การจัดอันดับสถานศึกษา การจัดอันดับ (ranking) หรือการให้คะแนน (rating) หลักสูตรหรือสถานศึกษานั้น มีขึ้นเพื่อเป็นชี้ถึงจุดเด่นจุดด้อยของสถานศึกษาในด้านต่าง ๆ เช่น คุณภาพการศึกษา คุณภาพงานวิจัย การยอมรับของผู้จ้างงาน งบประมาณการศึกษา เครือข่ายศิษย์เก่า ความเป็นนานาชาติ สัดส่วนนักศึกษาต่อผับในเมือง จำนวนผู้ได้รับรางวัลโนเบล ฯลฯ
การจัดอันดับของแต่ละสำนักนั้น จะให้น้ำหนักความสำคัญกับแต่ละตัวชี้วัดแตกต่างกันไปตามประเภทและวัตถุประสงค์ของการจัดอันดับ เช่น โดยทั่วไป ในการจัดอันดับหลักสูตรบริหารธุรกิจ (MBA) จะให้ความสำคัญกับเครือข่ายศิษย์เก่า มากกว่าในการจัดอันดับสถาบันเทคโนโลยี หรือ ในการจัดดับหลักสูตรระดับปริญญาตรี จะให้ความสำคัญกับชีวิตความเป็นอยู่ระหว่างศึกษา มากกว่าในการจัดอันดับหลักสูตรระดับปริญญาโทหรือเอก
ตัวชี้วัดที่นำมาใช้ในการจัดอันดับนั้นสามารถแบ่งได้สองประเภทใหญ่คือ แบบอัตวิสัย (subjective) และแบบภววิสัย (objective) โดยแบบแรกนั้นเป็นลักษณะความคิดเห็น เช่น ชื่อเสียงวิชาการในหมู่เพื่อนร่วมอาชีพ ความพอใจของผู้จ้างงาน ส่วนแบบหลังนั้นเป็นข้อมูลที่วัดได้โดยตรง เช่น ขนาดแบนด์วิธอินเทอร์เน็ต จำนวนนักศึกษาต่ออาจารย์
ข้อมูลที่นำมาคำนวณหรือประมวลเป็นตัวชี้วัดนั้น ได้มาจากแหล่งข้อมูลหลายประเภท เช่น ทำการสำรวจ ค้นหาจากสิ่งตีพิมพ์/เว็บไซต์ หรือสอบถามโดยตรงกับสถานศึกษาหรือหน่วยงานรับผิดชอบของแต่ละประเทศ โดยแหล่งข้อมูลแต่ประเภทก็จะใช้แรงงาน เวลา และค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน รวมถึงมีความครอบคลุมและความน่าเชื่อถือต่างกันไป และแหล่งข้อมูลบางประเภทอาจเหมาะกับตัวชี้วัดชนิดหนึ่งแต่ไม่เหมาะกับตัวชี้วัดอีกชนิดหนึ่ง เหล่านี้เป็นปัจจัยในการเลือกใช้แหล่งข้อมูลของสำนักจัดอันดับ และยังเป็นตัวชี้ว่า ผลการจัดอันดับนั้นน่าเชื่อถือเพียงใด
การให้ความสำคัญของอันดับสถานศึกษานั้นแตกต่างกันไปตามประเทศ โดยในสหราชอาณาจักร หนังสือพิมพ์หลายฉบับมีการจัดอันดับสถานศึกษา โดยเฉพาะในระดับปริญญาตรี มีการพิมพ์เป็นคู่มือจำนวนหลายร้อยหน้าทุก ๆ ปี ส่วนในระดับบัณฑิตศึกษา มีหน่วยงานรับผิดชอบของรัฐโดยเฉพาะในการให้คะแนนสถาบันอุดมศึกษาในด้านคุณภาพการศึกษาและคุณภาพการวิจัย ส่วนในสหรัฐอเมริกา อันดับสถานศึกษาส่งผลต่อการเลือกเข้าเรียนของนักเรียน ในขณะที่ในบางประเทศไม่มีการจัดอันดับสถานศึกษา
ในประเทศไทย ได้ริเริ่มให้ 2 หน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย คือ หน่วยงานสมศ. (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา-องค์การมหาชน) โดยมีวัตถุประสงค์ในการประเมินตนเองและประกันคุณภาพ และ หน่วยงาน สกอ. (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา)เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจให้กับนักเรียนที่จะใช้ในการเลือกสอบเข้าเรียนในสถาบันต่างๆ
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) มีการประเมินสถานศึกษาทั่วประเทศ ทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา และจะเริ่มคะแนนสถาบันอุดมศึกษาในปีการศึกษา 2549 โดยเมื่อเดือนมีนาคม 2549 การประเมินภายนอกรอบแรก (รอบ พ.ศ. 2544 - 2548) ของสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศได้เสร็จสิ้นแล้ว
Quacquarelli Symonds (QS)
Quacquarelli Symonds (QS) เป็นสถาบันการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยม โดยมีการจัดอันดับที่ครอบคลุม ประกอบด้วย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก(QS World University Rankings® ) การจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับภูมิภาค(QS University Ranking by Region) การจัดอันดับมหาวิทยาลัยแบ่งตามกลุ่มวิชา(QS University Ranking by Faculty) และ การจัดอันดับมหาวิทยาลัยตามรายวิชา(QS University Ranking by Subject)
