เสี้ยวสามก๊ก
คนรูปทราม
เล่าเซี่ยงชุน
ในวรรณคดีเรื่องสามก๊ก มีการบรรยายถึงรูปร่างหน้าตา ของตัวละครอยู่หลายคน เช่น โจโฉ ซึ่งสูงประมาณห้าศอก ดวงตาเล็ก หนวดยาว หรือซุนกวน หน้าผากใหญ่ ปากกว้าง นัยตาเป็นสีแดง ไม่ทราบว่าชอบเสพสุราเป็นอาจิณหรือเปล่า จูล่งนั้นหน้าผากใหญ่ คิ้วดก นัยตาโต ส่วนม้าเฉียว ไหล่ผายเอวกลม ใบหน้าขาวดังสีหยก ปากแดงเรื่ออย่างคนมีสุขภาพดีทั่วไป
และสามพี่น้องร่วมสาบานที่เมืองตุ้นก้วนนั้น ผู้อ่านจำกันได้ดีว่า กวนอูสูงประมาณหกศอก หนวดยาวประมาณศอกเศษ หน้าแดงดังผลพุทราสุก ปากแดงดังชาดแต้ม คิ้วดังตัวไหม นัยตายาวดังนกการเวก ส่วนเตียวหุยนั้นสูงประมาณห้าศอก ศรีษะเหมือนเสือ ดวงตา กลมใหญ่ คางพองโต ซึ่งก็พอจะเห็นภาพได้ชดเจน
แต่บางครั้งผู้อ่านที่มีวิจารณญาณอันดี ในสมัยปัจจุบัน ซึ่งไม่ยอมเชื่ออะไรง่าย ๆ อาจจะรับไม่ได้กับรูปลักษณ์ของพระเอกอย่างเล่าปี่ ที่บรรยายว่าสูงประมาณห้าศอกเศษ หูยาน ถึงบ่า มือยาวถึงเข่า และดวงตาสามารถชำเลืองไปเห็นใบหู ซึ่งไม่รู้จะเปรียบกับอะไร นอกจากมนุษย์ต่างดาวเท่านั้น
แต่ก็ช่างเถอะ เราอ่านกันมานานร่วมสองร้อยปีแล้ว เรื่องเพียงแค่นี้ไม่ทำให้ อรรถรสของวรรณคดี อ่อนด้อยลงแต่ประการใด
และมีอีกหลายคนที่จงใจจะบรรยายให้เห็นว่า เป็นคนรูปร่างอัปลักษณ์ เช่น โจจู๋ มีรูปร่างประหลาดพิกล ดวงตาส่อน และขาสั้นข้างหนึ่ง
กับเตียวสงที่ปรึกษาของเล่าเจี้ยงเจ้าเมืองเสฉวน ซึ่งมีรูปร่างต่ำเตี้ย ศรีษะรีดังผลมะตูม จมูกก็แฟบ ฟันก็เสี้ยม จึงไม่ค่อยจะเป็นที่เชื่อถือของเล่าเจี้ยงเท่าใดนัก เมื่อเล่าเจี้ยงเกรงว่าเตียวฬ่อเจ้าเมืองเจ้าเมืองฮันต๋ง จะยกทัพมาตีเมืองเสฉวน และเตียวสงอาสาจะหาทางป้องกัน มิให้เตียวฬ่อมาทำอันตรายแก่เมืองเสฉวน เล่าเจี้ยงจึงบอกให้ชี้แจงให้เข้าใจก่อนว่าจะทำประการใด เตียวสงก็กล่าวว่า
“…….ข้าพเจ้าแจ้งอยู่ว่า โจโฉนี้เที่ยวปราบปรามขอบขันฑสีมาให้อยู่ในอำนาจสิ้น ทั้งอ้วนเสี้ยว อ้วนสุด นั้นก็กำจัดเสียได้ บัดนี้ม้าเฉียวบุตรม้าเท้งเล่าก็แตกโจโฉ โจโฉมีทหารเป็นอันมาก ขอให้ตกแต่งเครื่องบรรณาการไปอ่อนน้อมคำนับโจโฉ ข้าพเจ้าจะอาสาถือหนังสือไปว่ากล่าว ให้โจโฉยกกองทัพมาตีเมืองฮันต๋ง ถ้าเมืองฮันต๋งเป็นศึกรบติดพันกันอยู่แล้ว ก็เห็นจะไม่ยกกองทัพมาทำอันตรายแก่เราได้……..”
เล่าเจี้ยงก็เห็นชอบด้วย จึงจัดแจงแต่งเครื่องบรรณาการกับหนังสือฉบับหนึ่ง ให้เตียวสงถือไปหาโจโฉที่เมืองฮูโต๋ โดยเดินทางผ่านเมืองเกงจิ๋วไป
แต่เมื่อถึงเมืองฮูโต๋แล้ว เตียวสงก็ต้องรออยู่ด้วยความหงุดหงิดถึงสามวัน เพราะโจโฉไม่ออกว่าราชการ เมื่อโจโฉได้รับหนังสืออ่านดูรู้ความแล้ว ก็ถามท่านทูตผู้มีร่างกายไม่ค่อย สมประกอบว่า
“………เล่าเจี้ยงนายท่านนั้น หลายปีแล้วมิได้ส่งเครื่องบรรณาการ มาคำนับตามประเพณี ด้วยเหตุอันใด…..”
