กู่
อักษรจีนนั้นเป็นแผนภูมิรูปภาพ (pictogram) กล่าวคือ อักษรแต่ละตัวเกิดจากการวาดรูปแทนสิ่งหนึ่ง ๆ สำหรับคำว่า "กู่" นั้น เกี่ยวข้องกับคำว่า "ฉง" (蟲) ที่แปลว่า สิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ เช่น แมลง หนอน บุ้ง ฯลฯ และอักษร "ฉง" ในภาษาจีนนั้นเป็นรูปงูหรือหนอน ส่วนอักษร "กู่" (蠱) เป็นการรวมอักษร "ฉง" เข้ากับอักษร "หมิ่น" (皿) ที่แปลว่า โหล ตุ่ม ไห ฯลฯ ฉะนั้น ความหมายดั้งเดิมของ "กู่" ก็คือ ฉงที่อยู่ในไห
เอกสารเก่าแก่ที่สุดที่พบคำว่า "กู่" คือ จารึกคำพยากรณ์ในสมัยราชวงศ์ชาง อายุราว 140 ปีก่อน ค.ศ.
จินฉาน
คำว่า "จินฉาน" เป็นไวพจน์ของคำว่า "กู่" พบครั้งแรกในเอกสารสมัยราชวงศ์ถัง เขียนขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 7 เป็นพระนิพนธ์ซึ่งหลี่ เสียน (李賢) โอรสของจักรพรรดิถังเกาจง (唐高宗) เขียนอธิบายหนังสือ โฮ่วฮั่นชู (後漢書; "หนังสือฮั่นสมัยหลัง") โดยใช้คำ "จินฉาน" เป็นชื่อเครื่องประดับงานศพที่ทำขึ้นจากทองคำ ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ซู เอ้อ (蘇鶚) เขียนหนังสือพรรณนาว่า "จินฉาน" เป็นตัวหนอนสีทองที่ผู้คนร่ำลือกัน ได้มาจากแคว้นกัศมีร์ของอินเดีย
โวลแฟรม อีเบอร์ฮาร์ด (Wolfram Eberhard) กล่าวว่า การทำกู่เป็นประเพณีของชาวเหมียว (苗族) โดยในวัน 15 ค่ำ เดือน 5 พวกเขาจะจับสัตว์มีพิษชนิดต่าง ๆ ใส่ลงในหม้อ และขังปล่อยให้สัตว์เหล่านั้นกัดกินกันเอง ตัวใดรอดมาก็เอาไว้ใช้ฆ่าคน พวกเขาเรียกสัตว์นี้ว่า "กู่" แต่ในยุคของอีเบอร์ฮาร์ด นิยมเรียกว่า "จินฉาน" แล้ว ยิ่งกู่เป็นที่นิยมนำไปใช้ฆ่าคนมากเท่าไร เจ้าของกู่ก็ยิ่งร่ำรวยมากเท่านั้น จนกู่ได้ชื่อว่า สัตว์ที่สร้างทอง จึงเกิดการทำกู่โดยทั่วไป แต่ผู้เลี้ยงกู่ต้องหาคนมาสังเวยเลี้ยงกู่ มิฉะนั้น ตัวเขาเองจะถูกกู่ทำร้าย
เจ.เจ.เอ็ม. ดี กรูต (J.J.M. de Groot) อ้างถึงหนังสือฉบับหนึ่งในสมัยราชวงศ์ซ่งที่พรรณนาว่า จินฉานเป็นตัวหนอนสีทอง เลี้ยงด้วยไหมที่ได้จากดินแดนฉู่ มูลของหนอนจินฉานนี้ถ้าใส่ลงในอาหาร ใครกินเข้าไปก็จะตายอย่างประหลาด หนอนเช่นนี้ืทำให้ผู้เลี้ยงร่ำรวยมาก แต่กำจัดยาก ไม่ว่าน้ำ ไฟ ดาบ หรืออาวุธอื่น ก็ไม่อาจทำอันตรายหนอนนี้ได้
นอกจากนี้ กรูตอ้างถึงหนังสือที่เฉิน ฉางชี่ (陳藏器) เภสัชกรสมัยราชวงศ์ถัง ประพันธ์ขึ้น ว่า กู่แมลงหรือสัตว์เลื้อยคลานที่บริโภคไหมเป็นอาหารนั้น เอาไหมเช่นนั้นเผาไฟใช้เป็นยาแก้พิษกู่ดังกล่าวได้ ทั้งพรรณนาว่า ยามกลางวัน กู่ดูคล้ายตัวหนอนสีทอง มักขดตัวเหมือนแหวนสวมนิ้ว และมักบริโภคผ้าไหมลายดอกไม้หรือผ้าไหมแดงเหมือนหนอนกินใบไม้
อ้างอิง
แหล่งที่มา :
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%88
รู้รึยัง! กู่ตัวใหม่ หนอนทอง แห่งเรือนเบญจพิษ
อักษรจีนนั้นเป็นแผนภูมิรูปภาพ (pictogram) กล่าวคือ อักษรแต่ละตัวเกิดจากการวาดรูปแทนสิ่งหนึ่ง ๆ สำหรับคำว่า "กู่" นั้น เกี่ยวข้องกับคำว่า "ฉง" (蟲) ที่แปลว่า สิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ เช่น แมลง หนอน บุ้ง ฯลฯ และอักษร "ฉง" ในภาษาจีนนั้นเป็นรูปงูหรือหนอน ส่วนอักษร "กู่" (蠱) เป็นการรวมอักษร "ฉง" เข้ากับอักษร "หมิ่น" (皿) ที่แปลว่า โหล ตุ่ม ไห ฯลฯ ฉะนั้น ความหมายดั้งเดิมของ "กู่" ก็คือ ฉงที่อยู่ในไห
เอกสารเก่าแก่ที่สุดที่พบคำว่า "กู่" คือ จารึกคำพยากรณ์ในสมัยราชวงศ์ชาง อายุราว 140 ปีก่อน ค.ศ.