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก(QS World University Rankings® )
ใช้ดัชนีชี้วัดดังนี้
ชื่อเสียงทางวิชาการ : สำรวจจากอาจารย์ทั่วโลก (40%)
ทัศนคติของผู้จ้างงานบัณฑิต : สำรวจจากผู้จ้างงานทั่วโลก (10%)
สัดส่วนจำนวนอาจารย์ต่อนักศึกษา : ชี้วัดคุณภาพการสอน (20%)
สัดส่วนจำนวนการอ้างอิงต่อจำนวนอาจารย์ : ชี้วัดคุณภาพการวิจัย (20%)
สัดส่วนนักศึกษาต่างชาติ : วัดความเป็นนานาชาติของนักศึกษา (5%)
สัดส่วนอาจารย์ต่างชาติ : วัดความเป็นนานาชาติของอาจารย์ (5%)
การจัดอันดับ QS Graduate Employability Rankings
เป็นการจัดอันดับคุณภาพการจ้างงานของบัณฑิต โดยพิจารณาจาก ชื่อเสียงและความเชื่อมั่นของผู้จ้างงาน ผลผลิตของบัณฑิต อัตราการจ้างงานบัณฑิต
ในปี 2561 (2018)
มหาวิทยาลับที่ได้คะแนน 10 อันดับแรก ใน 6 สาขาวิชาหลัก มีดังนี้
สาขาฟิสิกส์และดาราศาสตร์
สาขาบริหารและการจัดการธุรกิจ
สาขาการศึกษา
สาขากฎหมาย
สาขาสถาปัตยกรรม
สาขาการแพทย์
มีดังนี้ (อันดับ 10 ถีงอันดับ 1)
10. University College of London (UCL)
9. Massachusetts Institute of Technology (MIT)
8. Yale University
7. University of California, Los angeles (UCLA)
6. Kalorinska Institute (Stockholm Sweden)
5. Johns Hopkins University
4. Stanford Universitiy
3. University of Cambridge
2. University of Oxford
1. Havard University
ที่มาข้อมูล
1.
https://www.topuniversities.com/subject-rankings/2018?utm_medium=SMPost&utm_campaign=QSWURBySubject18&utm_source=Twitter
2.
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2
3.
https://www.topuniversities.com/university-rankings-articles/university-subject-rankings/what-its-study-10-best-medical-schools-2018
ลาก่อนครับ
(( Top 10 Universities 2018 )) QS mini Review 6 สาขาวิชาหลัก
การจัดอันดับของแต่ละสำนักนั้น จะให้น้ำหนักความสำคัญกับแต่ละตัวชี้วัดแตกต่างกันไปตามประเภทและวัตถุประสงค์ของการจัดอันดับ เช่น โดยทั่วไป ในการจัดอันดับหลักสูตรบริหารธุรกิจ (MBA) จะให้ความสำคัญกับเครือข่ายศิษย์เก่า มากกว่าในการจัดอันดับสถาบันเทคโนโลยี หรือ ในการจัดดับหลักสูตรระดับปริญญาตรี จะให้ความสำคัญกับชีวิตความเป็นอยู่ระหว่างศึกษา มากกว่าในการจัดอันดับหลักสูตรระดับปริญญาโทหรือเอก
ตัวชี้วัดที่นำมาใช้ในการจัดอันดับนั้นสามารถแบ่งได้สองประเภทใหญ่คือ แบบอัตวิสัย (subjective) และแบบภววิสัย (objective) โดยแบบแรกนั้นเป็นลักษณะความคิดเห็น เช่น ชื่อเสียงวิชาการในหมู่เพื่อนร่วมอาชีพ ความพอใจของผู้จ้างงาน ส่วนแบบหลังนั้นเป็นข้อมูลที่วัดได้โดยตรง เช่น ขนาดแบนด์วิธอินเทอร์เน็ต จำนวนนักศึกษาต่ออาจารย์
ข้อมูลที่นำมาคำนวณหรือประมวลเป็นตัวชี้วัดนั้น ได้มาจากแหล่งข้อมูลหลายประเภท เช่น ทำการสำรวจ ค้นหาจากสิ่งตีพิมพ์/เว็บไซต์ หรือสอบถามโดยตรงกับสถานศึกษาหรือหน่วยงานรับผิดชอบของแต่ละประเทศ โดยแหล่งข้อมูลแต่ประเภทก็จะใช้แรงงาน เวลา และค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน รวมถึงมีความครอบคลุมและความน่าเชื่อถือต่างกันไป และแหล่งข้อมูลบางประเภทอาจเหมาะกับตัวชี้วัดชนิดหนึ่งแต่ไม่เหมาะกับตัวชี้วัดอีกชนิดหนึ่ง เหล่านี้เป็นปัจจัยในการเลือกใช้แหล่งข้อมูลของสำนักจัดอันดับ และยังเป็นตัวชี้ว่า ผลการจัดอันดับนั้นน่าเชื่อถือเพียงใด