เตียวสงก็บอกว่า
“……เมืองเสฉวนเป็นทางไกลกันดาร ยากที่จะไปมานัก อนึ่งหัวเมืองทั้งปวงก็เป็นเสี้ยนหนาม ยังมิราบคาบเป็นปกติ กลัวโจรผู้ร้ายจะคุมกันเข้าช่วงชิง สิ่งของบรรณาการในกลางทาง จึงมิได้มา……..”
โจโฉก็โกรธจึงว่า ตนเที่ยวปราบปรามหัวเมืองทั้งปวง ราบคาบเป็นผาสุขแล้ว โจรที่ไหนยังจะมีอยู่อีกเล่า เตียวสงก็แย้งว่า ทางทิศใต้นั้นก็มีซุนกวน ทิศตะวันตกก็มีเล่าปี่ ทิศเหนือก็มีเตียวฬ่อ ทั้งหมดก็ยังเป็นศัตรูอยู่ อันเมืองข้าศึกยังมีอยู่รอบทิศเช่นนี้ เหตุไฉนจึงว่าปราบปรามหัวเมือง ราบคาบแล้วเล่า
โจโฉยิ่งโกรธหนักขึ้นไปอีก คิดว่าทูตคนนี้ปากเสียพอกันกับรูปร่างลักษณะ ไม่อยากจะเจรจาด้วย จึงลุกเข้าข้างไปเสีย ที่ปรึกษาซึ่งอยู่ในที่นั้นก็ว่า เตียวสงนี้หาอัธยาศัยมิได้ มาพูดแทงใจดำมหาอุปราชดังนี้ควรหรือ มี่หากว่าเป็นทูตนำเอาบรรณาการมาแต่เมืองไกล จึงมิได้เอาโทษ จงเร่งออกไปเสียเถิดอย่าอยู่ช้าเลย
เตียวสงก็ตอบโต้ว่า ตนนั้นเป็นชาวเมืองเสฉวน จะพูดจาสิ่งใดก็ตามซื่อ มิได้เอาเท็จมาเจรจาสอพลอ เหมือนคนทั้งปวง เอียวสิ้วนายคลังของโจโฉก็ว่า ถ้าเตียวสงเป็นคนพูดซื่อ แล้วคนที่เป็นชาวเมืองหลวงนี้ เห็นว่าผู้ใดพูดประจบประแจงเล่า เตียวสงฟังดูรู้ว่าเอียวสิ้วเป็นคนมีปัญญา จึงตามไปพูดคุยด้วยที่บ้าน จนถูกอัธยาศัยกัน แล้วเตียวสงก็จะขอลากลับ เอียวสิ้วก็ว่าอย่าเพ่อด่วนกลับไปเมืองเลย ตนจะขอให้โจโฉพาไปเฝ้าพระเจ้าเหี้ยนเต้ เตียวสงก็มีความยินดี
แต่โจโฉก็ไม่ยอมพาเตียวสงไปเฝ้าฮ่องเต้ กลับสั่งให้เอียวสิ้วพาไปดูการฝึกหัดทหารก่อน แล้วโจโฉก็เกณฑ์ทหารที่มีฝีมือเรียกว่าทหารเสือจำนวนเป็นหมื่น แต่งตัวใส่เกราะขี่ม้าถือง้าวแลทวน จัดขบวนเข้าสู้รบกันเป็นที่เอิกเกริก เตียวสิ้วก็แลดูการฝึกซ้อมนั้นอย่างตื่นตา โจโฉจึงถามว่า ทหารในเมืองเสฉวนเหมือนทหารของตนฉะนี้มีหรือไม่ เตียวสงก็ตอบว่า
“……..อันเมืองเสฉวนนั้น จะได้ซ่องสุมผู้คนหัดปรือทหารทั้งปวง ยกไปปราบปรามบ้านเมืองเหมือนฉะนี้หามิได้ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็น อันประเพณีเมืองเสฉวน ปราบปรามข้าศึกซึ่งเป็นเสี้ยนหนามนั้น ต้องถือเอาความสัตย์สุจริตเป็นเบื้องหน้า…….”
โจโฉก็โกรธอีกตามเคย จึงคุยโอ่ว่า
“………ในขอบขัณฑสีมานี้เราเล็งดู มิได้เห็นผู้ใดที่จะมีทหารเหมือนเรา บรรดาบ้านเมืองทั้งปวงซึ่งขัดแข็ง มิได้คำนับต่อเรานั้น จะอุปมาก็เหมือนหย่อมหญ้า ถ้าจะยกทหารไปแห่งใดก็จะเหยียบเสียเป็นผงคลี ผู้ใดก็มิอาจต่อด้วยทหารเราได้ แม้จะตีเมืองไหนก็ได้เมืองนั้น ท่านรู้หรือไม่……..”
