ทำไมในเรื่องบุพเพสันนิวาสถึงไม่ออกเสียงต.เต่ากันคะ

คือฟังแล้วมาสะดุดตรงที่การออกเสียงต.เต่าเลยมาถามค่ะ อย่างเช่นคุณหมื่นบอกให้แม่การะเกดมาตรงนี้ก็จะพูดว่า มากงนี้,รออยู่กงนี้






*ไม่รู้จะแท็กห้องอะไรถ้าผิดกฏลบได้เลยนะคะ
*หาในกูเกิ้ลแล้วก็ไม่มีไม่รู้จะค้นหาคำจำกัดความว่าอย่างไร
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ทุกวันนี้ภาษาถิ่นหลายถิ่นในภาคกลาง (ยกเว้นกรุงเทพ) ภาคเหนือ และภาคอีสาน ก็ยังคงออกเสียงอักษรควบ “ตร, ตล” เป็น “ก, กร” นะครับ ผมยกตัวอย่างบ้านผมที่จังหวัดสุโขทัย

“ตรง” เป็น “กง” เช่น ตรงไป เป็น กงไป
“เตรียม” เป็น “เกรียม/เกียม” เช่น เตรียมตัว เป็น เกียมตัว
“ตรา” เป็น “กา” เช่น ชามตราไก่ บ้านผมออกเสียง ชามกาไก่
“แตร” เป็น “แก” เช่น บีบแตร เป็น บีบแก
“ตลาด” เป็น “กะหลาด, กลาด, กาด”

หรือออกเสียง ต กับ ก สลับกันในคำสองพยางค์ เช่น
“กรรไกร” เป็น “กะไต, ตะไก”
“ตะกร้า” เป็น “กะต้า”

ภาษาโบราณยังมีเสียงควบ “มฺล” [ml] ด้วย แต่ปัจจุบันมีเฉพาะคนปักษ์ใต้ที่ออกเสียงควบนี้ได้ ส่วนภาคอื่นจะกลายเป็น “ม, ล, หรือ มะล-“ เช่น
“แมลง” ภาคกลางเป็น “มะ-แลง” ภาคเหนือเป็น “แมง”
“มลอด” (มุด) ภาคกลางเป็น “ลอด” ภาคเหนือเป็น “มอด” เช่น มอดโต๊ะ (มุดโต๊ะ)
“แมลบ” (ฟ้าแลบ) ภาคกลางเป็น “แลบ” ภาคเหนือเป็น “แมบ” เช่น ฟ้าแมบ
“มลืน” (ลืมตา) ภาคกลางเป็น “ลืน > ลืม” ภาคเหนือเป็น “มืน” เช่น มืนตา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่