การให้ความสำคัญของอันดับสถานศึกษานั้นแตกต่างกันไปตามประเทศ โดยในสหราชอาณาจักร หนังสือพิมพ์หลายฉบับมีการจัดอันดับสถานศึกษา โดยเฉพาะในระดับปริญญาตรี มีการพิมพ์เป็นคู่มือจำนวนหลายร้อยหน้าทุก ๆ ปี ส่วนในระดับบัณฑิตศึกษา มีหน่วยงานรับผิดชอบของรัฐโดยเฉพาะในการให้คะแนนสถาบันอุดมศึกษาในด้านคุณภาพการศึกษาและคุณภาพการวิจัย ส่วนในสหรัฐอเมริกา อันดับสถานศึกษาส่งผลต่อการเลือกเข้าเรียนของนักเรียน ในขณะที่ในบางประเทศไม่มีการจัดอันดับสถานศึกษา
ในประเทศไทย ได้ริเริ่มให้ 2 หน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย คือ หน่วยงานสมศ. (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา-องค์การมหาชน) โดยมีวัตถุประสงค์ในการประเมินตนเองและประกันคุณภาพ และ หน่วยงาน สกอ. (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา)เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจให้กับนักเรียนที่จะใช้ในการเลือกสอบเข้าเรียนในสถาบันต่างๆ
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) มีการประเมินสถานศึกษาทั่วประเทศ ทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา และจะเริ่มคะแนนสถาบันอุดมศึกษาในปีการศึกษา 2549 โดยเมื่อเดือนมีนาคม 2549 การประเมินภายนอกรอบแรก (รอบ พ.ศ. 2544 - 2548) ของสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศได้เสร็จสิ้นแล้ว
Quacquarelli Symonds (QS)
Quacquarelli Symonds (QS) เป็นสถาบันการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยม โดยมีการจัดอันดับที่ครอบคลุม ประกอบด้วย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก(QS World University Rankings® ) การจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับภูมิภาค(QS University Ranking by Region) การจัดอันดับมหาวิทยาลัยแบ่งตามกลุ่มวิชา(QS University Ranking by Faculty) และ การจัดอันดับมหาวิทยาลัยตามรายวิชา(QS University Ranking by Subject)
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก(QS World University Rankings® )
ใช้ดัชนีชี้วัดดังนี้
ชื่อเสียงทางวิชาการ : สำรวจจากอาจารย์ทั่วโลก (40%)
ทัศนคติของผู้จ้างงานบัณฑิต : สำรวจจากผู้จ้างงานทั่วโลก (10%)
สัดส่วนจำนวนอาจารย์ต่อนักศึกษา : ชี้วัดคุณภาพการสอน (20%)
สัดส่วนจำนวนการอ้างอิงต่อจำนวนอาจารย์ : ชี้วัดคุณภาพการวิจัย (20%)
สัดส่วนนักศึกษาต่างชาติ : วัดความเป็นนานาชาติของนักศึกษา (5%)
สัดส่วนอาจารย์ต่างชาติ : วัดความเป็นนานาชาติของอาจารย์ (5%)
การจัดอันดับ QS Graduate Employability Rankings
เป็นการจัดอันดับคุณภาพการจ้างงานของบัณฑิต โดยพิจารณาจาก ชื่อเสียงและความเชื่อมั่นของผู้จ้างงาน ผลผลิตของบัณฑิต อัตราการจ้างงานบัณฑิต
ในปี 2561 (2018)
มหาวิทยาลับที่ได้คะแนน 10 อันดับแรก ใน 6 สาขาวิชาหลัก มีดังนี้
สาขาฟิสิกส์และดาราศาสตร์
สาขาบริหารและการจัดการธุรกิจ
สาขาการศึกษา
สาขากฎหมาย
สาขาสถาปัตยกรรม
สาขาการแพทย์
มีดังนี้ (อันดับ 10 ถีงอันดับ 1)
10. University College of London (UCL)
9. Massachusetts Institute of Technology (MIT)
8. Yale University
7. University of California, Los angeles (UCLA)
6. Kalorinska Institute (Stockholm Sweden)
5. Johns Hopkins University
4. Stanford Universitiy
3. University of Cambridge
2. University of Oxford
1. Havard University
ที่มาข้อมูล
1. https://www.topuniversities.com/subject-rankings/2018?utm_medium=SMPost&utm_campaign=QSWURBySubject18&utm_source=Twitter
2. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2
3. https://www.topuniversities.com/university-rankings-articles/university-subject-rankings/what-its-study-10-best-medical-schools-2018
ลาก่อนครับ