เตียวสงก็ย้อนให้อีกว่า เขาเลื่องลือกันเอิกเกริกทั้งแผ่นดิน ว่าโจโฉมีวิชาชำนาญการศึกนัก เมื่อรบกับลิโป้ที่เมืองปักเอี้ยง ก็เกือบถูกไฟครอกตาย หนวดเคราเผ้าผมไหม้หมด เมื่อครั้งรบกับเตียวสิ้วที่เมืองอ้วนเซีย ก็ถูกจู่โจมจนต้องหนีเตลิด เสียเตียนอุยนายทหารองครักษ์ กับ โจอันบิ๋นหลานชาย และโจงั่งลูกชายคนโต ครั้นรบกับจิวยี่ที่เมืองกังตั๋งก็แตกทั้งทัพบกทัพเรือ ดีแต่พบกวนอูผู้ซื่อสัตย์กตัญญู จึงรอดชีวิตมาได้ สุดท้ายที่ด่านตงก๋วนรบกับม้าเฉียวก็ถึงกับต้องถอกเกราะตัดหนวดหนีปนไปกับทหารเลว จึงรอดจากเงื้อมมือของม้าเฉียวมาได้ เรื่องเหล่านี้ตนก็รู้อยู่
เมื่อโดนตอกหน้าอย่างจังเช่นนั้น โจโฉก็ระงับความโกรธไม่ไหว สั่งให้เอาตัวท่านทูตปากมอมไปประหารเสียทันที ดีแต่เอียวสิ้วเตือนสติไว้จึงรอดตาย แต่โจโฉก็ให้ทหารไล่ตีเตียวสงออกจากเมืองไปในคืนนั้นเอง
ความเมืองที่รับมาเจรจาจึงไม่สำร็จ สมประสงค์ของเจ้านาย ก็ด้วยหน้าตาที่ไม่น่าดู และปากที่ไม่มีหูรูดของตนเอง มิใช่อื่นใดเลย
ผู้ที่มีรูปร่างไม่เจริญตาต่อผู้พบเห็น ยังมีอีกคนหนึ่ง เป็นชาวเมืองซงหยง ชื่อ บังทอง ซึ่งท่านบรรยายว่ามีหน้าดำ คิ้วใหญ่ จมูกโด่ง แต่หนวดสั้น บังทองเป็นศิษย์อาจารย์เดียวกับขงเบ้ง เมื่อโจโฉไล่ล่าเล่าปี่มาจากเกงจิ๋วนั้น บังทองก็หนีภัยสงคราม หลบมาลอยเรืออยู่แถวเมืองกังตั๋ง จนรู้จักเป็นเพื่อนกับโลซก ที่ปรึกษาของซุนกวนและ จิวยี่แม่ทัพใหญ่ของกังตั๋ง จึงช่วยออกอุบายให้เผากองทัพของโจโฉ เสียวอดวายไปทั้งบกเรือ เมื่อเสร็จศึกคราวนี้ โลซกก็พาไปฝากให้ทำราชการกับซุนกวน แต่ซุนกวนไม่ชอบหน้า จึงไปหาขงเบ้งเสนาธิการใหญ่ของเล่าปี่ ขอทำราชการด้วย ขงเบ้งก้เขียนหนังสือฝากให้ แต่ตัวไปราชการต่างหัวเมือง เล่าปี่ก็คิดเหมือนกับซุนกวน แต่ก็ยังรับไว้แล้วให้ไปเป็นเจ้าเมืองลอยเอี๋ยง อยู่ห่างจากเมืองเกงจิ๋วประมาณสามร้อยเส้น
เมืองลอยเอี๋ยงนั้นเป็นเมืองเล็กนิดเดียว บังทองไปถึงแล้วก็กินแต่เหล้าแล้วก็นอน ตื่นขึ้นมาก็กินเหล้าต่อ มิได้ว่าราชการ ชาวเมืองก็มาฟ้องเล่าปี่ว่าเจ้าเมืองเอาแต่เสพสุรา มิได้ทำราชการงานเมือง เล่าปี่ก็ให้เตียวหุยกับซุนเขียน ไปสอบสวนเอาความจริงให้ได้
เมื่อสองผู้ตรวจราชการไปถึงเมืองลอยเอี๋ยง ก็เจอเจ้าเมืองเมาสุรานอนอยู่ในจวน จึงไปที่ศาลากลางแล้วให้คนไปตามเจ้าเมืองมาทำงาน คนใช้ก็พยุงบังทองออกมานั่งที่เอ้ห เตียวหุยก็ถามว่า
“……พี่เราคิดว่าท่านเป็นคนดีจึงให้มาเป็นเจ้าเมือง เหตุใดมากินสุราแล้วละราชการบ้านเมืองเสีย…..มารักษาเมืองอยู่ร้อยวันเศษ กินแต่สุรามิได้ตัดสินเนื้อความราษฎร จนราษฎรไปฟ้อง……..”
บังทองก็หัวเราะแล้วว่า
“…….เราเห็นเมืองก็น้อย ราชการก็น้อย ยากอะไรกับจะตัดสินเนื้อความเพียงนี้ เชิญท่านนั่งอยู่สักครู่หนึ่งเถิด ข้าพเจ้าจะตัดสินเนื้อความของราษฎรให้ฟัง…….”