จินฉาน
คำว่า "จินฉาน" เป็นไวพจน์ของคำว่า "กู่" พบครั้งแรกในเอกสารสมัยราชวงศ์ถัง เขียนขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 7 เป็นพระนิพนธ์ซึ่งหลี่ เสียน (李賢) โอรสของจักรพรรดิถังเกาจง (唐高宗) เขียนอธิบายหนังสือ โฮ่วฮั่นชู (後漢書; "หนังสือฮั่นสมัยหลัง") โดยใช้คำ "จินฉาน" เป็นชื่อเครื่องประดับงานศพที่ทำขึ้นจากทองคำ ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ซู เอ้อ (蘇鶚) เขียนหนังสือพรรณนาว่า "จินฉาน" เป็นตัวหนอนสีทองที่ผู้คนร่ำลือกัน ได้มาจากแคว้นกัศมีร์ของอินเดีย
โวลแฟรม อีเบอร์ฮาร์ด (Wolfram Eberhard) กล่าวว่า การทำกู่เป็นประเพณีของชาวเหมียว (苗族) โดยในวัน 15 ค่ำ เดือน 5 พวกเขาจะจับสัตว์มีพิษชนิดต่าง ๆ ใส่ลงในหม้อ และขังปล่อยให้สัตว์เหล่านั้นกัดกินกันเอง ตัวใดรอดมาก็เอาไว้ใช้ฆ่าคน พวกเขาเรียกสัตว์นี้ว่า "กู่" แต่ในยุคของอีเบอร์ฮาร์ด นิยมเรียกว่า "จินฉาน" แล้ว ยิ่งกู่เป็นที่นิยมนำไปใช้ฆ่าคนมากเท่าไร เจ้าของกู่ก็ยิ่งร่ำรวยมากเท่านั้น จนกู่ได้ชื่อว่า สัตว์ที่สร้างทอง จึงเกิดการทำกู่โดยทั่วไป แต่ผู้เลี้ยงกู่ต้องหาคนมาสังเวยเลี้ยงกู่ มิฉะนั้น ตัวเขาเองจะถูกกู่ทำร้าย
เจ.เจ.เอ็ม. ดี กรูต (J.J.M. de Groot) อ้างถึงหนังสือฉบับหนึ่งในสมัยราชวงศ์ซ่งที่พรรณนาว่า จินฉานเป็นตัวหนอนสีทอง เลี้ยงด้วยไหมที่ได้จากดินแดนฉู่ มูลของหนอนจินฉานนี้ถ้าใส่ลงในอาหาร ใครกินเข้าไปก็จะตายอย่างประหลาด หนอนเช่นนี้ืทำให้ผู้เลี้ยงร่ำรวยมาก แต่กำจัดยาก ไม่ว่าน้ำ ไฟ ดาบ หรืออาวุธอื่น ก็ไม่อาจทำอันตรายหนอนนี้ได้
นอกจากนี้ กรูตอ้างถึงหนังสือที่เฉิน ฉางชี่ (陳藏器) เภสัชกรสมัยราชวงศ์ถัง ประพันธ์ขึ้น ว่า กู่แมลงหรือสัตว์เลื้อยคลานที่บริโภคไหมเป็นอาหารนั้น เอาไหมเช่นนั้นเผาไฟใช้เป็นยาแก้พิษกู่ดังกล่าวได้ ทั้งพรรณนาว่า ยามกลางวัน กู่ดูคล้ายตัวหนอนสีทอง มักขดตัวเหมือนแหวนสวมนิ้ว และมักบริโภคผ้าไหมลายดอกไม้หรือผ้าไหมแดงเหมือนหนอนกินใบไม้
อ้างอิง
แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%88