ถ้าปล่อยไว้ ก็จะเป็นภยันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ จึงจำเป็นต้องจัดการขั้นเด็ดขาดด้วยการจับกุมตัวมาดำเนินคดีต่อไป "
ในที่สุดก็พระอาสภเถระก็ถูกกระชากผ้ากาสาวพัสตร์ออกไปโดยคำสั่งของสังฆมนตรี โดยผู้ลงมือคือ พระธรรมคุณาภรณ์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) วัดสามพระยา และพระธรรมมหาวีรานุวัตร (ไสว ฐิตวีโร) วัดไตรมิตร ทำให้ต้องเปลี่ยนไปครองผ้ากาสาวพัสตร์สีขาวแทน
การสึกจบลงด้วยการที่อดีตพระอาสภเถระเดินทางไปจำพรรษาในฐานะอาคันตุกะ ณ สันติปาลาราม ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2505 ถูกทำให้หายไปจากวงการสงฆ์อีกสิบกว่าปี
สุดท้ายแล้ว ต่อมา ศาลทหารสามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ จึงตัดสินยกฟ้องทั้งหมด เมื่อ ปี พ.ศ. 2509 และคืนสมณศักดิ์ให้แก่ทั้งสองท่าน แต่มันก็หลายปีที่ท่านต้องตกเป็นจำเลยสังคม.!
ในอดีตเคยมีเรื่องราวที่ร้ายแรงอันน่าละอายนี้ เกิดขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม ปีพุทธศักราชที่ 2503
การกล่าวหาเช่นนี้ ตามกระบวนการยุติธรรมของสงฆ์ตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 แล้ว จะต้องมอบเรื่องให้คณะวินัยธร ที่ถืออำนาจอธิปไตยทางตุลาการ
แต่ที่น่าตกใจก็คือ สังฆนายก สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฐายี) กลับด่วนวินิจฉัยเองด้วยการเขียนหนังสือสั้นๆ เสนอสมเด็จพระสังฆราช (ปลด) กระนั้นสมเด็จพระสังฆราช ก็รับลูกต่อทันควันด้วยการออกหนังสือไปยังพระพิมลธรรม (อาจ) มีข้อความที่น่าสนใจว่า
"ด้วยทางการตำรวจได้ทำการสอบสวนเรื่องความประพฤติของท่านได้ความประจักษ์ แล้ว...ขอให้ท่านพิจารณาตนด้วยตน ขอให้ท่าน ออกเสียจากสมณเพศ และหลบหายตัวไปเสีย จะเป็นการดีกว่าที่จะปรากฏโดยประการอื่นๆ เพื่อรักษาตัวท่านเอง และเพื่อเห็นแก่วัดและพระศาสนา"
พระพิมลธรรม (อาจ) ก็ตอบจดหมายกลับไป โดยมีใจความว่า.
" ข้อเสนอที่ให้หนีไปนั้นไม่เป็นผลดีต่อวัดมหาธาตุ และศาสนาโดยรวม และโดยส่วนตัวก็ไม่เป็นธรรม"
หนังสือดังกล่าวลงวันที่ 22 กันยายน 2503 พระพิมลธรรม (อาจ) เองก็ไม่ได้ถูกโดดเดี่ยวจากการปรักปรำ อีกสองวันต่อมา ปรากฏคณะสงฆ์วัดมหาธาตุจำนวน 465 รูปได้ทำหนังสือ และลงนามยืนยันความบริสุทธิ์
อย่างไรก็ตามทางเบื้องบนก็มีจดหมายให้ชี้แจง และแม้พระพิมลธรรม (อาจ) จะชี้แจงกลับไป ก็ดูราวกับว่าไม่มีผลใดๆ ซ้ำยังเดินหน้าตัดสินโดยข้ามกระบวนการที่ชอบธรรมโดยการประกาศถอดสมณศักดิ์ ในเดือนพฤศจิกายน 2503 ไม่เฉพาะกับพระพิมลธรรม (อาจ) เท่านั้น แต่พระศาสนโสภณ (ปลอด อตฺถการี) วัดราชาธิวาส ที่สนับสนุนพระพิมลธรรม (อาจ) ด้วยข้อหาฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช
โดยออกมาในนามของประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลายเซ็น สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2503 การโค่นล้มพระพิมลธรรมจึงได้ดึงเอาอำนาจรัฐเข้ามาเกี่ยวพันเพื่อทำลายศัตรูของตนอย่างสิ้นคิด ต่อมาสามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นความเท็จ
แม้จะถูกถอดสมณศักดิ์ พระพิมลธรรม (รองสมเด็จพระราชาคณะ) กลายเป็นพระอาสภเถระ (พระธรรมดา) ก็ยังตั้งมั่นเพราะเชื่อในความบริสุทธิ์ของตน
แม้กระนั้นยังโดนการเมืองภายในคณะสงฆ์ใช้อำนาจรัฐมาบีบบังคับให้สึกด้วยข้อหาคอมมิวนิสต์ โดยเข้าจับกุม ณ วัดมหาธาตุ ในวันที่ 20 เมษายน 2505 พระอาสภเถร ไม่แสดงอาการขัดขืน แต่ขอเจ้าหน้าที่ตำรวจเขียนบันทึกสั่งการงานที่คั่งค้างอยู่อย่างองอาจ ก่อนจะถูกนำตัวไปสันติบาล
เรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเล็กๆ แต่พบว่า ระหว่างจับกุมกรมตำรวจ ได้นำแถลงการณ์ส่งไปออกทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย อ้างความจำเป็นในการจับกุมคราวนี้ว่า ..
" ถ้าปล่อยไว้ ก็จะเป็นภยันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ จึงจำเป็นต้องจัดการขั้นเด็ดขาดด้วยการจับกุมตัวมาดำเนินคดีต่อไป "
ในที่สุดก็พระอาสภเถระก็ถูกกระชากผ้ากาสาวพัสตร์ออกไปโดยคำสั่งของสังฆมนตรี โดยผู้ลงมือคือ พระธรรมคุณาภรณ์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) วัดสามพระยา และพระธรรมมหาวีรานุวัตร (ไสว ฐิตวีโร) วัดไตรมิตร ทำให้ต้องเปลี่ยนไปครองผ้ากาสาวพัสตร์สีขาวแทน
การสึกจบลงด้วยการที่อดีตพระอาสภเถระเดินทางไปจำพรรษาในฐานะอาคันตุกะ ณ สันติปาลาราม ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2505 ถูกทำให้หายไปจากวงการสงฆ์อีกสิบกว่าปี
สุดท้ายแล้ว ต่อมา ศาลทหารสามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ จึงตัดสินยกฟ้องทั้งหมด เมื่อ ปี พ.ศ. 2509 และคืนสมณศักดิ์ให้แก่ทั้งสองท่าน แต่มันก็หลายปีที่ท่านต้องตกเป็นจำเลยสังคม.!