ว่าแล้วบังทองก็ให้เจ้าพนักงานเอาความที่ราษฎรฟ้องร้องกล่าวโทษกันที่ค้างอยู่ ทั้งโจทก์และจำเลยมาหลายคู่ บังทองก็ให้เสมียนอ่านคำฟ้องและคำให้การของทั้งคู่ เสมียนก็อ่านข้อความไป บังทองก็กล่าวตัดสินด้วยปาก มือจับพู่กันจดความไว้อย่างรวดเร็วว่องไว เพียงครู่เดียวก็แล้วเสร็จ มิได้ผิดแต่สักข้อหนึ่ง
อาณาประชาราษฎรทั้งปวง ที่มาฟังความอยู่ ก็สรรเสริญเป็นอันมาก บังทองก็ถามเตียวหุยว่า แล้วยังมีราชการอันใดอีกก็ว่ามาเถิด เตียวหุยก็ว่าหมดสิ้นเพียงแต่เท่านี้ บังทองเลยคุยต่อไปว่า อย่าว่าแต่งานแค่นี้เลย ถึงราชการศึกกับโจโฉหรือซุนกวนก็ดี เหมือนจับหนังสือชูไว้บนฝ่ามือ ถ้าเปิดพลิกดูเมื่อใดก็จะรู้แจ้งสิ้น
เตียวหุยก็ยอมรับว่า เล่าปี่กับตนไม่รู้เลยว่าบังทองมีสติปัญญาถึงเพียงนี้ บังทองจึงเอาหนังสือฝากของโลซก ส่งให้ซุนเขียนอ่านให้เตียวหุยฟัง เตียวหุยก็ถามว่า เมื่อมาพบเล่าปี่นั้นเป็นไรมิให้เล่าปี่เล่า บังทองก็ว่า
“…….เมื่อแรกพบนั้นเล่าปี่ยังหารู้ว่าข้าพเจ้าดีชั่วไปม่ ครั้นจะให้ดูหนังสือนั้น ก็เหมือนข้าพเจ้าแกล้งขอหนังสือมาเป็นนายหน้า ให้ผู้อื่นช่วยสรรเสริญ ข้าพเจ้าจึงมิให้ดู……”
ทั้งสองจึงลากลับไปหาเล่าปี่ที่เมืองเกงจิ๋ว เอาหนังสือนั้นให้เล่าปี่ดู มีใจความว่า
บังทองคนนี้ได้ร่ำเรียนความรู้วิชาการเป็นอันมาก แล้วก็มีสติปัญญาควรจะเป็นที่ปรึกษาของท่านได้ แม้จะดูแต่ลักษณะรูปร่างภายนอก ก็เห็นว่าไม่สมที่จะว่ามีความรู้วิชาการดี ข้าพเจ้าเสียดายบังทอง กลัวบังทองจะไปอยู่ด้วยผู้อื่นเสีย ข้าพเจ้าจึงมีหนังสือให้บังทองมาหาท่าน
พอดีขงเบ้งกลับจากราชการหัวเมือง แล้วถามว่าบังทองมาอยู่นั้น เขาได้ความสบายอยู่หรือ เล่าปี่ก็แจ้งเรื่องที่บังทองไปอยู่เมืองลอยเอี๋ยงให้ฟัง ขงเบ้งก็หัวเราะแล้วสนับสนุนว่า บังทองนี้มีความรู้มากกว่าตนสักสิบส่วน ตนได้ให้หนังสือมากับบังทองฉบับหนึ่ง ได้เห็นแล้วหรือยัง เล่าปี่ก็ว่าเห็นแต่หนังสือของโลซก ขงเบ้งจึงว่า
“…….ท่านตั้งให้บังทองเป็นเจ้าเมืองลอยเอี๋ยง ซึ่งเป็นเมืองน้อย ชะรอยบังทองจะเห็นว่าไม่สมควร จึงแกล้งละราชการกินแต่เหล้าแล้วนอนเสีย……”
เล่าปี่จึงให้เตียวหุยไปเชิญบังทองมาที่เมืองเกงจิ๋ว แล้วขอโทษบังทองว่า ตนไม่รู้เลยว่าบังทองมีสติปัญญา จึงส่งไปอยู่เมืองเล็กนั้น ขออภัยเสียเถิด บังทองจึงเอาหนังสือของขงเบ้งยื่นให้เล่าปี่ ในนั้นมีความว่าบังทองนี้มีชื่อว่าฮองซู เล่าปี่จึงระลึกขึ้นได้ว่า เมื่อครั้งที่ตนไปเจออาจารย์สุมาเต๊กโช ก่อนที่จะได้พบกับขงเบ้งนั้น อาจารย์บอกว่า
“……..โบราณท่านว่าไว้แต่ก่อนว่า สิบคนจะหาผู้กล้าหาญได้คนหนึ่ง ร้อยคนจะจัดหาผู้มีสติปัญญาได้คนหนึ่ง แลคนทั้งปวงก็มีอยู่เป็นอันมาก…….ซึ่งคนมีสติปัญญานั้นก็มีอยู่มิสู้ไกลนัก……อันฮกหลงกับฮองซูสองคนนี้ ถ้าได้มาเป็นที่ปรึกษาด้วยแต่ผู้ใดผู้หนึ่ง ก็อาจสามารถจะคิดอ่าน ปราบปรามศัตรูแผ่นดินให้สงบได้……..”
เล่าปี่ก็ยินดี ด้วยว่าฮกหลงก็คือขงเบ้ง เมื่อได้บังทองหรือฮองซูมาอีกคนหนึ่ง ก็ควรที่จะทำนุบำรุงแผ่นดินพระเจ้าเหี้ยนเต้ ให้รุ่งเรืองสืบไป เล่าปี่จึงตั้งบังทองให้เป็นที่ปรึกษาคู่กันกับขงเบ้ง และต่อมาเมื่อจำเป็นต้องรบชิงเมืองเสฉวนจากเล่าเจี้ยง เล่าปี่ก็ได้บังทองเป็นผู้วางแผนการศึกแทนขงเบ้ง
แต่โชคร้ายที่บังทองขี่ม้าของเล่าปี่เข้าสมรภูมิ ข้าศึกเข้าใจว่าเป็นเล่าปี่ จึงล้อมยิงด้วยเกาทัณฑ์ ถึงแก่ความตาย อยู่ในช่องเขาลกห้องโห เมื่ออายุเพียงสามสิบหกปี ก่อนที่เล่าปี่จะได้เป็นใหญ่ในเมืองเสฉวน การจึงไม่เป็นไปตามที่อาจารย์สุมาเต๊กโช ได้ทำนายไว้
เรื่องราวของคนรูปทราม แต่ความคิดสติปัญญาแตกต่างกัน ก็คงจะสิ้นสุดลงแต่เพียงเท่านี้.
##########
คนรูปทราม ๔ มี.ค.๖๑
คนรูปทราม
เล่าเซี่ยงชุน
ในวรรณคดีเรื่องสามก๊ก มีการบรรยายถึงรูปร่างหน้าตา ของตัวละครอยู่หลายคน เช่น โจโฉ ซึ่งสูงประมาณห้าศอก ดวงตาเล็ก หนวดยาว หรือซุนกวน หน้าผากใหญ่ ปากกว้าง นัยตาเป็นสีแดง ไม่ทราบว่าชอบเสพสุราเป็นอาจิณหรือเปล่า จูล่งนั้นหน้าผากใหญ่ คิ้วดก นัยตาโต ส่วนม้าเฉียว ไหล่ผายเอวกลม ใบหน้าขาวดังสีหยก ปากแดงเรื่ออย่างคนมีสุขภาพดีทั่วไป
และสามพี่น้องร่วมสาบานที่เมืองตุ้นก้วนนั้น ผู้อ่านจำกันได้ดีว่า กวนอูสูงประมาณหกศอก หนวดยาวประมาณศอกเศษ หน้าแดงดังผลพุทราสุก ปากแดงดังชาดแต้ม คิ้วดังตัวไหม นัยตายาวดังนกการเวก ส่วนเตียวหุยนั้นสูงประมาณห้าศอก ศรีษะเหมือนเสือ ดวงตา กลมใหญ่ คางพองโต ซึ่งก็พอจะเห็นภาพได้ชดเจน
แต่บางครั้งผู้อ่านที่มีวิจารณญาณอันดี ในสมัยปัจจุบัน ซึ่งไม่ยอมเชื่ออะไรง่าย ๆ อาจจะรับไม่ได้กับรูปลักษณ์ของพระเอกอย่างเล่าปี่ ที่บรรยายว่าสูงประมาณห้าศอกเศษ หูยาน ถึงบ่า มือยาวถึงเข่า และดวงตาสามารถชำเลืองไปเห็นใบหู ซึ่งไม่รู้จะเปรียบกับอะไร นอกจากมนุษย์ต่างดาวเท่านั้น
แต่ก็ช่างเถอะ เราอ่านกันมานานร่วมสองร้อยปีแล้ว เรื่องเพียงแค่นี้ไม่ทำให้ อรรถรสของวรรณคดี อ่อนด้อยลงแต่ประการใด
และมีอีกหลายคนที่จงใจจะบรรยายให้เห็นว่า เป็นคนรูปร่างอัปลักษณ์ เช่น โจจู๋ มีรูปร่างประหลาดพิกล ดวงตาส่อน และขาสั้นข้างหนึ่ง
กับเตียวสงที่ปรึกษาของเล่าเจี้ยงเจ้าเมืองเสฉวน ซึ่งมีรูปร่างต่ำเตี้ย ศรีษะรีดังผลมะตูม จมูกก็แฟบ ฟันก็เสี้ยม จึงไม่ค่อยจะเป็นที่เชื่อถือของเล่าเจี้ยงเท่าใดนัก เมื่อเล่าเจี้ยงเกรงว่าเตียวฬ่อเจ้าเมืองเจ้าเมืองฮันต๋ง จะยกทัพมาตีเมืองเสฉวน และเตียวสงอาสาจะหาทางป้องกัน มิให้เตียวฬ่อมาทำอันตรายแก่เมืองเสฉวน เล่าเจี้ยงจึงบอกให้ชี้แจงให้เข้าใจก่อนว่าจะทำประการใด เตียวสงก็กล่าวว่า
“…….ข้าพเจ้าแจ้งอยู่ว่า โจโฉนี้เที่ยวปราบปรามขอบขันฑสีมาให้อยู่ในอำนาจสิ้น ทั้งอ้วนเสี้ยว อ้วนสุด นั้นก็กำจัดเสียได้ บัดนี้ม้าเฉียวบุตรม้าเท้งเล่าก็แตกโจโฉ โจโฉมีทหารเป็นอันมาก ขอให้ตกแต่งเครื่องบรรณาการไปอ่อนน้อมคำนับโจโฉ ข้าพเจ้าจะอาสาถือหนังสือไปว่ากล่าว ให้โจโฉยกกองทัพมาตีเมืองฮันต๋ง ถ้าเมืองฮันต๋งเป็นศึกรบติดพันกันอยู่แล้ว ก็เห็นจะไม่ยกกองทัพมาทำอันตรายแก่เราได้……..”
เล่าเจี้ยงก็เห็นชอบด้วย จึงจัดแจงแต่งเครื่องบรรณาการกับหนังสือฉบับหนึ่ง ให้เตียวสงถือไปหาโจโฉที่เมืองฮูโต๋ โดยเดินทางผ่านเมืองเกงจิ๋วไป
แต่เมื่อถึงเมืองฮูโต๋แล้ว เตียวสงก็ต้องรออยู่ด้วยความหงุดหงิดถึงสามวัน เพราะโจโฉไม่ออกว่าราชการ เมื่อโจโฉได้รับหนังสืออ่านดูรู้ความแล้ว ก็ถามท่านทูตผู้มีร่างกายไม่ค่อย สมประกอบว่า
“………เล่าเจี้ยงนายท่านนั้น หลายปีแล้วมิได้ส่งเครื่องบรรณาการ มาคำนับตามประเพณี ด้วยเหตุอันใด…..”
เตียวสงก็บอกว่า
“……เมืองเสฉวนเป็นทางไกลกันดาร ยากที่จะไปมานัก อนึ่งหัวเมืองทั้งปวงก็เป็นเสี้ยนหนาม ยังมิราบคาบเป็นปกติ กลัวโจรผู้ร้ายจะคุมกันเข้าช่วงชิง สิ่งของบรรณาการในกลางทาง จึงมิได้มา……..”
โจโฉก็โกรธจึงว่า ตนเที่ยวปราบปรามหัวเมืองทั้งปวง ราบคาบเป็นผาสุขแล้ว โจรที่ไหนยังจะมีอยู่อีกเล่า เตียวสงก็แย้งว่า ทางทิศใต้นั้นก็มีซุนกวน ทิศตะวันตกก็มีเล่าปี่ ทิศเหนือก็มีเตียวฬ่อ ทั้งหมดก็ยังเป็นศัตรูอยู่ อันเมืองข้าศึกยังมีอยู่รอบทิศเช่นนี้ เหตุไฉนจึงว่าปราบปรามหัวเมือง ราบคาบแล้วเล่า
โจโฉยิ่งโกรธหนักขึ้นไปอีก คิดว่าทูตคนนี้ปากเสียพอกันกับรูปร่างลักษณะ ไม่อยากจะเจรจาด้วย จึงลุกเข้าข้างไปเสีย ที่ปรึกษาซึ่งอยู่ในที่นั้นก็ว่า เตียวสงนี้หาอัธยาศัยมิได้ มาพูดแทงใจดำมหาอุปราชดังนี้ควรหรือ มี่หากว่าเป็นทูตนำเอาบรรณาการมาแต่เมืองไกล จึงมิได้เอาโทษ จงเร่งออกไปเสียเถิดอย่าอยู่ช้าเลย
เตียวสงก็ตอบโต้ว่า ตนนั้นเป็นชาวเมืองเสฉวน จะพูดจาสิ่งใดก็ตามซื่อ มิได้เอาเท็จมาเจรจาสอพลอ เหมือนคนทั้งปวง เอียวสิ้วนายคลังของโจโฉก็ว่า ถ้าเตียวสงเป็นคนพูดซื่อ แล้วคนที่เป็นชาวเมืองหลวงนี้ เห็นว่าผู้ใดพูดประจบประแจงเล่า เตียวสงฟังดูรู้ว่าเอียวสิ้วเป็นคนมีปัญญา จึงตามไปพูดคุยด้วยที่บ้าน จนถูกอัธยาศัยกัน แล้วเตียวสงก็จะขอลากลับ เอียวสิ้วก็ว่าอย่าเพ่อด่วนกลับไปเมืองเลย ตนจะขอให้โจโฉพาไปเฝ้าพระเจ้าเหี้ยนเต้ เตียวสงก็มีความยินดี
แต่โจโฉก็ไม่ยอมพาเตียวสงไปเฝ้าฮ่องเต้ กลับสั่งให้เอียวสิ้วพาไปดูการฝึกหัดทหารก่อน แล้วโจโฉก็เกณฑ์ทหารที่มีฝีมือเรียกว่าทหารเสือจำนวนเป็นหมื่น แต่งตัวใส่เกราะขี่ม้าถือง้าวแลทวน จัดขบวนเข้าสู้รบกันเป็นที่เอิกเกริก เตียวสิ้วก็แลดูการฝึกซ้อมนั้นอย่างตื่นตา โจโฉจึงถามว่า ทหารในเมืองเสฉวนเหมือนทหารของตนฉะนี้มีหรือไม่ เตียวสงก็ตอบว่า
“……..อันเมืองเสฉวนนั้น จะได้ซ่องสุมผู้คนหัดปรือทหารทั้งปวง ยกไปปราบปรามบ้านเมืองเหมือนฉะนี้หามิได้ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็น อันประเพณีเมืองเสฉวน ปราบปรามข้าศึกซึ่งเป็นเสี้ยนหนามนั้น ต้องถือเอาความสัตย์สุจริตเป็นเบื้องหน้า…….”
โจโฉก็โกรธอีกตามเคย จึงคุยโอ่ว่า
“………ในขอบขัณฑสีมานี้เราเล็งดู มิได้เห็นผู้ใดที่จะมีทหารเหมือนเรา บรรดาบ้านเมืองทั้งปวงซึ่งขัดแข็ง มิได้คำนับต่อเรานั้น จะอุปมาก็เหมือนหย่อมหญ้า ถ้าจะยกทหารไปแห่งใดก็จะเหยียบเสียเป็นผงคลี ผู้ใดก็มิอาจต่อด้วยทหารเราได้ แม้จะตีเมืองไหนก็ได้เมืองนั้น ท่านรู้หรือไม่……..”
เตียวสงก็ย้อนให้อีกว่า เขาเลื่องลือกันเอิกเกริกทั้งแผ่นดิน ว่าโจโฉมีวิชาชำนาญการศึกนัก เมื่อรบกับลิโป้ที่เมืองปักเอี้ยง ก็เกือบถูกไฟครอกตาย หนวดเคราเผ้าผมไหม้หมด เมื่อครั้งรบกับเตียวสิ้วที่เมืองอ้วนเซีย ก็ถูกจู่โจมจนต้องหนีเตลิด เสียเตียนอุยนายทหารองครักษ์ กับ โจอันบิ๋นหลานชาย และโจงั่งลูกชายคนโต ครั้นรบกับจิวยี่ที่เมืองกังตั๋งก็แตกทั้งทัพบกทัพเรือ ดีแต่พบกวนอูผู้ซื่อสัตย์กตัญญู จึงรอดชีวิตมาได้ สุดท้ายที่ด่านตงก๋วนรบกับม้าเฉียวก็ถึงกับต้องถอกเกราะตัดหนวดหนีปนไปกับทหารเลว จึงรอดจากเงื้อมมือของม้าเฉียวมาได้ เรื่องเหล่านี้ตนก็รู้อยู่
เมื่อโดนตอกหน้าอย่างจังเช่นนั้น โจโฉก็ระงับความโกรธไม่ไหว สั่งให้เอาตัวท่านทูตปากมอมไปประหารเสียทันที ดีแต่เอียวสิ้วเตือนสติไว้จึงรอดตาย แต่โจโฉก็ให้ทหารไล่ตีเตียวสงออกจากเมืองไปในคืนนั้นเอง
ความเมืองที่รับมาเจรจาจึงไม่สำร็จ สมประสงค์ของเจ้านาย ก็ด้วยหน้าตาที่ไม่น่าดู และปากที่ไม่มีหูรูดของตนเอง มิใช่อื่นใดเลย
ผู้ที่มีรูปร่างไม่เจริญตาต่อผู้พบเห็น ยังมีอีกคนหนึ่ง เป็นชาวเมืองซงหยง ชื่อ บังทอง ซึ่งท่านบรรยายว่ามีหน้าดำ คิ้วใหญ่ จมูกโด่ง แต่หนวดสั้น บังทองเป็นศิษย์อาจารย์เดียวกับขงเบ้ง เมื่อโจโฉไล่ล่าเล่าปี่มาจากเกงจิ๋วนั้น บังทองก็หนีภัยสงคราม หลบมาลอยเรืออยู่แถวเมืองกังตั๋ง จนรู้จักเป็นเพื่อนกับโลซก ที่ปรึกษาของซุนกวนและ จิวยี่แม่ทัพใหญ่ของกังตั๋ง จึงช่วยออกอุบายให้เผากองทัพของโจโฉ เสียวอดวายไปทั้งบกเรือ เมื่อเสร็จศึกคราวนี้ โลซกก็พาไปฝากให้ทำราชการกับซุนกวน แต่ซุนกวนไม่ชอบหน้า จึงไปหาขงเบ้งเสนาธิการใหญ่ของเล่าปี่ ขอทำราชการด้วย ขงเบ้งก้เขียนหนังสือฝากให้ แต่ตัวไปราชการต่างหัวเมือง เล่าปี่ก็คิดเหมือนกับซุนกวน แต่ก็ยังรับไว้แล้วให้ไปเป็นเจ้าเมืองลอยเอี๋ยง อยู่ห่างจากเมืองเกงจิ๋วประมาณสามร้อยเส้น
เมืองลอยเอี๋ยงนั้นเป็นเมืองเล็กนิดเดียว บังทองไปถึงแล้วก็กินแต่เหล้าแล้วก็นอน ตื่นขึ้นมาก็กินเหล้าต่อ มิได้ว่าราชการ ชาวเมืองก็มาฟ้องเล่าปี่ว่าเจ้าเมืองเอาแต่เสพสุรา มิได้ทำราชการงานเมือง เล่าปี่ก็ให้เตียวหุยกับซุนเขียน ไปสอบสวนเอาความจริงให้ได้
เมื่อสองผู้ตรวจราชการไปถึงเมืองลอยเอี๋ยง ก็เจอเจ้าเมืองเมาสุรานอนอยู่ในจวน จึงไปที่ศาลากลางแล้วให้คนไปตามเจ้าเมืองมาทำงาน คนใช้ก็พยุงบังทองออกมานั่งที่เอ้ห เตียวหุยก็ถามว่า
“……พี่เราคิดว่าท่านเป็นคนดีจึงให้มาเป็นเจ้าเมือง เหตุใดมากินสุราแล้วละราชการบ้านเมืองเสีย…..มารักษาเมืองอยู่ร้อยวันเศษ กินแต่สุรามิได้ตัดสินเนื้อความราษฎร จนราษฎรไปฟ้อง……..”
บังทองก็หัวเราะแล้วว่า
“…….เราเห็นเมืองก็น้อย ราชการก็น้อย ยากอะไรกับจะตัดสินเนื้อความเพียงนี้ เชิญท่านนั่งอยู่สักครู่หนึ่งเถิด ข้าพเจ้าจะตัดสินเนื้อความของราษฎรให้ฟัง…….”
ว่าแล้วบังทองก็ให้เจ้าพนักงานเอาความที่ราษฎรฟ้องร้องกล่าวโทษกันที่ค้างอยู่ ทั้งโจทก์และจำเลยมาหลายคู่ บังทองก็ให้เสมียนอ่านคำฟ้องและคำให้การของทั้งคู่ เสมียนก็อ่านข้อความไป บังทองก็กล่าวตัดสินด้วยปาก มือจับพู่กันจดความไว้อย่างรวดเร็วว่องไว เพียงครู่เดียวก็แล้วเสร็จ มิได้ผิดแต่สักข้อหนึ่ง
อาณาประชาราษฎรทั้งปวง ที่มาฟังความอยู่ ก็สรรเสริญเป็นอันมาก บังทองก็ถามเตียวหุยว่า แล้วยังมีราชการอันใดอีกก็ว่ามาเถิด เตียวหุยก็ว่าหมดสิ้นเพียงแต่เท่านี้ บังทองเลยคุยต่อไปว่า อย่าว่าแต่งานแค่นี้เลย ถึงราชการศึกกับโจโฉหรือซุนกวนก็ดี เหมือนจับหนังสือชูไว้บนฝ่ามือ ถ้าเปิดพลิกดูเมื่อใดก็จะรู้แจ้งสิ้น
เตียวหุยก็ยอมรับว่า เล่าปี่กับตนไม่รู้เลยว่าบังทองมีสติปัญญาถึงเพียงนี้ บังทองจึงเอาหนังสือฝากของโลซก ส่งให้ซุนเขียนอ่านให้เตียวหุยฟัง เตียวหุยก็ถามว่า เมื่อมาพบเล่าปี่นั้นเป็นไรมิให้เล่าปี่เล่า บังทองก็ว่า
“…….เมื่อแรกพบนั้นเล่าปี่ยังหารู้ว่าข้าพเจ้าดีชั่วไปม่ ครั้นจะให้ดูหนังสือนั้น ก็เหมือนข้าพเจ้าแกล้งขอหนังสือมาเป็นนายหน้า ให้ผู้อื่นช่วยสรรเสริญ ข้าพเจ้าจึงมิให้ดู……”
ทั้งสองจึงลากลับไปหาเล่าปี่ที่เมืองเกงจิ๋ว เอาหนังสือนั้นให้เล่าปี่ดู มีใจความว่า
บังทองคนนี้ได้ร่ำเรียนความรู้วิชาการเป็นอันมาก แล้วก็มีสติปัญญาควรจะเป็นที่ปรึกษาของท่านได้ แม้จะดูแต่ลักษณะรูปร่างภายนอก ก็เห็นว่าไม่สมที่จะว่ามีความรู้วิชาการดี ข้าพเจ้าเสียดายบังทอง กลัวบังทองจะไปอยู่ด้วยผู้อื่นเสีย ข้าพเจ้าจึงมีหนังสือให้บังทองมาหาท่าน
พอดีขงเบ้งกลับจากราชการหัวเมือง แล้วถามว่าบังทองมาอยู่นั้น เขาได้ความสบายอยู่หรือ เล่าปี่ก็แจ้งเรื่องที่บังทองไปอยู่เมืองลอยเอี๋ยงให้ฟัง ขงเบ้งก็หัวเราะแล้วสนับสนุนว่า บังทองนี้มีความรู้มากกว่าตนสักสิบส่วน ตนได้ให้หนังสือมากับบังทองฉบับหนึ่ง ได้เห็นแล้วหรือยัง เล่าปี่ก็ว่าเห็นแต่หนังสือของโลซก ขงเบ้งจึงว่า
“…….ท่านตั้งให้บังทองเป็นเจ้าเมืองลอยเอี๋ยง ซึ่งเป็นเมืองน้อย ชะรอยบังทองจะเห็นว่าไม่สมควร จึงแกล้งละราชการกินแต่เหล้าแล้วนอนเสีย……”
เล่าปี่จึงให้เตียวหุยไปเชิญบังทองมาที่เมืองเกงจิ๋ว แล้วขอโทษบังทองว่า ตนไม่รู้เลยว่าบังทองมีสติปัญญา จึงส่งไปอยู่เมืองเล็กนั้น ขออภัยเสียเถิด บังทองจึงเอาหนังสือของขงเบ้งยื่นให้เล่าปี่ ในนั้นมีความว่าบังทองนี้มีชื่อว่าฮองซู เล่าปี่จึงระลึกขึ้นได้ว่า เมื่อครั้งที่ตนไปเจออาจารย์สุมาเต๊กโช ก่อนที่จะได้พบกับขงเบ้งนั้น อาจารย์บอกว่า
“……..โบราณท่านว่าไว้แต่ก่อนว่า สิบคนจะหาผู้กล้าหาญได้คนหนึ่ง ร้อยคนจะจัดหาผู้มีสติปัญญาได้คนหนึ่ง แลคนทั้งปวงก็มีอยู่เป็นอันมาก…….ซึ่งคนมีสติปัญญานั้นก็มีอยู่มิสู้ไกลนัก……อันฮกหลงกับฮองซูสองคนนี้ ถ้าได้มาเป็นที่ปรึกษาด้วยแต่ผู้ใดผู้หนึ่ง ก็อาจสามารถจะคิดอ่าน ปราบปรามศัตรูแผ่นดินให้สงบได้……..”
เล่าปี่ก็ยินดี ด้วยว่าฮกหลงก็คือขงเบ้ง เมื่อได้บังทองหรือฮองซูมาอีกคนหนึ่ง ก็ควรที่จะทำนุบำรุงแผ่นดินพระเจ้าเหี้ยนเต้ ให้รุ่งเรืองสืบไป เล่าปี่จึงตั้งบังทองให้เป็นที่ปรึกษาคู่กันกับขงเบ้ง และต่อมาเมื่อจำเป็นต้องรบชิงเมืองเสฉวนจากเล่าเจี้ยง เล่าปี่ก็ได้บังทองเป็นผู้วางแผนการศึกแทนขงเบ้ง
แต่โชคร้ายที่บังทองขี่ม้าของเล่าปี่เข้าสมรภูมิ ข้าศึกเข้าใจว่าเป็นเล่าปี่ จึงล้อมยิงด้วยเกาทัณฑ์ ถึงแก่ความตาย อยู่ในช่องเขาลกห้องโห เมื่ออายุเพียงสามสิบหกปี ก่อนที่เล่าปี่จะได้เป็นใหญ่ในเมืองเสฉวน การจึงไม่เป็นไปตามที่อาจารย์สุมาเต๊กโช ได้ทำนายไว้
เรื่องราวของคนรูปทราม แต่ความคิดสติปัญญาแตกต่างกัน ก็คงจะสิ้นสุดลงแต่เพียงเท่านี้.
##########